Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ - Coggle Diagram
เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์
นิวเคลียส
เยื่อหุ้มนิวเคลียส : เป็นเยื่อหุ้ม 2 ชั้นที่ห่อหุ้มนิวเคลียสไว้ มีลักษณะเป็นเยื่อหุ้มที่มีรูพรุน ( nuclear pore) สำหรับใช้เป็นทางเข้าออกของสารเคมีภายในนิวเคลียสกับไซโทพลาสซึม เซลล์ทั่ว ๆ ไปจะมีนิวเคลียส 1 อัน ยกเว้นเซลล์ของกล้ามเนื้อลายจะมีนิวเคลียสหลายอัน เซลล์เม็ดเลือดแดงไม่มีนิวเคลียส
นิวคลีโอพลาสซึม : เป็นส่วนที่อยู่ภายในนิวเคลียสประกอบไปด้วย น้ำ ไอออน เอนไซม์ กรดนิวคลีอิก ( DNA และ RNA) โปรตีน และ โครโมโซม
นิวคลีโอลัส (Nucleolus) : เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้น เป็นกลุ่มของเส้นใยที่ขดเป็นก้อนกลมฝังตัวอยู่ในเนื้อนิวเคลียส (ในนิวคลีโอพลาสซึม)
ออร์แกเนลล์ ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม
ไรโบโซม (Ribosome)
โครงสร้างและหน้าที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 นาโนเมตร ประกอบด้วย 2 หน่วยย่อย คือ หน่วยใหญ่ (60 S) และหน่วยเล็ก (40S) ซึ่งสร้างขึ้นจาก rRNA และ โปรตีน สร้างในนิวคลีโอลัส เป็นที่สร้างโปรตีน มี 2 ชนิด
1) ไรโบโซมที่อยู่เป็นอิสระใน ไซโทพลาซึม(ทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่อยู่ใน ไซโทพลาสซึม)
2) ไรโบโซม ที่ติดอยู่บนร่างแหเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (ทำหน้าที่สร้างโปรตีนและส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์)
ไซโตสเกเลตัล Cytoskeleton
ไมโครฟิลาเมนท์ (Microfilament)
ไมโครทูบูล (Microtubule)
อินเทอร์มีเดียท ฟิลาเมนต์ (Intermediate filament)
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 1 ชั้น
ร่างแหเอนโดพลาสซึม (Endoplasmic Reticulum,ER)
ร่างแหเอนโดพลาสซึมชนิดหยาบ (Rough Endoplasmic Reticulum, RER) มีไรโบโซม (Ribosome) เกาะที่ผิวด้านนอกทําให้มีผิวขรุขระ
ร่างแหเอนโดพลาสซึมชนิดเรียบ (Smooth Endoplasmic Reticulum, SER) มีผิวเรียบเป็นท่อทรงกระบอกโค้งงอ หรือเป็นแท่งมีกิ่งก้านสาขา หรือเป็นถุง ไม่เรียงตัวซ้อนกัน ทําหน้าที่สังเคราะห์และหลั่งสาร สเตอรอยด์ฮอร์โมน
ถุงกอลจิ คอมเพล็กซ์ (Golgi Complex)
เป็นออร์แกเนลล์ที่ติดต่อกับ ER มีลักษณะเป็นถุงแบนที่มีเยื่อ 2 ชั้น เรียกว่า Cisterna วางซ้อนกันประมาณ 5-10 ชั้น มี 2 ด้าน ด้านนูนติดต่อกับ ER ส่วนด้านเว้ามักพบ Vacuole Sac จํานวนมาก ปลายทั้ง 2 ของถุงจะโป่งออก
ไลโซโซม (Lysosome)
1) Primary (Vergin) Lysosome เป็นไลโซโซมแรกสร้าง มีหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหารภายในเซลล์
2) Secondary Lysosome หรือ Phagosome เป็นไลโซโซมที่ทําลายสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกที่เข้าสู่เซลล์
3) Residual Body เป็นไลโซโซมที่บรรจุกากที่เหลือจากการย่อย และดูดซึมกลับของเซลล์
4) Autophagic Vacuole หรือ Auto phagosome เป็นไลโซโซมที่ทําลาหรือออร์แกเนลล์ของเซลล์ที่หมดอายุ
แวคิวโอล (Vacuole)
1) Sap Vacuole เป็นแวคิวโอลในเซลล์พืช สะสมสารต่าง ๆ ที่พืชสร้างขึ้นในเซลล์ที่เกิดใหม่ ๆ แวคิวโอลมีขนาดเล็กเนื่องจากยังสะสมสารน้อย เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นมีการสะสมสารต่าง ๆ มากขึ้น แวคิวโอลจะขยายใหญ่จนเกือบเต็มเซลล์ ดันให้ไซโตพลาสซึมและนิวเคลียสไปอยู่ชิดกับผนังเซลล์
2) Contractile Vacuole พบในพวกโปรโตซัวนํ้าจืด เช่น อะมีบา พารามีเซียม ทําหน้าที่เก็บและขับถ่ายของเหลวส่วนเกินออกจากเซลล์
3) Food Vacuole พบในโปรโตซัวบางชนิดและเซลล์สัตว์ชั้นสูง ที่กินสิ่งแปลกปลอม ที่เข้าสู่เซลล์ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว ที่กินสิ่งแปลกปลอมโดยวิธี Phagocytosis สร้างเป็นถุงอาหารและหลอมรวมกับไลโซโซมเพื่อทําการย่อยต่อไป
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อ 2 ชั้น
ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria)
คลอโรพลาสต์ (chloroplasts)