Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 49 ปี
Dx. Spinal Canal Stenosis
U/D: HT,Migraine -…
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 49 ปี
Dx. Spinal Canal Stenosis
U/D: HT,Migraine
Hypertension
ภาวะแทรกซ้อน
1.สมอง อาจเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก กลายเป็นโรคอัมพาตครึ่งซีกซึ่งเป็น ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ถ้าเป็นเรื้อรังอาจกลายเป็นโรคความจำเป็นเสื่อม สมาธิลดลง นอกจากนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ซึม เพ้อ ชัก หรือหมดสติได้ ซึ่งเรียกว่า “Hypertensive encephalopathy”
2.หัวใจ จะทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายโต (LVH) ทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบกลายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงอาจเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย
3.ตา จะเกิดภาวะเสื่อมของหลอดเลือดแดงภายในลูกตาอย่างช้า ๆ ในระยะแรกหลอดเลือดจะตีบ แต่ ต่อมาอาจแตกมีเลือดออกที่ตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นตาบอดได้
4.ไต อาจเกิดภาวะไตวายเรื้อรัง เนื่องจากหลอดเลือดแดงแข็ง เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ซึ่งไตที่วายจะยิ่งทำให้ความโลหิตของผู้ป่วยสูงขึ้น
5.หลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดเลือดแดงส่วนปลาย หลอดเลือดแดงใหญ่เกิดภาวะหลอดเลือดแดง แข็ง ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และภาวะเลือดเซาะผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ นอกจากนี้ หลอดเลือดแดงส่วนที่มาเลี้ยงขาและปลายเท้าอาจ เกิดภาวะแข็งตัวและตีบได้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีการสูบบุหรี่ร่วมด้วย) ทำให้เลือดไปเลี้ยงที่ ขาและปลายเท้าได้น้อย อาจเป็นตะคริวบ่อย หรือปวดน่องขณะเดินมาก ๆ หากหลอดเลือดแดงเกิด การอุดตันก็อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นขาดเลือดจนกลายเป็นเนื้อตายเน่า (Gangrene) ได้
พยาธิสภาพ
เกิดจากการมีแรงต้านทานการไหลเวียนโลหิตในร่างกายเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณโลหิตที่ถูกส่งออกจากหัวใจต่อนาทียังคงปกติ
มีหลักฐานอธิบายสาเหตุว่าในผู้ที่อายุน้อยบางคนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงจะมีปริมาณของโลหิตที่ถูกส่งออกมาจากหัวใจต่อนาทีสูง อัตราการเต้นของหัวใจสูง และแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายยังคงปกติ
แต่เมื่อคนเหล่านี้มีอายุเพิ่มมากขึ้น ปริมาณโลหิตที่ถูกส่งออกมาจากหัวใจต่อนาทีจะลดลง และแรงต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลายจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น
-
สาเหตุ
-
กรรมพันธุ์ เชื่อว่าพันธุกรรมจะมีผลต่อระบบฮอร์โมนทำให้มีการหลั่งสารเคมีมากไป Renin angiotensin มากทำให้ความดันโลหิตสูง
-
-
-
-
Migraine
พยาธิสภาพ
ไมเกรนเป็นโรคปวดศีรษะที่พบบ่อยโดยเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวซึ่งเกิดจากการกระตุ้นเซลล์ประสาทไทรเจมมินัลและ หลอดเลือดโดยอาการปวดจะมีความรุนแรงปานกลางถึงมาก อย่างไรก็ตาม พยาธิกำเนิดของไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
-
ไมเกรนเกิดจากการถูกกระตุ้นและภาวะไวต่อ การรับความรู้สึกเจ็บปวดของระบบประสาทส่วนปลายในปมประสาทไทรเจมมินัลที่รับความรู้สึกบริเวณเยื่อหุ้มสมอง
-
ภาวะแทรกซ้อน
ปัญหาเกี่ยวกับท้อง (Abdominal problems) การใช้ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในการบรรเทาอาการปวดไมเกรน เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง เลือดออกในกระเพาะอาหาร เกิดแผล หรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ โดยเฉพาะหากใช้ยาในปริมาณมากหรือใช้เป็นเวลานาน
อาการปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป (Medication-overuse Headaches) เกิดขึ้นหากมีการใช้ยาแก้ปวดเกือบทุกชนิดในประมาณมากเกินไป มากกว่า 10 วัน/เดือน เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน
กลุ่มอาการเซโรโทนิน (Serotonin Syndrome) ภาวะแทรกซ้อนชนิดนี้จะพบได้น้อยมาก แต่มีความรุนแรง เป็นอันตรายแก่ชีวิต ซึ่งจะเกิดเมื่อร่างกายมีสารสื่อประสาทที่ชื่อเซโรโทนินมากเกินไป มักเกิดเมื่อใช้ยากลุ่มทริปแทนร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่มักมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว โดยมักมีข้างที่ปวดเป็นประจำ สลับกับการปวดอีกข้าง (ผู้ป่วยประมาณ 10% ปวดอยู่ข้างเดียว ไม่มีสลับข้าง)
-
-
มักมีอาการปวดค่อนข้างรุนแรง ผู้ป่วยมักอยากนอนพักนิ่งๆ ในที่เงียบ พราะอาการปวดอาจกระตุ้นจากแสง หรือเสียงดังๆ ได้ ในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
ผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการนำ (aura) มาก่อนอาการปวดศีรษะได้เช่น อาการผิดปกติทางการมองเห็นเช่น เห็นแสงวูบวาบ เห็นแสงเป็นเส้น หรือเห็นเป็นเงาดำมืดได้
-
ปัจจัยเสี่ยง
-
ความเครียด, นอนน้อย หรือนอนมากเกินไป
-
กลิ่นแรงๆ เช่น น้ำหอม, ควันบุหรี่
อาหาร เช่น เนย, ช็อกโกแลต, ผงชูรส, เบคอน
ประจำเดือน โดยในผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดศีรษะสัมพันธ์กับการมีประจำเดือนอย่างชัดเจน (Menstrual Migraine) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดศีรษะ 1-2 วันก่อนมีประจำเดือน และปวดต่อเนื่องไปในช่วงที่มีประจำเดือน