Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 แนวทางการพัฒนาตนเองของครู - Coggle Diagram
หน่วยที่ 9
แนวทางการพัฒนาตนเองของครู
บุคลิกภาพของครู
บุคลิกภาพ หมายถึง ลักษณะโดยรวมของแต่ละบุคคล ได้แก่ ของพฤติกรรม สติปัญญา ลักษณะทางอารมณ์ ที่ทำให้บุคคลเหล่านั้นมีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ปัจจัยที่มีผลต่อบุคลิกภาพ
ด้านพันธุกรรม หมายถึง ลักษณะต่างๆ ที่บุคคลได้รับถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ เช่นรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ นัยน์ตา สีผม ชนิดของโลหิต เชาว์ปัญญา รวมทั้งโรคบางอย่างอีกด้วย
ด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวบุคคลตั้งแต่สภาพครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคมอื่นๆ ขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อุดมคติ เจตคติ ค่านิยม อารมณ์ กริยามารยาท เป็นต้น
2.1 บุคลิกภาพภายนอก เป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้หรือสัมผัสได้ด้วยประสาททั้ง 5 คือ ตา หูจมูก ลิ้น และกาย
2.2 บุคลิกภาพภายใน เป็นสิ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสได้ยาก ต้องทำงานร่วมกันมานาน จึงจะสังเกตเห็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร
ความสำคัญของบุคลิกภาพ
ช่วยให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ เพื่อนร่วมงาน และบุคคลทั่วไป
ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการประกอบวิชาชีพครู
ช่วยสร้างเสริมสุขภาพจิต
ช่วยทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง
ช่วยในการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
3.บุคลิกภาพทางอารมณ์
3.1 อารมณ์ดี
3.2 อารมณ์เย็น
3.3 อารมณ์ขัน
3.4 อารมณ์สุนทรีย์ 3.5 ความฉลาดทางอารมณ์
2.บุคลิกภาพทางสังคม
2.1 ความรับผิดชอบ
2.2 ความจริงใจ
2.3 ความซื่อสัตย์สุจริต
2.4 การรู้จักผ่อนปรน
2.5 การเข้าร่วมพิธีการต่างๆ ในสังคม
2.6 การมีมารยาทที่ดี
1.บุคลิกภาพทางกาย
1.1 ร่างกาย
1.2 การแต่งกาย
1.3 กิริยามารยาท
1.4 การยืน การนั่ง และการเดิน
1.5 การพูดจา
บุคลิกภาพทางสติปัญญา
เป็นความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ ในสาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษา พร้อมทั้งความรู้ทั่วไปที่มาส่งเสริมให้สาขาวิชาเอกของตนโดดเด่นยิ่งขึ้น
แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพของครู
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน (Internal personality)
1.1 ความเชื่อมั่นในตนเอง
1.2 ความกระตือรือร้น
1.3 ความรอบรู้
1.4 ความคิดริเริ่ม
1.5 ความจริงใจ
1.6 การรู้จักกาลเทศะ
1.7 ปฏิภาณไหวพริบ
1.8 ความรับผิดชอบ
1.9 ความจำ
1.10 อารมณ์ขัน
1.11 การมีน้ำใจและการมีคุณธรรม
การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก (External personality))
2.1 แต่งตัวเรียบร้อย ส่งผลให้ผู้เรียนมีความเคารพตัวครู
2.2 มีความรักและเมตตา ส่งผลให้ผู้เรียนจะมีจิตใจอ่อนโยน
2.3 ให้ความยุติธรรม ส่งผลให้ผู้เรียนมีความศรัทธาตัวครู
2.4 มีน้ำเสียงนุ่มนวล ส่งผลให้ผู้เรียนพูดด้วยความสุภาพอ่อนน้อม
2.5 มีความกระตือรือร้น ส่งผลให้ผู้เรียนมีความกระปรี้กระเปร่า
2.6 มีอารมณ์ขัน ส่งผลให้ผู้เรียนเรียนด้วยความสนุกสนาน
2.7 ยิ้มแย้ม ส่งผลให้ผู้เรียนร่าเริงและแจ่มใสในการเรียน
2.9 แสดงความเป็นมิตร ส่งผลให้ผู้เรียนมีความอบอุ่นใจ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
PLC
ความหมาย
สรุปว่าชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) เป็นนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการพัฒนาศักยภาพผู้สอนและนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน เป็นความร่วมมือร่วมใจกันทางวิชาการของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานวัฒนธรรมความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินการ PLC
มีเป้าหมายร่วมกันในการจัดการเรียนรู้/การพัฒนาผู้เรียนให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหน้างาน/สถานการณ์จริงของชั้นเรียน
ทุกฝ่ายเกี่ยวข้องร่วมเรียนรู้และรวมพลัง/หนุนเสริมให้เกิดการสร้างความเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมาย
มีการวิพากย์ สะท้อนผลการทำงานพัฒนาผู้เรียน และ
มีการสร้าง HOPE ให้ทีมงาน
HOPE ประกอบด้วย
H : (Honesty and Humanityการมีความชื่อสัตย์และมีคุณรรมกับข้อมูลที่มีอยู่จริงทั้งในแง่ของผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ความรู้การพัฒนาตนที่มีอยู่ รวมทั้งความกล้าที่จะขอความช่วยเหลือและเรียนรู้จากผู้อื่นที่มีความเชี่ยวชาญมากว่าเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไห้ดียิ่งขึ้น)
O: (Option and Openness)การรู้จักเลือกแนวทางที่ดีที่สุด และเปิดเผยข้อมูลที่มีประโยชน์ให้สมาชิกได้รับทราบร่วมกัน
P: (Patience and Persistence)ความอดทนและความเพียรพยายาม เพื่อคันหาแนวทางหรือคำตอบที่ดีที่สุดที่จะช่วยนให้ผู้เรียได้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
E: (Efficacy and Enthusiasm) การมีประสิทธิภาพและความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองของครูให้มีหลักการดังกล่าวมาแล้ว
ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ คุณภาพผู้สอน
และคุณภาพผู้เรียน
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
คุณภาพผู้สอน
ความรู้ในสิ่งที่สอน
ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน
คุณภาพผู้เรียน
ความรู้ ความคิด ความประพฤติ
ทักษะ และสมรรถนะด้านต่างๆ
ความเชื่อของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ยอมรับว่าการสอนและการปฏิบัติงานของครู มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
ยอมรับหลักการที่ว่า การเรียนรู้ของครู คือการเรียนรู้ของผู้เรียน
3.ยอมรับว่า ครูมีความแตกต่างกัน
ยอมรับว่า การสอนบางครั้งต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจ และสัมพันธภาพแบบกัลยาณมิตร
ประโยชน์ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา
ประโยชน์ต่อครูผู้สอน
ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวในงานสอนของครูลง
เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียน
รู้สึกว่าต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อพัฒนาการโดยรวมของนักเรียน
รู้สึกเกิดสิ่งที่เรียกว่า “พลังการเรียนรู้ (Powerful learning)”
เข้าใจในด้านเนื้อหาสาระที่ต้องทำการสอนได้แตกฉานยิ่งขึ้น
รับทราบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ที่จำเป็นต่อวิชาชีพได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็วขึ้น
เพิ่มความพึงพอใจ เพิ่มขวัญกำลังใจ
มีความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนวิธีสอน
มีความผูกพันที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ
มีความประสงค์ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ
ประโยชน์ต่อนักเรียน
ลดอัตราการตกซ้ำชั้น
อัตราการขาดเรียนลดลง
มีผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นเด่นชัด
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
มีความแตกต่างด้านผลสัมฤทธิ์การเรียน ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภูมิหลังไม่เหมือนกัน ลดลงชัดเจน
กลยุทธ์ในการจัดการและใช้ชุมชนการเรียนทางรู้วิชาชีพ (PLC) อย่างยั่งยืน
1.เริ่มต้นด้วยขั้นตอนง่ายๆ(Take a baby steps)
การวางแผนด้วยความร่วมมือ (Plan Cooperatively)
การกำหนดความคาดหวังในระดับสูง (Set high expectations)
เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ (Start small)
ศึกษาและใช้ข้อมูล (Study and use the data)
วางแผนเพื่อความสำเร็จ (Plan for success)
นำสู่สาธารณะ (Go public)
ฝึกฝนร่างกายและหล่อเลี้ยงสมอง (Exercise the body & nourish the brain)
.การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ความหมายของการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
หมายถึง บุคคลที่มีนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้ มีวิธีการเรียนรู้ที่เป็นระบบ มีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้ให้ทันสมัย เป็นผู้ใฝ่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะทางสังคม มีทักษะการสื่อสาร สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น พัฒนาบุคลิกภาพเพื่อความเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (ยนต์ ชุ่มจิต, 2558)
คือบุคคลที่นำข้อมูล ประสบการณ์ความรู้ มาพิจารณาไตร่ตรองอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเข้าใจและสามารถประยุกต์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของตนและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (สมหมาย ปวะบุตร 2558)
เป็นบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และเป็นบุคคลรักการอ่าน รักการเขียน รักการค้นคว้า มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ มีการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (ปกรณ์ ประจัญบาน, 2558)
บุคคลที่เรียนรู้ในการพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา โดยมีบุคลิกภาพพื้นฐาน คือ เป็นคนที่กระตือรือร้น มานะพยายาม มีแรงจูงใจที่จะใฝ่แสวงหาความรู้ตลอดเวลา มีแนวทางในการเพิ่มพูนทักษะความรู้และประสบการณ์ให้กับตนเอง (จิราภรณ์ พรหมทอง 2559)
คุณลักษณะของบุคคลแห่งการเรียนรู้
ให้โอกาสต่อการเรียนรู้ (Openness to Learning Opportunities)
มโนทัศน์ (Concept) ต่อการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ (Self-Concept as an Effective Learner)
ความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียน (Initiative and Independence in Learning)
ความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Informed Acceptance of Responsibility for One's Own Learning )
ความรักในการเรียนรู้ (Love of Learning)
ความคิดสร้างสรรค์(Creativity)
มองอนาคตในแง่ดี (Positive Orientation to the Future)
มีความสามารถในการใช้ทักษะพื้นฐานต่อการศึกษาและทักษะในการแก้ปัญหา (Ability to Use Basic Study Skills and Problem Solving Skill)
หัวใจสำคัญของการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
2.บุคคลที่มีความรอบรู้หรือความเชี่ยวชาญในการสร้างพลังงานแห่งตน (Personal Mastery)
รูปแบบความคิดหรือแบบจำลองความคิด (Mental Model)
การคิดเป็นระบบ (System Thinking)
วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)
แนวคิดการพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ทุกคนที่เกิดมาไม่มีใครเก่งและรู้ไปหมดทุกอย่าง
ไม่มีคำว่าสายเกินไปกว่าที่เราจะสามารถเรียนรู้ได้
กระบวนการหรือวิธีการในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลอาจไม่เหมือนกัน
หากบุคคลมีกำลังใจ ตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเรียนรู้แล้ว ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้
บุคคลแห่งการเรียนรู้ต้องแสวงหาความรู้ตลอดเวลา สร้างแรงจูงใจให้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการเรียนรู้
ปัจจุบันมีเครื่องมือในการแสวงหาความรู้อย่างมากมายที่อยู่ใกล้ตัวเรา สามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลาตามที่เราต้องการ
บุคคลที่สามารถเรียนรู้ และปรับตัวเองได้ดีในสภาวะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาจะเป็นคนที่มีความสุขในการใช้ชีวิต มองโลกในแง่ดี มีสติ และสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ดี
วิธีการพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
พัฒนาบุคลิกภาพของตนเองให้เป็นคนกระฉับกระเฉง กระตือรือร้น รับรู้ต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
พัฒนาทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้ (Basic Skills)
พัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills)
พัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills)
พัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills)
พัฒนาทักษะการสื่อสารทางภาษาโดยเฉพาะภาษาสากลที่ใช้
เส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มสู่การเป็นครูผู้ช่วยเป็นกระบวนการในการบริหารงานบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งครู ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 56 ผู้ใดที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มในตำแหน่งครูผู้ช่วยเป็นเวลา 2 ปี ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และบุคลิกลักษณะในการปฏิบัติวิชาชีพ ทั้งการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับวิชาชีพครูตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
การขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ
วิทยฐานะของข้าราชการครู กำหนดไว้ 4 ระดับ
ครูชำนาญการ
ครูชำนาญการพิเศษ
ครูเชี่ยวชาญ
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ
การเปลี่ยนตำแหน่งและสายงาน
3.1 สายงานบริหารสถานศึกษา
3.1.1 ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
3.1.2 ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
3.2 สายงานบริหารการศึกษา
3.2.1 ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3.2.2 ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3.3 สายงานนิเทศการศึกษาตำแหน่งศึกษานิเทศก์
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง สายบริหารสถานศึกษา
รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
2) ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
2.1) ตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 2 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโทขึ้นไป
2.2) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
4) ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
อำนวยการสถานศึกษา
1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นพี่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
2) ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
2.1) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.2) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.3) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.4) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.5) ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่มมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปี
2.6) ตำแหน่งครู ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการ
2.7) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
4) ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นพี่ ก.ค.ศ.กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
2) ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
2.1) ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอันดับ คศ. 3
2.2) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่ารองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
2.3) ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
2.4) ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
2.5) ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่ม หรือผู้อำนวยการกลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี และรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าอันดับ คศ.3 หรือไม่ต่ำกว่าระดับ 8
2.6) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
4) ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
2) ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
2.1) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และรับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับ คศ.4
2.2) ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่มีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
2.3) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ.เทียบเท่า มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
4) ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
ศึกษานิเทศก์
1) มีวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือทางอื่นที่ ก.ค.ศ. กำหนดเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
2) ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
2.1) ตำแหน่งครูมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาตรี และ 2 ปี สำหรับผู้มีวุฒิปริญญาโทขึ้นไป
2.2) ตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า
3) มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์)
4) ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด