Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจทรวงอกและปอด Thorax / Chest & Lung - Coggle Diagram
การตรวจทรวงอกและปอด
Thorax / Chest & Lung
การเคาะ
เคาะปอดด้านหลัง เริ่มเคาะจากด้านบน ลงมาด้านล่างทีละช่องซี่โครง
เคาะบริเวณยอดปอด โดยให้ผู้ป่วยนั่ง ผู้ตรวจหันหน้าเข้าหาผู้ป่วยเคาะลงบน Supraclavicular fossa ทั้งข้างซ้ายและขวา
เคาะปอด โดยเริ่มจากกระดูกไหปลาร้าแต่ละข้าง ไล่ลงมาทีละช่องของกระดูกซี่โครงทั้ง 2 ข้าง ปกติเสียงก้อง (Resonance)
การแปลผล
Flatness พบใน Hydrothorax, Pleural effusion
ลักษณะเหมือนเสียงที่เกิดจากเคาะบริเวณต้นขา
Dullness พบใน Pneumonia, Pul. TB, Atelectasis
ลักษณะเหมือนเสียงที่เกิดจากการเคาะตับ หรือเสียงทึบ
Tympany พบใน Pneumothorax เป็นเสียงโปร่ง
เหมือนเสียงที่เกิดจากการเคาะหน้าท้องที่มีแก๊สมาก
Resonance เป็นเสียงที่เกิดจากการเคาะปอดที่ปกติ หรือ เสียงก้อง
Hyper – resonanceเสียงก้องมาก พบในภาวะ Emphysema
การคลำ
การคลำตำแหน่งที่กดเจ็บ เช่น Costochondral junction และตำแหน่งอื่นๆ
ตำแหน่งของหลอดลม
ผู้ตรวจใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางกดไปบน suprasternal notch โดยให้นิ้วอยู่แต่ละข้างของหลอดลม เปรียบเทียบความรู้สึกว่าช่องว่างระหว่างหลอดลมกับSternocleidomastoid ทั้ง 2 ข้างเท่ากันหรือไม่
ผู้ป่วยนั่งหน้าตรง ผู้ตรวจใช้นิ้วคลำหาจุดกึ่งกลางของ
Suprasternal notch และเคลื่อนนิ้วเข้าหา Trachea สังเกตว่าสัมผัสได้ที่จุดกึ่งกลางหรือไม
การขยายตัวของปอด
วางฝ่ามือทั้ง 2 ข้างทาบทรวงอกด้านหลัง ให้นิ้วหัวแม่มือวางขนานกับกระดูกซี่โครงคู่ที่ 10
ฝ่ามือโอบด้านข้างของทรวงอก ปลายนิ้วหัวแม่มือ 2 ข้างอยู่ใกล้กันบริเวณแนวกระดูกสันหลัง โดยมีระยะห่างเท่ากัน
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ สังเกตความแตกต่างของการเคลื่อนที่ของนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง
การคลำเสียงสะท้อน
ใช้ฝ่ามือหรือสันมือวางบนผนังอกด้านหลัง ใน
ตำแหน่งที่ตรงกันทั้ง 2 ข้าง จากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบนก็ได้
ให้ผู้ป่วยนับ 123 จะสัมผัสถึงความรู้สึกสั่นสะเทือนที่เกิดจากเสียงเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง
ถ้าคลำเสียงสะท้อนได้เบากว่าอีกข้างหนึ่ง แสดงว่า ปอดข้างนั้นแฟบหรือมีสิ่งอุดกั้นในหลอดลมข้างนั้น
การฟัง
การฟังเสียงพูด
ให้ผู้ป่วยนับ 1-2-3 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเสียง
กรณีที่มีสิ่งมากั้นระหว่างเนื้อปอดกับผนังทรวงอก
การฟังเสียงหายใจปกติ
Tracheal / Bronchial breath sound บริเวณคอ
ตำแหน่งของTrachea และ bronchus
(หายใจเข้าสั้น – ออกยาว)
Bronchovesicular breath sound บริเวณรอบ manubrium (หายใจเข้า – ออกเท่า ๆ กัน)
Vesicular breath sound บริเวณชายปอดทั้ง 2 ข้าง
(หายใจเข้ายาว – ออกสั้น)
การฟังเสียงผิดปกติ
Crepitation or crackle เป็นเสียงที่ไม่ต่อเนื่อง เกิดจากลมหายใจผ่าน secretion ที่ Terminal bronchiole และ alveoli ได้ยินชัดช่วงหายใจเข้า
Rhonchi and Wheezing เป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นของหลอดลม ในขณะที่มีลมวิ่งผ่านหลอดลมที่ตีบแคบพบใน Asthma,COPD, CHF
Rhonchi เป็นเสียงที่มีลักษณะใหญ่และทุ้ม แสดงถึงหลอดลมขนาดใหญ่ในทรวงอกที่ตีบแคบ
Wheezing เป็นเสียงที่มีลักษณะแหลมกว่า rhonchi ซึ่งความแหลมของเสียงขึ้นกับความเร็วของลมที่วิ่งผ่าน
Stridor เป็นเสียงที่เกิดจากการตีบแคบของหลอดลมขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นเสียงหวืดที่ได้ยินชัดในช่วงหายใจเข้ามักจะได้ยินโดยไม่ต้องใช้ stethoscope
วิธีตรวจโดยการสังเกต
ลักษณะเต้านม หัวนม
การเคลื่อนไหวของทรวงอก สังเกตอัตราการหายใจ ความลึก จังหวะ ใช้กล้ามเนื้อหน้าอกช่วยหายใจ
ขนาดและรูปร่างทรวงอก ปกติเส้นผ่าศูนย์กลางจากด้านหน้าไปด้านหลังจะแคบกว่าด้านข้าง ประมาณ 5 : 7
ลักษณะผิวหนังทรวงอก มีผื่น แผล
มี spider nevi หรือ spider angioma หรือไม่