Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฎิรูปประเทศ สมัย ร.5 เรื่อง การคมนาคม, รถไฟ, image, image, image,…
การปฎิรูปประเทศ สมัย ร.5
เรื่อง การคมนาคม
การรถไฟ
ให้มีการสำรวจพื้นที่สร้างทางรถไฟ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2431
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ระหว่างกรุงเทพฯ และนครราชสีมา
ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา
เป็นการสร้างทางรถไฟครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
เปิดเดินรถไปได้ช่วงแรกระหว่างกรุงเทพฯ และอยุธยา
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พุทธศักราช 2439
3.เริ่มสร้างในปีพุทธศักราช 2433
สร้างเสร็จตลอดสายในปีพุทธศักราช 2444
ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทางรถไฟสายนี้เป็น "รถไฟหลวง" แห่งแรกของไทยด้วย
หลังจากนั้นโปรดเกล้าฯ ให้เปิดรถไฟ
1.สายใต้ ระหว่างกรุงเทพฯและเพชรบุรี 2446
2.รถไฟสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา 2450
ส่วนเอกชนและชาวต่างชาติได้รับพระราชทานสัมปทานสร้างทางรถไฟสายอื่นๆ อีก
ส่งผล
เกิดความสะดวกในการสัญจร
สะดวกต่อการทำมาหากินของประชาชนมากขึ้น
การสร้างสะพาน
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานเชื่อมถนนข้ามคลอง เช่น สะพานดำรงสถิต
ได้พระราชทานทรัพย์จากเงินพระคลังข้างที่อันเป็นเงินส่วนพระองค์ ให้จัดสร้างสะพานขึ้นเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษาจนถึงปีสวรรคต รวม 17 สะพาน
โดยพระราชทานนามสะพานสะพานขึ้นด้วยคำว่า "เฉลิม" และ ตัวเลขต่อท้ายระบุพระชนมพรรษา เช่น สะพานเฉลิมศรี 42 สร้างเมื่อพุทธศักราช 2438
สะพานสุดท้ายคือ สะพานเฉลิมสวรรค์ 58
การสร้างถนน
ในปีพุทธศักราช 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ตัดถนนราชดำเนิน และถนนเยาวราช
ส่วนถนนสายอื่นๆ ที่โปรดให้สร้างและบูรณะเพื่อความสะดวกในการสัญจรของราษฎร
ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเจริญกรุง ถนนวังบูรพา ถนนอุณากรรณ ถนนดินสอ ถนนจักรพงษ์ ถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนจักรเพชร ถนนมหาชัย ถนนสี่พระยา เป็นต้น
การโทรศัพท์
สาธารณูปโภคเกี่ยวกับโทรศัพท์ สร้างมาเป็นเวลานานกว่า 3 ปี เสร็จสมบูรณ์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2429
กรมโทรเลขได้รับโอนเข้ามาตั้งโทรศัพท์กลางขึ้นในกรุงเทพฯ เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเช่าโทรศัพท์เพื่อเป็นธุรกิจติดต่อสื่อสารกัน
กรมพระกระลาโหมได้นำเครื่องโทรศัพท์เข้ามาทดลองใช้ ในระหว่างกรุงเทพฯกับสมุทรปราการเมื่อพุทธศักราช 2424
โทรศัพท์นี้ตั้งที่กรุงเทพฯ 1 เครื่อง
โทรศัพท์นี้ตั้งที่สมุทรปราการ 1 เครื่อง
การขุดคลอง
ส่งผล
เพื่อความสะดวกในการเดินทางคมนาคมทางน้ำ
การทำมาหากินของราษฎร
ลำดับเหตุการณ์
มีการขุดลอกคลองเพื่อขยายพระนครในปี พ.ศ. 2326 เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดสังเวชวิศยารามไปจรดคลองมหานาค จึงเรียกชื่อคลองตามชื่อบางว่า “คลองบางลำพู”
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ให้ขุดต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับ แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกคลองที่ขุดต่อออกไปว่า "คลองประเวศบุรีรมย์" เริ่มขุดตั้งแต่ พ.ศ. 2421 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2423 ทั้งหมดมีความยาวทั้งสิ้น 1150
ในพุทธศักราช 2435 โปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างบริษัทขุดคลองและคูสนามดำเนินการขุดคลองในบริเวณทุ่งนาระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยากับจังหวัดนครนายก
การไปรษณีย์ โทรเลข
โบราณกาลการติดต่อระหว่างพระนครกับหัวเมืองยังต้องใช้คนเดินสาร ใช้เรือหรือใช้ม้าเป็นพาหนะ
ไปรษณีย์เป็นไปอย่างล้าช้า
หนทางยังไม่สะดวกสบาย
ได้ใช้จังหวัดนครปฐมเป็นที่เริ่มต้นการไปรษณีย์เป็นครั้งแรกของเมืองไทย ในปีพุทธศักราช 2412
แต่การทำงานยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ เนื่องจากในขณะนั้นยังมีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก
ต่อมากระทรวงกลาโหมได้รับงานนี้มาทำเองเมื่อพุทธศักราช 2418
โทรเลขสายแรกจึงสำฤทธิผลเริ่มเปิดดำเนินการได้ โดยส่งสายระหว่างกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ รวมระยะทาง 45 กิโลเมตร
มีการวางสายใต้น้ำต่อไปจนถึงประภาคารที่ปากน้ำเจ้าพระยา
ส่วนสายที่ 2 จากกรุงเทพฯ-บางปะอิน สร้างเสร็จในปีพุทธศักราช 2426 และยังขยายเส้นทางออกไปอีกหลายสาย
ตั้งงกรมไปรษณีย์เป็นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราช 2426 ที่ตึกริมแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือปากคลองโอ่งอ่าง
ในปีพุทธศักราช 2441 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมการไปรษณีย์และการโทรเลขเข้าด้วยกันเรียกว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข"
ห้างกิมฮัวเฮง ถนนเจริญกรุง
ถนนราชดำเนินนอก