Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รัฐไทยในดินแดนไทย, รายชื่อกลุ่ม, เดิมชื่อ นาคพันธ์สิงหนวัตินคร …
รัฐไทยในดินแดนไทย
1.แคว้นโยนกเชียงแสน
( ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 16 ) เก่าแก่ที่สุด
ตั้งเมืองที่ เชียงราย ริมแม่น้ำกก
การปกครอง โดยกษัตริย์ ซึ่งองค์แรกคือ พระเจ้าสิงหนวัติ มีกษัตริย์ปกครองต่อถึง 45 พระองค์
การรุกราน ชนพื้นเมืองกล๋อมดำ
การล่มสลาย ถูกคุกคามจากอาณาจักรพุกาม และภัยธรรมชาติ เมืองจึงถล่มจมลงกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ พระเจ้าไชยสิริอพยพคนไปสร้างเมืองใหม่คือ ไตรตรึงส์
2.แคว้นหิรัญนครเงินยาง
( ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 – พ.ศ. 1893 )
เกิดเมื่อ ปู่ลาวจง หัวหน้ากลุ่มคนบนดอยตุงนำบริวารมาสร้างเมืองที่แม่น้ำกก ก่อตั้งราชวงศ์ลวจักราช
การขยายอำนาจ ส่งลูกชายไปสร้างเมืองใหม่ และให้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดารัฐอื่น เป็นการสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติ
กษัตริย์ มี 25 พระองค์
การสิ้นสุด พระยามังรายรวบรวมเมืองใกล้เคียง ( อ้างสิทธิ์สายเลือด ) สร้างเป็นเชียงราย ( ราชธานีใหม่ ) ขยายอำนาจถึงสร้างราชธานีใหม่ในลุ่มน้ำปิง ยึดแคว้นหริภุญชัย ( ส่งไส้ศึกไปอยู่ ) ไปสร้างเมือง เวียงกุมกาม ( อยู่แถวเชียงใหม่ ) แล้วก็สร้างนพบีรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เกิดอาณาจักรล้านนา แคว้นหิรัญนครเงินยางกลายเป็นส่วนหนึ่งของล้านนาไป
3.แคว้นพะเยา
( พ.ศ. 1640 - 1881 )
ศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองพะเยา ( เชิงดอยแม่น้ำอิง )
เชื้อสาย ขุนจอมธรรมเป็นเชื้อสายของปู่ลาวจง
ความสัมพันธ์ พระยางำเมือง เรียนวิชาสำนักสุกทันตฤาษีกรุงละโว้ ร่วมสำนักกับพ่อขุนรามคำแหง อาณาจักรสุโขทัย และพระยามังราย แห่งแคว้นหิรัญนครเงินยาง
การรุกราน พระยามังรายจะยึดพะเยา พระยางำเมืองเจรจายอมยกเขตแดนคน 500 หลังคาเรือนให้ ต่อมาสหายทั้ง 3 พระองค์ทำสัญญาเป็นมิตรกัน เมื่อพระยางำเมืองสวรรคตความสัมพันธ์นี้ก็เสื่อมลง
การสิ้นสุด พระยาคำฟูแห่งล้านนาชวนพระยาน่านยกมาตีแคว้นพะเยา ทำให้ต่อมาถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนา
4.อาณาจักรล้านนา
( พ.ศ. 1839 - 2442 )
ยุคต้น
พระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ ( ราชธานี ) ลำพูนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาพุทธ และเชียงรายเป็นเมืองอุปราช
พื้นที่ ทิศเหนือ ติด เชียงรุ่ง เชียงตุง ทิศตะวันออก ติดแม่น้ำโขง แต่ไม่รวมปัว น่าน แพร่ ทิศใต้ติดลำปาง ทิศตะวันตก ติดแม่น้ำสาละวิน
-การปกครอง ทรงตรากฎหมายที่เรียกว่า “ มังรายศาสตร์ ”
-ศาสนา สร้างเจดีย์กู่คำหลวง วัดเจดีย์เหลี่ยม (เวียงกุกกาม) พระอารามจัดกานโดม ( วัดช้างคำ )
-สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 1854
ยุคกลาง
– พระเจ้าถือนากษัตริย์ ( กษัตริย์องค์ที่ 6 ) เข้าอยู่ยุคเจริญรุ่งเรืองล้านนาเจริญสูงสุดสมัยพระเจ้าติโลกราช ( กษัตริย์องค์ที่ 9 ) ทรงขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำสงครามต่อเนื่องกับอยุธยาได้นานถึง 14 ปี
ยุคเสื่อม
ในสมัยพระยาเกศครองราชย์จนถึงช่วง พ.ศ. 2101 เกิดความเสื่อมถอยและการตกเป็นประเทศราชของพม่า เหตุเพราะปัจจัยภายใน ความสัมพันธ์ทางเครือญาติลดความสำคัญลง ขุนนางมาอำนาจ กษัตริย์อ่อนแอ เศรษฐกิจตกต่ำ และการขยายอำนาจของราชวงศ์ตองอู
รวมประเทศ
พ.ศ. 2317 สมัยธนบุรี ผู้นำล้านนาสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ล้านนาจึงเป็นประเทศราชของไทย จนกระทั่งถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยใน พ.ศ. 2442 ( รัชกาลที่ 5 )
5.อาณาจักรสุโขทัย
( พ.ศ. 1792 - 2006 )
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ราบภาคกลางตอนบนบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและลำน้ำสาขา
กษัตริย์องค์แรก เนื่องจากเมืองที่พ่อขุนศรีนาวกุมครองถูกขอมสบาดโขลญลำพงยึดไว้ เจ้าขุนผาเมือง ( ลูกชาย ) จึงได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวยึดคืนมา และพ่อขุนบางกลายหาวได้รับการอภิเษกครองกรุงสุโขทัย พระนาวว่า “ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ”
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้สุโขทัยเป็นเมืองหลัก ( ผู้นำ )
·ปัจจัยภายใน
1.ทำเลที่ตั้ง เป็นชุมทางของการค้าขาย และเป็นจุดที่มีอารยธรรมพม่า มอญ และเขมรมาบรรจบกัน
2.ความสามัคคีของคนไทย เช่น กรณีพ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวร่วมกันยึดสุโขทัย
3.ความสามารถของผู้นำ
·ปัจจัยภายนอก
1.การเสื่อมอำนาจของเขมร ( ที่ทำสงครามยืดยื้อกับจำปาและไดเวียต และการสร้าง เทวสถาน )
2.การสร้างความสัมพันธ์กับจีน ในรูปบรรณาการ
สาเหตุของความเสื่อมเกิดจาก
1.ปัจจัยภายใน
การแก่งแย่งอำนาจกันของผู้นำ
ความไม่เข้มแข็งของผู้นำ
การถูกตัดเส้นทางการค้า
2.ปัจจัยภายนอก จากการขยายอำนาจไปทางเหนือโดยกำลังทหาร การแทรกแซงภายใน การสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติ ทำให้อ่อนแอ
6.แคว้นสุพรรณภูมิ
( พุทธศตวรรษที่ 18 – พ.ศ. 1893 )
ที่ตั้ง ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุพรรณภูมิ ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี
ศาสนา นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท รับอิทธิพลจากแคว้นนครชัยศรี
การสิ้นสุด พระเจ้าอู่ทองรวมแคว้นสุพรรณภูมิกับละโว้ และสถาปนาอาณาจักรอยุธยาในปี 1893
7.อาณาจักรอยุธยา
( พ.ศ. 1893 - 2310 ) เจริญยาวนาน 417 ปี
ปัจจัยภายใน
1.กรุงศรีอยุธยามีชัยภูมิที่เหมาะสม คือ มีแม่น้ำล้อมรอบ ทิศเหนือ แม่น้ำลพบุรี ทิศตะวันตกจรดทิศใต้ แม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันออกขุดคูคลองเชื่อม ปัจจุบัน คือ แม่น้ำป่าสัก
2.กรุงศรีอยุธยามีดินดีและน้ำท่าอุดมสมบูรณ์
3.กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง สามารถคุมทางคมนาคมหรือการค้าและเส้นทางยุทธศาสตร์เมืองอื่นได้
ปัจจัยภายนอก
ช่วงเวลานั้นเขมรหมดอำนาจ ไม่สามารถต้านทานทัพไทยได้
เศรษฐกิจสมัยอยุธยา
1.เกษตร ส่วนใหญ่ปลูกข้าว รัฐมีรายได้จากอากรนา คือ ชาวบ้านจ่ายข้าวเปลือกให้รัฐเรียกว่า หางข้าว สมัยพระนารายณ์มหาราชทรงเปลี่ยนการเก็บข้าวมาเก็บเงิน ไร่ละสลึง
2.การค้า เนื่องจากเป็นเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ จึงค้าขายกันอย่างจำกัดกับต่างประเทศ รัฐใช้วิธีการผูกขาดการค้าโดยผ่าน พระคลังสินค้น ต้องขายผลผลิตให้รัฐ และรัฐจะเป็นผู้ขายสินค้าให้ต่างประเทศ
3.การเก็บภาษีอากร ไพร่ หรือประชาชน ต้องเสียภาษีให้พระมหากษัตริย์ รัฐมีรายได้จาก จกอบ ส่วน ฤชา ภาษีสินค้าขาเข้าและภาษีสินค้าขาออกจากการค้ากับต่างประเทศ
สังคมสมัยอยุธยา
1.ระบบไพร่ เป็นการควบคุมแรงงานตามระดับชั้น ให้มูลนายควบคุมไพร่ หากเป็นไพร่ที่ไม่มีสังกัดจะถูกส่งเข้าวัง ( เป็นคนของหลวง ) สังกัดกรมกองราชธานี ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ การปฏิรูปสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทำให้เกิดไพร่หลงและไพร่ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานให้ขุนนาง เรียกว่า ไพร่สม
2.ระบบศักดินา เป็นการจำแนกฐานะทางสังคม เพื่อกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ สิทธิ อภิสิทธิ์ต่าง ๆ
8.อาณาจักรธนบุรี
( พ.ศ. 2310 - 2325 )
สาเหตุที่ย้ายราชธานีมาที่ธนบุรี
1.เป็นเมืองหน้าด่าน
2.ตั้งอยู่ในทำเลค้าขายสะดวก หากมีข้าศึกก็หนีไปหัวเมืองชายทะเลได้
3.มีดินน้ำอุดมสมบูรณ์
4.มีป้อมสมัยอยุธยา 2 แห่ง ป้องกันข้าศึกได้
5.มีขนาดไม่ใหญ่มาก เหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่
ปลายรัชสมัย
เกิดกบฏพระยาสรรค์ขึ้น สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกที่กำลังยกทัพไปตีพม่าจึงย้อนกลับมาปราบกบฏ พระเจ้าตากซึ่งในเวลานั้นเชื่อว่า ทรงวิกลจริต ชาวบ้านต่างหวาดกลัว จึงได้รับโทษประหาร ต่อมาสมเด็จพระยามหากษัตริย์จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ สิ้นรัชสมัยกรุงธนบุรี
9.อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ( พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน )
รายนามพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รายชื่อกลุ่ม
นายนนท์ปกรณ์วัชรสุทธิพันธ์ม. 5/11 เลขที่ 8
นายวชิรวิทย์สุริโยทัยม. 5/11 เลขที่ 13
นายวัชระเป็งปัญญาม. 5/11 เลขที่ 14
นายเสฏฐวุฒิจันทร์สุริยาม. 5/11 เลขที่ 17
เดิมชื่อ นาคพันธ์สิงหนวัตินคร ต่อมาเปลี่ยนเป็น โยนกนครธานีศรีช้างแส่น และจึงเป็นชื่อ แคว้นโยนกเชียงแสน
แหล่งอ้างอิง
https://sites.google.com/site/hitorybyrongratchada/rath-thiy-ni-din-daen-thiy