Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 เทคนิค วิธีการ และการสื่อสารในการส่งเสริม และพัฒนาการเกษตร -…
หน่วยที่ 5
เทคนิค วิธีการ และการสื่อสารในการส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
5.3 เทคนิคและวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรับสื่อของบุคคลเป้าหมาย
สภาพแวดล้อมภายใน เช่น ความสามารถในการรับรู้ ระดับการศึกษา จิตใจ
สภาพแวดล้อมภายนอก
.สถานภาพทางกายภาพ เช่นแหล่งข้อมูลข่าวสาร สถานที่ตั้งของแหล่งข้อมูลว่ามีความสะดวกหรือห่างไกลจากชุมชนในการเดินทาง อุปกรณืและสิ้งสนับสนุน
สภาพทางสังคมของบุคคลเป้าหมาย เช่นการติดต่อการสังคมภายนอก ความเชื่อและทัศนคติ การเป็นผู้นำ
สถานภาพทางกายภาพ เช่นแหล่งข้อมูลข่าวสาร สถานที่ตั้งของแหล่งข้อมูลว่ามีความสะดวกหรือห่างไกลจากชุมชนในการเดินทาง อุปกรณืและสิ้งสนับสนุน
บุคคลและกลุ่มเป้าหมายในกระบวนการติดต่อสื่อสาร
ผู้นำชาวบ้านระดับรากหญ้า
ผู้นำที่เป็นทางการ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
เกษตรยังชีพ หรือเกษตรพอกินพอใช้ มักจะเป็นเกษตรผสมผสาน
เกษตรเชิงธุรกิจหรือเชิงการค้า เน้นการผลิตจำนวนมาก ใช้เทคโนโลยี
และการลงทุนสูง ใช้แรงงานจำนวนมาก
ผู้นำทางเศรษฐกิจ คือ มีฐานะทางการเงินดี
เทคนิคและวิธีการสื่อสารตามช่องทางการสื่อสารในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การพิจารณาในการเลือกสื่อในการเผยแพร่ คือ ต้องเข้าใจชนิดของสารที่เหมาะกับสื่อ วัตถุประสงค์ของผู้ส่ง งบประมาณและค่าใช้จ่าย ระยะเวลา ขนาด ปริมาณ และความรู้กลุ่มเป้าหมาย วิธีการสื่อ
เทคนิค
วิธีการใช้ช่องทางหรือสื่อเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายของการเรียนรู้
หากต้องการให้บุคคนเป้าหมายมีลักษณะการเรียนรู้แบบได้รับความรู้ สิ่งที่ใช้ คือ สิ่งพิมพ์
การบรรยาย แผ่นปลิว การสนทนาโดยตรง
บุคคลเป้าหมายมีลักษณะของการเรียนรู้ที่จะคงใว้หรือมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ
ใช้วิธีการอภิปรายกลุ่ม การสนทนาทางอ้อม สถานการณ์จำลอง
บุคคลเป้าหมายเกิดทักษะจากการกระทำขึ้น ใช้วิธี การฝึกอบรม การสาธิต
คุณลักษณะพิเศษของสื่อ
สามารถจับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่นการบันทึกภาพ บันทึกเสียง การพิมพ์
สามารถดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งเข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจง่ายขึ้น
สามารถขยายแจกจ่าย ทำสำเนา หรือเผยแพร่ให้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุ หนังสือพิมพ์
เทคนิคและวิธีการสื่อสารตามวิธีการในการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร
การสอนหรือการบรรยาย
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจ โดยนักส่งเสริมต้องเข้าใจเนื้อหาที่จะสื่อ มีการยกตัวอย่าง แทรกมุกตลก ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย
การพบปะ พูดคุย และเยี่ยมเยียน
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกัน ทำให้เข้าใจ
สภาพแวดล้อม เกิดบรรยากาศเรียนรู้ที่ดี เป็นกันเอง
จดหมายข่าว จดหมายเวียน
ใช้สื่อสารกับเกษตรกรที่อยู่ไกล ใช้เฉพาะกลุ่มที่มีความสนใจเท่านั้น เช่น กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร กลุ่มผู้ปลูกผัก เนื้อหา เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับกลุ่ม
จดหมายสอบถาม
เป็นการติดต่อสื่อสารกับเกษตรกรแบบรายบุคคลในลักษณะ
เฉพาะเจาะจง เนื้อหา สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย
แผ่นโฆษณา
ใช้เพื่อโฆษณาเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ละคร การประกวด มหกรรม เนื้อหาสั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย
การสาธิต
คือการอภิปรายประกอบกับการแสดงวิธีการปฏิบัติ ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ต่างๆร่วมด้วย
วัตถุประสงค์ของการสาธิต
เพื่อเผยแพร่หลักการเบื้องต้นและทฤษฎีต่างๆ
เพื่อเผยแพร่ทักษะและเทคนิคต่างๆในการปฏิบัติงาน
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจการทำงาน
เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงาน
ข้อดีและข้อจำกัดของการสาธิต
ช่วยดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมาย
ช่วยให้ความกระจ่างชัดเข้าใจเนื้อหา
ช่วยให้เห็นจริง สร้างความมั่นใจให้กลุ่มเป้าหมาย
ช่วยในการสอนความรู้ควบคู่กับการปฏิบัติได้
ช่วยให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักสังเกตุร่วมกับใช้ความคิด
ข้อจำกัด ต้องอาศัยความชำนาญและต้องเตรียมตัวล่วงหน้า
การใช้เวลาค่อนข้างมาก และมีค่าใช้จ่ายสูง
ประเภทของการสาธิต
การสาธิตวิธี คือการแสดงวิธีปฏิบัติ อุปกรณ์ที่ใช้ ใช้เวลาค่อนข้างสั้น
ค่าใช้จ่ายไม่สูง
สาธิตผล คือ การแสดงผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ใช้เวลามาก ค่าใช้จ่ายสูง
หลักการสาธิต
การเตรียมรายละเอียดต่างๆในการสาธิตให้ตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่กำหนดใว้
ให้ความเอาใจใสบุคคลเป้าหมายตลอดเวลา
กระตุ้นความสนใจ และมีการสรุปเนื้อหา
การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสาธิต
ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการสาธิต
เตรียมการสาธิต
กำหนดวัตถุประสงค์ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เตรียมสถานที่
ทดลองการสาธิต เตรียมตัวบุคคลเป้าหมายให้พร้อม
ดำเนินการสาธิต
นำเสนอเค้าโครงหรือขั้นตอนในการสาธิต
สาธิตตามเค้าโครงหรือขั้นตอนที่นำเสนอ ใช้อุปกรณ์ที่เห็นชัดเจน ขณะสาธิตควรสังเกตุสีหน้าท่าทางของผู้ฟัง สร้างความเป็นกันเอง กระตุ้นให้มีส่วนร่วม สรุปเรื่องราวเมื่อจบแต่ละขั้นตอน
ประเมินผลการสาธิต
คือ วิธีการซักถามความพึงพอใจในการสาธิตในด้านต่างๆ
การจัดทัศนศึกษา
การเตรียมการก่อนทัศนศึกษา
ความเหมาะสมของเนื้อหา สารสนเทศ
ความเหมาะสมกับความสนใจ อายุ พื้นฐานการศึกษา และประสบการณ์
ความเหมาะสมของระยะเวลา
มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
ความสามารถในการจัด และแก้ไขปัญหา
สื่อประเภทอื่นที่สามารทดแทนการทัศนศึกษาได้
บทบาทของผู้จัดและบุคคลเป้าหมาย
มีการวางแผนกิจกรรมร่วมกัน
สำรวจเส้นทางสถานที่ ก่อนเดินทาง
ติดต่อเจ้าของสถานที่ในการเตรียมการวันเวลาสถานที่
จัดหาพาหนะ กำหนดการ งบประมาณ ผู้ควบคุม
การรักษาความปลอดภัย
หนังสือขออนุญาตจากผู้ปกครองกรณีเป็นเยาวชน
จัดเตรียมกิจกรรมวัสดุ อุปกรณ์
ทบทวนรายละเอียดการเตรียมการ
ขั้นตอนในการจัดทัศนศึกษา
ขั้นเตรียมการ
กำหนดวัตถุประสงค์และสถานที่ที่จะไปทัศนศึกษา
สำรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่จะไป ที่พัก และอื่นๆ
จัดทำกำหนดการทัศนศึกษา
สำรวจเส้นทางและติดต่อเจ้าหน้าที่สถานที่
ติดต่อยานพาหนะในการเดินทาง
เตรียมกิจกรรมและวัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้
สื่ออื่นๆประกอบก่อนเดินทางเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
ขั้นไปทัศนศึกษา
กำหนดสถานที่และเวลาการออกเดินทาง และรักษาเวลาในการเดินทาง
เตรียมตัวกลุ่มบุคคลเป้าหมายในเรื่องการตั้งคำถาม
ให้คำแนะนำแก่ผู้ทัศนศึกษาตลอดการทัศนศึกษาอย่างเคร่งครัด
การแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
แนะนำวิทยาการและพี่เลี้ยง
ประสานกับเจ้าหน้าที่สถานที่ชี้แจงรายละเอียดต่างๆให้ทราบ
ขั้นอภิปรายและประเมินผล
หลังจากกลับจากทัศนศึกษา ร่วมกันอภิปรายถึง สิ่งที่ได้ ปัญหาอุปสรรค
เพื่อให้ทราบถึงผลที่ได้จากการทัศนศึกษาร่วมกัน