Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ (Vacuum extraction) - Coggle Diagram
การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ
(Vacuum extraction)
การคลอดยาก (Dystocia)
คลอดยาก หมายถึง การคลอดที่ไม่เป็นไปตามปกติ หรือขบวนการคลอดผิดปกติ ไม่มีความก้าวหน้าของการเปิดขยายของปากมดลูก ความบางของปากมดลูกหรือการเคลื่อนต่ำลงมาของระดับส่วนนำการคลอดยาก พบได้บ่อยในปัจจัยของมดลูกหดรัดตัวที่ผิดปกติ และการผิดสัดส่วนระหว่างทารกและอุ้งเชิงกรานของมารดา
ประเภทของการคลอดยาก
ระยะ latent phase
ระยะคลอด latent phase นานกว่า 20 ชม.ในครรภ์แรก และนานเกินกว่า 14 ชม. ในครรภ์หลัง
** Latent phase เริ่มเจ็บครรภ์คลอดจริงจนปากมดลูกเปิด 3 ซม. ปกติระยะนี้ไม่เกิน 8 ชม.
ระยะ active phase
Protracted active phase การเปิดขยายของมดลูกช้ากว่า 1.22 cm/hr.ในครรภ์แรกและช้ากว่า 1.5 cm/hr. ในครรภ์หลัง
Protracted descent ส่วนนำศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงช้ากว่า 1 cm/hr.ในครรภ์แรก และช้ากว่า 2 cm/hr.ในครรภ์หลัง
Prolonged deceleration phase ระยะที่ 2 ของการคลอดนานเกินกว่า 3 ชม.ในครรภ์แรก และนานเกินกว่า 1 ชม.ในครรภ์หลัง
Secondary arrest of dilatation ปากมดลูกไม่เปิดขยายนานเกิน 2 ชม.ในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
ระยะที่ 2 ของการคลอด
Arrest of descent ส่วนนำไม่เคลื่อนต่ำลงนานเกินกว่า
1 ชม.ในครรภ์หลัง และ 2 ชม.ในครรภ์แรก
Failure of descent ส่วนนำไม่มีการเคลื่อนต่ำลงมากว่าระดับ ischial spine (station 0)
สาเหตุของการเกิดการคลอดยาก
ความผิดปกติของแรงจากการหดรัดตัวของมดลูก
ช่องทางคลอดที่ผิดปกติ
ความผิดปกติของตัวเด็ก รก และน้ำคร่ำ
ความวิตกกังวลของผู้คลอด และความเจ็บปวดมาก
อาการและอาการแสดงของการคลอดยาก
ตรวจภายในพบก้อนโนบนกะโหลกศีรษะในชั้นของหนังศีรษะ (Caput succedaneum)
น้ำคร่ำมีขี้เทาปน พบในรายที่ขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน
เสียงหัวใจเด็กผิดปกติมากกว่า 160 ครั้ง/นาที หรือ น้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที
การคลอดไม่ก้าวหน้าทั้งระยะ latent phase และ active phase เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
การหดรัดตัวของมดลูกผิดปกติไป เนื่องจากได้รับยาออกซิโตซินเร่งการคลอด
การคลอดไม่ก้าวหน้าทั้งระยะ latent phase และ active phase เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
PV พบการเกยกันของกระดูกรอยต่อของศีรษะเด็ก (Molding) มาก เนื่องจากศีรษะถูกบีบจากหนทางคลอด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะเข้าสู่ระยะของการคลอด
การช่วยคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ คือ การที่ใช้เครื่องดูดสุญญากาศในการเสริมแรงจากการหดรัดตัวของมดลูกในขณะเจ็บครรภ์ร่วมกับแรงเบ่งของผู้คลอดดึงศีรษะทารกออกจากช่องคลอด โดยออกแรงดึงเฉพาะเวลาที่มดลูกหดรัดตัว เพื่อให้สามารถดำเนินการคลอดทางช่องคลอดได้อย่างปลอดภัย
หลักการทำงานเครื่องดูดสุญญากาศ
เครื่องปั๊มอากาศจะถูกสูบออกจากขวดเกิดสุญญากาศขึ้นภายในขวดแก้ว และถ้วยมีทางติดต่อกับขวดสุญญากาศด้วยสายยางจึงเกิดสุญญากาศภายในถ้วยด้วย ทำให้หนังศีรษะทารกถูกดูดเข้าไปเต็มถ้วยเกิดการบวมน้ำที่ใต้หนังศีรษะ ศีรษะทารกจึงติดแน่นกับถ้วย การดึงเป็นการดึงเสริมแรงการหดรัดตัวของมดลูกและแรงเบ่งของผู้คลอด เพื่อทำให้ศีรษะทารกคลอดออกมา
ข้อบ่งชี้ในการช่วยคลอด
ข้อบ่งชี้ด้านผู้คลอด
มารดาอ่อนเพลียไม่มีแรงเบ่งคลอด
ระยะที่ 2 ของการคลอดยืดเยื้อ นานกว่า 2 ชมในครรภ์แรก หรือ 1 ชมในครรภ์หลัง
มารดามีโรคแทรกซ้อนที่ไม่ควรออกแรงเบ่งคลอด ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคหัวใจ กล้ามเนื้ออ่อนแรง รกลอกตัวก่อนกำหนด
ข้อบ่งชี้ด้านทารก
ศีรษะทารกอยู่ในท่าผิดปกติซึ่งคลอดยาก
ภาวะทารกเครียด
ภาวะที่ต้องมีให้ครบก่อนการใช้เครื่องดูดสุญญากาศ
ทราบท่าของทารกและระดับส่วนนำ
ศีรษะต้องอยู่ในช่องเชิงกรานถึงระดับ 0 หรือต่ำกว่า
ปากมดลูกเปิดหมด หรือ 8 ซม. ขึ้นไปและบางเต็มที่
ถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว
ทารกเป็นท่าศรีษะ ยิ่งก้มมาก ยิ่งดี
ควรวางถ้วยให้อยู่ใกล้ท้ายทอยมากที่สุด
ภาวะแทรกซ้อน
ต่อมารดา
มีการฉีกขาดของช่องทางคลอด ซึ่งนำไปสู่การตกเลือดหลังคลอดได้ ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจช่องทางคลอดตั้งแต่ปากมดลูก ช่องคลอดและแผลฝีเย็บอย่างละเอียดทุกครั้งและทำการเย็บซ่อมในทันที
ต่อทารก
เลือดออกใต้เยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ (cephalhematoma) มักเป็นที่กระดูก parietal หายได้เองภายใน 7 - 10 วัน
รอยช้ำ (ecchymosis) บริเวณที่เกิดก้อนโนที่หนังศีรษะ พบได้เมื่อมีการดึงแล้วถ้วยหลุด
ผิวหนังตาย (scalp necrosis) และผมร่วง (alopecia) เกิดจากการใช้เวลาดึงนานส่วนใหญ่เกิน 30 นาที
เลือดออกภายในสมอง (intracranial hemorrhage) พบในทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะคับขัน ปากมดลูกยังเปิดไม่หมดและส่วนนำไม่ลง
อาจมีเลือดออกที่จอประสาทตา (retinal hemorrhage) ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบต่อการมองเห็น สามารถหายได้เองภายใน 7 วัน
มีการบวมของหนังศีรษะ (localized scalp edema) สามารถหายได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมง
ข้อควรใส่ใจ
ระยะเวลาที่ถ้วยจับกับศีรษะทารกไม่ควรเกิน 30 นาที
จำนวนครั้งที่ถ้วยหลุดไม่ควรเกิน 2 ครั้ง
ระดับความดันไม่ควรเกิน 0.8 กก./ตร.ซม.
แนวของการดึงต้องตั้งฉากกับถ้วย
ต้องดึงพร้อมกับการหดรัดตัวของมดลูกและแรงเบ่งของแม่
ถ้าดึงแล้วศีรษะทารกไม่เคลื่อนตามลงมาควรยุติหัตถการ
จำนวนครั้งที่ดึงจนทารกคลอดไม่ควรเกิน 3 ครั้ง
ไม่ใช้เครื่องดูดสุญญากาศเพื่อหมุนศีรษะทารก