Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพ
ระบบหายใจ หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
heart-care…
การประเมินภาวะสุขภาพ
ระบบหายใจ หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
การตรวจทรวงอกและปอด
การคลำ
- ตำแหน่งของหลอดลมทำได้ 2 วิธีดังนี้
1.1 ผู้ป่วยนั่งหรือนอนก้มคอมาข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid หย่อน ผู้ตรวจใช้ปลายนิ้วและนิ้วกลางกดไปบน suprasternal notch โดยให้นิ้วอยู่แต่ละข้างของหลอดลม เปรียบเทียบความรู้สึกว่าช่องว่างระหว่างหลอดลมกับ Sternocleidomastoid ทั้ง 2 ข้างเท่ากันหรือไม่
1.2 ผู้ป่วยนั่งหน้าตรง ผู้ตรวจใช้นิ้วคลำหาจุดกึ่งกลางของ Suprasternal notch และเคลื่อนนิ้วเข้าหา Trachea สังเกตว่าสัมผัสได้ที่จุดกึ่งกลางหรือไม่
ตรวจด้านหน้า
ดูการเคลื่อนไหวของ upper และ middle lobe วิธีตรวจคล้ายกับที่ตรวจด้านหลังโดยวางมือบริเวณชายโครงตามแนวกระดูกซี่โครงที่ 6 โดยนิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ Xiphoid process ฝ่ามือโอบด้านข้างของทรวงอก บอกให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ สังเกตการเคลื่อนที่ออกจากจุดกึ่งกลางของนิ้วหัวแม่มือและการขยายของฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง
ตรวจด้านหลัง
โดยวางฝ่ามือทั้ง 2 ข้างทาบทรวงอกด้านหลัง ให้นิ้วหัวแม่มือวางขนานกับกระดูกซี่โครงคู่ที่ 10 ฝ่ามือโอบด้านข้างของทรวงอก ปลายนิ้วหัวแม่มือ 2 ข้าง อยู่ใกล้กันบริเวณแนวกระดูกสันหลัง โดยมีระยะห่างเท่ากัน ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ สังเกตความแตกต่างของการเคลื่อนที่ของนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง
- การคลำเสียงสะท้อน
ใช้ฝ่ามือหรือสันมือวางบนผนังอกด้านหลัง ในตำแหน่งที่ตรงกันทั้ง 2 ข้าง จากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบนก็ได้ แล้วให้ผู้ป่วยนับ 1-2-3 ่จะสัมผัสถึงความรู้สึกสั่นสะเทือนที่เกิดจากเสียงเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง ถ้าคลำเสียงสะท้อนได้เบากว่าอีกข้างหนึ่ง แสดงว่าปอดข้างนั้นแฟบหรือมีสิ่งอุดกั้นในหลอดลมข้างนั้น เช่น น้ำ หนอง หรือลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดข้างนั้น
- การคลำในตำแหน่งที่กดเจ็บ เช่น Costochondral junction และตำแหน่งอื่นๆ
การเคาะ
การเคาะที่ถูกต้องในคนที่ถนัดขวา
ให้นิ้วมือซ้ายเหยียดตรงวางแนบบริเวณที่จะตรวจ ใช้นิ้วกลางมือขวาเคาะลงบนนิ้วกลางมือซ้ายบริเวณ Distal interphalangeal joint ในแนวดิ่ง ใช้การเคลื่อนไหวของมือขวา เคาะเปรียบเทียบกับข้างซ้ายและขวาไล่จากบนลงล่าง ขณะเคาะให้กดนิ้วนั้นให้แนบกับผิวหนัง และยกนิ้วอื่นขึ้น การเคาะจะสามารถบอกความผิดปกติที่ลึกไม่เกิน 5-7
การเคาะ
เคาะปอด โดยเริ่มจากกระดูกไหปลาร้าแต่ละข้าง ไล่ลงมาทีละช่องของกระดูกซี่โครงทั้ง 2 ข้าง ปกติจะได้ยินเสียงก้อง (Resonance)
เคาะบริเวณยอดปอด โดยให้ผู้ป่วยนั่ง ผู้ตรวจหันหน้าเข้าหาผู้ป่วยเคาะลงบน Supraclavicular fossa ทั้งซ้ายและขวา
เคาะปอดด้านหลัง เริ่มเคาะจากด้านบน ลงมาด้านล่างทีละช่องซี่โครง ปกติเสียง Resonance จะเริ่มสิ้นสุดราวระดับ Left rib 9th และ Right rib 8th
การแปลผล
- Flatness พบใน Hydrothorax , Pleural effusion ลักษณะเหมือนเสียงที่เกิดจากเคาะบริเวณต้นขา
- Dullness พบใน Pneumonia , Pul. TB , Atelectasis ลักษณะเหมือนเสียงที่เกิดจากเคาะตับ หรือเสียงทึบ
- Tympany พบใน Pneumothorax เป็นเสียงโปร่งเหมือนเสียงที่เกิดจากการเคาะหน้าท้องที่มีแก๊สมาก
- Resonance เป็นเสียงที่เกิดจากการเคาะปอดที่ปกติ หรือ เสียงก้อง
- Hyper - resonance พบในภาวะ Emphysema
การฟัง
ให้ผู้ป่วยอ้าปากเล็กน้อย หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วฟังที่ผนังทรวงอกด้วยด้าน diaphragm ของ stethoscope แต่ละตำแหน่งควรฟังอย่างน้อย 1 รอบของการหายใจเข้า - ออก โดยเปรียบเทียบกับอีกด้านหนึ่งในตำแหน่งเดียวกัน ไล่เป็นลำดับ
เสียงที่ฟังประกอบด้วย
- การฟังเสียงหายใจปกติ
- Tracheal / Bronchial breath sound บริเวณคอ ตำแหน่งของ Trachea และ Bronchus (หายใจเข้าสั้น - ออกยาว)
- Bronchovesicular breath sound บริเวณรอบ manubrium
1st ., 2nd . Intercostal space ด้านหน้า และ interscapula area ด้านหลัง (หายใจเข้า - ออก เท่าๆกัน)
- Vesicular breath sound บริเวณชายปอดทั้ง 2 ข้าง (หายใจเข้ายาว - ออกสั้น)
- การฟังเสียงพูด
ให้ผู้ป่วยนับ 1-2-3 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเสียงกรณีมีสิ่งมากั้นระหว่างเนื้อปอดกับผนังทรวงอก เช่น Pleural effusion , pneumothorax , pleural mass , atelectasis เสียงพูดจะเบาลง
3.การฟังเสียงผิดปกติ (Adventitious sound)
- Crepitation or crackle เป็นเสียงที่ไม่ต่อเนื่อง เกิดจากลมหายใจผ่าน secretion ที่ Terminal bronchiole และ alveoli ได้ยินชัดช่วงหายใจเข้า มี 3 ระดับคือ Fine , medium , coarse
- Rhonchi and Wheezing เป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นของหลอดลม ในขณะที่มีลมวิ่งผ่านหลอดลมที่ตีบแคบ พบใน Asthma , COPD , CHF
*Rhonchi เป็นเสียงที่มีลักษณะใหญ่และทุ้ม แสดงถึงหลอดลมขนาดใหญ่ในทรวงอกที่ตีบแคบ*Wheezing เป็นเสียงที่มีลักษณะแหลมกว่า rhonchi ซึ่งความแหลมของเสียงขึ้นกับความเร็วของลมที่วิ่งผ่าน*Stridor เป็นเสียงที่เกิดจากการตีบแคบของหลอดลมขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นเสียงหวีดที่ได้ยินชัดในช่วงหายใจเข้า มักจะได้ยินโดยไม่ต้องใช้ stethoscope
-