Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์, นางสาวจุฑามาศ โยระภัตร 6001210972 - Coggle…
ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก Iron deficiency anemia
แนวทางการวินิจฉัย
สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจคัดกรองหาภาวะโลหิตจาง ตั้งแต่ครั้งแรกที่มาฝากครรภ์
หากตรวจคัดกรองพบว่ามีภาวะโลหิตจาง ถึงแม้จะไม่มีอาการก็ควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและความรุนแรงของโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจ complete blood count peripheral blood smear พบความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง Hgb ต่ำกว่า 10 gm% Hct ต่ำกว่า 30 %
การตรวจอุจจาระอาจมีโรคพยาธิ
การตรวจดูระดับธาตุเหล็กในเลือด
เกิดจากการได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการที่สูงขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
การป้องกัน
แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการเสริมธาตุเหล็ก 60 mg ทุกวัน ตลอดการตั้งครรภ์ ยกเว้น มีข้อห้ามในการให้ เช่น มีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย (hemochromatosis)
ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กโดยให้ความรู้โภชนศึกษาแก่หญิงที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์
การรักษา
วินิจฉัยหาสาเหตุและอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงสาเหตุ
ให้การรักษาตามสาเหตุ
การให้ยาในรายที่มี parasite
การให้เลือด เป็นต้น
การให้ธาตุเหล็กโดยการรับประทานหรือการฉีด
การพยาบาลระยะคลอด
ประเมินสัญญาณชีพ
ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารตามแผนการรักษา
บรรเทาความเจ็บปวดในระยะคลอด
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น หายใจไม่สะดวก แน่นอึดอัด
ดูแลให้พักผ่อนอย่างเต็มที่
ประเมินสภาพทารกในครรภ์ และบันทึก FHS
จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำคลอด และการแก้ไขปัญหา
ควรจัดให้ผู้คลอด คลอดในท่านอนหงาย ชันเข่า ศีรษะสูง
ประเมินปริมาณเลือดที่ออกจากโพรงมดลูก และแผลฝีเย็บ
สังเกตการหดรัดตัวของมดลูก ดูแลให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ป้องกันการตกเลือด
เตรียมอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
ชนิดของธาลัสซีเมีย
Alpha (α) thalassemia
Hb Bart's hydrops fetalis หรือ homozygous α-thal 1 มี genotype เป็น α-thal 1/ α-thal 1 หรือเขียนเป็น --/-- เป็นจางธาลัสชนิดที่รุนแรงที่สุด ผู้ป่วยจะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอด ปัญหาที่พบขณะตั้งครรภ์คือ ความดันโลหิตสูง บวม และครรภ์เป็นพิษ
Hb H disease ที่พบบ่อยมี genotype 2 ชนิดใหญ่ๆคือ α -thal 1/ α -thal 2 หรือ --/-α และ α-thal 1/Hb CS หรือ --/ αcsα ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการน้อยถึงปานกลาง ได้แก่ อาการซีด เหลือง พบตับม้ามโตเล็กน้อย แต่ถ้ามีภาวะติดเชื้อจะมีภาวะซีดลงอย่างรวดเร็ว
Beta (β) thalassemia
β thalassemia major หรือ homozygous β thalassemia disease ส่วนใหญ่มี genotype เป็น β0/β0 ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการซีดเร็วภายในอายุ 2 ปี อาการอื่น ๆ ที่พบได้ คือ ตับม้ามโต รูปโครงหน้าเปลี่ยน (thalassemia face) การเจริญเติบโตไม่สมอายุ หากไม่ได้รับเลือดจะมีอาการซีดมาก และหัวใจล้มเหลว แต่ในกลุ่มที่มี genotype β+/β+ มักจะมีอาการไม่รุนแรง
β thalasemia/Hb E disease มี genotype เป็น β0/βE หรือ β+/βE อาการทางคลินิกพบได้ตั้งแต่ อาการรุนแรงมาก ปานกลาง และน้อย ขึ้นอยู่กับชนิดของ mutation
การให้คำแนะนำปรึกษาก่อนตั้งครรภ์
ให้ความรู้ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งต่อตัวแม่และทารกในครรภ์ โดยความเสี่ยงขึ้นกับความรุนแรงของภาวะซีดและอวัยวะภายในที่เสียหน้าที่จากภาวะเหล็กเกินตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์
คู่สามีควรได้รับการตรวจค้นหาการเป็นพาหะหรือเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โดยตรวจชนิดของฮีโมโกลบินหรือชนิดของ mutation เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นธาลัสซีเมีย และหากพบว่ามีความเสี่ยงอาจเลือกหลีกเลี่ยงการมีบุตรเป็นโรคด้วยการวินิจฉัยก่อนคลอด
การดูแลรักษาขณะตั้งครรภ์
เฝ้าระวังการติดเชื้อ
ตรวจคัดกรองหรือค้นหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อตั้งครรภ์
รับประทานกรดโฟลิกเสริม 5 มก.ต่อวัน ทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง งดสูบบุหรี่และสารเสพติด
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม
ให้เลือดเพื่อรักษาระดับ Hb ให้อยู่ที่ระดับ ไม่ต่ำกว่า 7-10 g/dl โดยการเลือกเลือดที่ให้ควรเป็นเลือดที่มีปริมาณเม็ดเลือดขาวน้อย leukocyte poored PRC (LPCR) หรือ leukocyte depleted (LDPRC)
หลังคลอดสามารถให้นมแม่ได้ถ้าแม่ไม่มีการติดเชื้อ เริ่มให้การรักษาด้วยยา ขับเหล็กและแนะนำวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
งดการรักษาด้วยยาขับเหล็ก
เป็นโรคพันธุกรรมทางโลหิตวิทยา ถ่ายทอดในลักษณะยีนด้อย (autosomal recessive) มีความผิดปกติในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน ทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกิดภาวะโลหิตจางซึ่งความรุนแรงจะต่างกันไปตามชนิดของธาลัสซีเมีย ตั้งแต่มีอาการเล็กน้อยจนถึงเกิดภาวะโลหิตจางเรื้อรัง มีการเจริญเติบโตไม่สมอายุ เกิดพยาธิสภาพของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับม้ามโต หัวใจวาย เป็นต้น
การเสริมธาตุเหล็กในผู้ที่เป็นธาลัสซีเมีย
งดการเสริมธาตุเหล็กในผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเหล็กเกินหรืออาจจะมีเหล็กเกินอยู่ก่อนแล้ว
เสริมธาตุเหล็กในผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะขาดธาตุเหล็กได้เช่นเดียวกับประชากรทั่วไปและไม่มีความเสี่ยงที่จะสะสมธาตุเหล็กเกิน
Aplastic anemia
อาจเป็นโดยกกำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลังก็ได้ ชนิดที่เกิดขึ้นภายหลังอาจเกิดจากการได้รับยาหรือสารเคมีบางชนิด การติดเชื้อ โดนรังสี และภูมิคุ้มกันบกพร่อง
อาการ
มีจุดแดงขึ้นตามตัว
มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ
อ่อนเพลีย
มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
ความผิดปกติอยู่ที่มีการลด stem cells ในไขกระดูกลงอย่างมาก เซลล์ที่ไขกระดูกลดลงทั้งสามชนิด ( เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด) วินิจฉัยได้จากการที่พบว่ามีภาวะโลหิตจางร่วมกับเม็ดเลือดขาวต่ำและเกล็ดเลือดต่ำ รวมทั้งการมีจำนวนเม็ดเลือดในไขกระดูกลดลงอย่างมาก
การรักษา
การให้ granulocyte ควรให้เฉพาะเวลาที่มีการติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน
การให้ testosterone หรือ androgen อื่น ๆ ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงขณะตั้งครรภ์
การให้ยากดภูมิคุ้มกัน
การปลูกถ่ายไขกระดูก
การให้เม็ดเลือดแดงพิจารณาให้เมื่อมีอาการจากภาวะโลหิตจาง
ถ้าเกล็ดเลือดต่ำมากอาจต้องให้เกล็ดเลือด
การคลอดควรหลีกเลี่ยงการเสียเลือดให้มากที่สุด เช่น ให้คลอดทางช่องคลอด หลีกเลี่ยงแผลฉีกขาด ให้ยากระตุ้นให้มดลูกแข็งตัว ระมัดระวังการติดเชื้อ และตรวจรักษาโดยเร็ว
ไตรมาสที่หนึ่งและสาม Hb ต่ำกว่า 11 g/dl Hct ต่ำกว่า 33% และHb ต่ำกว่า 10.5 g/dl Hct ต่ำกว่า 32%
ผลของภาวะโลหิตจางต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อทารก
ทารกน้ำหนักน้อยกว่าปกติ หรือทารกโตช้าในครรภ์ เพิ่มอัตราการตายปริกำเนิด และการคลอดก่อนกำหนด
มีเหล็กสะสมน้อยกว่าปกติ หากไม่ได้รับธาตุเหล็กเสริมหลังคลอด จะมีพัฒนาการและเจริญเติบโตของสมองที่ช้ากว่าเด็กทั่วไป
บางสาเหตุสามารถถ่ายทอดความเสี่ยงไปยังทารกได้ เช่น ธาลัสซีเมีย
สาเหตุของภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์
ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด(hereditary)
ความผิดปกติของฮีโมโกลบิน เช่น ธาลัสซีเมีย Sickle cell disease
Hereditary hemolytic anemia เช่น G6PD deficiency
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง(acquired)
ภาวะโรคเรื้อรัง เช่น มะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง
Acquired hemolytic anemia เช่น autoimmune hemolytic anemia(AIHA), Paroxysmal Nocturnal hemoglobinuria
การเสียเลือดออกจากร่างกาย เช่น การตกเลือดก่อนคลอด การมีพยาธิปากขอ
Aplastic anemia
การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โฟเลต หรือวิตามินบี12
ผลต่อมารดา
โอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น
ช่วงการคลอดและหลังคลอดมีผลกระทบซ้ำเติมต่อมารดาจากการเสียเลือด ทำให้เกิดจากวะช็อก หรือ heart failure ได้
การทำงานของหับใจหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยง heart failure
สัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression)
Megaloblastic Anemia
Folic Acid Deficiency anemia
การดูดซึมอาหารบกพร่อง (malabsorption)
เพิ่มการใช้โฟเลตมากขึ้นในการแบ่งเซลล์
ได้รับยาหรือสารบางชนิดที่รบกวนการดูดซึมของโฟเลต
สารยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ dihydrofolate reductase ซึ่งมีฤทธิ์ในการเปลี่ยน dihydrofolate (DHF) เป็น active tetrahydrofolate (THF) เช่น methotrexate
ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอกับความต้องการที่สูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ 400 ไมโครกรัมต่อวัน
Vitamin B12 Deficiency anemia
รับประทานอาหารที่มีวิตามินB12 ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะมังสวิรัติ
ภาวะบกพร่องในดูดซึมวิตามินB12
ภาวะโลหิตจางที่พบว่าเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่กว่าปกติ (MCV > 100fL) เกิดจากเซลล์ไขกระดูกไม่สามารถสร้าง DNA ได้ตามปกติ แต่ยังคงสร้าง RNA และโปรตีนได้
4.ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia)
อาการ
ไข้สูง หนาวสั่น
อ่อนเพลมาก
ซีดเหลือง
ปัสสาวะมีสีคล้ายน้ำปลา
ปัจจัยกระตุ้น
ยาบางชนิด
รับประทานถั่วปากอ้า
การติดเชื้อ
G-6-PD เป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเซลล์ทั่วไปของร่างกาย รวมทั้งเม็ดเลือดแดง ถ้าขาดเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย มักมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม ถ่ายทอดแบบX-linked ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงอาการในเพศชายมากกว่า
การรักษา
ต้องตรวจเลือดดูระดับเอนไซม์. G-6-PD รักษาตามอาการคือถ้าคิดมากอาจจะต้องให้เลือด ถ้ามีการติดเชื้อควรระมัดระวังยาที่อาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันการเกิดไตวาย
โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการ
นางสาวจุฑามาศ โยระภัตร 6001210972