Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5บุคลิกภาพ, png-clipart-disc-assessment-personality-test-personality…
บทที่5บุคลิกภาพ
5.3 ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ (Psychological factors relating to personality) นักวิชาการต่างๆได้ข้อสรุปว่าปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้
5.3.1 ประสิทธิ์สวาสดิ์ญาติ (2547: 51-56) กล่าวว่าบุคลิกภาพถูกกำหนดโดยสถานการณ์ทางสังคมหรือสภาพแวดล้อมทางสังคมรวมทั้งวัฒนธรรมด้วยและมีลักษณะเป็นรูปลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Configuration)
5.3.2 แนวคิดเรื่องโครงสร้างบุคลิกภาพพื้นฐาน (basic personality structure) หรือลักษณะประจำชาติ (national character)
5.3.3 กระบวนการขัดเกลาทางสังคม (socialization) ทฤษฎีในแนวจิตวิทยาเชื่อว่าบุคลิกภาพเป็นผลจากการหล่อหลอมของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมซึ่งมนุษย์จะได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งถึงวันสุดท้ายของชีวิต
5.3.4 naiyn uns agrunnunenõu7 (intellectual and other abilities) บุคคลจะแสดงพฤติกรรมส่วนหนึ่งตามความรู้และความสามารถที่ตนมีอยู่และใช้ทักษะเฉพาะด้านเพื่อการแสดงเอกลักษณ์แห่งตน
5.3.5 เจตคติทางสังคม (social attitudes) ความคิดที่บุคคลมีเกี่ยวกับสังคมจะเป็นตัวกลางทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมในสังคมตามรูปแบบของความคิดนั้น ๆ
5.3.6 ความต้องการ (need) และแรงจูงใจ (motivation) ของบุคคลคือแรงกระตุ้นที่บุคคลมีอยู่จะเป็นพลังที่ทำให้แสดงพฤติกรรมจนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทางได้ในลักษณะที่แตกต่างกันไป
5.3.7 อารมณ์ (emotion) มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่ผสมผสานก่อให้เกิดเป็นบุคลิกภาพส่วนหนึ่งของบุคคลซึ่งผู้เขารมณ์ได้รับการกระตุ้นอยู่เสมออาจมียจทำให้เปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพได้
-
-
5 1 ความหมายและองค์ประกอบของบุคลิกภาพ (Defining and components of personality) คำว่าบุคลิกภาพ (personality) มาจากภาษาละตินว่า“ หน้ากาก (persona) "ที่ผู้แสดงใช้สวมใส่ในการแสดงละครของกรีกโบราณซึ่งมักมีหลายบทบาทมากกว่าตัวตนของนักแสดงซึ่งนักแสดงสามารถที่จะเปลี่ยนหน้ากากสื่อให้ผู้ชมได้รับรู้ในบทบาทที่แตกต่างกัน
5.1.1 ความหมายของบุคลิกภาพ (Defining personality) วิภาภักดี (2547: 259) กล่าวว่าบุคลิกภาพคือผลรวมอย่างมีระบบของพฤติกรรมต่างๆตลอดจนทัศนคติและค่านิยมซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยเฉพาะตัวบุคคลเป็นการสะท้อนความเป็นปัจเจกบุคคล (สุวรีย์ฤกษ์จารี 2543: 247) ศรีเรือนแก้วกังวาล (2543 320) กล่าวว่าบุคลิกภาพคือความคงที่ (consistency) ความซับซ้อน (complexity) ความหลากหลาย
5.1.2 องค์ประกอบของบุคลิกภาพ (Components of personality) Passer and Smith (2004: 420) กล่าวว่าบุคลิกภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
1) ด้านอัตลักษณ์พฤติกรรม (behavioral components of identity) หมายถึงการจำแนกความแตกต่างระหว่างบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล
2) ด้านการรับรู้สาเหตุภายใน (perceived internal cause) พฤติกรรมของบุคคลมีสาเหตุเบื้องต้นจากปัจจัยภายในมากกว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอก
3) ด้านการรับรู้ระบบและโครงสร้าง (perceived organization and structure) พฤติกรรมของบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับระบบและโครงสร้างในแง่ของผลรวมความหมายภายในบุคลิกภาพที่จะชี้นำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
-
5.5 บุคลิกภาพกับการทำนายพฤติกรรมมนุษย์ (Personality and predictions of human behavior) สามารถนำมาทำนายพฤติกรรมมนุษย์ดังต่อไปนี้
5.5.1 ประเมินบุคลิกภาพโดยทั่วไปอาทิสังเกตแยกแยะลักษณะของคนร้ายหรือคนดีแนวโน้มการแสดงออกของบุคคลที่จะแสดงออกมา
5.5.2 นำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในวงการธุรกิจการศึกษาอุตสาหกรรมเพื่อการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานหรือการเป็นนักศึกษา
5.5.3 ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิกภาพของบุคคลนำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในวงการแพทย์หรือเพื่อช่วยในการบำบัดรักษา
-
5.2 ปัจจัยทางชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ (Biological factors relating to personality) ในสมัยก่อนการศึกษาปัจจัยทางชีววิทยาได้ถูกหยิบยกนำมาศึกษาจนกระทั่งเข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์สมัยใหม่
5.2.1 ของเหลว (humors) Hippocrates นักปราชญ์ชาวกรีกและนักสรีรวิทยามีความเชื่อว่าร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยของเหลวจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ น้ำดีสี่คำ (black bile) มีบุคลิกภาพเศร้าโศกสีแดง (blood) บุคลิกภาพแบบร่าเริงสดใสเสมหะ (phlegm) มีลักษณะเชื่องช้าและน้ำเหลือง (yellow bile) มีลักษณะโกรธง่ายของเหลวต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำหนดลักษณะของบุคคล
-
-
-
-
-
-
-