Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 15 การจัดการเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา - Coggle Diagram
บทที่ 15 การจัดการเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
วัตถุประสงค์
ตระหนักถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านระเบียบวินัยในระดับชั้นเรียนและโรงเรียน
พิจารณามาตรการทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาที่มีความรุนแรงในระดับต่างๆให้ถี่ถ้วนถึงวิธีการที่โรงเรียนใช้กำหนดระบบจัดการระเบียบวินัยของโรงเรียน
แนะนำเทคนิคในการสร้างระบบจัดการระเบียบวินัยในชั้นเรียนให้แก่ครู
พฤติกรรมที่เป็นปัญหาคืออะไร
พฤติกรรมที่เป็นปัญหามีความหมายกว้างและคงไม่สรุปว่าพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทุกลักษณะจะเกิดขึ้นในห้องเรียนเป็นพฤติกรรมที่เป็นปัญหาแต่ควรกำหนดพฤติกรรมต่างๆที่สามารถจะจัดการได้ ดังต่อไปนี้
สิ่งที่ไม่เป็นปัญหา
ได้แก่พฤติกรรมที่แสดงความไม่สนใจระยะสั้นๆการคุยกันในระหว่างการเปลี่ยนกิจกรรม การคุยกันในระหว่างทำความสะอาด การหยุดระยะสั้นๆเป็นพฤติกรรมทั่วไปที่ไม่เป็นปัญหากระทบใครๆและไม่กระทบการสอน
ปัญหาที่ไม่รุนแรง
เป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อกระบวนการและกฎ แต่ไม่รบกวนกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น
การส่งข้อความกัน
การกินขนม
อ่านหรือทำกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวิชาที่กำลังสอน
การปากระดาษลงพื้น
ผู้เรียนพูดโดยไม่ยกมือขออนุญาตลุกจากที่นั่งโดยไม่ขออนุญาต
นั่งคุยกันขณะทำแบบฝึกหัดหรืองานกลุ่ม
ปัญหาดังกล่าวจะมีการรบกวนเล็กน้อย ถ้าหากเกิดในระยะสั้นๆหรือเกิดกับผู้เรียนเพียง 2-3 คนสิ่งที่ควรพิจารณา คือ ถ้าหากพฤติกรรมดังกล่าวจะลุกลามหรือยืดเยื้อ ทำลายความสนใจของผู้เรียนคนอื่นๆมากขึ้นครูต้องไม่ปล่อยเพราะจะทำให้ผู้เรียนเห็นว่าครูไม่คงเส้นคงว่าในการจัดการ ยิ่งกว่านั้น ถ้าผู้เรียนจำนวนมากเข้ามาร่วมในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและยืดเยื้อขึ้นก็จะกระทบต่อการเรียนการสอน
ปัญหาที่รุนแรง
เป็นพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อการเรียนการสอน แต่เกิดกับผู้เรียนเพียงคนเดียวหรือ 2-3 คน เช่น ไม่ทำงานเป็นประจำ การทำงานไม่เสร็จ ไม่ปฏิบัติตามกฎบ่อยๆ การทำร้ายคนอื่น หรือแสดงอาการป่าเถื่อน
เป้าหมายในการจัดการพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
ที่นำมาใช้ต้องพิจารณาถึงผลระยะสั้นและระยะยาว
เป้าหมายของผลระยะสั้น คือ ต้องหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นและผู้เรียนต้องปรับพฤติกรรมให้ถูกต้อง
เป้าหมายของผลระยะยาว คือ ต้องป้องกันพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นไม่ให้เกิดขึ้นอีก
ในขณะเดียวกันครูต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดพฤติกรรมข้างเคียงและพยายามลดพฤติกรรมข้างเคียงดังกล่าวลง(ถ้ามี)ครูต้องพิจารณาพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีผลกระทบต่อผู้เรียนรายบุคคล เป็นกลุ่มบุคคล หรือกระทบผู้เรียนทั้งห้องหรือไม่อย่างไร
กลยุทธ์ในการจัดการ
มีประโยชน์ในการจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหา คือ ครูต้องไม่วู่วามและไม่ให้กระทบต่อการเรียนการสอน กลยุทธ์หรือมาตรการที่จะนำมาเสนอจะเริ่มจากวิธีการที่เบาๆและค่อยๆหนักไปเรื่อยๆอาศัยเวลาของครูมากขึ้น หลักทั่วไป คือ ต้องเลือกวิธีการที่จะให้ผู้เรียนหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทันที
มาตาการการแก้ปัญหา 3 มาตรการ
มาตรการสำหรับปัญหาไม่ร้ายแรง
เป็นมาตรการเบื้องกัน ได้แก่ ใช้วิธีการที่ไม่ต้องใช้คำพูด ใช้สายตาพร้อมให้สัญญาณ เช่น ใช้นิ้วชี้จดปาก สายหน้า แตะผู้เรียนเบาๆที่แขนหรือไหล่เป็นการเตือนและให้ผู้เรียนสงบลง
1.1 ให้กิจกรรมเลื่อนไหลต่อเนื่อง
พฤติกรรมของผู้้เรียนมักเกิดปัญหาในช่วงการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมหรือช่วงที่ครูไม่ได้ดูแลผู้เรียนมักจะลุกจากที่นั่ง คุยกัน ซุกซน เล่นสนุกสนาน ในขณะเรียน แนวทางแก้ปัญหา คือ ต้องมีการเปลี่ยนกิจกรรมเตรียมการสอน อุปกรณ์ สื่อให้กระชับ
1.2 การเข้าไปใกล้
ครูเดินเข้าใกล้ผู้เรียนที่มีปัญหาพร้อมกับใช้วิธีการที่ไม่ต้องใช้คำพูดเพือให้ผู้เรียนหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยครูก็ไม่ทำให้กระทบการเรียนการสอนที่กำลังดำเนินการอยู่
1.3 การใช้กระบวนการกลุ่ม
ใช้กระบวนการกลุ่ม คือ ความรับผิดชอบต่อกลุ่มหรือกลุ่มการร่วมกิจกรรมสู่ขึ้นเพื่อดึงความสนใจของสู่บทเรียน
1.4 เตือนหรือแจ้งให้ผู้เรียนปฏิบัติให้ถูกต้องเหมือนเดิม
เมื่อผู้เรียนไม่ทำงาน ครูเตือนให้เขาปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น ให้ผู้เรียนทุกคนตั้งใจตอบคำถามจากแบบฝึกหัดท้ายบท ทุกคนต้องนั่งเรียบร้อยไม่คุยเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากครู
1.5 ดำเนินการสอนใหม่
ในระหว่างเวลาที่ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำงานกลุ่ม ถ้าผู้เรียนไม่ทำงานตามที่มอบหมายและอาจทำสิ่งอื่นเป็นตัวชี้ว่าผู้เรียนไม่เข้าใจแบบฝึกหัด หรือทำงานที่ทำครูควรตรวจแบบฝึกหัดครูตั้งคำถามสั้นๆและตรวจสอบความเข้าใจผู้เรียนแต่ละคน
1.6 บอกให้ผู้เรียนหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ครูบอกให้ผู้เรียนหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ครูมองตาผู้เรียนและแสดงท่าทางเอาจริงเอาจังครูพูดสั้นๆและคอยดูผู้เรียนจนกว่าเขาจะทำตาม ครูต้องใช้ควบคู่กับการชี้นำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสม
1.7 ให้ทางเลือกแก้ผู้เรียน
ครูแจ้งผู้เรียนว่าเขาทีทางเลือกจะทำสิ่งนั้นให้ถูกต้องเหมาะสม หรือยังมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และจะมีผลอะไร อย่างไร เช่น ผู้เรียนปฏิเสธที่จะทำความสะอาดให้เรียบร้อย สำหรับผู้เรียนที่ชอบรบกวนเพื่อนขณะทำแบบฝึกหัด ครูให้ผู้เรียนเลือกจะทำเงียบๆหรือจะนั่งแยกโต๊ะเพื่อให้ผู้เรียนตระหนักในความรับผิดชอบในพฤติกรรมที่กำลังเกิดขึ้น
1.8 การใช้การสื่อสาร ครู-รู้สึก
เป็นการพูดของครูโดยพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและผลกระทบต่อผู้สอนต่อผู้เรียน หรือต่อผู้สอนและผู้เรียนทั้งชั้นและความรู้สึกอันเกิดจากผลกระทบจากปัญหา
มาตรการแก้ปัญหาที่มีความรุนแรงปานกลาง
อาจจะอาศัยการทำโทษที่ไม่รุนแรง และปฏิบัติเพื่อหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมาตรการนี้มีการเผชิญหน้ามากกว่า กลยุทธ์แรก และผู้เรียนอาจจะมีปฏิกิริยาต่อต้านพฤติกรรมของผู้เรียนไม่รุนแรงจนรบกวนการเรียนการสอนควรใช้มาตรการหรือกลยุทธ์เบาๆ
2.1 งดสิทธิพิเศษหรือกิจกรรมพิเศษ
ผู้เรียนซึ่งทำลายสิทธิพิเศษ เช่น การให้ร่วมมือกันทำงานด้วยกัน อนุญาตให้คุยกันเงียบๆได้ในระหว่างทำแบบฝึกหัดหรือทำงานและการใช้มาตรฐานแก้ปัญหาผู้เรียนคุยกันโดยการแยกที่นั่ง การเพิกถอนสิทธิพิเศษเป็นการทำโทษลักษณะหนึ่งแต่จะให้ผลข้างเคีียงน้อยกว่าการทำโทษแบบอื่นซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกรังเกียจอันมีผลกระทบต่อเนื่อง
2.2 การแยก
เป็นการตัดสิทธิการมีส่วนร่วมในการเรียนเป็นโอกาสที่ผู้เรียนต้องพิจารณาตนเองปรับปรุงตนเองภายในเวลาที่กำหนดหากมีความพร้อมที่จะปรับปรุงพฤติกรรมให้เหมาะสมโดยครูต้องให้ข้อมูลให้ชัดเจนปัญหาของการใช้มาตรการแบบ time out คือ ผู้เรียนบางคนจะรู้สึกว่าเป็นรางวัลเพราะหลายคนสนใจเขาก็เป็นสิ่งที่ดีเพราะเขาไม่ชอบกิจกรรมที่ครูกำลังดำเนินการสอน
การแยกหรือ time out คือ มีการเสี่ยงบางลักษณะที่จะก่อให้เกิดความรู้สึกต่อผู้เรียนคนนั้นว่าถูกแยกถ้าหากครูใช้วิธีการนี้บ่อย ๆ ผลที่ตามมาคือผู้เรียนที่ถูกแยกอาจจะโกรธเคือง
2.3 การทำโทษ
อาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้เรียน เช่น วิชาพละให้ผู้เรียนวิ่งรอบสนามเพิ่มขึ้น วิชาคณิตก็ให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดมากขึ้น ซึ่งสะดวกสำหรับครูที่จะใช้มาตรการ เพราะใช้เวลาสั่งน้อยทำได้รวดเร็วครูไม่ต้องใช้พลังงานมากแต่ข้อเสียอาจจะเกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยอาจรู้สึกเป็นการทำโทษ
2.4 การกักตัวผู้เรียน
เป็นวิธีการทำโทษอีกแบบหนึ่งที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งอาจจะกักตัวเวลาพักเที่ยวก่อน-หลังเวลาเรียน การทำโทษแบบนี้ใช้ในกรณีที่ผู้เรียนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเกิดขึ้นบ่อยๆทำให้รบกวนการเรียนการสอน เสียเวลา โดยมีผู้ดูแลเด็กขณะกักตัว เวลาที่ใช้การกักตัวไม่ต้องนานนัก สำหรับการมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่ไม่รุนแรง
ข้อเสีย คือ ทำให้ครูเสียเวลาโดยเฉพาะกรณีที่ครูต้องพูดคุยแนะนำตักเตือนหรือวางแผนในการปรับพฤติกรรม
ข้อดี คือ วิธีการนี้ผู้เรียนส่วนมากจะไม่ชอบทุกคนพยายามหลีกเลี่ยงการกักตัวผู้เรียนเป็นการปรับพฤติกรรม
2.5 การใช้อำนาจของโรงเรียน
ถ้าโรงเรียนมีมาตรการดำเนินการเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของผูเรียน ครูควรพิจารณาใช้เมื่อครูไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้
มาตรการในการแก้ปัญหาที่รุนแรงขึ้น
เมื่อผู้เรียนไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและยังคงรบกวนชั้นเรียนกระทบต่อการเรียนของตนเองและเพื่อนๆก็ควรใช้มาตรการต่างๆเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพื่อให้ผู้สอนดำเนินการเรียนการสอนได้ต่อไป
3.1 ทำข้อผูกพันสัญญา
พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างของผู้เรียนเกิดขึ้นเรื้อรัง หรือปัญหาที่ร้ายแรงต้องให้หยุดทันทีต้องมีข้อตกลง ครูจำเป็นต้องแจ้งให้ผู้เรียนทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วช่วยแก้ปัญหาที่เหมาะสมซึ่งผู้เรียนต้องปฏิบัติและต้องมีข้อตกลงถ้าไม่ปฏิบัติครูต้องให้แรงจูงใจผู้เรียนโดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
3.2 พบผู้ปกครอง
บางครั้งการโทรศัพท์ถึงผู้ปกครองก็มีผลดีสำหรับการปรับพฤติกรรมผู้เรียนเป็นการให้สัญญาณแก่ผู้เรียนความรับผิดชอบเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียนได้ขยายขอบเขตออกไปนอกห้องเรียนแล้วครูควรอธิบายสถานการณ์สั้นๆและผู้เรียนเข้าใจว่าครูเข้าใจถ้าผู้ปกครองจะมีส่วนช่วยครูให้เข้าใจผู้เรียนมากขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหา
3.3 ใช้ระบบเพิ่มโทษ
วิธีการใช้กับผู้เรียนทั้งชั้น โดยครูกำหนดโทษและเพิ่มโทษมากขึ้นเมื่อผู้เรียยนผ่าผืนกฎถ้าผู้เรียนยังมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมผู้สอนจะเพิ่มเครื่องหมายการทำโทษควบคู่การทำเครื่องหมายที่ทำผิดดำเนินการควบคู่เช่นกักตัว
3.4 ใช้วิธีการแก้ปัญหา
วิธีเกี่ยวกับการแก้ปัญหา คือ การใช้กระบวนการ5ขั้นตอน
ขั้นที่ 4 ถ้าผู้เรียนยังไม่หยุดพฤติกรรมก็ให้เด็กแยกออกไปอยู่ในที่ที่กำหนดในห้องเรียนเพื่อเขียนข้อตกลงใหม่กับครู
ขั้นที่ 5 ถ้าผู้เรียนปฏิเสธตามขั้นที่4 ก็ส่งผู้เรียนไปหาครูใหม่เพื่อเขียนข้อตกลงใหม่
ขั้่นที่3 ถ้าผู้เรียนยังไม่หยุดพฤติกรรมก็ให้ข้อเสนอเพื่อผู้เรียนเลือกว่าจะหยุดพฤติกรรมหรือจะทำข้อตกลงอย่างอื่น
ขั้นที่ 2 ถ้าผู้เรียนยังไม่หยุดพฤติกรรมก็แจ้งให้ผู้เรียนปฏิบัติตามกฏหรือข้อบังคับข้อตกลง
ขั้นที่ 1 ใช้สัญญาณโดยไม่ต้องพูดเพื่อให้ผู้เรียนหยุดพฤติกรรม
3.5 การใช้รูปแบบการบำบัดเสมือนจริง
ผู้เรียนรายบุคคลจะประกอบด้วยการสร้างความสัมพันธ์เอาใจใส่ผู้เรียนเน้นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นให้ผู้เรียนรับผิดชอบเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสร้างข้อสัญญาผูกพันที่จะปฏิบัติแนวทางติดตามผลมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 3 ผู้เรียนต้องรับผิดชอบในพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
ขั้นที่ 4 ผู้เรียนควรประเมินพฤติกรรม
ขั้นที่ 2 เน้นที่พฤติกรรมเมื่อปัญหาเกิดขึ้น
ขั้นที่ 5 ครูและผู้เรียนสร้างข้อตกลงร่วมกัน
ขั้นที่ 1 สร้างความสัมพันธ์โดยให้ความสนใจเอาใจใส่ผู้เรียน
ขั้นที่ 6 ผู้เรียนต้องมีข้อผูกพันที่จะปฏิบัติตามแผน
ขั้นที่ 7 มีการติดตามผล
ปัญหาพิเศษ
การพูดมาก
ตั้งกฎเกณฑ์เพื่อปฏิบัติสำหรับการพูกมากของผู้เรียนโดยทั่วไปก็เพื่อเรียกร้องความสนใจจากครูถ้าผู้เรียนได้รับการตอบสนองจากครูพฤติกรรมดังกล่าวผู้เรียนคนอื่นๆก็จะเอาอย่าง สิ่งที่ครูควรกระทำคือเตือนให้ผู้เรียนว่าต้องทำอะไร
การหลีกเลี่ยงงานเป็นประจำ
อาจจะมีผู้เรยนบางคนไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนกลายเป็นนิสัยปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะง่ายและดีกว่าที่จะปล่อยไว้จนสายเกินไปจนแก้ได้ยาก เพราะผู้เรียนจะเกิดความเคยชิน โดยครูต้องตรวจงานผู้เรียนบ่อย ๆ ครูต้องหาข้อมูลถึงสาเหตุให้ชัดเจนและช่วยแก้ปัญหาครูจะเข้าใจเขา
การทะเลาะวิวาท
การทะเลาะวิวาทในห้องเรียนครูสามารถยับยั้งห้ามปรามได้ทันก่อนที่เกิดการบาดเจ็บครูตะโกนให้หยุดการทะเลาะ การดำเนินการกับผู้เรียนที่ทะเลาะกันและครูผู้รับผิดชอบผู้เรียนก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน
พฤติกรรมก้าวร้าวอื่นๆ
อาการก้าวร้าวต่อคนอื่นไม่เป็นการเปิดฉากทะเลาะ พฤติกรรม ได้แก่ การด่า การพูด และแสดงอาการขุมขู่ อาการหยาบคายต่อผู้เรียนคนอื่น เช่นเดียวกันกับการแสดงออกกับครู ครูต้องบอกผู้เรียนที่แสดงอาการดังกล่าวว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่เป็นที่ยอมรับแม้เป็นการหยอกเล่น
การท้าทายหรือแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อครู
ถ้าหากมีการปล่อยปละละเลยวางเฉยเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ผู้เรียนคนอื่นๆ เอาอย่าง การจัดการกับผู้เรียนประเภทนี้ต่อหน้าผู้เรียนคนอื่นๆจะทำให้เขารู้สึกเสียหน้า ถ้าเป็นไปได้จึงควรพูดกับผู้เรียนเป็นการสวนตัวถ้าเกิดขึ้นขณะดำเนินการเรียนการสอนและไม่เป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงคุยกับกับผู้เรียนหลีกเลี่ยงการโต้เถียงเพื่อเอาชนะ
ข้อเตือนใจ คิดปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์
การแก้ไขปัยหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้เรียนจะใช้มาตรการหรือวิธีการการลงโทษลักษณะต่างๆตามควรแก่พฤติกรรมการลงโทษไม่ช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่พึงประสงค์จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะอธิบายให้ชัดเจนถึงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ควบคู่ไปด้วย คือ การสอนให้ผู้เรียนทราบพฤติกรรมที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญห้องเรียนที่เน้นการลงโทษจะทำให้เสียบรรยากาศหาวิธีแนวทางจูงใจให้รางวัลกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดี