Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน ตามแนวทางโรงเรียนพห…
การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้ภาษาและวัฒนธรรมเป็นฐาน ตามแนวทางโรงเรียนพหุวัฒนธรรม
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นจัดให้ผู้เรียนปีละ 120 ชั่วโมง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้ผู้เรียนปีละ 360
กิจกรรมนักเรียน
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมตามความถนัด และความสนใจโดยเน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรม
กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด
การจัดกิจกรรมชุมนุม
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ลักษณะอาสาสมัครเพื่อช่วย ขัดเกลาจิตใจของผู้เรียนให้มีความเมตตากรุณา มีความเสียสละ และมีจิตสาธารณะ
กิจกรรมแนะแนว
เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพสามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม
ช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
มุ่งเน้นทักษะ พื้นฐานด้านการอ่านการเขียน การคิดคำนวณ การคิดพื้นฐาน การติดต่อสื่อสาร กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม
พื้นฐานความเป็นมนุษย์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างสมบูรณ์และสมดุลทั้ง ด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม
เน้นจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6)
ทักษะในการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อ และการประกอบอาชีพ
มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน
มุ่งเน้น การเพิ่มพูนความรู้และทักษะเฉพาะด้าน สนองตอบความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน
สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
มีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และคิดแก้ปัญหา
มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สำรวจความถนัด และความสนใจของตนเอง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน
มีทักษะในการดำรงชีวิต ทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐาน ในการประกอบอาชีพ หรือการศึกษาต่อ
การจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรม
ความหมาย
การศึกษาพหุวัฒนธรรม คือกระบวนการจัดการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่พัฒนามาจากปรัชญา ความเชื่อ ค่านิยมแบบประชาธิปไตย และความเชื่อในคุณค่าของความหลากหลายวัฒนธรรม (Multiculturalism)
รูปแบบการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรม
การจัดการศึกษาแนวพหุวัฒนธรรม ควรต้องดาเนินการในลักษณะองค์รวมคือ จัดกิจกรรมพร้อม ๆ กันทั้ง 5 แนวทาง
การลดอคติ
การสอนที่ยึดหลักความยุติธรรม
การสร้างความรู้ใหม่
การปรับโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมในโรงเรียน
การบูรณาการเนื้อหา
แนวทางการจัดการศึกษาเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงเรียน
การจัดการศึกษาที่มีฐานะของการเรียนรู้ที่นำไปสู่การแสดงออกของการจัดการและการบริหารอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดกลไกในการดำเนินชีวิตร่วมกัน ภายใต้ความเป็นพหุวัฒนธรรมทางศาสนาที่ต้องประกอบด้วยการเรียนรู้ การทำความเข้าใจ และปรับตัว โดยมีหลักคิดทางศาสนาที่ยึดมั่นในขันติธรรม มีความอดทนอดกลั้นต่อความแตกต่าง เคารพและให้เกียรติต่อความแตกต่างของเพื่อนร่วมสังคม คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ร่วมสังคมชาติ