Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินสุขภาพระบบหัวใจ หายใจและหลอดเลือด - Coggle Diagram
การประเมินสุขภาพระบบหัวใจ
หายใจและหลอดเลือด
การตรวจทรวงอกและปอด
Thorax / Chest & Lung
ตำแหน่งที่สำคัญบริเวณทรวงอก
- Angle of Louis หรือ Sternal angle
หรือ Manubriosternal junction
เป็นส่วนต่อระหว่าง Manubrium sterni กับ sternum ซึ่งเป็นมุมที่คลำได้ชัดเจนมาก
และอยู่ตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 2ทางด้านหน้า เป็นประโยชน์ในการนับกระดูกซี่โครง (Rib) และช่องว่างระหว่างกระดูกซี่โครง
(Intercostal space: ICS)
- Spinous process of T1
ให้ผู้ป่วยก้มคอเต็มที่จะคลำได้ปุ่มนูนของกระดูก spine ที่โปนที่สุด 2 ปุ่ม คือ ปุ่มบน คือ Spinousprocess ของ C7 และ ปุ่มล่าง คือ spinousprocess ของ T1
ใช้สำหรับนับกระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลัง
- Inferior angle of scapula
เป็นตำแหน่งที่ตรงกับกระดูกซี่โครงที่ 7ด้านหลังเมื่อผู้ป่วย
นั่งตัวตรง ปล่อยแขนข้างลาตัวตามสบาย
- เส้นสมมติ (Imagination line)
เป็นเส้นที่ใช้เปรียบเทียบ บอกตำแหน่งของสิ่งที่ตรวจพบ
บนทรวงอก ได้แก่
วิธีตรวจโดยการดู
1.ลักษณะผิวหนังทรวงอก มีผื่น แผลมี spider nevi หรือ spider angioma หรือไม่
2.ขนาดและรูปร่างทรวงอก ปกติเส้นผ่าศูนย์กลางจากด้านหน้าไปด้านหลังจะแคบกว่าด้านข้าง ประมาณ 5 : 7
Barrel shape พบใน COPD
AP : Transverse (Lateral) diameter = 1 : 1
3.ลักษณะเต้านม หัวนม
4.การเคลื่อนไหวของทรวงอก สังเกตอัตราการหายใจ ความลึก จังหวะ ใช้กล้ามเนื้อหน้าอกช่วยหายใจ หรือมี Sternal retraction หรือไม่
Pigeon chest
อกไก่
Funnel chest
อกบุ๋ม
วิธีตรวจโดยการคลำ
1.ตำแหน่งของหลอดลมทำได้ 2วิธีดังนี้
1.1 ผู้ป่วยนั่งหรือนอนก้มคอมาข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้กล้ามเนื้อ
Sternocleidomastoid หย่อน
ผู้ตรวจใช้ปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางกดไปบน suprasternal notch โดยให้นิ้วอยู่แต่ละข้างของหลอดลม เปรียบเทียบความรู้สึกว่าช่องว่าง ระหว่างหลอดลมกับ Sternocleidomastoidทั้ง 2ข้างเท่ากันหรือไม่
1.2 ผู้ป่วยนั่งหน้าตรง ผู้ตรวจใช้นิ้วคลำหาจุดกึ่งกลางของ
Suprasternal notchและเคลื่อนนิ้วเข้าหา Trachea สังเกตว่าสัมผัสได้ที่จุดกึ่งกลางหรือไม่
การขยายตัวของปอด (Lung expansion)
สามารถตรวจได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ดังนี้
วางฝ่ามือทั้ง 2 ข้างทาบทรวงอกด้านหลัง ให้นิ้วหัวแม่มือวางขนานกับกระดูกซี่โครงคู่ที่ 10ฝ่ามือโอบด้านข้างของทรวงอก ปลายนิ้วหัวแม่มือ 2ข้าง อยู่ใกล้กันบริเวณแนวกระดูกสันหลัง โดยมีระยะห่างเท่ากัน
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึก ๆ สังเกตความแตกต่างของการเคลื่อนที่ของนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2ข้าง
ตรวจด้านหน้า ดูการเคลื่อนไหวของ upper และ middle lobe วิธีตรวจคล้ายกับที่ตรวจด้านหลังโดยวางมือบริเวณชายโครงตามแนวกระดูกซี่โครงที่ 6 โดยนิ้วหัวแม่มืออยู่ที่ Xiphoid process ฝ่ามือโอบด้านข้างของทรวงอก บอกให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึกๆ
สังเกตการเคลื่อนที่ออกจากจุดกึ่งกลางของนิ้วหัวแม่มือและการขยายของฝ่ามือทั้ง 2ข้าง
การคลำเสียงสะท้อน (Tactile fremitus or Vocal fremitus)
วิธีตรวจ
:ใช้ฝ่ามือหรือสันมือวางบนผนังอกด้านหลัง ในตำแหน่งที่ตรงกันทั้ง 2 ข้าง จากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบนก็ได้ แล้วให้ผู้ป่วยนับ 1-2-3จะสัมผัสถึงความรู้สึกสั่นสะเทือนที่เกิดจากเสียง เปรียบเทียบกันทั้ง 2ข้าง
ถ้าคลำเสียงสะท้อนได้เบากว่าอีกข้างหนึ่ง แสดงว่า ปอดข้างนั้นแฟบหรือมีสิ่งอุดกั้นในหลอดลมข้างนั้น เช่น น้า หนอง หรือลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดข้างนั้น
การคลำตำแหน่งที่กดเจ็บ เช่น Costochondral junction และตำแหน่งอื่นๆ
วิธีตรวจโดยการเคาะ
การเคาะที่ถูกต้องในคนที่ถนัดขวา : ให้นิ้วมือซ้าย เหยียดตรงวางแนบบริเวณที่จะตรวจ ใช้นิ้วกลางมือขวาเคาะลงบนนิ้วกลางมือซ้ายบริเวณ Distal interphalangeal joint ในแนวดิ่ง โดยใช้การเคลื่อนไหวของข้อมือขวา
เคาะเปรียบเทียบกันข้างซ้ายและขวาไล่จากบนลงล่าง ขณะเคาะให้กดนิ้วนั้นให้แนบกับผิวหนัง และยกนิ้วอื่นขึ้น
เคาะปอด โดยเริ่มจากกระดูกไหปลาร้าแต่ละข้าง ไล่ลงมาทีละช่องของกระดูกซี่โครงทั้ง 2ข้าง
ปกติเสียงก้อง (Resonance)
ลำดับการเคาะ เริ่มดังนี้
เคาะปอด โดยเริ่มจากกระดูกไหปลาร้าแต่ละข้าง ไล่ลงมาทีละช่องของกระดูกซี่โครงทั้ง 2ข้าง ปกติจะได้ยินเสียงก้อง (Resonance)
เคาะบริเวณยอดปอดโดยให้ผู้ป่วยนั่ง ผู้ตรวจหันหน้าเข้าหาผู้ป่วย เคาะลงบน Supraclavicular fossa ทั้งข้างซ้ายและขวา เคาะปอดด้านหลัง เริ่มเคาะจากด้านบนลงมาด้านล่างทีละช่องซี่โครงปกติเสียง
Resonance จะเริ่มสิ้นสุดราวระดับ Left rib 9thและ Right rib 8th
เคาะดูบริเวณทึบของตับ จะเริ่มมีเสียงทึบ (Dullness) ที่ ICS 4thและทึบชัดเจนที่ ICS 6thในแนว Mid-clavicular line
การแปลผล
Flatness
พบใน Hydrothorax, Pleural effusion ลักษณะเหมือนเสียงที่เกิดจากเคาะบริเวณต้นขา
Dullness
พบใน Pneumonia, Pul. TB, Atelectasis
ลักษณะเหมือนเสียงที่เกิดจากการเคาะตับ หรือเสียงทึบ
Tympany
พบใน Pneumothoraxเป็นเสียงโปร่งเหมือนเสียงที่เกิดจากการเคาะหน้าท้องที่มีแก๊สมาก
Resonance
เป็นเสียงที่เกิดจากการเคาะปอดที่ปกติ หรือ เสียงก้อง
Hyper –resonance
เสียงก้องมาก พบในภาวะ Emphysema
วิธีตรวจโดยการฟัง
หลักการตรวจ
:ให้ผู้ป่วยอ้าปากเล็กน้อย หายใจเข้าออกลึก ๆ แล้วฟังที่ผนังทรวงอกด้วยด้าน diaphragm ของ stethoscope แต่ละตำแหน่งควรฟังอย่างน้อย 1 รอบของการหายใจเข้า –ออก โดยเปรียบเทียบกับอีกด้านหนึ่งในตำแหน่งเดียวกัน ไล่เป็นลำดับ
เสียงที่ฟังประกอบด้วย
1.การฟังเสียงหายใจปกติ
( Normal breath sound )
Tracheal/ Bronchial breath sound
บริเวณคอ ตำแหน่งของ Trachea และ bronchus (หายใจเข้าสั้น –ออกยาว)
Bronchovesicular breath sound
บริเวณรอบ manubrium 1st., 2nd. Intercostal space ด้านหน้า และ interscapula area ด้านหลัง(หายใจเข้า –ออก เท่า ๆ กัน)
Vesicular breath sound
บริเวณชายปอดทั้ง 2ข้าง (หายใจเข้ายาว –ออกสั้น)
การฟังเสียงพูดให้ผู้ป่วยนับ 1-2-3
สังเกตการเปลี่ยนแปลงของเสียง กรณีที่มีสิ่งมากั้นระหว่างเนื้อปอดกับผนังทรวงอก เช่น Pleural effusion, pneumothorax, pleural mass, atelectasis เสียงพูดจะเบาลง
การฟังเสียงผิดปกติ ( Adventitious sound ) แบ่งเป็น
Crepitation or crackle
เป็นเสียงที่ไม่ต่อเนื่อง เกิดจากลมหายใจผ่าน secretion ที่ Terminal bronchiole และ alveoli ได้ยินชัดช่วงหายใจเข้า มี 3ระดับคือ Fine,medium, coarse
Rhonchi and Wheezing
เป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นของหลอดลม ในขณะที่มีลมวิ่งผ่านหลอดลมที่ตีบแคบ พบใน Asthma, COPD, CHF
Rhonchi
เป็นเสียงที่มีลักษณะใหญ่และทุ้ม แสดงถึงหลอดลมขนาดใหญ่ในทรวงอกที่ตีบแคบ
Wheezing
เป็นเสียงที่มีลักษณะแหลมกว่า rhonchi ซึ่งความแหลมของเสียงขึ้นกับความเร็วของลมที่วิ่งผ่าน
Stridor
เป็นเสียงที่เกิดจากการตีบแคบของหลอดลมขนาดใหญ่มีลักษณะเป็นเสียงหวืดที่ได้ยินชัดในช่วงหายใจเข้า มักจะได้ยินโดยไม่ต้องใช้ stethoscope
ความผิดปกติอื่นที่ตรวจพบได้แก่ เสียงหายใจเบากว่าปกติ เรียกว่า Decrease breath soundหรือ Deminished breath soundพบในภาวะที่มีลมหรือของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด เสียง Pleural friction rubเกิดจากการเสียดสีของเยื่อหุ้มปอดที่อักเสบพบใน Pleuritis
การตรวจหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
Cardiovascular
ในการตรวจหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตมีความสัมพันธ์กับการตรวจร่างกายส่วนอื่นๆที่สำคัญดังนี้
การตรวจทั่วไป ได้แก่ การหายใจ สีผิว และอาการบวมตามส่วนต่างๆ
การตรวจชีพจรในตำแหน่งต่างๆ การเต้นของเส้นเลือดดา ว่ามีการโป่งพองหรือไม่
การวัดความดันโลหิต
การตรวจหัวใจ
ตำแหน่งของลิ้นหัวใจ
A.V.A (Aortic valvular area) Rt.ICS 2ndชิดกับ sternum
P.V.A. (Pulmonic valvular area) Lt. ICS 2ndชิดกับ sternum
T.V.A. (Tricuspidvalvular area) Lt. ICS 5thชิดกับ sternum
M.V.A. (Mitral valvular area หรือ Apex) Lt. ICS 5thตัดกับMCL.
วิธีตรวจโดยการดู
ดูลักษณะผนังทรวงอกว่าเหมือนกันทั้ง 2ข้าง หรือมีการโป่งนูน (Bulging)ของผนังทรวงอกหรือไม่ ถ้ามี bulging ด้านซ้ายของกระดูก sternum แสดงว่ามี Right ventricular hypertrophy
ดู Apicalimpulseหรือ Apical beat คือตำแหน่งที่มีการเต้นของหัวใจแรงที่สุด เรียกว่า
Point of maximum impulse : PMI
บางรายอาจมองไม่เห็นเนื่องจากผนังทรวงอกหนา ต้องใช้วิธีคลำ
Abnormal pulsation อื่นๆในบริเวณ Precordial area และ
บริเวณคอทั้ง 2 ข้างเช่น Impulse จาก Aneurysm
วิธีตรวจโดยการคลำ
1.คลำตำแหน่งของ PMI. : ใช้ปลายนิ้วมือทั้ง 4นิ้ว ตำแหน่งที่คลำพบว่าหัวใจเต้นแรงที่สุด จะมีแรงกระแทกถูกนิ้วมือเพียงจุดเดียวหรือเป็นบริเวณเล็กๆ ไม่เกิน 2-3ซม.คนปกติจะอยู่ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ตรงกับ MCL ซึ่งเป็นตำแหน่งของ Apex
การคลำเพื่อตรวจอาการแสดงของหัวใจโต เรียกว่า Ventricular heave แรงขึ้นเพราะ Left ventricular hypertrophy , contractility
เปลี่ยนไปทางซ้ายเนื่องจาก
: Rt. Pneumothorax , Lt. Atelectasis ,Cardiac dilatation
เปลี่ยนไปทางขวาเนื่องจาก
: Lt.Pneumothorax , Rt. Atelectasis
การคลำ Thrill
Thrill คือปรากฏการณ์ของ Murmurs ที่ดังมาก จนเกิดการสั่นสะเทือน ของ Chest wall จะรู้สึกเหมือนมีคลื่นมากระทบ (Vibration sensation) ถูกที่ฝ่ามือ ต้องคลำให้ทั่วทั้ง Precordial area ได้แก่ บริเวณลิ้นหัวใจทั้ง 4 โดยวางฝ่ามือบริเวณที่จะตรวจ Systolic thrills Diastolic thrills
วิธีตรวจโดยการฟัง
ควรฟังบริเวณ Precordial area ทั้งหมด โดยฟังตำแหน่งลิ้นหัวใจทั้ง 4 แห่ง ใช้ Stethoscope
ด้าน Bell –ฟังเสียงต่ำ (low pitch) โดยไม่ควรกดแน่น
ด้าน Diaphragm –ฟังเสียงสูง (high pitch) โดยกดให้แน่น
ขณะฟังเสียงหัวใจต้องสังเกตสิ่งต่อไปนี้
1.ลักษณะของเสียง : เบา แรง พอดี
2.ความสม่ำเสมอ จังหวะการเต้น
3.ความถี่ของเสียง : ช้าหรือเร็ว อัตราการเต้น นับเต็มนาที
การฟังเสียงหัวใจปกติ Normal heart sound
S1 เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของ mitral & tricuspid valveเกิดในช่วงหัวใจบีบตัวฟังชัดที่สุดบริเวณ Apex
S2 เป็นเสียงที่เกิดจากการปิดของ pulmonic & aortic valveเกิดใน
ช่วงหัวใจคลายตัวฟังชัดบริเวณ pulmonic & aortic valve
การฟังเสียงฟู่ (Cardiac murmur)
เป็นเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนขณะมีการไหลของเลือด
ผ่านรูเปิดของลิ้นหัวใจ หรือเส้นเลือดที่มีความผิดปกติ
Systolic murmu
r: เกิดระหว่างเสียง S1 และเสียง S2
โดยเกิดพร้อมกับการเต้นของชีพจรที่คอ
Diastolic murmur
: เกิดระหว่างเสียง S2 และเสียง S1
โดยเกิดหลังการเต้นของชีพจรที่คอ
ความดังของ murmur และตาแหน่งที่ได้ยินเสียงชัดที่สุด
จะบอกได้ว่าพยาธิสภาพอยู่ที่บริเวณใด แต่ไม่ได้บอกความรุนแรง โดยความดังของ murmur แบ่งเป็น 6 ระดับ
Grade 1 : เสียงเบามาก ฟังยาก ต้องตั้งใจฟัง อาจพลาดได้
Grade 2 : เสียงเบา แต่ฟังได้ยินทันทีที่แตะหูฟังบนผนังทรวงอก
Grade 3 : เสียงดังปานกลาง แต่ยังคลำไม่ได้ thrill
Grade 4 : เสียงดังมากขึ้น และเริ่มคลำ thrill ได้
Grade 5 : เสียงดังมาก แตะหูฟังไม่สนิทก็ได้ยิน
และคลำได้ thrillและ heaving
Grade 6 : เสียงดังมากที่สุด อาจฟังได้โดยไม่ต้องใช้ Stethoscope