Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วย มภร. 10/2 เตียง 11 Pleural effusion with Pneumonia - Coggle…
ผู้ป่วย มภร. 10/2 เตียง 11
Pleural effusion with Pneumonia
ข้อมูลคนไข้
General Apperance : ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 52 ปี รูปร่วงผอม ผมสั้นสีดำบนขาว ผิวขาว รู้สึกตัว ตื่นลืมตาได้เอง ซึมเล็กน้อย ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีรอยผ่าตัดบริเวณกระโหลกศีรษะข้างซ้าย (Craniectomy) On NG Tube ที่จมูกข้างซ้าย for feed สูตร BD 1.5:1 300ml x 4 feed รับ feed ได้ดีไม่มี content ที่คอ on Tracheostomy tube with oxygen collar mask 3 LPM มีรอยแดงจากเชือกที่ผูก tube แขนทั้งสองข้องหดเกร็งเข้าหาลำตัว ที่บริเวณซอกรักแร้มีรอยแดง มีแผล ICD บริเวณ Lt. lower lung ไม่มี discharge ไหลซึม ทำแผลปิดด้วย vaseline gauze ไม่มี subcutaneous emphysema retained foley’s catheter มีปัสสาวะค้างถุง 150 ml. มีสีเหลืองใสและมีตะกอนขาวขุ่น ขาทั้งสองข้างเล็กลีบ มี foot drop
อาการสำคัญ : เหนื่อยมากขึ้น 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ปฏิเสธประวัติการแพ้ยา
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
ประวัติการผ่าตัด : ปี 2560 ทำ Craniectomy ,ปี 2560 ทำ Tracheostomy
การวินิจฉัยโรคแรกรับ : Lt.Pleural effusion
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน : 1 วันก่อนมาโรงพยาบาลเหนื่อยมาก วัด O2 sat ที่ ศูนย์ได้ 80% หายใจเร็วขึ้น เหนื่อยหอบมากขึ้น จึงนำส่งโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต : Ruptured aneurysm
พยาธิสรีรวิทยา
Pleural effusion
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด คือ ภาวะที่มีของเหลวปริมาณมากเกินปกติในพื้นที่ระหว่างเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มช่องอกโดยปริมาณน้ำที่มากขึ้นจะไปกดทับปอด ส่งผลให้ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะมีอาการโดยทั่วไปคือ ไอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรือรู้สึกเจ็บขณะหายใจ
ของเหลวแบบใส (Transudate)
เกิดจากแรงดันภายในหลอดเลือดที่มากขึ้นหรือโปรตีนในเลือดมีค่าต่ำทำให้ของเหลวรั่วเข้ามาในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
สาเหตุ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
โรคตับแข็ง
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
หลังการผ่าผัดหัวใจแบบเปิด
ของเหลวแบบขุ่น (Exudate)
ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบ มะเร็ง หลอดเลือดหรือท่อน้ำเหลืองอุดตัน มักมีอาการที่รุนแรงและรักษาได้ยากกว่าภาวะ Pleural effusion ชนิดของเหลวแบบใส
สาเหตุ
โรคปอดบวมหรือมะเร็ง
ไตวาย
อาการอักเสบ
Pneumonia
เชื้อที่อยู่ในเยื่อเมือกหรือเสมหะในทางเดินหายใจส่วนต้นจะแพร่เข้าสู่ถุงลม ในถุงลมจะมีกลไกป้องกันตามปกติ เช่น การโบกพัดของ ซิเลีย การไอ เพื่อขจัดแมกโคฟาด ทำลายเชื้อโรคที่อยู่ในถุงลม ซิเลีย โบกพัดออกโดยการไอ เมื่อขับเชื้อออกทางเสมหะหรือกลืนลงกระเพาะอาหาร ถ้าร่างกายไม่มีกลไกลดังกล่าวปอดจะอักเสบ น้ำหรือเมือกจะเพิ่มขึ้นบริเวณถุงลม ไหลเข้าสู่หลอดลมฝอย ทำให้เนื้อที่การแลกเปลี่ยน ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ น้อยลง และขจัดเชื้อโรคไปยังต่อมน้ำเหลืองและกระแสเลือดเพื่อขจัดออกนอกร่างกาย จะมีเม็ดเลือดขาว/แดง รวมตัวกันบริเวณที่มีการอักเสบมากขึ้นทำให้บริเวณถุงลมแคบลงและแข็ง น้ำหรือเมือกที่ติดเชื้อจะแพร่ไปยังปอดส่วนอื่น ทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ไอ อาจมีเสมหะด้วย
สาเหตุ
1.Bacteria
2.Viruses
3.Mycoplasma
4.เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา
5.สารเคมี
อาการและอาการแสดง
1.มีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส อาจมีอาการเหงื่อออก หนาวสั่น
2.มีอาการ อาจพบเสมหะร่วมด้วย ร่วมมีอาการหายใจลำบาก
3.หายใจเร็วถี่ๆ หายใจเร็วตื้น หายใจลำบาก แน่นอึดอัดหายใจไม่อิ่ม หอบเหนื่อยเมื่อออกแรงหรือทำกิจกรรม
4.ผิวหนังซีด อาการเขียวคล้ำ พบได้บ่อยบริเวณปลายมือปลายเท้า
5.มีอาการเจ็บอกขณะหายใจ
6.ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากการอักเสบของปอด
ICD (intercostal drainage)
เป็นการใสท่อเพื่อระบายลม หรือสารเหลว เช่น น้ำ เลือด และหนองออกจากปอดและช่องเยื่อหุ้มปอด ช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดี ท่อระบายทรวงอกจะทำหน้าที่ระบายลมและสารเหลวในขณะหายใจออก ซึ่งภาวะ positive pressure ภายในช่องเยื่อหุ้มปอด การระบายทรวงอกต้องเป็นระบบปิด (close drainage) คือ สารเหลวหรือลมออกจากช่องเยื่อหุ้มปอดได้ แต่อากาศจากภายนอกเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดไม่ได้โดยใช้น้ำทำหน้าที่กั้นไม่ให้อากาศจากภายนอกเข้าสู่เยื่อหุ้มปอด
ข้อบ่งใช้
1.มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumothorax)
2.มีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด (hemothorax)
3.มีลมและเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด (pneumohemothorax)
4.มีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (empyema)
5.มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion)
6.มีน้ำเหลืองในช่องเยื่อหุ้มปอด (Chylothorax)
7.สำหรับใส่ยาเข้าไปทางท่อระบายทรวงอก
8.หลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอกเพื่อระบายน้ำและเลือดจากรอบแผลผ่าตัด
9.สำหรับใส่ยาเข้าไปทางท่อระบายทรวงอกเพื่อจะลดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดในกรณีผู้ป่วยเป็นมะเร็งที่ปอด
ชนิดของการต่อท่อระบายทรวงอก มี 5 ระบบ
1.ระบบ 1 ขวด (one bottle system) หรือ ขวด subaqueous (under water seal) ระบบนี้ท่อระบายทรวงอกที่ออกจากผู้ป่วยจะต้องต่อกับปลายหลอดแก้วยาวที่จุ่มใต้น้ำในขวดประมาณ 2-3 ซม. น้ำ การต่อแบบขวดเดียวเหมาะสำหรับระบายลม เลือด สารเหลวอื่นๆ ที่ปริมาณออกไม่มาก
ยาที่ได้รับ
Lactulose 100 ml. รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ(30ซีซี) ก่อนนอน
ประเภท : เป็นยาระบายในกลุ่มที่เพิ่มการซึมผ่านของเหลว เป็นน้ำตาล disacchaide
ข้อบ่งใช้ : รักษาผู้ป่วยโรคตับที่เกิด Hepatic encephalopathy
การออกฤทธิ์: -ดูดน้ำเข้าหาตัวและทำให้เกิดการระคายเคืองที่ทวารหนัก
-มีผลทำให้ปริมาณน้ำภายในลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น กระตุ้นให้มีการถ่ายอุจจาระได้
ผลข้างเคียง : ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และ ภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
Baclofen 10 mg tab รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น
ประเภท : บรรเทาอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อ
การออกฤทธิ์ : ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว และ บรรเทาอาการเจ็บปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
ข้อบ่งใช้ : -บรรเทาอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดจากไขสันหลังถูกกระทบกระเทือนจากการติดเชื้อ
-ช่วยให้การเคลื่อนไหวของผู้ป่วยดีขึ้น
ผลค้างเคียง : ง่วงซึม หลับกลางวัน คลื่นไส้อาเจียน ปากแห้ง ระบบการหายใจถูกกด ใจลอย อ่อนเพลีย อิดโรย หมดแรง สับสน ท้องผูก ท้องเสีย ความดันโลหิตต่ำ และปัสสาวะบ่อย
Calciferol cap (vitaminD2 20,000 IU Cap) รับประทาน 1 เม็ดต่อสัปดาห์
ประเภท : วิตามินที่ละลายในไขมัน
ข้อบ่งใช้ : ป้องกันและรักษาโรคขาดวิตามินดี,ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ,ภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำ,กล้ามเนื้อเกร็ง
ประโยชน์ : เพิ่มการดูดซึมแคลเซียม ใช้ป้องกันและรักษาโรคกระดูกอ่อน
อาการการขาดยา : ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ,ปวดข้อและกระดูกอ่อน
Vitamin B complex รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้ : ป้องกันการขาดและรักษาระดับวิตามินบีในร่างกาย
ผลข้างเคียง : แทบไม่มีผลข้างเคียง อาจมีปวดท้อง ท้องเสีย รู้สึกวูบวาบได้เล็กน้อย
Phenytoin base 50 mg tab รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น
ประเภท : ยากลุ่ม hydantoins
การออกฤทธิ์ : ลดการซึมเข้าของ Na+ และ Ca+ และลดการซึมออกของ K+ ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
ข้อบ่งใช้ : รักษาลมชักได้ทุกชนิด ยกเว้น petit mal
ผลข้างเคียง : ตาพร่านอนไม่หลับ มือสั่น หงุดหงิด ปวดศีรษะ ตากระตุก มึนงง สับสน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย มีผื่นตามผิวหนัง ขนขึ้นมาก
Folic acid 5 mg tab รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ข้อบ่งใช้ : ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง,สำหรับโรคโลหิตจาง,ผู้สูงอายุ
ประโยชน์ : เกี่ยวข้องกับการสร้าง
อาการของการขาดยา : ท้องเดิน มีอาการปากเปื่อย ลิ้นอักเสบ น้ำหนักตัวลดลง
Sennosides tab รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
ข้อบ่งใช้ : เป็นยาระบาย รักษาท้องผูก
การออกฤทธิ์ : ออกฤทธิ์ทำให้ลำไส้เกิดการบีบตัวหรือเคลื่อนตัวมากขึ้น ทำให้รู้สึกอยากขับถ่าย
ผลข้างเคียง : หัวใจเต้นผิดปกติ,ปวดท้อง,ถ่ายท้องรุนแรง,เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
Amlodipine 5 mg tab รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
ประเภทยา : ยาลดความดันโลหิต calcium antagonists
ข้อบ่งใช้ : ควบคุมความดันโลหิต บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
การออกฤทธิ์ : -ขัดขวางการเคลื่อนที่ของแคลเซียมไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อเรียบ
-ยาทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตลดลง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขยายตัว
-ลดอาการเจ็บหน้าอก
-ยาดูดซึมได้ดีด้วยการรับประทาน
Ferrous fumarate 200 mg tab รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น
ทานยาห่างจากแคลเซียม นม ยาลดกรด อย่างน้อย 2 ชม.
ข้อบ่งใช้ : สำหรับผู้ป่วยโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก และมีการสูญเสียเลือด
ผลข้างเคียง : ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก
Levofloxacin 500 mg tab รับประทานครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง วันละ 1 ครั้ง หลังอาหาร เช้า
ทาานยาห่างจากนม ยาลดกรด ธาตุเหล็ก อย่างน้อย 2 ชม.
กลุ่มยา : Antibiotic
ข้อบ่งใช้ : รักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง : ไข้สูง,ปวดบริเวณช่องท้อง,อุจจาระเป็นเลือด,ตัวสั่น,มีอาการคัน บวมแดงบริเวณผิวหนัง
Omeprazole 20 mg cap รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า
ประเภทยา : ลดกรดชนิด proton pump inhibitor
ข้อบ่งใช้ : ยับยั้งการสร้างกรดเกลือในกระเพาะอาหารที่ขั้นตอนสุดท้าย
ผลข้างเคียง : ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีผื่นขึ้น ลมพิษ ท้องผูก ท้องอืด
Clindamycin 1% lotion 30 cc ทาบริเวณที่เป็ วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
กลุ่มยา : ยาปฏิชีวนะ
ข้อบ่งใช้ : ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ผลข้างเคียง : ปวดแสบร้อน ผิวแห้ง แดง ผิวลอก
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Complete blood count
20/10/63
Hb 10 g/dL (12.3 - 15.5)
Hct 31.7 % (36.8 - 46.6)
RBC 3.21 10^6/uL (3.96 - 5.29)
MCV 98.7 fL (79.9 - 97.6)
WBC 11.87 10^3/uL (4.24 - 10.18)
Neutrophil 68.4 % (48.1 - 71.2)
Platelet Count 401 10^3/uL
เคมีคลินิก
13/10/63
Potassium 3.40 mmol/L (3.5-5.1)
Arterial blood gas (room air)
27/09/63
pO2 61.0 mmHg (74.0-108.0)
pCO2 42.5 mmHg (32.0-46.0)
HCO3 std 26.6 mmol/L (1.0-1.3)
BE (B) 2.5 mmol/L (<2.0)
O2SAT 91.2 % (92.0-96.0)
Chemical exam
10/10/63
Specific gravity (UA) 1.015 (1.003-1.035)
Blood 3+ (Negative)
Albumin (UA) 3+ (Negative)
Ascorbic acid 1+ (Negative)
Microscopic Exam
10/10/63
R.B.C(UA) 10-20 /HPF (0-5/HPF
ผล CT chest 12/10/63
Lung parenchyma : subsegmental atelectasis of LUL and LLL . Plate atelectasis at RUL and RLL
Pleura : Moderate loculated left pleural effusion
สรุปปัญหาทางการพยาบาล
1.มีของเหลวอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด
2.มีเสมหะเหนียวข้น
3.ปัสสาวะสีเหลืองใสมีตะกอนขาวขุ่น
4.ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
5.มีแผล ICD ที่ Lt. Lower lung
6.มีรอยแดงที่ซอกรักแร้ด้านซ้าย
7.มีรอยแดงที่บริเวณเชือกที่ผูก tube มีเลือดซึม
8.Hb 10 g/dL
9.Hct 31.7%
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อที่ 1 เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอดลดลงจากการมีของเสียคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยมีของเหลวอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด
CT chest ได้
Lung parenchyma : subsegmental atelectasis of LUL and LLL . Plate atelectasis at RUL and RLL
Pleura : Moderate loculated left pleural effsion
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ปอดสามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้มากขึ้นและเนื้อเยื่อในร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน
1.ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน cyanosis
2.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะอัตราการหายใจ 12-22 ครั้ง/นาที ชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที และ O2 sat > 94%
3.ผู้ป่วยหายใจโล่ง ไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะอัตราการหายใจ 12-22 ครั้งต่อนาทีดูลักษณะการหายใจว่ามีหายใจเร็ว หายใจหอบเหนื่อยหรือไม่ วัดค่า O2 sat และสังเกตภาวะพร่องออกซิเจน cyanosis เขียวตามปลายมือปลายเท้า
2.ดูแลให้ได้รับ O2 collar mask 3 LPM และคอยสังเกตให้ collar mask ไม่เลื่อนหลุด
3.จัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อให้ปอดขยายได้เต็มทีคนไข้สามารถหายใจเอาออกซิเจนเข้าปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ฟังเสียงปอดและสังเกตเสียงที่ผิดปกติ เช่น เสียง crepitation
5.ติดตามผล CT chest
ข้อที่ 2 มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากผู้ป่วยช่ายเหลือตัวเองไม่ได้ ( ติดเชื้อทางเดินหายใจ,ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ,ท้องผูก,ข้อติดแข็ง,กล้ามเนื้อลีบฝ่อ,แผลกดทับ)
ข้อมูลสนับสนุน
1.นอนติดเตียงเป็นเวลานาน E = M = V =
2.มีแผลถลอกที่ซอกรักแร้ข้างซ้าย
3.มีข้อติดแข็ง
4.กล้ามเนื้อลีบ
5.ท้องผูก
6.foot drop
วัตถุประสงค์
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยเหลือตนเองไม่ได้
1.ไม่เกิดแผลกดทับ
2.ไม่เกิดข้อติดแข็งเพิ่มขึ้น
3.ไม่เกิดภาวะกล้ามเนื้อลีบเพิ่มขึ้น
4.ไม่มีภาวะท้องผูก
5.ไม่เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
6.ไม่เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล
4.ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
-ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ (Braden scale) คะแนนรวม 15-18 คะแนน = เริ่มเสี่ยง
คะแนนรวม 13-14 คะแนน = เสี่ยงปานกลาง
คะแนนรวม 10-12 คะแนน = เสี่ยงสูง
คะแนนรวมน้อยกว่า หรือเท่ากับ = เสี่ยงสูง
-พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง และ จัดท่านอนผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยนอนบนที่นอนลมเพื่อลดแรงกดทับ
-ป้องกันการเสียดสีระหว่างยกตัว พลิกตะแคงตัว โดยใช้ผ้ายกตัวยกคนผู้ป่วย ไม่ใช้วิธีลากและไม่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพียงลำพัง
-ดูแลความสะอาดของผิวหนัง ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยนอนแช่ปัสสาวะและอุจจาระเป็นเวลานอนควรทำความสะอาดทันทีที่มีการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ
5.ดูแลไม่ให้เกิดภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
-รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธ์ุ
-ยึดตรึงสายสวนปัสสาวะไว้ที่ขาข้างใดข้างหนึ่งเพื่อไม่ให้สายเลื่อนเข้าเลื่อนออก
-ดูแลสายสวนปัสสาวะไม่ให้หักพับงอ Milking สายไม่ให้เกิดการอุดกั้นของตะกอนภายในสายเพื่อให้ปัสสาวะไหลลงถุงได้สะดวก
-เทปัสสาวะทุก 8 ชั่วโมง หรือเมื่อมีปัสสาวะประมาณ 2/3 ของถุงเก็บปัสสาวะ และสังเกต ปริมาณ สี กลิ่นและตะกอนที่ออกมา
-แขวนถุงปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะแต่ไม่ให้วางอยู่บนพื้น ระวังการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ
-วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะอุณภูมิร่างกายว่ามีไข้หรือไม่
1.ดูแลภาวะท้องผูก
-พลิกตะแคงตัวเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของลำไส้
-นวดหน้าท้องโดยการนวดช้าๆ เพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระตุ้นการเคลื่อไหวของลำไส้ ทำให้เลือดไหลเวียนดี
-ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาระบาย คือ Sennosides tab รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน เฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา คือ หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดท้อง ถ่ายท้องรุนแรง และ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
Lactulose 100 ml. รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ(30ซีซี) ก่อนนอน เฝ้าระวังผลข้างเคียงคือ ท้องอืด แน่นท้อง
คลื่นไส้ อาเจียน และ ภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
3.ดูแลไม่ให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
-ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หายใจหอบเหนื่อย มีเสมหะเหนียวข้นหรือมีสีเขียว มีกลิ่นเหม็น
-วัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณภูมิร่างกาย ว่ามีไข้สูงหรือไม่
-ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง suction clear airway
-ทำแผล tracheotomy ด้วยหลัง sterile technique
2.ประเมิน Motor power ดูแลบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่างๆเพื่อลดข้อติดแข็งและกล้ามเนื้อลีบ ทำการพยาบาลด้วยความนุ่มนวล
(passive exercises) แบบ ROM