Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 13 ความหมาย และขอบเขตของการบริหารจัดการห้องเรียน - Coggle Diagram
บทที่ 13 ความหมาย และขอบเขตของการบริหารจัดการห้องเรียน
วัตถุประสงค์
เข้าใจทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการบริหารจัดการห้องเรียน
ใช้ทักษะเหล่านี้ในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้เรียน
ตระหนักถึงความสำคัญของมโนทัศน์และขอบเขตของการบริหารจัดการห้องเรียน
ความหมายและขอบเขตของการบริหารจัดการห้องเรียน
การบริหารจัดการ หมายถึง รูปแบบของกระบวนการทำงานอันเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มคนจำนวนมากและเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งอันเป็นความรู้ที่ทำให้ภารกิจบรรลุผลสำเร็จได้ด้วยดี
ขอบเขตของการบริหารจัดการห้องเรียน
การปฏิบัติการบริหารจัดการในห้องเรียนที่ดีเริ่มต้นตั้งแต่วันแรกของโรงเรียน การบริหารจัดการห้องเรียนจะไม่จบลงด้วยตัวเองการบริหารจัดการห้องเรียนเป็นกิจกรรมหลักของครูที่ใช้แสดงบทบาทภาวะผู้นำและไม่สามารถแยกออกจากรูปแบบของการสอน
การให้รางวัล
การลงโทษ
การเขียนแผนจัดการการรู้
การพัฒนากิจกรรมห้องเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจูงใจผู้เรียน
การใช้ภารกิจการสอนที่แตกต่าง
การบริหารจัดการห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพ
มโนทัศน์การบริหารจัดการห้องเรียน
เป็นการปฏิบัติตามได้จริงตามที่ทำนาย ซึ่งมีความเห็นหรือความคิดที่กว้างกว่าวินัยของผู้เรียนและความสามารถของครู การบริหารจัดการห้องเรียนแบบเก่าและวิธีการจัดการด้านวินัยของผู้เรียนเป็นมโนทัศน์ที่เข้าใจผิด
การการบริหารจัดการห้องเรียนกับครูใหม่
การบริหารจัดการห้องเรียนเป็นสิ่งที่น่ากังวลและเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ท้าทายครูใหม่ ชื่อเสียงของครูใหม่มีความสำคัญเท่าๆกันกับการจัดการพฤติกรรมผู้เรียนเปรียบเสมือนการสร้างสิ่งแวดล้อมการเรียนรู่ที่มีระบบ
การบริหารจัดการห้องเรียนกับการจัดการเรียนการสอน
การบริหารจัดการห้องเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการสอน การบริหารจัดการห้องเรียนและการสอนมีความสัมพันธ์กัน การสอนที่มีประสิทธิภาพผู้สอนคือบริหารจักการผู้เรียนได้ เป็นรูปแบบการกำหนดเงื่อนไขเพื่อการเรียนรู้ด้านสติปัญญา ครูที่มีประสิทธิภาพหรืือไม่มีประสิทธิภาพสิ่งที่เห็นชัดคือความสำเร็จในการป้องกันปัญหาที่กำลังขึ้นและสามารถประยุกต์ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้เรียนก่อขึ้นในสถานการณ์เฉพาะได้มากกว่าทักษะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
มโนทัศน์การบริหารจัดการห้องเรียนมีความเห็นหรือความคิดที่กว้างกว่าวินัยของผู้เรียน ผู้เรียนเกเร การให้รางวัล และทำโทษ ครูควรกระทำต่อไปนี้
เชื่อมั่นว่าผู้เรียนทุกคนกระตือรือร้นที่เรียนรู้
ส่งเสริมให้รักเรียนมีวินัยต่อตนเอง เข้าใจตนเอง ประเมินตนเองและควบคุมตนเอง
บ่มเพาะผู้เรียนให้เกี่ยวข้องและให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมห้องเรียน
จัดห้องเรียนให้เคลื่อนไหวตลอดเวลาให้สัมพันธ์กับความรู้สึก ความเคารพ และความน่าเชื่อถือการพูดคุยระหว่างครูกับผู้เรียน การควบคุมเสียง การเปลี่ยนพฤติกรรมวินัย
สร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้
รูปแบบและการเสริมแรงมีคุณค่าต่อการให้ความเคารพ ความชื่อสัตย์ และพฤติกรรมที่เหมาะสมกับโอกาส
ความรู้ที่ใช้เป็นฐานในการบริหารจัดการห้องเรียน
ควรจัดให้มีข้อแนะนำเกี่ยวกับหลักการการสอนต่างๆที่ประสบความสำเร็จในการสอน สร้างบรรยากาศเพื่อการเรียนรู้
ความเข้าใจในการบริหารจัดการในห้องเรียน ครูต้องคุ้นเคยกับการจัดลำดับองค์ประกอบต่างๆที่สัมพันธ์กับโรงเรียน คือ การวางแผน การบริหารจัดการด้านการสนับสนุน การบริหารจัดการด้านการป้องกัน การบริหารจัดการด้านพฤติกรรม
การบริหารจัดการด้านการสนับสนุน เป็นมุมมองเกี่ยวกับองค์ประกอบด้ายกายภาพและจิตภาพ การดำเนินการด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีชีวิตและดึงดูดความสนใจเจตคติของครู ความคาดหวังของผู้เรียน การสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดผู้เรียนและเพื่อนร่วมงาน
การบริหารจัดการด้านการป้องกัน ครอบคลุมถึงการสอนแบบต่างๆและทักษะการบริหารจัดการในห้องเรียน ความรู้และทักษะอื่นๆที่ครูพึงมี ครูต้องได้รับการฝึกหัดนำความรู้และทักษะเพื่อทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบยุทศาสตร์การสอนความรู้ด้านการสอน เนื่อหาที่สอน การจัดพัฒนาสมอง
การบริหารจัดการด้านพฤติกรรม เป็นมุมมองเกี่ยวกับการบริหารจัดการพฤติกรรมทำลายความสงบเรียบร้อยและปฏิบัติตามวิถีทางของโรงเรียนด้านวินัยและการแนะแนว
การวางแผน เป็นมุมมองการเตรียมการด้านสติปัญญาแก่ผู้เรียนของครูที่วางไว้ก่อนล่วงหน้า อาทิ แผนการสอน ประวัติย่อของโรงเรียน วัฒนธรรมโรงเรียน และประวัติย่อของผู้เรียน
การบริหารจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21
จะพบกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างทางสังคมในยุคสังคมสารสนเทศด้วยเหตุผลของกระบวนการ โลกาภิวัตน์ที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมของสังคมในยุคสังคมสารสนเทศแตกต่างกว่าประสบการณ์ของผู้ใหญ่ พ่อแม่จะเหนี่ยวรั้งเด็กได้อย่างไรโดยไม่สูญเสียและมองหาสถาบันการศึกษาที่ช่วยให้เด็กอยูในยุคสังคมสารสนเทศอย่างมีความสุข
การเผชิญหน้าของโลกาภิวัตน์ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา ครูต้องได้รับการฝึกเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้การศึกษามีประสิทธิภาพมีทักษะความรู้ด้าน ICT
บทบาทของครูในฐานะนักบริหารจัดการที่มีภารกิจในห้องเรียน
ครูในฐานะนักบริหารจัดการห้องเรียนต้องสามารถทำให้งานต่างๆ ของกลุ่ม สำเร็จด้วยดีโดยวิธีให้คนอื่นเป็นผู้ปฏิบัติและเป็นผู้ประสานการทำงานของทุกฝ่ายให้เข้ากันได้
1.บทบาทนด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน
บทบาทเป็นคนกลาง
บทบาทเป็นผู้นำ
บทบาทเป็นอันดับ
บทบาทด้านข้อมูล
บทบาทการรวบรวมข้อมูล
บทบาทการกระจายหรือแจกกจ่ายข้อมูล
บทบาทการใช้ข้อมูล
บทบาทด้านการตัดสินใจ
บทบาทนักแก้ปัญหา
บทบาทเป็นนักเจรจาข้อขัดแย้ง
บทบาทเป็นผู้คิดริเริ่มกิจการ
บทบาทเป็นนักแบ่งสรรทรัพยากร