Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายยาเสพติดให้โทษ - Coggle Diagram
กฎหมายยาเสพติดให้โทษ
ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. 2562
กำหนดเงื่อนไขการอนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออก ให้กระทำได้เฉพาะในกรณีจำเป็น เพื่อประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา กรณีเป็นกัญชง (Hemp) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
กำหนดข้อยกเว้นการมีไว้ในครอบครองได้โดยไม่ต้องขอรับใบอนุญาต
กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ส. เห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
กำหนดหน้าที่ของผู้ได้รับอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง
กำหนดเงื่อนไขการโฆษณายาเสพติดให้โทษ
กำหนดข้อยกเว้น
กำหนดท้องที่เพื่อให้เสพพืชกระท่อมได้โดยคณะกรรมการ ป.ป.ส.
กำหนดบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ได้รับใบอนุญาต
กำหนดบทเฉพาะกาล ที่สำคัญได้แก่
๑. ภายในระยะเวลา ๓ ปี
๒. ในวาระเริ่มแรกภายในเวลา ๕ ปี
๓. กำหนดบทยกเว้นโทษ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและมีบทบัญญัติบางประการที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนี้ปรากฏผลการวิจัยว่าสารสกัดจากกัญชาและพืชกระท่อมมีประโยชน์ทางการแพทย์เป็นอย่างมาก ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย เพื่อเปิดโอกาสให้มีการอนุญาตให้ประชาชนใช้กัญชาและ พืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ในการรักษาโรคและประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติ ด ให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ กัญชาและพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ที่ห้ามมิให้ผู้ใดเสพหรือ นำไปใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยหรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์และยังกำหนดโทษทั้งผู้เสพและ ผู้ครอบครองด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับและใช้กัญชาเพื่อประโยชน์ ในการรักษาและพัฒนาทางการแพทย์ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้ได้รับอนุญาต เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ให้ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านยาของประเทศ และป้องกันไม่ให้เกิด การผูกขาดทางด้านยา สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อเปิดโอกาส ให้สามารถนำกัญชาและพืชกระท่อมไปทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถ นำไปใช้ในการรักษาโรคภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะขออนุญาตผลิต นำเข้า หรือส่งออก
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
มาตรา 3 ให้ยกเลิก
(1) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระพุทธศักราช 2465
(2) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2479
(3) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2502
(4) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2504
(5) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2518
(6) พระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช 2477
(7) พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พุทธศักราช 2486
หมวด 7
การโฆษณา
มาตรา 48 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ เว้นแต่
(1) การโฆษณายาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ซึ่งกระทําโดยตรงต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชเวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรรม หรือเภสัชกรรม หรือผู้ประกอบการ บําบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง หรือ
(2) เป็นฉลากหรือเอกสารการกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือประเภท 4 ที่ภาชนะ หรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 หรือ ประเภท 4
หมวด 10 มาตราการควบคุมพิเศษ
ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 หรือประเภท 5
ห้ามมิให้ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เว้นแต่การเสพนั้นเป็นการเสพ เพื่อการรักษาโรคตามคําสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง ในสาขาทันตกรรมที่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 17
ให้รัฐมนตรีกําหนดจํานวนยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ที่จะต้องใช้ในทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ทั่วราชอาณาจักรประจําปี โดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ช้ากว่าเดือนมกราคมของแต่ละปีและให้กําหนดจํานวนเพิ่มเติมได้ในกรณีจําเป็นโดยให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เช่นกัน
ให้รัฐมนตรีกําหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ที่ผู้รับอนุญาตจะจําหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองได้ประจําปี
ในกรณีผู้รับใบอนุญาตจําหน่ายหรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 2 ตายก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุให้ทายาทผู้ครอบครอง หรือผู้จัดการมรดกแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตายและให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดยาเสพติดให้โทษที่ผู้รับ อนุญาตมีเหลือมาเก็บรักษาไว้ที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขยาเสพติดให้ โทษที่ยึดไว้นั้นให้กระทรวงสาธารณสุขจ่ายค่าตอบแทนตามที่เห็นสมควร
ให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา 17 มาตรา 20 และมาตรา 26 จัดให้มีการทําบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษและเสนอรายงานต่อเลขาธิการเป็นรายเดือนและรายปี
หมวด 12
บทกําหนดโทษ
ยาเสพติดให้โทษใน ประเภท 1
ผู้ใดผลิต นําเข้า หรือสิ่งออก ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทําผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําเพื่อจําหน่าย ต้องระวางโทษประหารชีวิต
มีปริมาณคํานวณเป็นสารบริสุทธิ์ ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจําคุก ตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท ถ้าเกินหนึ่งร้อยกรัม ต้องระวาง โทษจําคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
ครอบครอง มีปริมาณคํานวณเป็น สารบริสุทธิ์ไม่ถึงยี่สิบกรัมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2
ผู้ใดผลิต นําเข้า หรือส่งออกซึ่ง จําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ผู้ใดมีไวในครอบครองซึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 3
ผู้ใดผลิต หรือนําเข้า ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดจําหน่าย หรือส่งออก ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
ผู้นําเข้า หรือส่งออกแต่ละครั้ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
ผู้ใดผลิต จําหน่าย นําเข้า หรือส่งออก ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึง หนึ่งแสนบาท
ครอบครอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ถ้าครอบครองเพื่อจําหน่าย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
ครอบครอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ครอบครองเพื่อจําหน่าย ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและ ปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถ้าเป็นพืช กระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมานานแล้ว และมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุง กฎหมายดังกล่าวเพื่อให้ การปราบปรามและควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี สมาชิกอยู่จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติฝิ่น พุทธศักราช ๒๔๗๒
(๒) พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ. ๒๔๗๒ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๖
(๓) พระราชบัญญัติฝิ่นแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๗๘
(๔) พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๔) พุทธศักราช ๒๔๘๑
(๕) พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๔๘๕
(๖) พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๙๔
(๗) พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๐๒
(๘) พระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๑๐ ในขณะที่ไม่มีประกาศให้ฝิ่น มูลฝิ่น หรือพันธุ์ฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทใดตามมาตรา ๗ และมาตรา ๘ (๑) ให้ฝิ่นหรือมูลฝิ่นตามกฎหมายว่าด้วยฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๒ และพันธุ์ฝิ่นตามกฎหมายว่าด้วยฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕
การยกเลิกจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “ยาเสพติดให้โทษ” ในมาตรา ๔
“ยาเสพติดให้โทษ” หมายความว่า สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่”
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๙ วรรคสาม และวรรคสี่
“ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นมอร์ฟีน ฝิ่นหรือโคคาอีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้ามอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีนนั้นมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินกว่าหนึ่งร้อยกรัมขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท”
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๘ วรรคสอง
“ถ้ายาเสพติดให้โทษซึ่งเป็นวัตถุแห่งการกระทำความผิดเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบปีถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงห้าแสนบาท”
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๕
“มาตรา ๗๕ ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”
มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๖
“มาตรา ๗๖ ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท”
มาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๒
“มาตรา ๙๒ ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ถ้าเป็นพืชกระท่อม ผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท”
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๐๑ ประกาศยกเลิกการเสพฝิ่นและการจำหน่ายฝิ่นทั่วราชอาณาจักร กฎหมายฝิ่นจึงยังคงใช้บังคับแต่เฉพาะเรื่องฐานความผิด และบทกำหนดโทษเท่านั้น ฉะนั้นจึงเห็นสมควรยกเลิกพระราชบัญญัติฝิ่น พุทธศักราช ๒๔๗๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมด โดยกำหนดให้ฝิ่นเป็นยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากนี้ ยาเสพติดให้โทษประเภทพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษที่มีอันตรายน้อยกว่ายาเสพติดให้โทษประเภทกัญชา จึงเห็นควรกำหนดบทลงโทษของยาเสพติดให้โทษประเภทพืชกระท่อมให้ต่ำลงเพื่อความเหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๒ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ หรือในประเภท ๒ ต่อศาล และไม่ได้มีการโต้แย้งเรื่องประเภท จำนวน หรือน้ำหนักของยาเสพติดให้โทษ ถ้าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษดังกล่าวตามมาตรา ๑๐๒ หรือตามกฎหมายอื่น และไม่มีคำเสนอว่าผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษนั้น ให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายทำลายหรือนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด”
มาตรา ๔ บรรดาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ หรือในประเภท ๒ ที่ไม่ได้มีการโต้แย้งเรื่องประเภท จำนวน หรือน้ำหนักของยาเสพติดให้โทษ ถ้าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษดังกล่าวตามมาตรา ๑๐๒ หรือตามกฎหมายอื่น ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่มีคำเสนอว่าผู้เป็นเจ้าของแท้จริงไม่ได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบยาเสพติดให้โทษนั้น
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันคดียาเสพติดให้โทษมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี และการพิจารณาคดีต้องใช้เวลานานกว่าคดีจะถึงที่สุด ในระหว่างนั้นศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ริบของกลางยาเสพติดให้โทษตามมาตรา ๑๐๒ แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือตามกฎหมายอื่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังไม่มีบทบัญญัติให้กระทรวงสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายมีอำนาจทำลายหรือนำของกลางยาเสพติดให้โทษไปใช้ประโยชน์ได้ ส่งผลให้รัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณเป็นจำนวนมากในแต่ละปี เพื่อการเก็บรักษาและดูแลของกลางยาเสพติดให้โทษไม่ให้สูญหาย ดังนั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายมีอำนาจทำลายยาเสพติดให้โทษที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ริบหรือนำยาเสพติดให้โทษดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕
การยกเลิก เพิ่มบทนิยาม เพิ่มบทความจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๔๓
ยกเลิกความในมาตรา ๔๘
เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔๘/๑ และมาตรา ๔๘/๒
กรณีที่ผู้อนุญาตเห็นว่าการโฆษณาใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๘ วรรคสองหรือมาตรา ๔๘/๑ วรรคสอง หรือมีการใช้ข้อความโฆษณาไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตให้ผู้อนุญาตมีอำนาจออกคำสั่งอย่างใดอ่างหนึ่งหรือหลายอย่าง- ยกเลิกความในมาตรา ๔๙
เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๘/๑
ยกเลิกความในมาตรา ๖๐
เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๑๑/๑ การอุทธรณ์ มาตรา ๖๔/๑และมาตรา ๖๔/๒
เพิ่มบทนิยามคำว่า “หน่วยการใช้” ระหว่างบทนิยามคำว่า “ติดยาเสพติดให้โทษ” และ “การบำบัดรักษา” ในมาตรา ๔
ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “สถานพยาบาล” และ “เภสัชกร” ในมาตรา ๔
เพิ่มบทนิยามคำว่า “ข้อความ” และ “โฆษณา” ระหว่างบทนิยามคำว่า “ตำรับยา” และ “ผู้รับอนุญาต” ในมาตรา ๔
ยกเลิกความใน (๕) ของมาตรา ๘
ยกเลิกความใน (๗) ของมาตรา ๑๓
ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๖
ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๑๙
ยกเลิกความในมาตรา ๒๐
เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๖/๑
หมวด ๑๑/๑
การอุทธรณ์
กรณีที่ผู้ได้รับคำสั่งของผู้อนุญาตตามมาตรา ๔๘/๒ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้
ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาตและมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงปริมาณที่กำหนดตามมาตรา ๑๕ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ยกเลิกความในมาตรา ๗๐ มาตรา ๗๑ มาตรา ๗๒ มาตรา ๗๓ และมาตรา ๗๔
ผู้ใดจำหน่าย มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง โดยมีจำนวนยาเสพติดให้โทษไม่เกินที่กำหนดตามมาตรา ๒๐ วรรคสี่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๕ และมาตรา ๗๖
ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๒๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๗๖/๑
ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินห้าแสนบาท
ผู้ใดจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาแต่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ (๔) หรือ (๕) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสามแสนบาท
ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ หรือ ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ โดยฝ่าฝืนบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากสภาพปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ในปัจจุบันนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สมควรปรับปรุงพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยแก้ไขโทษในความผิดเกี่ยวกับการมีไว้ในครอบครอง มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษจำนวนเล็กน้อยให้มีโทษขั้นสูงลดลงเพื่อให้เหมาะสมกับความผิด และให้บุคคลซึ่งต้องหาว่าเสพเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และให้ศาลสามารถลงโทษได้เมื่อมีคำรับสารภาพโดยพนักงานอัยการไม่ต้องสืบพยานประกอบเสมอไป และให้ศาลสามารถใช้มาตรการรอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษได้กว้างขวางขึ้น นอกจากนี้สมควรมีมาตรการให้ทางราชการสามารถขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และสมควรเพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษโดยให้มีการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น การให้มีอำนาจสั่งตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ และเพิ่มขอบเขตให้ผู้เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือผู้เสพและจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษที่มีจำนวนเล็กน้อย มีโอกาสสมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาได้กว้างขวางขึ้น รวมทั้งปรับปรุงบทกำหนดโทษให้ลดหลั่นกันตามความร้ายแรงของการกระทำความผิดและใช้มาตรการโทษปรับเป็นหลักในการลงโทษผู้กระทำผิดที่มุ่งหมายประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนกำหนดมาตรการควบคุมการครอบครองเพื่อจำหน่ายยาทั่วไปซึ่งมีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษและกำหนดวิธีการและควบคุมการโฆษณาเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ การบำบัดรักษา สถานพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล เพื่อให้อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
การพิสูจน์พฤติการณ์หรือเจตนาที่แท้จริงของผู้ที่กระทำความผิด กรณีผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดมากกว่าปริมาณที่กำหนด เช่น เฮโรอีน 3 กรัมขึ้นไป หรือ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) 18 เม็ดขึ้นไป
กฎหมายเดิม > ให้ถือเป็นเด็ดขาดว่า “กระทำเพื่อจำหน่าย”
กฎหมายใหม่ > ให้สันนิษฐานว่า “กระทำเพื่อจำหน่าย”
การปรับปรุงอัตราโทษฐานผลิต นำเข้า หรือส่งออก ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
ที่ไม่เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย
กฎหมายเดิม > จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1 - 5 ล้านบาท
กฎหมายใหม่ > จำคุก 10 ปี-ตลอดชีวิต และปรับ 1 - 5 ล้านบาท
ที่เป็นการกระทำเพื่อจำหน่าย
กฎหมายเดิม > ประหารชีวิตสถานเดียว
กฎหมายใหม่ > จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1 - 5 ล้านบาท หรือ ประหารชีวิต
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายปัจจุบันมีบทบัญญัติบางส่วน ที่กําหนดว่าบุคคลใดซึ่งกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒ ประเภท ๔ และประเภท ๕ โดยมียาเสพติดให้โทษเกินปริมาณที่กําหนดไว้ ให้ถือเป็นเด็ดขาดว่าผู้นั้นกระทําเพื่อจําหน่าย โดยไม่ได้เปิดโอกาสให้พิจารณาจากพฤติการณ์หรือคำนึงถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้กระทำความผิดและไม่ได้ให้สิทธิ ผู้ต้องหาหรือจำเลยในการพิสูจน์ความจริงในคดี สมควรแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นเพียง ข้อสันนิษฐาน เพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีโอกาสพิสูจน์ความจริงได้ นอกจากน ี้อัตราโทษสําหรับความผิดเกี่ยวกับ การผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ที่กําหนดโทษให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงบทกําหนดโทษดังกล่าว เพื่อให้การลงโทษผู้กระทำความผิดมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
อัตราโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
การลงโทษผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545 ยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งเป็น 5 ประเภทได้แก่
ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำหรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่
ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2 เช่น แอซิติกแอนไฮไดรด์ แอซติลคลอไรด์
ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ใบโคคา โคเคอีน ยาสกัดเข้มข้นของต้นฝิ่นแห้ง มอร์ฟีน
ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่จัดอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น และพืชเห็ดขี้ควาย
ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี
เหตุผลในการประกาศใชพระราชบัญญัตินี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้ โทษที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมานานแล้ว และมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย สมควรปรับปรุง กฎหมายดังกล่าวเพื่อให้การปราบปรามและควบคุมยาเสพติดให้โทษเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยยาเสพติดให้โทษซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี สมาชิกอยู่ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๐
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มิได้นิยามคำว่า “เสพ” ให้แตกต่างจากคำว่า “ติดยาเสพติดให้โทษ” และมิได้นิยามคำว่า “บำบัดรักษา” ไว้ ซึ่งทำให้มีปัญหาในทางปฏิบัติ และบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับความหมายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ และการยึดยาเสพติดให้โทษในประเภทต่าง ๆ ยังไม่เหมาะสมกับทางปฏิบัติในปัจจุบัน ตลอดจนยังไม่มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่ยุยงส่งเสริมหรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ และไม่มีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ที่บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษเป็นปกติธุระโดยมิได้กระทำในสถานพยาบาลตามพระราชบัญญัตินี้ สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยนิยามถ้อยคำดังกล่าวให้ชัดเจน และแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับความหมายและการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ และการยึดยาเสพติดให้โทษให้เหมาะสมและตรงกับทางปฏิบัติยิ่งขึ้น ตลอดจนเพิ่มบทกำหนดโทษสำหรับกรณีเช่นว่านั้น และสมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติฯ ด้วยเพื่อให้สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ และใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
การยกเลิก เพิ่มบทนิยามจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “เสพ” ในมาตรา ๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เสพ” หมายความว่า การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด”
มาตรา ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “ติดยาเสพติดให้โทษ” และ “การบำบัดรักษา” ระหว่างบทนิยามคำว่า “เสพ” และ “สถานพยาบาล” ในมาตรา ๔
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของมาตรา ๗
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความใน (๖) ของมาตรา ๘
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๐
มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๓ และมาตรา ๔๔
มาตรา ๔๔ ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เมื่อได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษตามมาตรา ๔๓ แล้ว จะแก้ไขรายการทะเบียนตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ดังกล่าวได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อนุญาต
มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙๓ ทวิ ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ หรือยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงห้าหมื่นบาท การยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๑๐ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙๔ ทวิ บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษเป็นปกติธุระโดยใช้ยาตามกฎหมาย ว่าด้วยยาวัตถุออกฤทธิ์ตามกฎหมาย ว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ซึ่งมิได้กระทำในสถานพยาบาลไม่ว่าจะได้รับประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๑ ยึดยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ประเภท ๒หรือประเภท ๓ ตามมาตรา ๔๙ (๒) หรือตามกฎหมายอื่น และไม่มีการฟ้องคดีต่อศาล ถ้าไม่มีผู้ใดมาอ้างว่าเป็นเจ้าของภายในกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ยึด ให้ยาเสพติดให้โทษนั้นตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข
มาตรา ๑๒ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐๑ ทวิ ยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ หรือประเภท ๕ ตามมาตรา ๔๙ (๒) หรือตามกฎหมายอื่น ไม่ว่าจะมีการฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ก็ตาม เมื่อได้มีการตรวจพิสูจน์ชนิดและปริมาณแล้วว่าเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทดังกล่าว
มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน