Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ, image, image, image, image, image, image - Coggle…
หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยมานานกว่า 2,000 ปี คนไทยยอมรับว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเกินกว่า 90% นับถือพระพุทธศาสนาเรียกตนเองว่าเป็น “ชาวพุทธ” รวมทั้งมีองค์พระมหากษัตริย์คนไทยเป็นองค์ศาสนูปถัมภกอีกด้วย
- แสดงตนเป็นพุทธมามกะแต่ยังเยาว์ ศาสนิกชนหลายศาสนามีการแสดงออกต่อผู้อื่นหรือต่อสาธารณะชนว่าตนได้เข้าเป็นสมาชิกหรือเข้านับถือศาสนานั้นๆแล้ว แต่ของพุทธศาสนาแต่เดิมมาก็มักจะถือกันว่านับถือพุทธศาสนาตามบิดา มารดา ไม่ได้มีการแสดงตนหรือสมัครเข้าเป็นสมาชิกแต่อย่างใดเลย ทำให้ตัวเองบางทีก็สงสัยว่าเป็นชาวพุทธขื้นมาด้วยวิธีใด ฉะนั้นลักษณะที่น่าจะยอมรับกันไว้ข้อแรกก็คือ ให้ได้เข้าพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ถึงซึ่งพระรัตนตรัยเป็นที่พึงที่ระลึกเสียแต่ยังเยาว์ เริ่มตั้งแต่เข้าโรงเรียนซึ่งสถานศึกษาหรือสถาบันพุทธศาสนาหลายแห่งได้กระทำกันอยู่แล้ว
- แสดงความเคารพเมื่อผ่านปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ที่ประพฤติตนสมควรแก่การกราบไหว้ในฐานะสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ไหว้พระสวดมนต์ประจำวันเป็นการเสริมข้อต้น ๆ ทั้ง 2 คือการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ให้รู้จักความกตัญญูตามหลักธรรม ระลึกถึงคุณของผู้มีพระคุณมีบิดามารดาครูอาจารย์ อย่างน้อยก่อนเข้านอนวันละครั้ง
- ฟังธรรมเป็นนิจ ในวันพระหรือวันอาทิตย์ได้เข้าวัดฟังธรรมหรือแม้ทางสื่อสารมวลชนที่เผยแพร่อยู่ทั่วไป
- มีที่บูชาประจำบ้าน เพื่อเป็นที่เคารพกราบไหว้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
- ทำบุญและประกอบพิธีตามฤดูกาล เช่น วันสำคัญทางศาสนาหรือพิธีบำเพ็ญบุญต่าง ๆ ตามฤดูกาลนั้น ๆ
- มีเบญศีล เบญจธรรม ซึ่งเป็นหลักการเบื้องต้นที่จะให้คนละเว้นความชั่วแล้วทำความดีอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข พร้อมทั้งทำหน้าที่แนะนำข้อสงสัยให้กับผู้อื่นที่ไม่เข้าใจ
- ผู้ชายต้องบวช แม้จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะแล้วหรือเข้าเป็นสมาชิกของชาวพุทธแล้วยังมีอีกองค์การหนึ่งที่ผู้ชายควรหาโอกาสเข้าเป็นสมาชิกเพื่อศึกษาปฎิบัติยอมสละกายใจและเวลาเพื่อบวชเป็นภิกษุ รู้จุดมุ่งหมายของการบวชว่าเพื่ออะไร ต้องปฎิบัติอย่างไร มิใช่มีวัตถุประสงค์ เช่น บวชหน้าศพ บวชแก้บน บวชให้บิดามารดา บวชเพื่อแต่งงานหรือเพื่อประเพณีเท่านั้นจึงพอสรุปได้ว่า “หน้าที่ของชาวพุทธที่ดี” นั้นก็คือ การประพฤติปฎิบัติอย่างเข้าใจในพระพุทธศาสนา “ยึดหลักธรรมเป็นคติประจำใจ ยึดความมีระเบียบวินัยเป็นทางดำเนินชีวิต”
มารยาทชาวพุทธ
มารยาทในการนั่ง
- การนั่งกับพื้น ควรนั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ผู้หญิงถ้าเท้าแขนก็อย่าเอาท้องแขนออกข้างหน้า ผู้ชายไม่ควรนั่งเท้าแขน
- การนั่งเก้าอี้ ควรนั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าชิด เข่าชิด มือวางบนหน้าขาหรือพาดบนที่เท้าแขนเก้าอี้ก็ได้ไม่ควรโยกเก้าอี้ไปมา ผู้หญิงควรระมัดระวังเครื่องแต่งกายไม่ให้ประเจิดประเจ้อ
มารยาทชาวพุทธ เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฏิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฏิบัติต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนา ที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย แม้จะไม่สำคัญเท่าหลักธรรมคำสอนโดยตรง แต่ก็มีส่วนในการสร้างความรัก ความสามัคคี อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทย ที่คนไทยทุกคนควรประพฤติปฏิบัติและสืบทอดต่อไป
มารยาทในการไหว้
- การไหว้พระสงฆ์ เมื่อพนมมือแล้ว ให้ยกมือที่พนมขึ้นจรดหน้าผาก ให้ปลายหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้วค้อมศีรษะ ลงให้ปลายนิ้วจรดต้นผม แนบมือให้ชิดหน้าผาก ค้อมตัวให้มาก ผู้ชายให้ยืนส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อย ผู้หญิงให้ก้าวขาขวาออกไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วย่อตัวไหว้
- การไหว้บิดามารดา ครูอาจารย์และญาติผู้ใหญ่ ให้พนมมือยกขึ้นจนนิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ผู้ชายค้อมตัวลงเล็กน้อย ผู้หญิงก้าวขาขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วย่อตัวลงแต่พองาม
มารยาททางสังคม
มารยาท คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไรพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม
-
-
-
-
-
-