Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน …
บทที่ 7 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน
ตามแนวทางโรงเรียนพหุวัฒนธรรม
1.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา มีทักษะในการดำรงชีวิต มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความดีงาม และมีความภูมิใจในความเป็นไทย
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้น การเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ มีทักษะ มีทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง
ระดับประถมศึกษา
(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) เป็นระดับการศึกษาที่มุ่งเน้นทักษะ พื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และพื้นฐานความเป็นมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม โดยเน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
3.การจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม
2. การสร้างความรู้ใหม่ (The Knowledge Construction Process)
ครูจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้บอกความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนจดจาเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้นักเรียนได้ใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ และการตัดสินใจ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
3. การลดอคติ (Prejudice Reduction)
มีความเชื่อว่า เด็กส่วนใหญ่เข้าโรงเรียนมาพร้อมกับเจตคติต่อเชื้อชาติ วัฒนธรรมอื่น ๆ ในทางลบ ซึ่งสะท้อนถึงเจตคติของพ่อแม่ผู้ปกครองของพวกเขาเช่นกัน ดังนั้นแนวคิดสำคัญคือ ทาอย่างไรที่สถานศึกษาและครูจะปลูกฝังเจตคติทางเชื้อชาติในทิศทางบวกและปลูกฝังเจตคติค่านิยมความเป็นประชาธิปไตยให้เกิดในตัวนักเรียน
1. บูรณาการเนื้อหาวัฒนธรรมของนักเรียน เข้าไปในวิชาต่างๆ (Content Integration
) คือการที่ครูผู้สอนยังคงสอนวิชาต่าง ๆ เหมือนที่เคยสอนมา ขณะเดียวกันก็นาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ มาสอดแทรก บูรณาการในเนื้อหาเดิมที่กาลังสอนอยู่ โดยครูอาจนาเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต งานศิลปะ หรือสถาปัตยกรรมของนักเรียนกลุ่มต่างๆที่อยู่ในห้องเรียน ในโรงเรียน หรือในชุมชน มายกตัวอย่าง มาอภิปรายร่วมกัน
4. การสอนที่ยึดหลักความยุติธรรม (Equity Pedagogy)
มุ่งเน้นให้ครูปรับวิธีการสอนที่จะเอื้ออานวย สนับสนุนให้นักเรียนทุกกลุ่มเชื้อชาติ วัฒนธรรมในชั้นเรียน มีโอกาสประสบความสำเร็จในการเรียนโดยเท่าเทียมกัน โดยการส่งเสริมให้นักเรียนจากกลุ่มต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นในชั้นเรียน และในโรงเรียนอย่างทั่วถึง
การศึกษาพหุวัฒนธรรม คือกระบวนการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่พัฒนามาจากปรัชญา ความเชื่อ ค่านิยมแบบประชาธิปไตย และความเชื่อในคุณค่าของความหลากหลายวัฒนธรรม (Multiculturalism) โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้กับผู้เรียนจากต่างวัฒนธรรม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา ขนบประเพณี วิถีชีวิต เพศ ชั้นทางสังคม และความต้องการพิเศษอื่น ๆ ได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เกิดความตระหนักรู้ และยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง และยอมรับในคุณค่าของวัฒนธรรมอื่น
5. การปรับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมในโรงเรียน (An Empowering School Culture and Social Structure)
เน้นการปรับวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียนให้เหมาะสมกับนักเรียนกลุ่มต่าง ๆ ให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยผู้บริหาร ครู บุคลากรทุกคนในโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครองนักเรียน ควรมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ การสร้างบรรยากาศของความร่วมมือกัน
4.แนวทางการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงเรียน
ชรินทร์ มั่งคั่ง (2562) ได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาและการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาและการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มเป้าหมายเป็นครูสังคมศึกษาที่ให้ข้อมูลการรู้พหุวัฒนธรรมศึกษา จำนวน 192 คน และครูสังคมศึกษาที่ยินดีให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติเชิงวิชาชีพ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างแบบบันทึกการสังเกต และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า การรู้พหุวัฒนธรรมศึกษาของครูสังคมศึกษามีการรู้โดยรวมระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 1.22) สำหรับการปฏิบัติเชิงวิชาชีพของครูสังคมศึกษาโดยครูส่วนใหญ่ (ร้อยละ 70) ไม่มีการปฏิบัติเชิงวิชาชีพตามองค์ประกอบการจัดการศึกษา 4 ด้านได้แก่ การวิเคราะห์หลักสูตร การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
ศิลป์ชัย สุวรรณมณี และคณะ (2557) ได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐที่สอดคล้องกับบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirm Factor Analysis) รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐที่สอดคล้องกับบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของรัฐที่สอดคล้องกับบริบทสังคมพหุวัฒนธรรม กรณีศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งองค์ประกอบย่อยและองค์ประกอบหลักมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ลำพอง กลมกูล (2561) ได้ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยู่ร่วมกันของจีนและมลายู : กรณีศึกษาประเทศบรูไน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพหุวัฒนธรรมทางศาสนากับแนวทางการอยู่ร่วมกันของคนจีนและคนมลายูในประเทศบรูไน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างทางศาสนา ชาติพันธุ์และความเชื่อในบรูไนส่งผลให้เกิดขันติธรรมในการอยู่ร่วมกัน โดยมีการจัดการศึกษาที่มีฐานะของการเรียนรู้ที่นำไปสู่การแสดงออกของการจัดการและการบริหารอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดกลไกในการดำเนินชีวิตร่วมกัน ภายใต้ความเป็นพหุวัฒนธรรมทางศาสนาที่ต้องประกอบด้วยการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และปรับตัว โดยมีหลักคิดทางศาสนาที่ยึดมั่นในขันติธรรม มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม
2.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพสามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียนนักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว 40 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา (ระดับประถมศึกษา)
กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามความถนัด และความสนใจโดยเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ไม่เห็นแก่ตัว มีระเบียบวินัย มีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน รู้จักการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความมีเหตุผล การช่วยเหลือแบ่งปัน เอื้ออาทรและสมานฉันท์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นจัดให้ผู้เรียนปีละ 120 ชม. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้ผู้เรียนปีละ 360 ชม. เป็นกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียนที่จะทำเพื่อบุคคลอื่น สังคม ชุมชน เพื่อพัฒนาจิตสาธารณ ระดับประถมศึกษา รวม 6 ปี ให้ได้จำนวน 60 ชม. , ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (3 ปี) จำนวน 45 ชม. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (3 ปี) จำนวน 60 ชม.
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติในลักษณะอาสาสมัครเพื่อช่วย ขัดเกลาจิตใจของผู้เรียนให้มีความเมตตากรุณา มีความเสียสละ และมีจิตสาธารณะเพื่อช่วยสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ 10 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา (ระดับประถมศึกษา)