Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยทางการพยาบาล Nursing Diagnosis - Coggle Diagram
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
Nursing Diagnosis
การกําหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ความหมาย
: เป็นการนําข้อมูลของผู้รับบริการที่ได้จากการประเมินภาวะสุขภาพซึ่ง
ผ่านการวิเคราะห์
จัดหมวดหมู่
เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแล้วนํามากําหนด
การวินิจฉัยการพยาบาล
: เป็นการ
เปลี่ยนแปลง หรือเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลง โดยระบุปัญหาและสาเหตุ ของปัญหาหรือปัจจัยเสี่ยงที่จะทําให้เกิดปัญหานมาจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้รับบริการ
ขอบเขตของการวินิจฉัยการพยาบาลต้องเป็นสิ่ง
พยาบาลมีอิสระในการปฏิบัติได้ตามกฎหมายและครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และจิตวิญญาณ
คุณลักษณะที่สําคัญของการวินิจฉัยการพยาบาล
เป็นการกําหนดเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ
หรือเป็นภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ
เป็นการกําหนดเกี่ยวกับภาวะสุขภาพดีในกรณีที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บป่วย
การวินิจฉัยการพยาบาลจะครอบคลุมบุคคลทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และจิตวิญญาณ(Holism)
บทบาทหน้าที่ของวิชาชีพทั้ง 4 บทบาทาทคือ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกาย
ข้อแตกต่างระหว่างการวินิจฉัยทางการพยาบาลและการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์
การวินิจฉัยการพยาบาลเป็นการกําหนดปัญหาหรือภาวะสุขภาพที่
ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ
การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ส่วนใหญ่
จะเน้นปัญหาเฉพาะทางด้านร่างกาย
รูปแบบของการกําหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มี 4 รูปแบบ
(4) ข้อวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล
(Collaborative problem)
(1) ข้อวินิจฉัยภาวะสุขภาพดี (Wellness)
(2) ข้อวินิจฉัยปัญหาสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น(Possible or Potential problem)
(3) ข้อวินิจฉัยปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นแล้ว (Actual problem)
การกําหนดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลจึงมีลักษณะเป็นภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายพยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกับ แพทย์และทีมสุขภาพ ในการติดตามประเมินอาการ สังเกต ตรวจวัด และการเฝ้าระวัง ทําให้สามารถประเมินปัญหาหรืออาการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ส่วนประกอบของข้อวินิจฉัยการพยาบาล
(1) ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่มีส่วนประกอบ 2 ส่วน(Two-part diagnostic system)
ส่วนที่หนึ่ง (Problem-P): แสดงถึงภาวะสุขภาพของผู้ป่วยอาจเป็นภาวะสุขภาพดี ภาวะเสี่ยง หรือภาวะเจ็บป่วย
ส่วนที่สอง (Etiology=E): เป็นส่วนที่บอกสาเหตุหรือสิ่งที่ทําให้เกิดปัญหาพ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพ
(2) ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่มีส่วนประกอบ 3 ส่วน(Three-part diagnostic system = PES)
เป็นข้อความที่ขยายส่วนที่สองให้เห็นปัญหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการ หรืออาการแสดงทางคลินิก (Signs & Symptoms = S) หรืออาจเป็นการวินิจฉัยโรค
หลักการกําหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
(1) เขียนข้อความครบถ้วนทั้งส่วนแรกและส่วนหลัง
(2) เขียนข้อความเฉพาะส่วนแรก
วิธีการกําหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
(1)การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลควรเขียนให้
ครอบคลุมองค์รวม
(2)คําที่ใช้เขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลอาจใช้คํา
ได้หลากหลาย
(3)การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลควรใช้
ข้อความที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
(4)ไม่นํากิจกรรมการพยาบาลมาเขียนเป็น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
(5)ไม่นําคําสั่งการรักษามาเขียนเป็นข้อวินิจฉัย
การพยาบาล
(6)ไม่ควรเขียนการวินิจฉัยโรคเป็นการวินิจฉัย
การพยาบาล
(7)ไม่เขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลรวมกันหลายๆ
ปัญหา
(8)ไม่เขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลสลับ
ข้อความกัน
(9)ไม่เขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่มีข้อความ
ส่วนแรกและส่วนหลังมีความหมายเหมือนกัน
(10)การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลควรอยู่ภาย
ในขอบเขตหน้าที่ของพยาบาล
(11)ไม่ใช้มาตรฐานของพยาบาลมากําหนด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
(12)ไม่ควรเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เป็นการละเมิดสิทธิหรือเป็นการว่ากล่าวผู้ป่วย
(13)ไม่ควรเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่เสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย
การกําหนดข้อมูลสนับสนุน
ข้อมูลสนับสนุนเป็นข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้รับบริการโดยวิธีการสังเกต การ ซักประวัติ การตรวจร่างกาย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษต่างๆ
ข้อมูลสนับสนุนประกอบด้วย
ข้อมูลอัตนัย (Subjective data = SD) ที่ได้จากการบอกเล่าของผู้รับ บริการ
ข้อมูลปรนัย (Objective data = OD) ที่ได้จากการสังเกตหรือตรวจวัดของพยาบาล