Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 5 เทคนิค วิธีการ และการสื่อสารในการส่งเสริม และพัฒนาการเกษตร -…
หน่วยที่ 5
เทคนิค วิธีการ และการสื่อสารในการส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
5.1 แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารในการส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
ความหมายของการสื่อสาร
หมายถึง กระบวนการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิดระหว่างบุคคลโดยผ่านสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเกิดการตอบสนองระหว่างผู้ส่งสาร และผู้รับสาร
ความสำคัญของการสื่อสาร
ทำให้เกิดความเข้าใจ
ช่วยในการคาดคะเนความคิดของกันได้
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
ด้านชีวิตประจำวัน ในทุกกิจกรรม
ด้านสังคม การถ่ายทอดความรู้และการอยู่ร่วมกันในสังคม
ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ในการติดต่อสื่อสาร ทำธุรกิจ
ด้านการเมืองการปกครอง สื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจของคนในสังคม
ด้านการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
เพื่อแจ้งให้ทราบ
เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
เพื่อสร้างความพอใจหรือความบันเทิง เช่นการเล่าเรื่อง ร้องเพลง
เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้เป็นไปตามความต้องการ
เพื่อสังคม เกิดจากการสื่อสารติดต่อกัน
ประเภทของการสื่อสาร
การสื่อสารจำแนกตามกระบวนการ
หรือการไหลของข่าวสาร
การสื่อสารทางเดียว คือ การสื่อสารจากผู้ส่งสารไปหาผู้รับสารทิศทางเดียวโดยไม่มีการตอบโต้จากผู้รับสาร เช่น การสื่อสารผ่านวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ทำได้รวดเร็ว เหมาะกับเรื่องที่เข้าใจง่าย
การสื่อสารสองทาง คือ การสื่อสารที่มีการตอบสนอง เช่น การพบปะพูดคุยกัน คุยโทรศัพท์ มอบหมายงาน
จำแนกตามภาษา
สัญลักษณ์ที่แสดงออก
การสื่อสารเชิงวัจนภาษา
คือ การใช้ภาษาพูด หรือ เขียน
ในการสื่อสาร
การสื่อสารเชิงอวัจนภาษา
คือ การใช้สิ่งอื่นแทนการพูดหรือเขียน
ในการสื่อสาร เช่น ท่าทาง สีหน้า สายตา
จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
การสื่อสารภายใน เช่น การวิเคราะห์หาเหตุผล ทบทวนกับตัวเอง
การสื่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างคนสองคน
การสื่อสารภายในกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง เช่น กลุ่มเกษตรกร
การสื่อสารระหว่างกลุ่มคนจำนวนมาก เช่น การประชุมสัมนา แถลงนโยบาย
การสื่อสารมวลชน เช่น วิทยุกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์
หลักการสื่อสารเพื่อใช้ในการส่งเสริมการเกษตร
ความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ
ความเหมาะสมของเนื้อหาสาระ คือ ตรงกับความสนใจ
ครบถ้วนครอบคลุมตามจุดมุ่งหมาย
ความแจ่มแจ้ง ไม่คลุมเครือหรือวกวน
เหมาะสมกับกาลเทศะ คือ ภาษา กิริยาท่าทาง ข้อมูลที่จะสื่อสาร
ความต่อเนื่องและความสม่ำเสมอ
ความเหมาะสมในการใช้สื่อ
ความสามารถของผู้รับสาร เช่นความรู้เดิมของผู้ฟัง อารมณ์
องค์ประกอบของการสื่อสารในการส่งเสริม
และพัฒนาการเกษตร
นักส่งเสริม
มีบทบาทในการเป็นผู้ประสานงาน ให้ความรู้ ให้คำปรึกษา
ความรู้หรือข่าวสาร
คือ สิ่งที่เกษตรกรควรรู้ ควรปฏิบัติ
สื่อ
คือ สิ่งที่จะนำความรู้ไปสู่เกษตรกร เช่น แผ่นพับ หนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต บุคคล
ช่องทาง
คือ เส้นทางของการถ่ายทอดความรู้ เช่น การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสำหรับสื่อออนไลน์ การมอง การรับฟังจากหู การได้กลิ่น
การรับรู้
คือความสามารถในการเข้าใจความรู้ข้อมูลข่าวสาร
เกษตรกร
คือผู้รับสารและเป้าหมายการพัฒนา
สิ่งรบกวน
เช่นการไม่สนใจ ความบกพร่อง
ทางเทคโนโลยี ระบบการสื่อสาร
ประเมินผล
คือการ วัดผลข้อมูลหรือความรู้ที่เกษตรกรได้รับ
การจัดการความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้
5.2 แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในการส่งเสริมและ พัฒนาการเกษตร
การพัฒนาที่เน้นความต้องการขั้นพื้นฐาน
ความต้องการขั้นต่ำของแต่ละครอบครัวในด้านการบริโภค เช่นอาหาร ที่อยู่อาศัย ปัจจัย 4 ที่เพียงพอ
ความสามารถในการเข้าถึงบริการพื้นฐานต่างๆที่จำเป็น เช่นน้ำสะอาด
บริการสารธารณสุข การคมนาคม
การมีแหล่งงานสำหรับทุกคนที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะทำงาน
การตอบสนองสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในสังคม
การพัฒนาแบบยั่งยืน
ด้านสังคม คือ ต้องยึดหลักการพัฒนาตัวตนเป็นหลัก การยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ได้รับสวัสดิการที่จำเป็น การพัฒนาต้องคำนึงถึงความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ด้านเศรษฐกิจ มุ่งตอบสนองความพึงพอใจความจำเป็นพื้นฐาน
ด้านสิ่งแวดล้อม เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
กำหนดระดับจำนวนประชากร ให้อยู่ในอัตราที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมาตรฐานการครองชีพ
รักษาและแสวงหาแหล่งทรัพยากรที่ทดแทนได้
การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆที่ช่วยประหยัดหรือเพื่อนำมาใช้แทนแหล่งทรัพยากรที่ทดแทน
การสื่อสารเพื่อเผยแพร่นวัตกรรม
กระบวนการรับนวัตกรรม
ขั้นรับรู้ คือ การรับรู้แนวคิด หรือวิทยาการใหม่ๆแต่ยังไม่ทราบถึงรายละเอียดที่แท้จริง การกระตุ้นให้เกิดความสนใจ
ขั้นสนใจ คือ เกิดความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้
มีความอยากรู้เพิ่มเติม
ขั้นไตร่ตรอง คือ การประเมินความรู้ที่ได้รับ
ถ้าตรงกับความต้องการก็จะลงมือทำ
ขั้นทดลองทำ คือ การลงมือทำเพียงบางส่วน เพื่อให้เกิดความแน่ใจ
ขั้นยอมรับนำไปปฏิบัติ
กลุ่มผู้รับนวัตกรรม
กลุ่มผู้รับสิ่งใหม่ก่อนคนอื่น หรือ นวัตกร มีความสากลสูง นิยมของแปลกใหม่
มีความรู้ความสามารถในการเข้าถึงนวัตกรรมที่ซับซ้อนได้
กลุ่มผู้รับสิ่งใหม่เร็ว มีความเป็นท้องถิ่นสูง เป็นผู้นำความคิด
ของคนในท้องถิ่น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
กลุ่มผู้รับสิ่งใหม่ส่วนมาก คือ กลุ่มคนที่ยอมรับนวัตกรรมก่อนคนทั่วไปในสังคม
กลุ่มผู้รับล่าช้าส่วนมาก คือ จะยอมรับนวัตกรรมภายหลังคนอื่น
ก็ต่อเมื่อนวัตกรรมนั้นให้คุณค่าและพึงพอใจกับตน มีฐานะไม่ค่อยดีนัก
กลุ่มล้าหลัง คือ มีความคิดเดิมๆ มีความสงสัยในนวัตกรรมใหม่ๆ
การพัฒนาแบบพึ่งพา
คือ มีการจัดระเบียบสารสนเทศและการสื่อสารของโลกใหม่ เป็นโครงสร้างของระบบสังคมที่มีการพึ่งพาอาศัยกันมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
การมีส่วนร่วมทางการสื่อสารเพื่อพัฒน
า คือประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการสื่อสาร การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของการสื่อสาร นำไปสู่การจัดทำแผนเพื่อพัฒนาประเทศ