Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาการไม่สุขสบายระหว่างตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
อาการไม่สุขสบายระหว่างตั้งครรภ์
คลื่นไส้ อาเจียน
สาเหตุ
ด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น ความเครียด ความกังวล
HCG หรือ Progesterone มีระดับสูงขึ้น ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวน้อยลง
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ไม่ปล่อยให้ท้องว่างหลังตื่นนอนตอนเช้า
รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
รับประทานวิตามิน
ดื่มน้ำขิงอุ่นๆ
เมื่อเกิดความเครียดให้หาวิธีผ่อนคลาย หรือทำงานอดิเรก
หลีกเลี่ยงกลิ่นอาหาร หรือ ควันบุหรี่
หลังอาเจียนควรบ้วนปากให้สะอาด
เจ็บชายโครง
สาเหตุ
ทารกโตขึ้นเกิดการดิ้น เตะ ถีบ กระทุ้งตัวแรงขึ้น
มดลูกขยายใหญ่ขึ้น
การป้องกันและบรรเทาอาการ
นั่งตัวตรง ยืดตัว
สวมเสื้อผ้าหลวมสบาย
ทำกายบริหาร
เจ็บเต้านม
สาเหตุ
โครงสร้างของเต้านมถูกถ่วงดึงจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
hormones ที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
โครงสร้างของเต้านมถูกถ่วงดึงจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
การป้องกันและบรรเทาอาการ
สวมแผ่นซับน้ำนมไว้ใต้เสื้อยกทรง
ทำความสะอาดเต้านมและหัวนมวันละครั้ง
ทาหัวนมด้วยโลชั่นหรือออยด์สำหรับเด็กอ่อน
เปลี่ยนยกทรงให้มีขนาดพอดีกับเต้านม
ใจสั่น เป็นลม
การป้องกันและบรรเทาอาการ
รับประทานอาหารบ่อยครั้งขึ้น
เปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ
หลีกเลี่ยงการนอนหงายเป็นเวลานาน
ไม่สวมเสื้อผ้าที่คับแน่น ไม่อยู่ในที่ที่แออัดและอากาศร้อน
สาเหตุ
เปลี่ยนอิริยาบถเร็ว
นอนหงายนานเกินไป
อยู่ในบรรยากาศร้อน อบอ้าว
การอดอาหาร
เจ็บป่วย เช่น โรคโลหิตจาง โรคหัวใจ
hormones ขณะตั้งครรภ์
ตกขาว
สาเหตุ
การติดเชื้อในช่องคลอด
estrogen
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ไม่สวนล้างช่องคลอด
สวมกางเกงที่หลวมสบาย ถ่ายเทอากาศได้ดี
สังเกตลักษณะตกขาว
ขุ่นข้นเป็นก้อน คล้ายนมบูด
กลิ่นเหม็น
มีอาการคันหรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณช่องคลอด
สีเหลืองเข้ม
หากพบลักษณะของตกขาวที่ผิดปกติ รีบพบแพทย์
รักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศ
ตะคริว
สาเหตุ
อาการอ่อนเพลียหรือใช้กล้ามเนื้อขามาก
ขาดแคลเซียม วิตามินบีรวม โปแตสเซียม หรือเกลือแร่
มดลูกที่โตขึ้นกดทับเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขา
การป้องกันและบรรเทาอาการ
อาบน้ำอุ่น นอนห่มผ้า ไม่นอนให้ พัดลมเป่าบริเวณปลายเท้า
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และแคลเซียมให้เพียงพอ
เหยียดขาตรง กดเข่าให้แนบกับพื้น แล้วดันปลายเท้าเข้าหาลำตัวค้างไว้
ท้องผูก
สาเหตุ
รับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยน้อย และดื่มน้ำน้อย
มดลูกมีขนาดโตขึ้นไปกดหรือเบียดลำไส้
ยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก
Progesterone
ไม่ออกกำลังกาย
การป้องกันและบรรเทาอาการ
อุจจาระทันทีที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นอุจจาระ
ออกกำลังกายเบา ๆ ทุกวัน 20-30 นาทีต่อวัน
ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา
ไม่ซื้อยารับประทานเอง
รับประทานอาหารที่มีกากใยเยอะ ๆ และดื่มน้ำวันละ 8 - 10 แก้ว
ท้องอืด
สาเหตุ
รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
Progesterone มีระดับสูงขึ้น
การป้องกันและบรรเทาอาการ
รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้งขึ้นและเคี้ยวให้ละเอียด
ระวังอย่าให้ท้องผูก
ออกกำลังกาย เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน และอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้
เท้าและข้อเท้าบวม
สาเหตุ
รับประทานอาหารเค็มจัดหรือขาดโปรตีน
Estrogen ทำให้น้ำและเกลือโซเดียมคั่งในร่างกายมากขึ้น
น้ำหนักของทารกกดทับเส้นเลือดใหญ่
ภาวะครรภ์เป็นพิษ
การป้องกันและบรรเทาอาการ
สวมรองเท้าที่ใส่สบาย
ไม่ใช้ถุงน่องที่รัดแน่นเกินไป ไม่ใช้ผ้ายืดพันส่วนขา
รับประทานโปรตีนเพิ่มขึ้น งดเค็ม งดเครื่องดื่มคาเฟอีน
สังเกตอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ
น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว
ปวดศีรษะ ตาพร่ามัว
จุกแน่นใต้ลิ้นปี่ ปัสสาวะออกน้อย
มือบวม ใบหน้าบวม
ยกขาสูงบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งห้อยเท้านานๆ
นอนไม่หลับ
สาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงของ hormones ระหว่างการตั้งครรภ์
ทารกตื่น
ความเครียด
ปวดปัสสาวะตอนกลางคืน
การป้องกันและบรรเทาอาการ
นอนตะแคงซ้าย หาหมอนรองขาให้สบาย
ระบประทานอาหารที่มีโพแทสเซียม
ไม่ควรรับประทานยานอนหลับ
ออกกำลังมากขึ้น
ไม่กังวลกับการนอนไม่หลับมากเกินไป หางานอดิเรกทำ
งดดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มหลังอาหารเย็นหรือก่อนเข้านอน
ห้องนอนควรสงบไม่มีแสงสว่างมากเกินไป อากาศเย็นสบาย
น้ำลายออกมาก
สาเหตุ
อาจเกิดจากรับประทานอาหารประเภทแป้งมากเกินไป
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งมากเกินไป
บ้วนปากบ่อยๆ รักษาความสะอาดของปากและฟัน
ดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ
เคี้ยวหมากฝรั่ง
ปวดท้องด้านข้างหรือปวดบริเวณปีกมดลูก
สาเหตุ
มดลูกมีขนาดโตขึ้น
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ใส่กางเกงที่ช่วยพยุงท้อง
ถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอดพร้อมกับมีอาการปวดเกร็งท้องน้อยต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที
ระมัดระวังการเคลื่อนไหวร่างกาย
นอนพัก อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น
ปวด ชาฝ่ามือและนิ้วมือ
สาเหตุ
เกิดจากการบวมของเน้ือเยื่อพังผืดที่ข้อมือ
เส้นประสาทที่รักแร้ถูกกด
การป้องกันและบรรเทาอาการ
นวดข้อมือและฝ่ามือบ่อยๆ ขยับนิ้วมือขึ้นลง หรือ กางนิ้วมือออกกว้างๆ ค้างไว้
ขณะนอนควรวางมือบนหมอนให้สูงจากที่นอนเล็กน้อย
แช่มือด้วยน้ำอุ่น
สวมยกทรงขนาดที่เหมาะสม ไม่รัดแน่นจนเกินไป
ปวดศีรษะ
สาเหตุ
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับ hormonesในร่างกายขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับอาการเหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจ
การป้องกันและบรรเทาอาการ
นวดผ่อนคลายจากต้นคอด้านข้างที่ฐานของกะโหลกศีรษะ ลำคอ ขมับ ใบหน้า และไหล่
ประคบหน้าผาก ต้นคอ ขมับ หรือบริเวณที่ปวดด้วยความร้อนอุ่นๆ
ผ่อนคลายตนเองด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ
หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกระตุ้น
หลีกเลี่ยงอาหาร ที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ปวดศีรษะ
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานอาหารให้เป็นเวลา
อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
ปวดหลัง
สาเหตุ
มดลูกโตขึ้น และมีน้ำหนักมากขึ้น
ระดับ Progesterone ที่สูงขึ้นในระยะตั้งครรภ์
อาการปวดหลังบริเวณบั้นเอวขณะพลิกตะแคงตัว
การป้องกันและบรรเทาอาการ
อยู่ในท่าที่เหมาะสม
ไม่ยกของหนัก
นอนบนฟูกหรือที่นอนที่ไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป
เลือกรองเท้าส้นเตี้ยที่สวมสบาย
การบริหารกายที่ช่วยลดอาการปวดหลังและทาให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง
ปวดหัวเหน่าและเชิงกราน
สาเหตุ
ทารกกลับเอาศีรษะลงข้างล่าง และกดตรงกระดูกข้อต่อกระดูกหัวเหน่า
ระดับ Progesterone สูง
เกิดจากศีรษะทารกชนหรือกดบนกระเพาะปัสสาวะที่มีน้ำปัสสาวะอยู่เต็ม
การป้องกันและบรรเทาอาการ
นั่งเอนตัวไปข้างหน้า อย่าให้น้ำหนักกดบริเวณอุ้งเชิงกรานมากเกินไป
ไม่นอนบนที่นอนที่แข็งจนเกินไป ควรนอนตะแคงกอดหมอนข้าง
ออกกำลังกาย
ไม่กลั้นปัสสาวะ
ปัสสาวะบ่อย
สาเหตุ
Progesterone มีระดับสูงขึ้น
กล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานที่อยู่บริเวณรอบรูเปิดท่อปัสสาวะและทวารหนักหย่อนตัว
หากมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย จะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยและปวดท้องน้อยห
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ดื่มน้ำมากๆในช่วงกลางวัน และดื่มน้อยลงในช่วงกลางคืนหรืองดดื่มน้ำก่อนเข้านอน
ปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด และไม่กลั้นปัสสาวะ
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังถ่ายปัสสาวะทุกครั้ง
ฝึกขมิบช่องคลอด
ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น อ้อยแดง สับปะรด กระเจี๊ยบ
สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะแสบขัด สีเข้ม มีเลือดปน มีไข้
อารมณ์แปรปรวน
สาเหตุ
เกิดจากระดับฮอร์โมน Estrogen ที่มีสูงข้ึนซึ่งแตกต่างกันในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ผ่อนคลายความตึงเครียด
ออกกำลังกายเบาๆ หรือ การนั่งสมาธ
ทำกิจกรรมนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศไ
ความรักและความเข้าใจจากคนใกล้ชิด คอยรับฟังปัญหา ความกังวลใจ
เหนื่อยล้า
สาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
หัวใจทำงานมากขึ้น
การทำงานหนักเกินไป หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
การป้องกันและบรรเทาอาการ
พักผ่อนให้เพียงพอ นอนวันละ 8-10 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องออกแรงมาก
ผ่อนคลายความตึงเครียดในแต่ละวัน
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ครบทั้ง 5 หมู่
ออกกำลังกายเบาๆ ด้วยการเดินเล่นวันละประมาณ 30 นาที
เหงือกบวม หรืออักเสบ
สาเหตุ
เกิดจากการกระตุ้นของ Estrogen
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ดูแลสุขภาพปากและฟัน
ใช้ไหมขัดฟันเอาเศษอาหารออกอย่างเบามือ
พบทันตแพทย์เพื่อเช็คสุขภาพปากและฟัน
รับประทานอาหารที่ได้สัดส่วน เพิ่มอาหารโปรตีน ผักและผลไม้
หายใจลำบาก
สาเหตุ
มดลูกที่โตขึ้นไปดันกระบังลม
มดลูกไปกด Inferior vena cava
hormones ที่สร้างขณะตั้งครรภ์ทำให้หลอดเลือดฝอยของทางเดินหายใจบวม
การป้องกันและบรรเทาอาการ
บริหารร่างกายโดยยกมือทั้ง 2 ข้างขึ้นเหนือศีรษะหายใจเข้าช้าๆ วางมือลงพร้อม หายใจออกช้าๆ
ไม่นอนหงายเป็นเวลานาน ใช้หมอนหนุนศีรษะและหลังส่วนบน หรือนอนตะแคงซ้าย
ไม่ทำอะไรรีบร้อนหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ๆมีคนแออัด
แสบร้อนยอดอกหรือกรดไหลย้อน
สาเหตุ
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น มดลูกจะดันกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กไหลย้อนเข้าไปในหลอดอาหารได้ง่ายขึ้น
เกิดจาก Progesterone ไปลดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร
อาการปวดแสบยอดอก มักเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความเครียด และสภาพอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง
อาการท้องอืด หรือการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป
การป้องกันและบรรเทาอาการ
นั่งหรือเดินเล่นหลังกินอาหารและไม่นอนราบหรือนั่งหลังงอหลังกินอาหารทันที
หลีกเลี่ยงการรับประทารอาหารรสจัดและอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
รับประทานอาหารช้าๆ ครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง หรือเพิ่มมืออาหารให้มากขึ้น
หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากๆระหว่างกินอาหารแต่ควรดื่มให้ได้ 8-10 แก้วต่อวัน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน
หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือกินอาหาร 1-2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน
หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ ดื่มน้ำผลไม้รสเปรี้ยวหรืออาหารที่เผ็ดร้อน
ดื่มน้ำมะตูม น้ำขิง หรือน้ำกระชายร้อนๆ กับขมิ้นขาว หรือขมิ้นชัน
หากมีอาการรุนแรง ให้นอนศีรษะสูงหรือหนุนหมอนหลายใบรองตั้งแต่เหนือเอว ถึงศรีษะ
เส้นเลือดขอด
สาเหตุ
Progesterone
มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นกดทับหลอดเลือดดำใหญ่
การนั่งยืนหรือเดินทั้งวัน
การป้องกันและบรรเทาอาการ
หลีกเลี่ยงการยืน หรือเดินนานๆ ไม่นั่งไขว้ห้าง
สวมกางเกงพยุงครรภ์ และหลีกเลี่ยงการรัดส่วนต่างๆ
บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอในท่านอนยกขาสูงหรือพิงผนังห้องวันละ 3 ครั้ง
ใช้หมอนหนุนเท้าให้สูงเล็กน้อยขณะนอน
เวียนศีรษะและเป็นลม
สาเหตุ
ปริมาตรโลหิตเพิ่มขึ้น
อากาศร้อนทำให้หลอดเลือดขยายตัว
การนอนหงายราบกับพื้นทำให้น้ำหนักของมดลูกกดทับบนหลอดเลือดบริเวณหลัง
การอดอาหารโดยเฉพาะมื้อเช้า
การเปลี่ยนอิริยาบถรวดเร็วเกินไป
การป้องกันและบรรเทาอาการ
พักผ่อนให้เพียงพอหลีกเลี่ยงการนอนหงายเป็นเวลานานควรนอนตะแคง
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ และทานยาบำรุงเลือด
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัดอากาศร้อนควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ
เปลี่ยนอิริยาบถช้าๆ
ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ ขณะมีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะ
ริดสีดวงทวาร
สาเหตุ
น้ำหนักของลูกน้อยในครรภ์ที่โตขึ้นเรื่อยๆ จะกดลงบริเวณอุ้งเชิงกราน
ท้องผูกเป็นประจำหรือมารดาที่มีริดสีดวงทวารอยู่ก่อนแล้ว
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ระวังอย่าให้ท้องผูก กินอาหารที่มีกากใย ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน ไม่นั่งเบ่งอุจจาระนาน
ถ้ามีหัวริดสีดวงโผล่ออกมาให้แช่ก้นด้วยน้ำอุ่นประมาณ 15 นาที แล้วใช้นิ้วมือ
ค่อยๆ ดันกลับเข้าไปในรูทวารหนัก
นอนในท่าหงายชันเข่า ประมาณ 15 นาทีทุกวัน หรือนอนยกสะโพกสูงโดยใช้ หมอนรองก้น จะทำให้เลือดไหลเวียนดีข้ึน
บริหารด้วยการขมิบกล้ามเนื้อบริเวณอวัยวะเพศ
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
มดลูกหดรัดตัว
สาเหตุ
มารดาทำงานหนักเกินไป หรือร่างกายขาดน้ำ
มดลูกต้องการให้มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงรกมากขึ้น
การป้องกันและบรรเทาอาการ
นั่งพักตอนตะแคงขยับเปลี่ยนท่าทางบ้างพร้อมกับหายใจเข้า-ออกลึกๆ
ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดีอย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ
แช่ตัวในอ่างน้ำอุ่นที่สะอาดจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
ผิวหนังเปลี่ยนแปลง
สาเหตุ
เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างตั้งครรภ์
การป้องกันและบรรเทาอาการ
ทาครีมบำรุงผิวสำหรับหญิงตั้งครรภ์เป็นประจำ
หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนหรืออุ่นจัดๆ
ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้เพิ่มมากเกินเกณฑ์
หลีกเลี่ยงการเกาเพราะจะทำให้ผิวอักเสบเกิดเป็นแผลและมีโอกาสติดเชื้อหรือเป็นรอยดำตามมา
การรักษาสิวขณะตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะยาที่ใช้รักษาสิวล้วนมี ส่วนประกอบของสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อมารดา
รอยดำคล้ำและติ่งเนื้อในบริเวณต่างๆ โดยปกติจะหายได้เองภายหลังคลอด
อาการคันตามผิวหนัง ถ้าคันมากควรบอกให้แพทย์ทราบ