Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 12 ห้องผ่าตัด(ลืมเครื่องมือ), เอกสารอ้างอิง, นางสาวกมลวรรณ …
กรณีศึกษาที่ 12
ห้องผ่าตัด(ลืมเครื่องมือ)
สถานการณ์
สภาการพยาบาลได้รับหนังสือจากแพทยสภาเสนอเรื่องจริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพการพยาบาลโดยแจ้งว่าในวันที่ 10 เมษายน 2538 ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์แพทย์วินิจฉัยว่ามีอาการม้ามแตก ต้องทำการผ่าตัดโดยเร่งด่วน โดยทำการผ่าตัดตั้งแต่เวลาประมาณ 15.45 น.-17.00 น. ซึ่งอยู่ในช่วงการส่งต่อเวรระหว่างเวรเช้ากับเวรบ่าย พยาบาลเวรเช้าประจำห้องผ่าตัดทำหน้าที่เป็นทีมพยาบาลช่วยผ่าตัด และพยาบาลเวรบ่ายรับช่วงต่อซึ่งไม่ได้นับเครื่องมือผ่าตัดและขณะเปลี่ยนตัวผู้ช่วยส่งเครื่องมือขณะผ่าตัดก็ไม่ได้นับเครื่องมือผ่าตัด
ต่อมาหลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้นไปแล้วประมาณ 1 ชั่วโมงเจ้าหน้าที่ล้างเครื่องมือแจ้งให้พยาบาลหัวหน้าทีมช่วยผ่าตัดทราบว่าเครื่องมือหายไป 1 ชิ้นเจ้าหน้าที่ในคณะช่วยผ่าตัดช่วยกันค้นหาแต่ไม่พบจึงแจ้งให้หัวหน้าเวรห้องผ่าตัดทราบและรอสอบถามพยาบาลเวรเช้าซึ่งเป็นผู้นับเครื่องมือก่อนเริ่มการผ่าตัดและได้รับคำตอบว่าเครื่องมือผ่าตัดครบตามรายการที่ระบุไว้ในห่อเครื่องมือ Steriled
หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ หัวหน้างาน Supplyของห้องผ่าตัดได้รายงานหัวหน้าพยาบาลห้องผ่าตัดว่าเครื่องมือหายไป 1ชิ้นพยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าทีมช่วยผ่าตัดในวันเกิดเหตุได้จ่ายเงินชดใช้ค่าเครื่องมือที่หายไปตามระเบียบของห้องผ่าตัด
ต่อมาในวันที่ 25มิถุนายน 2540ผู้ป่วยถูกส่งตัวเพื่อผ่าตัดเอาเครื่องมือผ่าตัดออกจากช่องท้อง พบว่ามีCurved Artery Clamp ค้างอยู่ในช่องท้อง 1ชิ้นจากการผ่าตัดเมื่อวันที่10เมษายน 2538 ซึ่งเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี ที่ลืมเครื่องมือในท้องผู้ป่วย
การลงโทษของสภาการพยาบาลต่อความผิดกรณีนี้
ข้อบังคับสภาว่าด้วยหลักจริยธรรมที่ไม่รักษามาตรฐานของการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2550
มาตรา 22 ข้อ 12
ผู้ประกอบวิชาชีพต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความสิ้นเปลืองของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
มาตรา 22 ข้อ 6
ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
ความผิดทางวินัยข้าราชการ
ปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ
การทำเครื่องมือผ่าตัดสูญหายขณะที่อยูู่ในความรับผิดชอบของตน
โทษ
ภาคทัณฑ์
ตัดเงินเดือน หรือลดเงินเดือน เป็นโทษไม่ร้ายแรง
สถานที่กระทำความผิด
โรงพยาบาลรัฐ
แพทย์และพยาบาลที่ทำการรักษาในการผ่าตัดครั้งนั้นเป็นคนชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ต้องพิจารณาว่าแพทย์พยาบาลทำละเมิดโดยจงใจประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือประมาทเลินเล่อธรรมดา
โรงพยาบาลเอกชน
หากพยาบาลนั้นทำงานในสถานพยาบาลเอกชนและพยาบาลทำละเมิดก็ต้องชดใช้สินไหมทดแทนโดยนายจ้างคือสถานพยาบาลต้องรับผิดด้วยและย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับพยาบาลได้เต็มจำนวนโดยไม่ต้องพิจารณาว่าพยาบาลทำละเมิดโดยจงใจประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือประมาทเลินเล่อธรรมดา ดังเช่นโรงพยาบาลของรัฐ
กฎหมายแพ่ง
มาตรา 425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
1 more item...
มาตรฐานของการปฏิบัติของพยาบาลห้องผ่าตัด
1.ตรวจนับผ้าก๊อซซับเลือดเข็มเย็บผ่าตัด และเครื่องมือผ่าตัดก่อน ระหว่าง และหลังการผ่าตัด
2.ระหว่างการผ่าตัดคู่มือแนวทางการปฏิบัติเหล่านี้ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแต่จะทำให้เวลาการทำงานมากขึ้นถึง 14% ของเวลาทำงานปกติ
3.ตรวจสอบอย่างละเอียดโดยศัลยแพทย์ในบริเวณที่ทำผ่าตัดก่อนที่จะปวดแผลผ่าตัดรวมทั้งการบันทึกขั้นตอนการผ่าตัดอย่างละเอียดรวมทั้งจำนวนสายท่อระบายและจำนวนผ้าก๊อซซับเลือดที่อาจใช้ห้ามเลือดหลังผ่าตัดในกรณีที่จำเป็นเพื่อให้ศัลยแพทย์เมื่อเข้าไปเอาผ้าก๊อซซับเลือดรู้ว่ามีผ้าก๊อซซับเลือดที่ต้องเอาออกกี่ผืน
4.ความแตกต่างของการตรวจนับควรทำให้เกิดการแจ้งเตือนอย่างอัตโนมัติถึงโอกาสการเกิดปัญหาสิ่งแปลกปลอมหลังการผ่าตัดเมื่อมีความแตกต่างในการตรวจนับต้องตรวจนับซ้ำและศัลยแพทย์ต้องตรวจตราดูบริเวณที่ทำผ่าตัดใหม่ทั้งหมด
5.หากความแตกต่างยังคงอยู่ควรทำการถ่ายภาพรังสีที่เหมาะสม(การถ่ายภาพรังสี/เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์)เพื่อค้นหาสิ่งแปลกปลอมหลังการผ่าตัดที่ตกค้างอยู่
พยาบาลทำผิดมาตราฐานการพยาบาลในการไม่นับเครื่องมือการผ่าตัด
สถานการณ์โดยย่อ
ใคร
พยาบาลเวรเช้า
พยาบาลเวรเช้า
ทำอะไร
ผ่าตัดผู้ป่วยม้ามแตกแล้วลืมเครื่องมือไว้ในช่องท้องของผู้ป่วย
ที่ไหน
โรงพยาบาล ห้องผ่าตัด
เมื่อไหร่
ผ่าตัด 10 เมษายน 2538
ผ่าตัดตั้งแต่เวลา 15.45-17.00 น.
นำเครื่องมือออกจากช่องท้อง
25 มิถุนายน 2540
อย่างไร
พยาบาลเวรเช้าและเวรบ่าย ผ่าตัดผู้ป่วยม้ามแตก
เจ้าหน้าที่ล้างเครื่องมือแจ้งพยาบาลหัวหน้าที่
ช่วยผ่าตัดทราบว่า เครื่องมือหายไป 1 ชิน
เครื่องมือผ่าตัดหาย 1 ชิ้น
หลังจากนั้น 3 สัปดาห์พยาบาลหัวหน้าทีมที่ผ่าตัดได้จ่ายเงินชดใช้
2 ปีต่อมาถึงทราบว่า เครื่องมืออยู่ในท้องผู้ป่วยเนื่องจากผู้ป่วยถูกส่งตัวมาเพื่อผ่าตัดเอาเครื่องมือออก
ความผิดทางกฎหมายอาญา
มาตรา 300
ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
3 ปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 390
ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน
หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดทางกฎหมายแพ่ง
มาตรา420
ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ผู้ป่วยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนค่าอะไรบ้าง
1.ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็น
2.ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างเจ็บป่วย
3.ค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานทั้งในเวลาปัจจุบันและอนาคต
4.ค่าเสียหายที่ขาดแรงงานในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมของบุคคลภายนอก
5.ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน
เช่น เสียโฉมติดตัว ขาพิการ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
เนธิภัททิก์ เสฏฐิตานันท์.(2559).รู้ทันกฎหมายเพื่อคุณภาพบริการ.
สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563จาก
https://www.phraehospital.go.th
มนต์ชัย ชนินทรลีลา.(ม.ม.ป.).แพทย์กับความรับผิดในทางแพ่ง
(คดีละเมิด).จุลสาร,1-127. วิจิตร ศรีสุพรรณ.(ม.ม.ป.).ข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษา
จริยธรรมแห่งวิชาชีพการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2550.
สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563 จาก
https://www.lpnh.go.th/nurse
สุทธิลักษณ์ แก้วบุญราม.(2559).กฎหมายกับพยาบาล.
สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563 จาก
https://www.slideshare.net/สภาการพยาบาล.(ม.ม.ป.).ข้อบังคับสภาการพยาบาล
.
สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563 จาก
https://www.tnmc.or.th/news/123
PPTV online.(2562).มาตรการป้องกันหมอลืม “เครื่องมือ”ไว้ในแผล
ผ่าตัด .สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563
จาก
https://www.pptvhd36.com/news
.
นางสาวกมลวรรณ สิทธินนท์ เลขที่ 3 ห้อง2A
รหัสนศ. 62123301006