Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปรับตัวของร่างกายในภาวะที่มีพยาธิสภาพ ระบบทางเดินปัสสาวะ - Coggle…
การปรับตัวของร่างกายในภาวะที่มีพยาธิสภาพ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ภาวะไตล้มเหลว
เเบ่งได้เป็น
Acute renal failure (ARF,AKI)
มี 3 ระยะ
Pre acute renal failure: มี GFR ต่ำ เนื่องจากความดันในการกรองลดลงจากมีเส้นเลือดหดตัว BP ต่ำ การตกเลือด สูญเสียน้ำในร่างกาย CO ลดลง
Intra acute renal failure:มักมาจาก acute tubular necrosis ,post ischemic (เกิดหลังผ่าตัด) ,nephrotoxic (จากยา ATB ในกลุ่ม aminoglycoside)
Post acute renal failure:มาจาก urinary tract infection,urinary tract infection
อาการและอาการเเสดง
อาการระยะเเรกปัสสาวะออกน้อย หลังจากมี hypotension พบ BUN creatinine สูงขึ้น เสียสมดุลเกลือเเร่ บวม คลื่นไส้อาเจียน
ระยะที่สอง เป็นระยะปรับตัว เเต่ไตไม่สามารถทำให้ปัสสาวะเข้นข้น จึงมีปัสสาวะออกมากทำให้สูญเสีย
Na+ K+ ไปในปัสสาวะผู้ป่วยจึงต้องการน้ำทดเเทน
ระยะฟื้นตัว ใช้เวลานาน 3-12 เดือน กว่าหน้าที่ของไตจะคืนสู่สภาพปกติ
การรักษา
รักษาสมดุลของน้ำเเละเกลือเเร่
จำกัดอาหารที่มี K+สูง
ส่งเสริมให้ K+ เข้าเซลล์ โดยให้อินซูลิน กลูโคส NaCO3 เพื่อดึง K+ เข้าเซลล์
เเคลเซียมต่ำ เนื่องจากการดูดซึมเเคลเซียมจากลำไส้ลดลงเพราะขาดวิตามินดี จึงต้องให้เเคลเซียมเเละเเก้ไขความเป็นกรด
ฟอสเฟส เเมกนีเซียมในเลือดสูง เเก้ไขโดยให้ Amphojel (ระวังท้องผูก) และหลีกเลี่ยงยาที่มีเเมกเนเซียมสูง
ป้องกันการติดเชื้อ จากการใส่สายยางต่างๆ การฟอกไต
การใช้อาหารอย่างเพียงพอ เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของไต ลดการสลายกล้ามเนื้อให้อาหารที่มีโปรตีนต่ำในระยะที่มีปัสสาวะออกน้อย
ระวังการให้ยาที่เป็นพิษต่อไต
Chronic renal failure (CRF)
เป็นภาวะที่มีการเสื่อมหน้าที่ของไต ซึ่งดำเนินไปเรื่อยๆ เเละไม่สามารถเเก้ไขให้กลับคืนสภาพปกติ ระยะเเรกจะไม่มีอาการ จนไตเสื่อมไปมาก
เเบ่งได้ 4 ระยะ
กำลังสำรองของไตลดลง (Decreased renal reserve) ไตทำหน้าที่ 40% ผู้ป่วยยังไม่มีอาการเเละ
อาการเเสดงอะไร
ไตทำหน้าที่ได้ไม่เพียงพอ (Renal insufficiency) ไตทำหน้าที่ 15-40% (GFR=20 ml/min) ผู้ป่วยเริ่มมีของเสียสะสมอยู่ในเลือด มีเลือดจาง
ไตวาย (Renal failure) ไตทำหน้าที่ได้เพียง 5-15% ผู้ป่วยจะมีของเสียสะสมในเลือดเเละมีเลือดจางมากขึ้น มีภาวะไม่สมดุลของสารน้ำเเละอิเล็กโตรไลท์ มีปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
ไตวายระยะท้ายหรือยูรีเมีย (ESKD) ไตทำหน้าที่ได้เพียง 5% มีภาวะไม่สมดุลของสารน้ำเเละอิเล็กโตรไลท์ เเละภาวะกรดด่างมากขึ้น
ความผิดปกติในความสมดุลของสารน้ำเเละอิเล็กโตรไลท์
น้ำ : มีปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (nocturia) และถ่ายปัสสาวะจำนวนมาก ปัสสาวะมีความเข้มข้นใกล้เคียงพลาสมา ถ้าไตวายมากขึ้น ปัสสาวะจะออกน้อยลง เกิดการคั่งของน้ำและอาการบวม
โซเดียม: ระยะที่มีปัสสาวะออกมากเเละขับโซเดียมออกมาก จึงเกิดภาวะขาดโซเดียม ซึ่งมีผลให้เลือดไหลเวียนในร่างกายลดลง ภาวะโซเดียมสูงอาจเกิดจากอัตรา
การกรองลดลง
โพเเทสเซียม: 90% ของโพเเทสเซียมที่ถูกขับออกจากร่างกาย ถูกขับออกทางไต ถ้าหน้าที่ไตเสียไปมากก็จะเกิดภาวะ Hyperkalemia
สภาวะกรดด่าง: ปกติไตจะขับ H+ ที่เกิดจากขบวนการ
เผาผลาญออกทางปัสสาวะเเละเก็บ HCO3-ไว้ เเละสร้างเเอมโมเนียซึ่งทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ของH+ ที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ถ้าไตเสีย จะสร้างเเอมโมเนียลดลง ทำให้ขับกรดออกลดลง เเละดูดกลับ HCO3- ได้น้อยลง
ภาวะเลือดเป็นกรด จะมีระบบบัฟเฟอร์จาก
เเคลเซียมคาร์บอนเนต ทำให้เเคลเซียมที่ถูกสะสมที่กระดูกถูกใช้ไปมากมีผลให้กระดูกผุ
การสร้าง 1,25-dihydroxycholecacifero
(1,25 vitamin D) ที่ไตลดลงทำให้การดูดซึมเเคลเซียมได้ลดลงเเละฟอสเฟสในเลือดสูงเพราะถูกขับออกน้อยลง จึงไปจับกับเเคลเซียม ทำให้เกิด CaHPO4 ระดับเเคลเซียมจึงลดลง (Hypocalcemia) จึงกระตุ้นให้หลั่ง PTH
PTH จะกระตุ้นการปล่อยเเคลเซียมออกจากกระดูก เเละเร่งการขับฟอสเฟสอออกจากไต
เเมกนีเซียม: ถูกขับออกลดลง ทำให้เเมกนีเซียมในเลือดสูง
ฮอร์โมน: ไตสร้าง Erythropoietin Renin Prostaglandin
ถ้าไตเสียจะสร้าง Erythropoietin ลดลงทำให้สร้างเม็ดเลือดเเดงลดลง หลั่ง Prostaglandin ได้น้อยลง
การรักษา
ให้อาหารอย่างเหมาะสม จำกัด Na+ K+ ให้โปรตีนที่มีคุณค่า
จำกัดน้ำ โดยดูปริมาณน้ำ-เข้าออก ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน
กำจัดของเสียด้วยการฟอกไต
ระวังเลือดเป็นกรด โพเเทสเซียมสูง