Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pathology of Kidney and Urinary bladder system - Coggle Diagram
Pathology of Kidney and Urinary
bladder system
ความผิดปกติของระดับสารต่างๆ ภายในเลือด
Hypernatremia
โซเดียมในเลือดเกินค่ามาตรฐาน
-รับประทาน Na2+เกิน
-ขาดน้ำ (dehydration)
-สูญเสียน้ำ เช่น vomit, diarrhea, burn เป็นต้น
Effect : ทำให้เลือดที่ไหลเวียนผ่านไตมีความเข้มข้นสูง ไตจึงสร้างปัสสาวะมากขึ้น จากการเพิ่มความเข้มข้นของปัสสาวะ (osmotic diuresis) ทำให้ความเข้มข้นของเลือดสูงขึ้น จึงมักแสดงอาการขาดน้ำ (dehydration) ร่วมด้วย
Hyponatremia
โซเดียมในเลือดต่ำกว่าค่ามาตรฐาน : เกิดจากความผิดปกติที่ไตขับน้ำออกจากร่างกายลดลง
-มีการเพิ่มการสร้างและหลั่ง ADH
-ลดการดูดซึมโซเดียมและคลอไรด์ ที่ thick ascending limb of Henle’s loop ทำให้ collecting duct ดูดน้ำกลับภายใต้อิทธิพล ADH ลดลง
-ภาวะไตวาย ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำทำให้เกินอาการน้ำเกิน เช่น N/V ระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลง
Hyperkalemia
โพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน
-ภาวะไตวาย
-ความผิดปกติของหลอดเลือดฝอยในไตรวมบริเวณผิวนอกของไต
-ลด RBF หลอดเลือดฝอยส่วนต้นและห่วง Henle’s loop
-ความบกพร่องของระบบ RAAS ทำให้ปริมาณ Aldersterone ลดลง
Hypokalemia
โพแทสเซียมในเลือดต่ำเกินเกณฑ์มาตรฐาน
-การเพิ่มการทำงานของระบบ RAAS
-ปริมาณ HCO3- ในปัสสาวะเพิ่มขึ้น
-ภาวะ Mg 2+ ในเลือดต่ำ จึงปิดช่องทางการดูดกลับ K เข้าสู่ร่างกาย
-ภาวะ Ca2+ ในเลือดสูง ทำให้เกิดการทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดฝอยไต
Uremia
อาการเป็นพิษในเลือดที่เกิดจากสาร อันได้แก่ Urea/Creatinine ตกค้างอยู่ในเลือด มักเป็นผลสืบเนื่องมาจากการป่วยเป็นโรคไต ในขั้นร้ายแรง ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับ Urea ออกได้ และยังส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางสมอง ร่างกาย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อกระตุก และอาจชักหมดสติได้
Kidney failure
-ภาวะที่ไตเสียหน้าที่ในการขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารออกจากกระแสเลือด ส่งผลให้เกิดการสูญเสียความสมดุลของสารน้ำ electrolytes และกรดด่างในร่างกาย
ไตล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute renal failure)
ภาวะไตสูญเสียหน้าที่ทันทีทันใด ทำให้มีการคั่งของของเสียในร่างกาย
ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลย บวมที่ขาและเท้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ปวดหลังบริเวณชายโครง หายใจถี่ ถ้าอาการรุนแรง → ชัก
รักษาตามสาเหตุ ร่วมกับ การฟอกไต
ภาวะน้ำท่วมปอด เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไตถูกทำลายอย่างถาวร
ไตล้มเหลวเรื้อรัง (Chronic renal failure)
ภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่อย่างช้าๆ และเป็นไปอย่างถาวร มีการทำลายเนื้อไตติดต่อกันเป็นเวลานานไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได
อาการของไตวายเรื้อรังจะค่อย ๆ แสดงอาการออกมาเป็นระยะ
แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ตามระดับของค่าประเมินการทำงานของไต (eGFR)
ไตวายในระยะที่ 1-3 เป็นระยะไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจระบบการทำงานของไต เป็นระยะทุกๆ 3 เดือน ไตวายในระยะที่ 4-5 เป็นระยะที่ไตทำงานลดลงอย่างมาก จะต้องใช้การรักษาหลายๆ วิธีร่วมกัน เพื่อประคับประคองอาการให้อยู่ในระดับคงที่ และรอการผ่าตัดปลูกถ่ายไต มีการเฝ้าระวังภาวะบวมน้ำ ภาวะกระดูกเปราะบางโรคโลหิตจาง และการติดเชื้อในไตร่วมด้วย
โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคโลหิตจาง โรคกระดูกพรุน
ความผิดปกติของสารต่างๆ ภายในปัสสาวะ
Hematuria ปัสสาวะเป็นเลือด
มีการบาดเจ็บที่ระบบทางเดินปัสสาวะ การอักเสบ มะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ การตายของ basement membrane ของ glomerulus ทำให้ RBC ถูกกรองผ่านมาทางปัสสาวะได
เลือดออกเมื่อถ่ายปัสสาวะตอนแรก: Urethra ส่วนหน้า
เลือดออกชัดตลอดการถ่ายปัสสาวะ: Kidney, Ureter
เลือดออกตอนสุดท้ายของปัสสาวะ: Bladder, Urethra ส่วนหลัง
เลือดออกเมื่อถ่ายปัสสาวะตอนแรกและตอนหลัง: Urethra ส่วนหน้าและส่วนหลัง
Proteinuria ภาวะที่มีโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
Transient proteinuria: การพบโปรตีนในปัสสาวะชั่วคราว ในขณะที่ผู้ป่วยมีภาวะอื่นๆ อยู่
Persistent proteinuria: การพบโปรตีนในปัสสาวะทุกครั้งที่มีการตรวจปัสสาวะ
ระดับโปรตีนในพลาสมามาก = โปรตีนจะผ่านการกรองของโกลเมอรูลัสได้มาก จนเกินกำลังของหลอดเลือดฝอยส่วนต้นที่จะดูดกลับได้หมด
โปรตีนผ่านโกลเมอรูลัสเพิ่มขึ้น = เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงหรือทำลายเยื่อบุผนังหลอดเลือดฝอยไต เกิดเป็นช่องที่ใหญ่ขึ้นร่วมกับเซลล์เยื่อบุในหลอดเลือดบวมหรือถูกทำลาย
ลดการดูดกลับที่หลอดเลือดฝอยไต = มักเกิดจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงไต
Glucosuria
การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินระดับที่ไตสามารถกรองได้ > 160 mg/dl ในเลือดดำทำให้ปริมาณน้ำตาลผ่านการกรองมากเกินกว่าที่หลอดเลือดฝอยไตจะสามารถดูดกลับได้หมด
Ketonuria การตรวจพบคีโตนในปัสสาวะ > 20 mg/dl เนื่องจากการเผาผลาญพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตในร่างกายไม่สมบูรณ์ จึงเกิดการใช้พลังงานจากไขมันและโปรตีนในร่างกายขึ้น โมเลกุลคีโตนมีคุณสมบัติเป็นกรด เมื่อเพิ่มปริมาณคีโตนในเลือดจะมีผลลดระดับบัฟเฟอร์ในเลือด พบในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่อดอาหาร (Stravation) หรือผู้ที่รับประทานโปรตีนมากๆ (high protein diet) เมื่อปริมาณคีโตนเกินระดับที่ไตสามารถกรองไต →Ketonuria
Polyuria ภาวะที่มีการขับถ่ายปัสสาวะมากกว่าวันละ 1,500 ml โดยไม่ได้เกิดจากการดื่มน้ำมาก
ปัสสาวะมากจากการเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย
-การผลิตและหลั่ง ADH ลดลง เช่น เบาจืด
-หลอดเลือดฝอยไตไม่ตอบสนองต่อ ADH เช่น ไตวายเรื้อรัง การอักเสบที่กรวยไตและไต
ปัสสาวะมากจากการเพิ่มความเข้มข้นของปัสสาวะ เช่น น้ำตาล ยูเรีย
Oliguria ภาวะปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (< 20 ml/hr) < 400 ml/day ถ้า < 100 ml/day → “Anuria”
ไตวาย
ดื่มน้ำน้อยมาก
Voiding dysfunction
Nocturia อาการที่ตื่นในตอนกลางคืนเพื่อปัสสาวะมากกว่า 1 ครั้ง เกิดจากร่างกายผลิตปัสสาวะมากเกินไป หรือกระเพาะปัสสาวะไม่สามารถรองรับน้ำปัสสาวะได้นาน
พฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุ การใช้ยา การเจ็บป่วยหรือภาวะต่างๆ การตั้งครรภ์
Dysuria ปัสสาวะลำบาก ปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย (frequency) และอยากถ่ายปัสสาวะทันทีทันใด (urgency)
การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ การอักเสบของท่อปัสสาวะ ท่อปัสสาวะได้รับอันตราย อาจเกิดขึ้นชั่วคราวภายหลังร่วมเพศ
Retention of urine การที่มีปัสสาวะคั่งอยู่ใน กระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถทำให้กระเพาะปัสสาวะว่างหรือภาวะที่ไม่มีการถ่ายปัสสาวะ ภายใน 8 - 10 ชั่วโมงของการถ่ายปัสสาวะครั้งสุดท้าย
การบวมบริเวณท่อปัสสาวะ
ต่อลูกหมากโต
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ระบบประสาทเสียหน้าที่ (เช่น ได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง)
เกิดชั่วคราวในผู้ป่วยหลังทำผ่าตัด ดมยาสลบ/ฉีดยาเข้าเส้นประสาทไข สันหลัง หญิงหลังคลอดบุตร
Urinary incontinence
สภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่: ภาวะที่มีปัสสาวะออกมาจากท่อปัสสาวะโดยไม่สามารถควบคุมได้ มักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยผู้ใหญ่เกือบร้อยละ 50 และมีเพียงร้อยละ 25 ถึง 61 เท่านั้นที่มาพบแพทย์
การแบ่งประเภทของภาวะปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะเล็ดขณะออกแรง (stress incontinence)
ปัสสาวะเล็ดทันทีเมื่อปวดปัสสาวะ (urgency incontinence)
ปัสสาวะเล็ดตลอดเวลาเนื่องจากมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ (overflow incontinece)
ปัสสาวะเล็ดจากภาวะหรือโรคทางกาย ที่ไม่ใช่ความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง(functional incontinence)
D=Delirium I=Infection A=Atrophic vaginitis or urethritis P=Pharmaceuticals P=Psychological disorder E=Endocrine disorders R=Restricted mobility S=Stool impaction
ปวดปัสสาวะรุนแรงแล้วราดออกมา
ไอ จาม ปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะไหลรินออกมาโดยไม่รู้ตัว
ปัสสาวะเล็ดราดหลังการถ่ายปัสสาวะสุด
-lifestyle intervention
-pelvic floor exercise หรือ kegel exercise
-การรักษาด้วยยา: การใช้ครีมเอสโตเจน ยากลุ่ม alfa-2 agonist และ duloxetine เป็นต้น
-การผ่าตัด: เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ จะพิจารณาทำเมื่อการรักษาด้วยการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล
Other of disease in KUB
Horseshoe kidney การเชื่อมกันของไตสองข้างตั้งแต่กำเนิด โดยมากมักเป็นขั้วล่างเชื่อมกัน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มักพบโดยบังเอิญในรายที่ทำการผ่าชันสูตรศพอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้บ่อยหรือทำให้เกิดนิ่วได้ง่าย อาจพบความผิดปกติอื่นร่วมได้ เช่น
double ureter
Renal cell carcinoma
มะเร็งไต พบในเพศชาย > หญิง (2:1)
ปัจจัยเสี่ยง
การสูบบุหรี่
กลุ่มโรคบางโรค เช่น von Hippel-Lindau,
Tuberous sclerosis
โลหะหนัก เช่น แคดเมียม, ตะกั่ว
รังสีจากสาร Thoratrast
ปัสสาวะเป็นเลือด (56%), ปวด (38%), คลำได้ก้อน (36%),
พบโดยบังเอิญจากการตรวจเนื่องจากน้ าหนักลด และอ่อนเพลีย (27%),ไข้ (11%), สาเหตุอื่น ๆ (6%)
Urinary tract infections
การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI): การตอบสนองของการอักเสบของเยื่อบุผิวระบบทางเดินปัสสาวะต่อการบุกเข้าของแบคทีเรีย เนื่องจากเยื่อบุผิวระบบปัสสาวะทั้งหมดเชื่อมต่อกันทั้งหมด ทำให้ทั้งระบบของทางเดินปัสสาวะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อทั้งหมด
แบ่งตามตำแหน่งการติดเชื้อ
ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower urinary tract infection): Irritative lower urinary symptom ได้แก่ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อยโดยไม่มีไข้หนาวสั่น หรือ อาการปวดหลังอาการเหล่านี้แสดงถึง cystitis, urethritis หรือ prostatitis
ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper urinary tract infection) มีไข้ ปวดหลัง ปวดสีข้าง อาการทาง systemic, leukocytosis แสดงถึง acute pyelonephritis intrarenal abscess หรือ perinephric abscess
แบ่งการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะตามสภาวะผู้ป่วย
Uncomplicated UTI: การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่ซับซ้อน คือ การติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีสุขภาพแข็งแรง โดยมีโครงสร้างหรือหน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะปกติ
Complicated UTI: การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะแบบซับซ้อน คือ การติดเชื้อในผู้ป่วยที่อ่อนแอหรือมีโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติที่ทำให้มีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น หรือลดประสิทธิภาพในการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะได้ 3 ทาง
ทางกระแสเลือด (hematogenous route)
ทางน้ำเหลือง (lymphatic route)
แพร่กระจายขึ้นโดยตรง (ascending route)
Significant Bacteriuria: การพบปริมาณเชื้อแบคทีเรีย ≥ 105 cfu /ml
Asymptomatic bacteriuria: การพบเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ > 10 5 cfu/ml
Pyuria: การตรวจพบว่ามีเม็ดเลือดขาว (WBCs) ในปัสสาวะ
Acute pyelonephritis: กรวยไตอักเสบแบบเฉียบพลัน
Chronic pyelonephritis: กรวยไตอักเสบแบบเรื้อรัง
Cystitis: กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
Urethritis: ท่อปัสสาวะอักเสบ
Asymtomatic
ไข้สูง
ปวดหลังใต้กระดูกซี่โครง
Dysuria
คลื่นไส้อาเจียน(N/V)
-รักษาตามอาการ
บรรเทาไข้
ดื่มน้ำ 8 -10 แก้ว/วัน
ไม่กลั้นปัสสาวะ
นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน
-รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
fluoroquinolone: Norfloxacin
Urinary bladder carcinoma
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผนังด้านใน ก่อนพบเป็นก้อนเนื้องอก ถ้าไม่มีการลุกลามผ่านชั้นเยื่อบุผนังด้านใน จัดว่าเป็นมะเร็งที่ไม่มีพฤติกรรมรุนแรง และส่วนใหญ่มักจะไม่ลุกลาม (Non-muscle invasive bladder cancer)
บางรายมีการลุกลามของมะเร็งลงไปยังชั้นกล้ามเนื้อชั้นกลาง เยื่อหุ้มชั้นนอก ชั้นไขมันรอบกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงอวัยวะข้างเคียง ในผู้ป่วยกลุ่มนี้บางราย มีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ได้ แก่ ต่อมน้ำเหลือง ปอด ตับ กระดูก เป็นต้น
ปัสสาวะปนเลือด
อาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ: ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือปัสสาวะแสบขัด
อาการอันเนื่องจากการแพร่กระจายของมะเร็ง ได้แก่ ปวดกระดูกเนื่องจากการกระจายไปที่กระดูก ปวดเอวเนื่องจากการอุดตันของท่อไต เป็นต้น
Kidney Stones
นิ่วในไต: โรคที่เกิดจากแร่ธาตุแข็งชนิดต่างๆ ที่รวมตัวกันเป็นก้อน ก้อนนิ่มีชนิดและขนาดที่แตกต่างกันไป มีโอกาสเกิดได้สูงหากปัสสาวะมีความเข้มข้นจนแร่ธาตุต่างๆ ตกตะกอนจับตัวเป็นนิ่ว หินปูนที่อยู่ในเนื้อไตแต่ไม่ได้อยู่ในกรวยไตหรือ calyces เรียกว่า “nephrocalcinosis” สามารถจําแนกได้เป็น 2 ชนิด ตามตำแหน่งที่พบในทางเดินปัสสาวะ
1.โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะส่วนบน คือ นิ่วที่พบบริเวณ กลีบกรวยไต (renal calyces) กรวยไต (renal pelvis) และท่อไต (ureter)
โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง คือ นิ่วที่พบบริเวณ กระเพาะปัสสาวะ (bladder) และบริเวณท่อปัสสาวะ (urethra)
เกิดขึ้นได้จากปริมาณของเกลือ แร่ธาตุ และสสารต่างๆ เช่น แคลเซียม กรดออกซาลิก และกรดยูริกในปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีปริมาณมากเกินกว่าของเหลวในปัสสาวะจะละลายหรือทำให้เข้มข้นน้อยลงได้ จนเกิดการเกาะตัวเป็นก้อนนิ่วในที่สุด
ปวดบริเวณหลังหรือช่องท้องด้านล่างข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดร้าวลงไปถึงบริเวณขาหนีบ
มีอาการปวดบีบเป็นระยะ และปวดรุนแรงเป็นช่วง ๆ ที่บริเวณดังกล่าว
ปัสสาวะเป็นเลือด หรืออาจมีสีแดง ชมพู และน้ำตาล
ปัสสาวะแล้วเจ็บ
ปวดปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะน้อย
ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นแรง
คลื่นไส้ อาเจียน
หนาวสั่น เป็นไข
นิ่ว ø < 5mm.: ดื่มน้ำมากๆ
ยาแก้ปวด: Ibuprofen, Naproxen
ยาขับนิ่ว: Alpha Blocker
นิ่ว ø > 5 mm.: ท าให้มีเลือดออก เกิดแผลที่ท่อไตหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การใช้คลื่นเสียงแตกตัวก้อนนิ่ว: ใช้เครื่อง Extracorporeal Shock Wave Lithotripsy (ESWL)
การผ่าตัดก้อนนิ่วออก (Percutaneous Nephrolithotomy)
การส่องกล้อง: ใช้กล้อง Ureteroscope เพื่อฉายลำแสงแคบผ่านหลอดปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ แล้วใช้เครื่องมือชนิดพิเศษจับหรือทำให้ก้อนนิ่วแตกตัวเป็นชิ้นเล็กจนสามารถถูกขับออกมาทางเดินปัสสาวะได้
Hematuria, UTI, Kidney failure
Rhabdomyolysis
ภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย: ภาวะที่กล้ามเนื้อลายส่วนที่เสียหายสลายตัวแล้วปล่อยสารที่อยู่ภายในเซลล์เข้าสู่กระแสเลือดจนอาจทำให้ไตวายได้
ความผิดปกติทางพันธุกรรมของกล้ามเนื้อ
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการเผาผลาญอาหาร
ภาวะขาดน้ าอย่างรุนแรงกล้ามเนื้อขาดเลือด หรือตาย
การออกกำลังกายที่ต้องออกแรงมาก หรือการออกกำลังกายต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอย่างวิ่งมาราธอน
การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ เริม และเอชไอวี เป็นต้น
การได้รับสารพิษ เช่น พิษงูกัด เป็นต้น
การใช้ยาบางชนิดอย่างยากลุ่ม Statin
กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่บริเวณแขนขา และเคลื่อนไหวลำบาก ปวดกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ หลังส่วนล่าง หรือต้นขา ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลแดงหรือสีเหมือนน้ำโคล่า กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย หัวใจเต้นเร็ว ชัก หมดสติ
รักษาด้วยยา: ยาไบคาร์บอเนตหรือยาขับปัสสาวะบางชนิดเพื่อช่วยให้ไตทำงานเป็นปกติ
รักษาด้วยการผ่าตัด: ความตึงหรือแรงกดที่ทำให้เกิดภาวะขาดการไหลเวียนของเลือดในกล้ามเนื้อ
Intervention: การฟอกไต