Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาและแนวโน้มการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น - Coggle Diagram
ปัญหาและแนวโน้มการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
ปัญหาการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นนับเป็นกระบวนการและเครื่องมือสำคัญของบุคคลทุกฝ่ายในการทำงานให้ประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งขึ้นอยู่ที่ความเข้าใจโดยอาศัยการติดต่อสื่อสารหากการติดต่อสื่อสารเกิดปัญหาและอุปสรรค์ขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการเข้าใจผิดล่าช้าไม่เข้าใจและส่งผลให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้
องค์ประกอบในกระบวนการสื่อสารที่สำคัญ 3 ประการ
ด้านผู้ส่งสาร
มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้รับสารหรือข่าวสารนั้น
มีความรู้ความเข้าใจในการไม่เพียงพอหรือไม่ชัดเจน
มีความรู้ความสามารถและความชำนาญในการส่งสารไม่เพียงพอ
ขาดการวางแผนหรือขั้นตอนการส่งสารที่เหมาะสม
ภาษาที่ใช้ในการส่งสารทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทางไม่ตรงหรือไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร
ใช้วิธีการส่งสารที่ไม่เหมาะสมกับบุคคลและเหมาะสมกับกาลเทศะ
ขาดเทคนิคในการส่งสารเช่นการสร้างบรรยากาศหรือความสัมพันธ์กับผู้รับ-มีสภาพร่างกายไม่เหมาะสมกับการรับสารเช่นเหน็ดเหนื่อยมีอาการเจ็บป่วย
ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะส่งสารอย่างสมบูรณ์หรือรีบเร่งจนเกินไป-มีความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไปจนไม่ต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสาร
ด้านผู้รับสาร
มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสารหรือข่าวสาร
มีพื้นฐานของความเข้าใจในข่าวสารนั้นน้อยเกินไป
ไม่ใช้เทคนิคการช่วยจำเช่นการจดบันทึกเพิ่มเติม
ซาดความสามารถและความชำนาญในการรับข่าวสาร
ไม่ยอมรับข่าวสารนั้นเนื่องจากมีประสบการณ์หรือความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับข่าวสารนั้น
สรุปข่าวสารที่ได้รับด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผลหรือข้อเท็จจริง
ข่าวสารมีมากเกินความสามารถที่จะรับได้
ร่างกายอยู่ในสภาพไม่พร้อมที่จะรับข่าวสาร
เวลาไม่เพียงพอที่จะรับข่าวสารอย่างสมบูรณ์
ด้านข่าวสาร
ข่าวสารนั้นสั้นหรือน้อยเกินไปจนไม่สามารถแปลความหมายได้
ข่าวสารนั้นยากหรือสูงเกินความสามารถของผู้สื่อสาร
ข่าวสารมีภาษาเฉพาะหรือใช้ศัพท์เทคนิคเกินความสามารถ
ข่าวสารนั้นกำกวมหรือมีความหมายหลายทาง
ข่าวสารนั้นไม่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
แนวทางการแก้ไขปัญหาการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
เพื่อให้การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมีการพัฒนาอย่างสมดุลจึงควรมีการพัฒนา 2 ระดับ
ระดับบุคคล
ระดับประเทศ
แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการจะพัฒนาในด้านใดก็ตามในบริบทปัจจุบันควรคำนึงถึงความต้องการและประโยชน์ของคนในชุมชนเป็นประการสำคัญและควรคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีการกระจายอำนาจความเจริญอย่างยุติธรรมและให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและการดำเนินการพัฒนาแบบกระจายอำนาจและต้องให้คนในชุมชนนั้นสามารถพึ่งตนเองได้นอกจากนี้ควรให้ความสนใจพัฒนาโดยเน้นการประสานของใหม่และเก่าเข้าด้วยกันเน้นการใช้เทคโนโลยีที่ใช้แรงงานคนเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานในด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนานั้นควรเริ่มจากชุมชนเป็นพื้นฐานสำคัญ
แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น
สังคมไทยในอนาคตจะมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุประชากรในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้ากล่าวคือสัตส่วนของประชากรวัยเด็กจะลดลง แต่สัดส่วนของประชากรวัยแรงงานและวัยสูงอายุจะเพิ่มสูงขึ้นอันจะทำให้โครงสร้างการผลิตจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมมากขึ้นโดยการผลิตนั้นจะอาศัยเทคโนโลยีระดับกลางและระดับสูงเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้การเกษตรจะเน้นการผลิตพืชผลที่ไม่ต้องใช้เนื้อที่ในการเพาะปลูกมากเหมือนพืชหลักชนิดเดิมส่วนภาคอุตสาหกรรมจะเน้นอุตสาหกรรมพื้นฐานที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมส่งออกมากขึ้น
แนวโน้มการสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
แนวโน้มดังกล่าวผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทย
1.1. โอกาสจากโครงสร้างประชากรที่จะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว
ข้อ จำกัด ประกอบด้วย
นโยบายการเงินการคลังมีประสิทธิภาพน้อยลง
การขยายตัวของกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล
2.3 ปัญหาด้านแรงงาน
ขาตแรงงานที่มีความรู้และทักษะ
ภาวะการณ์ว่างงานในภาคอุตสาหกรรม
ภาวการณ์แข่งขันสูงขึ้นและราคาสินค้าต่ำลง
เผชิญกับข้อกีดกันทางการค้า