Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสภาพระบบหายใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
พยาธิสภาพระบบหายใจและหลอดเลือด
ภาวะช็อค (Shock)
ระยะของช็อค
ระยะแรกหรือระยะปรับตัว (Initial, nonprogressive, compensated stage)
ระบบต่อมไร้ท่อ เมื่อเกิดภาวะช็อคจะมีการตอบสนองในระบบต่อมไร้ท่อ โดยการ ตอบสนองจะเกิดขึ้นหลังกระตุ้นระบบประสาท คือใช้เวลาประมาณ 20 นาทีหลังเกิดภาวะช็อค
การไหลเวียนเลือดของร่างกาย เปลี่ยนแปลงโดยผลของการกระตุ้นระบบประสาทซิม พาเธติคและแคทีโคลามีน โดยจะมีเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะที่ไม่สำคัญน้อยลง เ
ระยะปรับตัวไม่ส าเร็จ (Progressive, decompensated stage)
ลดการทำงานของศูนย์ควบคุมหลอดเลือด (Vasomotor Center)
การทำงานของหัวใจลดลง จากภาวะที่หัวใจขาดเลือด ภาวะกรดในร่างกายและ สารพิษอื่นๆ ในเลือดจะกดการทำงานของหัวใจ
เพิ่มการซึมผ่านของน้ำจากการที่หลอดเลือดขยาย จะทำให้น้ำในหลอดเลือด ซึมผ่านออกสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์ได้มากขึ้น
มีการหลั่งสารจากเนื้อเยื่อที่ขาดออกซิเจน สารที่หลั่งจากเซลล์ของร่างกายที่ ขาดออกซิเจน
มีการเสื่อมสลายของเซลล์ทั่วไป เมื่อเซลล์ขาตออกซิเจนจะขาดพลังงานในการ ทำงานของเซลล์
ระยะสุดท้ายหรือระยะไม่ฟื้น (Irreversible, final stage)
ระยะสุดท้ายหรือระยะไม่ฟื้น (Irreversible, final stage) เป็นระยะที่มีเซลล์ตายอย่าง มาก แม้จะให้การรักษาก็จะไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยฟื้นกลับเป็นปกติได้เพราะอวัยวะที่สำคัญ (Vital organs)
ชนิดของภาวะช็อค
Hypovolemic หรือ Hematogenic shock เป็นภาวะช็อคที่เกิดจากการสูญเสียปริมาตร น้ำในหลอดเลือด
สูญเสียเลือด อาจจะสูญเสียจากการได้รับบาดเจ็บมีหลอดเลือดฉีกขาด
สูญเสียน้ำและเกลือแร่ (Dehydration)
สูญเสียพลาสมา ซึ่งจะสูญเสียโปรนในพลาสมาด้วย การสูญเสียในลักษณะนี้ยัง
Cardiogenic shock เป็นภาวะช็อคที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปให้เนื้อเยื่อได้เพียงพอ โดยจะมีปริมาณเลือดออกจากหัวใจใน 1 นาที
Lactic acidosis เกิดจากเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน (Hypoxia) จึงทำให้ได้พลังงานจากเมตา โบลิสมแบบไม่ใช้ออกซิเจน จะได้ของเสียเป็นกรดแลคติคซึ่งความเป็นกรดของร่างกายจะกดการ ทำงานของหัวใจ และกดการทำงานของเอนชัยม์ต่างๆ ของร่างกาย
อาการและอาการแสดงของภาวะช็อค
ระบบประสาท ในระยะปรับตัวของช็อคการรับรู้จะปกติกระสับกระส่าย เมื่อเข้าสู่ระยะ Decompensated จะเริ่มสับสน ซึม เฉยเมย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ในระยะแรกของช็อคจะมีการกระตุ้นหัวใจจากระบบประสาท ซิมพาเธติค ซีพจรจะเร็วและแรง ความดันโลหิตจะปกติหรือลดลงประมาณ 10-20% ในระยะ Decompensated ชีพจรจะเร็วมากขึ้น แต่จะเบา
ระบบหายใจ อัตราการหายใจจะเร็วและตื้น เนื่องจากภาวะกรด (Acidosis) จะกระตุ้น การหายใจ และในระยะสุดท้ายของช็อคมักจะเกิด Pulmonary edema
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ไตจะได้รับเลือดน้อยลง จึงสร้างปัสสาวะออกมาน้อยกว่าปกติใน ระยะปรับตัวของช็อค ไตจะไม่ขาดเลือดมากนัก เพราะร่างกายยังถือว่าไตเป็นอวัยวะที่สำคัญ
ผิวหนังและอุณหภูมิกาย จะมีความแตกต่างกันในช็อคแต่ละชนิดคือ Septic shock, Neurogenic shock ระยะแรกจะมีตัวอุ่นแดง และ Septic shock มักจะมีไข้สูงเนื่องจากมีการติดเชื้อแต่ช็อคชนิดอื่นๆ จะมีผิวหนังเย็น ซีด และชื้น
1 more item...
หลักการรักษาภาวะช็อค
ต้องวินิจฉัยให้ได้อย่างรวดเร็วว่าเกิดภาวะช็อค และเกิดจากสาเหตุใด ค่าความดันโลหิตจะ เป็นค่าที่แสดงได้ดีว่าผู้ป่วยเกิดภาวะช็อคหรือไม่ โดยถือว่าผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะช็อคถ้าความดัน โลหิตซิสโตลิคต่ ากว่า 90 มม.ปรอท
เพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือด โดยการเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนที่หายใจเข้าไป
แก้ไขภาวะแทรกซ้อนและภาวะที่พบร่วมกับช็อค
ประเมินผลเพื่อปรับการรักษา โดยตรวจร่างกาย ระดับความรู้สึก วัดสัญญาณชีพ
ความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ
ความผิดปกติของเยื่อหุ้มหัวใจ
Pericardial effusion หรือ Cardiac tamponade (หัวใจถูกบีบรัด) เป็นภาวะที่มีสาร น้ าหรือเลือดในช่องเยื่อหุ้มหัวใจมากกว่าปกติมีสาเหตุจากการบาดเจ็บบริเวณทรวงอก
Pericarditis เป็นการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งมักจะเกิดจากการติดเชื้อในบริเวณอื่นของ ร่างกายหรือการติดเชื้อที่หัวใจมาก่อน การอักเสบอาจพบเป็นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง พยาธิสภาพ ของการอักเสบเฉียบพลันจะเป็นเช่นเดียวกับการอักเสบในบริเวณอื่นๆ ที่จะมีการเคลื่อนตัวของเม็ด เลือดขาวมาบริเวณที่อักเสบ
Constrictive pericarditis เป็นผลต่อเนื่องมาจากการอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ และเกิด กระบวนการหาย โดยมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมาทดแทน (Fibrous Scare tissue) ซึ่งเนื้อเยื่อชนิดนี้ยืด ขยายได้น้อย และอาจพบว่าเกิดการดึงรั้งของ Scar (เช่นเดียวกับการที่แผลเป็นที่ผิวหนังดึงรั้ง) จึงทำให้บีบรัดหัวใจทำให้ขยายออกเพื่อรับเลือดได้น้อยลง
ความผิดปกติของหลอดเลือดของหัวใจ (Coronary heart disease: CHD)
ความผิดปกติของหลอดเลือดของหัวใจที่พบบ่อยคือการอุดตันของหลอดเลือดแดงของหัวใจซึ่งอาจจะเกิดจาก หลอดเลือดแดงตีบแข็ง (Atherosclerosis) และการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ จากลิ่มเลือด (Thrombus) หรือ Plaque ที่เกิดจาก Atherosclerosis หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อ เรียบของหลอดเลือด
อาการและอาการแสดงของความผิดปกติของหลอดเลือดของหัวใจคือ อาการเจ็บหน้าอก (Angina หรือ Angina pectoris) และความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG)
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ (valvular heart disease)
Myocarditis คือการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจโดยที่ไม่พบกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไวรัส เป็นสาเหตุของการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจที่พบบ่อย มักจะพบว่าผู้ที่มีความผิดปกติของระบบ ภูมิคุ้มกันหรือมีภูมิต้านทานต่ำ
Cardiomyopathy เป็นกลุ่มของความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจากสาเหตุอื่นไม่ว่าจะเป็นที่หัวใจเองหรือที่หลอดเลือด Cardiomyopathy ที่พบบ่อยคือ Dilated cardiomyopathy หมายถึงพยาธิสภาพที่มีการยืดขยายออกของห้องหัวใจ และมักพบว่า ผนังของห้องหัวใจบางลง ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกห้อง
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
1) การตีบแคบของลิ้นหัวใจ (Valve stenosis หรือ Stenotic valve disorder)
2) ลิ้น หัวใจปิดไม่สนิท (รั่ว) (Regurgitation)
การวินิจฉัยโรคของลิ้นหัวใจ จะอาศัยการฟังเสียงหัวใจ เสียงหัวใจที่ผิดปกติเรียกว่า Murmur โดยพิจารณาว่าเป็น Systolic murmur หรือ Diastolic murmur และได้ยินชัดที่บริเวณใด
ความผิดปกติของหัวใจในเด็ก
Left -to-Right shunt คือความผิดปกติที่มีเลือดแดง (Oxygenated) ปะปนกับเลือดดe(Unoxygenated) ความผิดปกติในกลุ่มนี้เกิดจากการที่มีรูหรือส่วนเชื่อมต่อระหว่างหัวใจซีกซ้าย
Right-to-Left shunt คือ ความผิดปกติที่มีเลือดดำปะปนกับเลือดแดง จึงทำให้เลือด แดงที่ไปเลี้ยงร่างกายมีออกซิเจนต่ำเซลล์จึงขาดออกซิเจน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการเขียวคล้้ำ(Cyanosis)
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) หมายถึง ภาวะที่หัวใจไม่สามารถบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยง เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ได้อย่างเพียงพอ
ภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลว (Left heart failure)
เกิดจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจข้างซ้ายตาย และโรคของกล้ามเนื้อ หัวใจโรคของลิ้นหัวใจและความดันโลหิตสูง ทำให้ความแรงในการบีบตัวของหัวใจซีกซ้ายลดลง มี เลือดเข้าสู่วงจรรงกายน้อยลง
ผลกระทบที่เกิดขึ้นไปข้างหน้า (Forward effect) จากการที่หัวใจบีบเลือดออกมาลดลง
ผลกระทบที่เกิดย้อนกลับไปข้างหลัง (Backward effect เมื่อหัวใจบีบตัวลดลงทำให้ ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง เป็นผลให้มีเลือดเหลือค้างในหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้น
ภาวะหัวใจข้างขวาล้มเหลว (Right heart failure)
มักเกิดภายหลังหัวใจล้มเหลวซีกซ้าย ถ้าหัวใจล้มเหลวด้านขวาเกิดก่อน มักเกิดในโรคกล้ามเนื้อหัวใจซีกขวาตาย
หัวใจซีกซ้ายล้มเหลว ในภาวะหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว จะมีเลือดออกจากหัวใจซีกซ้ายเข้าสู่ วงจรร่างกายน้อยลง
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทำให้แรงดันหลอดเลือดในปอดสูง หัวใจห้องล่างขวาทำงานหนักขึ้น เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซีกขวาตามมา
ความผิดปกติในจังหวะการเต้นของหัวใจ
Sinus tachycardia คือการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ แต่สม่ำเสมอชีพจร
Sinus bradycardia คือการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติแต่สม่ำเสมอ อัตราชีพจรที่ถือว่า เป็น Bradycardia คือน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
Fibrillation หมายถึงการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติและไม่สม่ำเสมอ
Premature Contraction หมายถึงการเต้นของหัวใจที่มีการหยุดเป็นช่วงๆ
Heart block หมายถึงภาวะที่การนำไฟฟ้าในหัวใจ มีการปิดกั้นหรือทำให้ช้าลง