Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ, ข้อมูลเพิ่มเติม, นายภวัต กิตติสุรัตน์พงศ์…
การทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland)
PTH: เพิ่มระดับ Ca2+ ในเลือด
ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่องของหน่วยไตลดน้อยลง แต่จะมีฟอสฟอรัสมากขึ้น มีผลทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็งเรียกการเกิด tetany
ในกรณีที่มีมากเกินไปจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงประสาทตอบสนองได้น้อย กล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดกระดูก
ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland)
Triiodothyronine (T3) & Thyroxine (T4): ควบคุมเมแทบอลิซึมร่างกาย และการเจริญเติบโต
ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซิน ในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาไม่ดี อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายเตี้ยแคระ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Cretinism
ในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉื่อยชา เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Myxedema
ฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดโรค Grave’s disease ในเด็กจะมีอาการตัวสั่น ตกใจง่าย แต่คอไม่พอก
มากในผู้ใหญ่จะเกิดอาการคอพอกเป็นพิษ (toxin goiter หรือ exophthalmic goiter ) ต่อมมีขนาดใหญ่ มีฮอร์โมนมาก อัตราเมแทบอลิซึมจะสูง นานไปจะมีการสะสมสารเคมีบางชนิดในเบ้าตาทำให้ตาโปน
Calcitonin: ลดระดับ Ca2+ ในเลือด
ขาดธาตุไอโอดีน ยังมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้ ส่งผลให้เป็น โรคคอพอก ( Simple goiter หรือ endemic goiter)
ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary)
OXT: กระตุ้นการหลั่งน้ำนม และกระตุ้นการบีบตัวของมดลูกขณะคลอด
ADH: กระตุ้นการดูดน้ำกลับที่ท่อขดส่วนปลายและท่อไตรวมที่หน่วยไต
ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)
GHRH: กระตุ้นการหลั่ง GH
TRH: กระตุ้นการหลั่ง TSH
GnRH: กระตุ้นการหลั่ง LH และ FSH
CRH: กระตุ้นการหลั่ง ACTH
ทำหน้าที่อื่นๆต่อมไพเนียล (pineal gland)
Meletonin: ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ และยับยั้งการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ไม่ให้เจริญเติบโตก่อนวัยเจริญพันธุ์
melatonin หลั่งออกมามากจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้ากว่าปกติ
melatonin ไม่สังเคราะห์หรือหลั่งได้น้อย จะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary)
ACTH: กระตุ้นการสร้างและหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก (cortisol, androgen และ aldosterone)
TSH: กระตุ้นการสร้างและหลั่ง thyroid hormone (T3 & T4) จากต่อมไทรอยด์
FSH: กระตุ้นการเจริญเติบโตของอสุจิใน Sertoli cell ของอัณฑะ / กระตุ้นการเจริญเติบโตของฟอลลิเคิล และสร้าง estrogen ในรังไข่
LH: กระตุ้นการสร้าง testosterone ใน Leydig cell ของอัณฑะ กระตุ้นการตกไข่ (ovulation) ที่รังไข่
Prolactin: กระตุ้นการสร้างและหลั่งน้ำนมของเต้านม
MSH: กระตุ้นการสร้าง melatonin ซึ่งสร้างจากเซลล์เมลาโนไซท์ (melanotropic cell)
GH: การเจริญเติบโตของร่างกาย
ถ้าร่างกายมี GH มากเกินไป ในวัยเด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism ในผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly
ถ้าร่างกายขาด GH ในเด็ก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (สติปัญญาปกติ) เรียก Dawrfism ในผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด(stess) สูงเรียกว่า Simmom’s disease
อัณฑะ (testis)
Testosterone: กระตุ้นการสร้างอสุจิ และกระตุ้นลักษณะเพศชายทุติยภูมิ
ตับอ่อน (pancreas): Islets of Langerhans
Insulin: ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด
Glucagon: เพิ่มระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด
รังไข่ (ovarie) และคอร์ปัสลูเทียม (corpus luteum)
Estrogen & Progesterone: กระตุ้นการเจริญเติบโต และพัฒนาการของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
ต่อมหมวกไตส่วนใน (adrenal medulla)
NE & E: เพิ่มกิจกรรมของหัวใจ และการตอบสนองความเครียดระยะสั้น
ต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex)
Cortisol: เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด และควบคุมเมแทบอลิซึมของร่างกาย
Androgen: กระตุ้นการสร้างอสุจิ และกระตุ้นลักษณะเพศชายทุติยภูมิ
Aldosterone: กระตุ้นการดูดกลับ Na+ (ทำงานร่วมกับเอนไซม์และฮอร์โมนอื่นๆ)
รก (placenta)
hCG กระตุ้นการสร้าง estrogen และ progesterone ใน corpus luteum ช่วงแรกของการตั้งครรภ์
กระเพาะ
Gastrinเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้น ทำหน้าที่กระตุ้นหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
ลำไส้เล็ก
Sacretin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในบริเวณดูโอดินัม ของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในตับอ่อน และกระตุ้นตับให้หลั่งน้ำดี เมื่ออาหารผ่านจากกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็ก
ข้อมูลเพิ่มเติม
Non – Essential endocrine gland เป็นต่อมที่ไม่จำเป็นหรือจำเป็นน้อยมากต่อร่างกาย
ต่อมหมวกไตชั้นใน ( Adrenal medulla )
ต่อมไพเนียล ( Pineal )
ต่อมไทรรอยด์ ( Thyroid )
ต่อมไทมัส ( Thymus )
ต่อมใต้สมอง ( Pituitary )
ต่อมเพศ ( Gonads )
Essential endocrine gland เป็นต่อมไร้ท่อที่จำเป็นมาก ถ้าขาดแล้วทำให้ตายได้
ต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex)
ต่อมไอส์เลตของตับอ่อน (Islets of Langerhans )
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid)
นายภวัต กิตติสุรัตน์พงศ์ เลขท่ี่ 3 ม.6/5