Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 พื้นฐานชีววิทยาของพฤติกรรม (Biological Foundations of Behavior),…
บทที่ 2 พื้นฐานชีววิทยาของพฤติกรรม (Biological Foundations of Behavior)
ระบบกล้ามเนื้อ (muscular system)
1) กล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle)
สามารถสั่งการทำงานโดยอยู่ภายใต้อำนาจของจิตใจ หรือสมองสั่งงานได้ (ควบคุมการทำงานได้)
มีลักษณะเป็นเส้นใยยาวคล้ายกับเส้นด้าย มีสีขาว(actin) สลับดำ (myocin) ทอดตามแนวขวาง ในลักษณะชั้นของเส้นใยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งเรียกว่า พังผืด (Fascia) จะอยู่รอบๆ กล้ามเนื้อ
ส่วนปลายของมัดกล้ามเนื้อจะก่อตัวเป็น เส้นเอ็น (Tendon) ยึดติดกับกระดูก ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
ช่วยให้ร่างกายสามารถแสดงพฤติกรรม การเคลื่อนไหว เช่น ยืน เดิน พูด เต้นรำ ทำกิจกรรมต่างๆ
อยู่ทั่วร่างกาย แต่ส่วนใหญ่อยู่บริเวณแขนและขา
3) กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
พบบริเวณส่วนของหัวใจเท่านั้น
มีลักษณะเป็นเส้นใยลาย คล้ายกล้ามเนื้อลายแต่น้อยกว่า และเรียงประสานติดกันแน่นสนิท โดยลายจะมีลักษณะแตกแขนงเป็นกิ่งก้านสาขาคล้ายตาข่าย
การทำงานจะหดตัว เพียงอย่างเดียว เพื่อสูบฉีดโลหิต
2) กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)
พบบริเวณ ม่านตา ผนังของหลอดเลือด ท้อง กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หลอดลม กระบังลมมดลูก หรืออวัยวะภายในอันอ่อนนุ่มของร่างกาย
มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน
มีลักษณะคล้ายกับกระสวยทอผ้า คือ หัวท้ายแหลม ตรงกลางโป่งออก มีเส้นใยเล็กๆ ทอดยาวประสานกัน เรียบจนเป็นแผ่นเดียวกัน
การทำงานอยู่นอกอำนาจจิตใจ ตามระบบประสาทอัตโนวัติ ภายใต้การควบคุมของไฮโปทาลามัสในสมอง
ระบบต่อม (Glands system)
1) ต่อมมีท่อ
เช่น ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำลาย ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำย่อย ต่อมน้ำนม
ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ ถ้าต่อมทำงานผิดปกติจะรู้สึกทันที เช่น น้ำลายน้อยเกินไป จะรู้สึกคอแห้ง
อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนวัติ
2) ต่อมไร้ท่อ
ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland)
มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 เม็ด
ควบคุมการเผาผลาญแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายจากการรับประทานอาหาร
ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้ง่ายเมื่อเกิดบาดแผล
เพิ่มระดับแคลเซียมในเลือด
ต่อมไทมัส (Thymus gland)
สร้างเม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า lymphocytes จากต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไขกระดูก
ควบคุมระบบน้ำเหลือง
ลักษณะเป็นพู 2 พู บริเวณขั้วหัวใจ ติดต่อในช่องอกระหว่างปอด 2 ข้าง สร้างฮอร์โมน Thymosin
ควบคุมการสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรคของร่างกาย โดยกระจายในโลหิต เพื่อช่วยฆ่าจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในร่างกาย
เจริญเต็มที่ตั้งแต่ในครรภ์ จะฝ่อไปตามอายุตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น จนอายุ 50 ปี โดยจะกลายเป็นไขมัน
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland)
1) Thyroxin อวัยวะเป้าหมาย คือ เนื้อเยื่อทุกชนิด
ช่วยทำให้อัตราเผาผลาญเมตาโบลิซึม (Metabolism) ของเนื้อเยื่อในร่างกายให้สูงขึ้น
ควบคุมการเจริญเติบโตของระบบกระดูก ประสาท หัวใจ เส้นเลือด สติปัญญา อวัยวะเพศ และพัฒนาการของบุคคล
2) Calcitonin อวัยวะเป้าหมาย คือ กระดูก ไต ลำไส้
ป้องกันไม่ให้ระดับแคลเซียมในเลือดและในปัสสาวะสูงเกินไป โดยนำแคลเซียมไปสร้างกระดูก
ป้องกันการทำลายกระดูกในระยะตั้งครรภ์และระยะให้นม
ต่อมหมวกไต (Adrenal gland)
(1) ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex)
สร้างฮอร์โมน Aldosterone และ Cortisol or Glucocorticoids
ช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกายทางไต
ช่วยให้ไตดูดซึมโซเดียมกลับ และ ถ่ายเทโปตัสเซียมออกมา
ทำให้ระดับน้าตาลในเลือดสูงขึ้น
ควบคุมการเผาผลาญ Metabolism ของคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
(2) ต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla)
สร้างฮอร์โมนเพศได้แก่ Estrogen, Progesterone, Testosterone ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
กระตุ้นการพัฒนาลักษณะทุติยภูมิทางเพศ โดยเฉพาะในเพศชาย
ถ้าขาดจะทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ
สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่ Adrenaline / Epinephrine, Noradrenaline / Norepinephrine
ต่อมไพเนียล (Pineal gland)
ยับยั้งการหลั่ง Gonadotropin ทำให้เป็นหนุ่มสาวช้า
กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin)
มีลักษณะเป็นรูปไข่ อยู่ตรงกลางโพรงสมองด้านบน
เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มสาวต่อมนี้จะฝ่อ และหายไป
ต่อมในตับอ่อน (Pancreas glands)
1) ต่อมมีท่อ สร้างน้ำย่อยจากต่อมในตับอ่อนไปยังลำไส้เล็ก
2) ต่อมไร้ท่อ (Endocrine) ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด Islets of Langerhans คือ
Beta Cells อยู่บริเวณส่วนในของต่อม สร้างฮอร์โมน Insulin
Alpha Cells อยู่บริเวณส่วนนอกของต่อม สร้างฮอร์โมน Glucagon
การทำงานของฮอร์โมน Insulin
ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยกระตุ้นให้ตับเปลี่ยนกลูโคสให้เป็นไกลโคเจน
กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนและไขมัน ทำให้ระดับไขมันและคลอเรสเตอรอลในเลือดลดลง
ควบคุมปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดให้กลับสู่ภาวะสมดุล
การทำงานของ Glucagon
ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
ช่วยดึงกลูโคสออกมาจากแหล่งสะสม โดยสลายไกลโคเจนให้เป็นกลูโคส
กระตุ้นการสลายไขมันเป็นกรดไขมันและกลีเซอรีลในตับ และกระตุ้นการสลายโปรตีน
ต่อมใต้สมอง
มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อเยื่อสีชมพู-แดง แกมเทา ขนาดเท่าเมล็ดถั่ว
เป็นต่อมเอก (master gland)
ควบคุมการจริญเติบโต โครงสร้างของร่างกาย และการสร้างฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อในร่างกาย
อยู่ในสมองส่วนหน้า ด้านซ้าย ใต้ไฮโปทาลามัส
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
(1) ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary gland)
ควบคุมการทำงานโดยไฮโปทาลามัส
เป็นต่อมที่สำคัญที่สุด
ผลิตฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ
ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อ 3 ต่อม คือ
ต่อมไทรอยด์ การเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
ต่อมหมวกไตชั้นนอก ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูก
ต่อมเพศ การขับน้ำนม
สร้างฮอร์โมน 6 ชนิด คือ
ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid-stimulating hormone or Thyrotonin or Thyrotrophic or TSH) กระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้เจริญเติบโต และหลั่งฮอร์โมน
ฮอร์โมนต่อมหมวกไต (AdrenAdrenocorticotropic hormone or Corticotropin or ACTH) กระตุ้นการทำงานของต่อมหมวกไตส่วนนอก (Adrenal cortex) ให้หลั่งฮอร์โมน
ฮอร์โมนต่อมเพศ (Gonadotropic hormones) ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของต่อมเพศ
ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin /Lute tropic hormone/ LTH) กระตุ้นต่อมน้ำนมให้ผลิตน้ำนม
ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone / GH) กระตุ้นและเร่งการเจริญเติบโตของอวัยวะในร่างกายทุกส่วน
ฮอร์โมนเม็ดสี (melanocyle-stimulating hormone /MSH) กระตุ้นการสร้างเมลานิน (Melanin) ซึ่งเป็นการทำงานของสีในผิวหนัง
(2) ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior pituitary gland)
ผลิตฮอร์โมน 2ชนิด คือ
ADH (Antidiuretic hormone) หรือเรียกว่าVasopreassin ทำให้อวัยวะเป้าหมาย คือ ไต ทำหน้าที่กระตุ้นการดูดกลับน้ำที่ท่อหน่วยไตส่วนท้ายและบริเวณท่อรวม เพื่อรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
Oxytocin อวัยวะเป้าหมาย คือ มดลูกและต่อมน้ำนม
ต่อมเพศ (Gonads glands)
(1) เพศชาย พบบริเวณ อัณฑะ (testis)
ผลิตฮอร์โมน Androgens
กระตุ้นการสร้างและหลั่งอสุจิ เมื่อเกิดความรู้สึกทางเพศ
มีหนวด เครา ขนหน้าอก เสียงห้าว โครงสร้างขยายใหญ่ขึ้น
สนใจเพศตรงข้าม
ควบคุมและกระตุ้นความเป็นชาย
(2) เพศหญิง พบบริเวณ รังไข่ (Ovary)
ผลิตฮอร์โมน estrogens และ progesterone
การทำงานของฮอร์โมน estrogens
กระตุ้นพัฒนาการทุติยภูมิทางเพศหญิง
ช่วยให้ต่อมน้ำนมเตรียมน้ำนม โดยทำให้เต้านมโตมากขึ้น
กระตุ้นผิวช่องคลอดให้หนาขึ้น มีเส้นเลือดมากช่วงก่อนประจำเดือน เพื่อเป็นที่ฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว
แสดงลักษณะความเป็นหญิง เช่น รูปร่างกลมนูนตามสัดส่วน สะโพกและหน้าอกขยาย เสียงแหลม อ่อนหวาน มีขนในที่ลับ
การทำงานของฮอร์โมน progesterone
กระตุ้นการเจริญเติบโตของ ผนังมดลูกให้หนาที่สุด เพื่อเตรียมผิวมดลูกรอรับไข่ที่ผสมแล้วมาฝังตัวอยู่จนคลอด
ควบคุมไม่ให้มดลูกหดตัวขณะตั้งครรภ์ (ป้องกันการแท้ง)
ฮอร์โมนเตรียมท้อง
เตรียมน้ำนม โดยทำให้มีท่อน้ำนมในเต้านมมากขึ้น
ส่งผลให้เกิดการมีประจำเดือน (Menstrual Cycle) / การตั้งครรภ์ / การคลอดลูก
ระบบประสาท (Nervous system)
ประเภทของเซลล์ประสาท
เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron) นำกระแสประสาทความรู้สึกที่รับจากอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ เพื่อส่งกระแสประสาทนั้นไปยังสมอง หรือ ไขสันหลัง (เดนไดรต์ยาวแอกซอนสั้น)
เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) นำข้อมูลข่าวสารจากสมองหรือไขสันหลัง ไปยังอวัยวะต่างๆ ต่อม เซลล์กล้ามเนื้อ เพื่อแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามที่สั่งการ (เดนไดรต์สั้นแอกซอนยาว)
เซลล์ประสาทเชื่อมโยง (association neuron) ประสานการทำงาน ถ่ายทอด และเชื่อมโยงกระแสประสาทของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทสั่งการโดยจุดเชื่อมต่อจะอยู่บริเวณสมองและไขสันหลัง ให้อยู่ในรูปปฏิกิริยาสะท้อนอัตโนมัติ
ระบบประสาทส่วนกลาง (CENTRAL NERVOUS SYSTEM/CNS)
สมอง (BRAIN)
สมองส่วนหน้า (Forebrain)
1) ทาลามัส (Thalamus)
ควบคุมและประสานงานเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก
เป็นศูนย์รับและส่งกระแสประสาทยกเว้น การได้กลิ่น
อยู่เหนือสมองส่วนกลางหรือก้านสมอง รูปทรงไข่
3) ระบบลิมปิค (Limbic System)
(1) Septal Area
อยู่บริเวณหน้าและเหนือไฮโปทาลามัส
ควบคุมเกี่ยวกับการรับรู้ประสบการณ์ทางอารมณ์ที่มีความพอใจ
(2) Amygdala
รูปร่างคล้ายถั่วอัลมอนด์อยู่ด้านหน้า ไฮโปทาลามัส ภายในสมองส่วนข้าง
กระตุ้นเร้าความตื่นตัวทางอารมณ์ เช่น การแสดงความโกรธ ความก้าวร้าว การแสดงพฤติกรรมที่มีแรงจูงใจทำให้เกิดความกลัว
(3) Hippocampus
อยู่บริเวณด้านข้างทาลามัสและไฮโปทาลามัส บริเวณซีรีบรัมส่วนข้าง
ควบคุมความต้องการทางเพศ
ถ้าสมองส่วนนี้พิการ จะทำให้สูญเสียความทรงจำและไม่สามารถจดจำความจำใหม่ๆ ได้
2) Hypothalamus
อยู่บริเวณฐานของซีรีบรัม อยู่ใต้ทาลามัส
ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน
ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่อและระบบประสาทอัตโนมัติ
ควบคุมความสมดุลของการมีชีวิตของร่างกาย
4) บาซาร์แกลงเลีย (Basal ganglia)
อยู่บริเวณเหนือทาลามัส ใต้เปลือกสมอง
ควบคุมและประสานการทำงานด้านการเคลื่อนไหวด้วยความสมัครใจ
หากสมองส่วนนี้ได้รับอันตราย ทำให้บุคคลไม่สามารถเคลื่อนไหวอย่างที่ต้องการได้
(5) ซีรีบรัม (Cerebrum)
เป็นส่วนที่อยู่บนสุดของกะโหลศีรษะ ครอบคลุมบริเวณส่วนกลางและส่วนหลัง
เป็นศูนย์กลางการควบคุมพฤติกรรมความฉลาด สติสัมปชัญญะ ไหวพริบ การรับความรู้สึก การเรียนรู้ความจำ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล ความคิด การตัดสินใจ การควบคุม สถานการณ์
ลักษณะการทำงานของสมอง
สมองส่วนกลาง (Midbrain)
ตั้งอยู่ด้านล่างสุดของซีรีบรัมและอยู่เหนือพอนส์
การได้ยิน การสัมผัส
เป็นเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกับซีรีบรัม
ควบคุมการนอนหลับ
ควบคุมการมองเห็น การประสานงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวความสามารถในการกลอกตาตามวัตถุที่เคลื่อนที่
เรติคิวล่าร์ ฟอร์เมชั่น (Reticular Formation)
เป็นเส้นใยที่รวมกันเป็นกลุ่ม อยู่ด้านหลังของก้านสมอง
เป็นศูนย์ควบคุมการหลับ การตื่นของร่างกายในระดับจิตรู้สำนึก
การแสดงอาการงุนงง
ควบคุมปฏิกริยาสะท้อนที่เกิดจากการตอบสนองต่อเสียงดังอย่างทันทีทันใด
สมองส่วนหลัง (Hindbrain)
1) เมดุลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata)
เป็นส่วนที่ต่ำสุดของสมองต่อจากไขสันหลัง
ศูนย์กลางควบคุมการมีชีวิตอยู่ของร่างกาย
อยู่ใต้พอนส์
ควบคุมการทำงานโดยอัตโนมัติ
ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปและการได้รับสารเสพติด
2) พอนส์(Pons)
ควบคุมการเคลื่อนไหว การนอนหลับ การตื่น การหายใจในระดับลึก
การรับรู้ความเจ็บปวด
เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงมาจากสมองส่วนกลาง ด้านขวา ติดกับ ซีรีเบลรัมประกอบด้วย กลุ่มของเส้นใยประสาทที่เรียกว่า Nuclia
3) ซีรีเบลลัม (Cerebellum)
อยู่บริเวณท้ายทอย
ควบคุมการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อลายทำให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว
ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
หากสมองส่วนนี้ได้รับความเสียหายส่งผลให้กล้ามเนื้อกระตุกไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ
ไขสันหลัง (SPINAL CORD)
1) เป็นส่วนที่ทอดยาวออกมาต่อจากก้านสมองอยู่กลางโพรงกระดูกไขสันหลังตลอดแนว
4) ปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex)
ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลันเพื่อป้องกันอันตรายของต่อมและกล้ามเนื้อ
โดยสมองไม่ได้สั่งการแต่มาจาก ไขสันหลัง แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
(1) Spinal Reflex
คือ Reflex ของกล้ามเนื้อลายทั้งหมด เช่น การเหยียบตะปู
Supraspinal Reflexเป็น Reflex ของประสาทสมอง เพราะเกิดจากล้ามเนื้อที่สูงกว่าคอขึ้นไปเช่น การกระพริบตา
(2) ANS Reflex
คือ Reflex ของกล้ามเนื้อเรียบทั้งหมดในช่องอก ช่องท้อง อวัยวะเพศ เส้นเลือด ผิวหนัง ตับ ไต ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ ม่านตา หลอดลม เช่น การดูดนมของทารก
วงจรของ REFLEX ACTION
ชนิดของ Reflex Action
Monosynapic Reflex มี Synapse เดียว เช่น เข่ากระตุก
Polysynaptic Reflex มีหลาย Synapse เดียว เช่น เหยียบตะปูแล้วแขนกระตุกประโยชน์ของ Reflex
ป้องกันอันตรายและการตอบสนองทางเพศ
2) รับความรู้สึกจากอวัยวะรับสัมผัส
3) เป็นศูนย์กลางของการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างฉับพลัน (Reflex Action)
โครงสร้างของระบบประสาท
เซลล์ประสาท (NEURON)
ลักษณะ เป็นหน่วยย่อยพื้นฐานของระบบประสาทลักษณะรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไป
การทำงาน
ประมวลผลข้อมูล (Information – processing)
ส่งผ่านข้อมูลภายในระบบประสาท (Information – transmitting)
เซลล์ประสาท ประกอบด้วย
แอกซอน (axon)
ส่วนปลายของแอกซอน (axon terminal)
เดนไดรด์ (dendrite)
เกลียเซลล์หรือนิโรเกลีย (glial cells or neuroglia)
ปลอกหุ้มใยหรือไมอีลินชีท (myelin sheath)
ไชแนปส์ (sysapse)
ตัวเซลล์ (cell body or soma)
ระบบประสาทส่วนปลาย (PERIPHERAL NERVOUS SYSTEM / PNS)
1) ระบบประสาทโซมาติค (somatic nervous system / SNS)
อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจ
รับความรู้สึกต่างๆ ทั่วร่างกาย
ระบบควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย
นำคำสั่งจากสมอง ไขสันหลัง ไปยังกล้ามเนื้อลาย ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวการแสดงออกทางสีหน้า
ควบคุมการทำงานและการแสดงกริยาอาการของระบบและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย
การทำงานประสานกับระบบประสาทส่วนกลาง และต่อมไร้ท่อ
ประกอบด้วย Sensory Nervous และ Motor Nervous
เป็นศูนย์กลางของการรับรู้ ความรู้สึกต่างๆของร่างกาย
ประกอบด้วยเส้นประสาทที่มาจากสมอง (brainal nerve) 12 คู่ เพื่อรับส่งความรู้สึกและคาสั่งตั้งแต่ลาคอขึ้นไป
ประกอบด้วยเส้นประสาทที่ออกจากไขสันหลัง (spinal nerve) 31 คู่ เพื่อรับส่งความรู้สึกและคาสั่งตั้งแต่บริเวณลำคอลงไปตลอดร่างกายจนถึงปลายเท้า
2) ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system / ANS)
ส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคล ในขณะตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดกดดัน หรือได้รับอันตราย
ควบคุมการทำงานของปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex)
การทำงานอิสระ อยู่นอกการควบคุมของอำนาจจิตใจ
ประกอบด้วย
(1) ระบบประสาทซิมพาเธติค (sysphathetic)
ทำงานโดยกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มพลังงานแก่ร่างกายยามฉุกเฉิน
กระตุ้นอวัยวะต่างๆ พร้อมกันทีเดียว เมื่อพบกับภาวะฉุกเฉิน
เป็นระบบประสาทที่มีใยประสาทมาจากไขสันหลังส่วนนอกและเอว
ต่อมหมวกไต (adrenal gland) จะหลั่งฮอร์โมน adrenalinเพื่อเพิ่มพลังงานพิเศษให้กับร่างกาย
(2) ระบบประสาทพาราซิมพาเธติค (parasysphathetic)
ควบคุมการเข้าสู่ภาวะปกติของร่างกายทำให้ร่างกายทำงานสมดุล
ทำงานมากเมื่อพักผ่อนมีความจำเป็นต่อการมีชีวิต
เป็นระบบประสาทที่มาจากสมองส่วนกลาง พอนส์ เมดุลลารวมทั้งไขสันหลังบริเวณก้นกบ
การทำงานจะสั่งงานต่ออวัยวะเป้าหมายไม่พร้อมกัน
ต่อมหมวกไต (adrenal gland) จะหลั่งฮอร์โมน noradrenalin เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ
ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบกล้ามเนื้อหัวใจ ต่อมมีท่อ
กลไกการเกิดพฤติกรรม
โครงสร้างพื้นฐานของสรีระและหน้าที่การทำงาน
เนื้อเยื่อ(tissue)เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเซลล์ที่มีโครงสร้างและหน้าที่คล้ายคลึงกัน เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ควบคุมการเคลื่อนไหว, เนื้อเยื่อประสาท กระตุ้นและนำความรู้สึกของการทำงานร่างกาย
อวัยวะ (organ) เป็นการรวมตัวกันของเนื้อเยื่อตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น หัวใจ ปอด ตับ มดลูก
เซลล์ (cell)เป็นหน่วยสิ่งมีชีวิตพื้นฐานของมนุษย์ (รูปแบบคล้ายคลึงกัน แต่หน้าที่และโครงสร้างจะแตกต่างกัน)
ระบบอวัยวะ (organ system) เป็นการรวมกลุ่มของอวัยวะกลุ่มหนึ่ง ที่ทำหน้าในร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน ซึ่งร่างกายของมนุษย์จะประกอบขึ้นจากระบบอวัยวะ 11 ระบบ ซึ่งส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคล เช่น ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจ
ออการ์แนล (organell) โครงสร้างเล็กๆ ที่อยู่ในเซลล์มีหน้าที่เฉพาะ เช่น นิวเคลียส (บรรจุข้อมูลทางพันธุศาสตร์ของเซลล์)
ร่างกาย (organism) เป็นการคงสภาพการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ ซึ่งจะประสานการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ อย่างซับซ้อนและทำงานร่วมกัน
เคมี (chemical) ทุกระบบจะถูกกำหนดจากจุดเริ่มต้นทางเคมี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาระหว่าง อะตอม (atom) +โมเลกุล (molecules)
กระบวนการเกิดพฤติกรรม
1) กลไกรับสิ่งเร้า คือ ตัวรับ (Receptors) ได้แก่ อวัยวะรับสัมผัส
2) กลไกเชื่อมโยงได้แก่ เซลล์ประสาท (Nerve Cells)
3) กลไกแสดงปฏิกิริยา คือ ตัวแสดงออก (Effectors) ทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อ ต่อมต่างๆ
นางสาวอริสรา อินตา 6104101401 เซค 5