Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเพาะเชื้อจากเสมหะ (Sputum culture) - Coggle Diagram
การเพาะเชื้อจากเสมหะ (Sputum culture)
ชื้อแบคทีเรียที่ได้จากการตรวจเสมหะ เป็นเสมหะที่ได้มาจากปอดและหลอดลม ซึ่งมีความสำคัญที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วยโรคปอด
วิธีเก็บเสมหะโดยการหายใจลึก ๆ และไอออกมา ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาพ่นแบบฝอยละอองน้ำ (ultrasonic Nebulization htdration) หรือการทำกายภาพบำบัดทรวงอก (chest physiotherapy) หรือวิธีอื่น ๆ ได้แก่
การดูดเสมหะจากหลอดคอ (tracheal suctioning)
การส่องกล่องหลอดลมคอ (bronchoscopy)
การเก็บเสมหะจากการดูดเสมหะ (Tracheal suctioning)
ใส่อุปกรณ์ที่ดักเก็บเสมหะต่อกับจุต่อกับสายดูดเสมหะ สวมถุงมือที่ปราศจากเชื้อ หล่อลื่นสายดูดเสมหะด้วยน้ำเกลือและใส่ไปทางรูจมูกโดยไม่ต้องดูด (ผู้ป่วยจะไอเมื่อใส่สายดูดเสมหะเคลื่อนผ่านไปยังกล่องเสียง) เลื่อนสายดูดเสมหะต่อไปยังหลอดคอแล้วดูดเสมหะไม่นานกว่า 15 วินาที เพื่อเก็บเสมหะส่งตรวจ
หยุดดูดเสมหะและเอาสายดูดเสมหะออกอย่างนุ่มนวล ทิ้งสายและถุงมือในที่เหมาะสม แล้วเอาอุปกรณ์ที่ดักเก็บเสมหะออกจากจุกต่อและปิดฝา
ให้ออกซิเจนผู้ป่วยก่อนและหลังเก็บเสมหะถ้ามีความจำเป็น
การเก็บเสมหะจากการใส่กล้องในหลอดลมคอ (Bronchoscopy)
หลังจากพ่นยาชาเฉพาะที่ในหลอดลมคอหรือหลังจากบ้วนปากด้วยยาชาเฉพาะที่ แล้วใส่กล้องส่องหลอดลมผ่านไปในคอหอยหลอดลมคอ และลงในหลอดลม
เก็บเสมหะด้วยการดูดผ่านภายในกล้อง อาจใช้น้ำเกลือล้างเมื่อจำเป็น
หลังจากเก็บเสมหะเรียบร้อยแล้วเอากล้องส่องหลอดลมออก
ข้อควรระวัง
1.การดูดเสมหะทางหลอดลมคอเป็นข้อห้ามในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดในหลอดอาหารโป่งพอง (esophageal varices)
2.ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด (asthma) หรือโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) ระวังอาการรุนแรงของหลอดลมหดเกร็ง (bronchospasms) โดยใช้น้ำเกลือ หรือ อะเซทิลซิสเทอีน (acetylcysteine) ใส่ในละอองไอน้ำ
3.ข้อพึงระวังทางคลินิก ระหว่างดูดเสมหะ ดูดเป็นเวลา 5-10 วินาทีในแต่ละครั้ง ไม่ดูดเสมหะนานกว่า 15 วินาที หากผู้ป่วยมีภาวะออกซิเจนต่ำ (hypoxic) หรือมีอาการเขียว (cyanosis) ต้องเอาสายดูด (catheter) ออกทันที และให้ออกซิเจน
4.สวมถุงมือเมื่อทำการตรวจและหยิบจับสิ่งส่งตรวจ
5.เนื่องจากผู้ป่วยอาจจะไออย่างแรงระหว่างดูดเสมหะ สวมถุงมือ ผูกหน้ากาก (mask) และหากมีความจำเป็น สวมเสื้อกาวน์ (grow) เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อโรค
6.ให้ใช้โพรไพลีน ไกลคอล (propylene glycol) ที่มีความเข้มข้น 20% เป็นตัวหล่อลื่นเอาเสมหะออกมา เพื่อส่งเพาะเชื้อวัณโรค แต่อย่าให้ความเข้มข้นสูงกว่านี้เพราะจะยับยั้งการเจริญเติบโตของ M. tuberculosis (หากไม่มีไว้ ให้ใช้ 10% - 20% Acetylcystrine ผสมกับน้ำหรือน้ำเกลือแทน)
7.ส่งสิ่งส่งตรวจไปยังห้องตรวจทันทีหลังจากเก็บเสร็จ