Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พรบ.สถานพยาบาล - Coggle Diagram
พรบ.สถานพยาบาล
การประกอบกิจการสถานพยาบาลและการดำเนินการสถานพยาบาลการตั้งและดำเนินการสถานพยาบาล มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- กฎหมายกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอตั้งและกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลทั้งสองประเภท
- กฎหมายกำหนดให้สถานพยาบาลต้องมีเครื่องใช้อย่างเพียงพอ ให้มีผู้ดำเนินการซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะและมีผู้ประกอบโรคศิลปะ ประจำสถานพยาบาล
- ต้องมีการขออนุญาตตั้งและขออนุญาตดำเนินการ และต้องได้รับใบอนุญาตทั้งสองอย่างเสียก่อน มิฉะนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
- กฎหมายกำหนดหน้าที่ของผู้รับอนุญาต(ผู้ขอตั้ง) และดำเนินการไว้
- กฎหมายกำหนดเรื่องการโฆษณาสถานพยาบาลไว้ โดยห้ามโฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาไปในทางโอ้อวดหรือเป็นเชิงชักชวนให้มารับการรักษาพยาบาโดยผู้รับอนุญาตหรือผู้ดำเนินการเป็นผู้รับผิดชอบ
- กฎหมายได้กำหนด เรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ดำเนินการและผู้รับอนุญาตตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่อเติมสถานพยาบาลและการเลิกสถานพยาบาล
- กฎหมายได้กำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่และมาตรการในการสั่งปิดและเพิกถอนใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล
- กฎหมายกำหนดโทษทางอาญา แก่ผู้รับอนุญาต ผู้ดำเนินการหรือผู้อื่นในการกระทำผิดในกรณีต่างๆอันฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้
-
-
ข้อพิจารณา คือ กฎหมายใช้คำว่า สถานพยาบาล แทนที่จะใช้คำว่า โรงพยาบาลหรือ คลินิก เป็นต้น กฎหมายได้จัดประเภทสถานพยาบาลดังนี้
- สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
หมายถึง สถานพยาบาลที่ไม่ได้รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนในสถานพยาบาลของตน กล่าวคือ ผู้ป่วยจะมารับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น มารับการตรวจสุขภาพและได้รับยาไปรับประทานที่บ้าน แต่จะไม่ได้มานอนพักรักษาตัว หรือมีคนเฝ้าดูแลในแต่ละเวร เหมือนกับสถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
สถานพยาบาลดังกล่าวนี้ ได้แก่ คลินิคแพทย์ ที่เปิดทำการทั่วไป อย่างไรก็ดี กฎหมายได้กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ว่าด้วยวิชาชีพและจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล พ.ศ. 2545 ในคลินิกเวชกรรมนั้น จะต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จำนวนหนึ่งคน ส่วนคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางนั้นต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแพทยสภาในสาขานั้น ตามสาขาที่ได้รับวุฒิบัตรหรือที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่กรณี สาขาละหนึ่งคน หากเป็นคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต้องมีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จำนวนหนึ่งคน
- สถานพยาบาลประเภทที่ที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
กฎหมายได้กำหนดผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล เวชกรรม/โรงพยาบาลเวชกรรมประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ดังนี้ คือ
สถานพยาบาล
ไม่เกิน 10 เตียง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2 คน ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง 3 คน ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 1 คน ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์ 1 คน (หากมีบริการ)
11 ถึง 30 เตียง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2 คน ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง 6 คน ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 1 คน ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์ 1 คน (หากมีบริการ)
โรงพยาบาล
61 ถึง 90 เตียง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม 4 คน ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง 12 คน ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 2 คน ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์ 2 คน (หากมีบริการ)
31 ถึง 60 เตียง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม 3 คน ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง 9 คน ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม 1 คน ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคนิคการแพทย์ 1 คน (หากมีบริการ)
-
-
ข้อสังเกต
กฎหมายนี้ไม่ใช้บังคับแก่สถานพยาบาลของรัฐบาล สถานพยาบาลของเทศบาล สถานพยาบาลของสภากาชาดไทย และสถานพยาบาลอื่นซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 5) อย่างไรก็ดี ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2542) ได้ยกเว้นลักษณะสถานพยาบาล ซึ่งไม่ต้องถูกบังคับตามกฎหมายนี้ ได้แก่ สถานพยาบาลที่จัดให้บริการด้านการรักษาพยาบาล โดยไม่ได้มีความประสงค์ประกอบธุรกิจเพื่อหวังผลกำไรและเป็นการจัดสวัสดิการของ
-
- นายจ้าง ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานและสวัสดิการสังคม
- องค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน
- ผู้ให้บริการขนส่งผู้โดยสารในยานพาหนะต่าง ๆ
- รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
นอกจากนี้ยังมี ยานพาหนะที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ตลอดจนสถานพยาบาลที่ใช้ยานพาหนะในการออกไปให้บริการเคลื่อนที่ ณ สถานที่ต่าง ๆ เป็นการชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการช่วยเหลือเพื่อการกุศล เป็นต้น
สถานพยาบาล ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 บัญญัติไว้ว่า “ สถานที่รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ หรือการประกอบวิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม การประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด หรือการประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ทั้งนี้ โดยกระทำเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ แต่ไม่รวมถึงสถานที่ขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ซึ่งประกอบธุรกิจการขายยาโดยเฉพาะ”
จากความหมายที่กฎหมายได้ให้คำนิยามไว้นั้น จะไม่รวมถึงสถานที่ขายยา เนื่องจากว่าสถานที่ขายยานั้นจะมีกฎหมายว่าด้วยยา ควบคุม ไว้แล้วไม่ว่าจะเป็น การควบคุมการผลิต ขาย นำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายสถานพยาบาล