Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารยาทและหน้าที่ของชาวพุทธ - Coggle Diagram
มารยาทและหน้าที่ของชาวพุทธ
หน้าที่ของชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้
บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
. การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อพระภิกษุประพฤติปฏิบัติชอบตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและบุคคลผู้พบเห็นโดยทั่วไป
การสั่งสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเทศนา ปาฐกถาธรรม หรือเผยแผ่ธรรมทางสื่อมว
การทำกิจกรรมอันเป็นการสงเคราะห์ชาวบ้าน เช่น ช่วยสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ เป็นผู้นำชาวบ้านในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่นรักษาป่า ขุดลอกหนองบึง ส่งเสริมอาชีพสุจริต ตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ เป็นต้น
จัดกิจกรรมอันเป็นประเพณีและศาสนพิธีในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกัน อันจะทำให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่บ้าน ชุมชน สังคม รวมทั้งการถือโอกาสเทศนาธรรมสั่งสอนให้งดเว้นจากอบายมุข ให้ประพฤติดี หลีกหนีความชั่ว
การเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม เช่น ฝึกสมาธิเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงพระพุทธศาสนาจากการปฏิบัติอย่างแท้จริง
การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างของพระภิกษุ
. พระภิกษุมีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้
ความเป็นอยู่ของพระภิกษุต้องพึ่งพิงผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา
พระภิกษุมีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ พระภิกษุต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
พระภิกษุติเตียนตัวเองได้โดยศีล
เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนติเตียนได้โดยศีล
พระภิกษุจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น
ระภิกษุมีกรรมเป็นของตน หากทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตามจักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น
วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้พระภิกษุทำอะไรอยู่ (ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่)
๙. พระภิกษุยินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่พระภิกษุบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง พุทธศาสนิกชนสามารถนำข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุทั้งสิบประการดังกล่าวมา นำเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติในชีวิต
การเป็นลูกที่ดี ตามหลักทิศเบื้องหน้า ในทิศ 6
๑. ท่านเลี้ยงเรามา เลี้ยงท่านตอบ การเลี้ยงดูพ่อแม่ หมายถึงการเลี้ยง ๒ อย่างคือ การเลี้ยงให้ท่านมีความสุขกาย เช่น แบ่งปันสิ่งของให้ตามอัตภาพ ให้การดูแลเอาใจใส่เลี้ยงดูท่านและยามเจ็บไข้ได้ป่วย คอยปรนนิบัติเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด และการเลี้ยงให้ท่านสุขใจ เช่น การเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน การประพฤติตนเป็นคนดี การพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า เป็นต้น
๒. ช่วยทำกิจธุระการงานให้ท่าน หมายถึง ให้ลูกถือว่า งานการทุกอย่างของพ่อแม่ เหมือนกับการงานของตน เมื่อท่านมอบหมายให้ทำ ก็มีความเต็มใจทำกิจกรรมนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เมื่อช่วยงานท่าน ก็ตั้งใจทำจริงเต็มความรู้ความสามารถ ด้วยความสมัครใจ ไม่อ้างหรือหลีกเลี่ยงหนีงานที่ท่านมอบหมาย เป็นต้น
๓ .ดำรงวงศ์สกุลของท่าน หมายถึง การรักษาชื่อเสียงวงศ์ตระกูล หรือสร้างวงศ์ตระกูลให้รุ่งเรือง ให้เจริญก้าวหน้า ไม่สร้างความเดือนร้อน หรือความด่างพร้อยมาสู่วงศ์ตระกูล เป็นต้น นอกจากนั้น การรักษาเครือญาติไว้อย่างมั่นคง มีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันระหว่างเครือญาติ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สงบ เป็นต้น
๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการเป็นทายาท หมายถึงการปฏิบัติให้เป็นผู้สมควรได้รับทรัพย์มรดก นั่นคือ การประพฤติตนเป็นคนดี โดยเว้นจากอบายมุขซึ่งเป็นหนทางแห่งความเสื่อมทั้งหลาย มีความเพียรตั้งหน้าทำมาหากิจโดยชอบธรรม ไม่ประพฤติชั่วทั้งกาย วาจาและใจ เป็นต้นนอกจากนั้นยังรู้จักการทำมาหากินเพิ่มพูนทรัพย์สิน และรักษาทรัพย์สินที่มีอยู่ เช่น รู้จักการประหยัดอดออม มีความสันโดษ พ่อแม่ก็มีความอิ่มเอมใจและเต็มใจที่จะยกทรัพย์สมบัติให้
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว อุทิศส่วนกุศลให้ท่าน เป็นกิจที่ลูกจะต้องปฏิบัติ เป็นส่วนของการให้ทานในสิ่งที่สมควรกระทำแก่พ่อแม่ผู้ล่วงลับไปแล้ว บุญที่จะพึงประกอบก็คือ ท่านที่บริจาคแก่บุคคลผู้ควรได้รับ เช่น พระภิกษุสามเณร และผู้ทรงศีล ตลอดถึงคนอนาถา คนชรา คนพิการและทานที่เป็นส่วนสงเคราะห์แก่คนทั่ว ๆ ไป เช่น การก่อสร้างสาธารณสถาน ศาสนสถาน เป็นต้น และกุศลที่เกิดจากการปฏิบัติ เช่น การรักษาศีลการเข้าวัดบวชเรียน เป็นต้น เหล่านี้เป็นบุญที่ควรอุทิศทั้งสิ้น การทำบุญอุทิศนี้ จุดมุ่งหมายสำคัญคือ เพื่อไม่ให้ลูกหลานลืมพ่อแม่ เมื่อล่วงลับไปแล้ว
มารยาทชาวพุทธ
มารยาททางกาย
มรรยาททางกาย เช่นการกิน พระพุทธศาสนาสอนให้บริโภคอาหารด้วยการสุภาพเรียบร้อยไม่กินอย่างมูมมาม
๑) การยืน การยืนเพื่อแสดงความเคารพ ใช้ในโอกาสเมื่อถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ และพระมเหสี
๒) การประนมมือ คือการยกมือทั้งสองขึ้นกระพุ่มตั้งไว้ระหว่างอก
๓) การไหว้ คือ การทำความเคารพโดยยกกระพุ่มมือที่ประนมขึ้นไว้ ณ ส่วนบนของร่างกายตามความเหมาะสม ได้แก่ การไหว้พระรัตนตรัย การไหว้บิดามารดาครูอาจารย์
๔) การกราบ คือ การแสดงความเคารพด้วยวิธีประนมมือขึ้นเสมอหน้าผากแล้วน้อมศีรษะลงจรดพื้น หรือการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
มรรยาท หมายถึง กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อย มรรยาทชาวพุทธ จึงหมายถึง กิริยาวาจาที่สุภาพเรียบร้อย
มารยาททางวาจา
มรรยาททางวาจา ชาวพุทธที่ดี ควรมีวาจาสุภาพอ่อนโยน เว้น วจีทุจริต 4 ประการ ได้แก่ พูดเท็จ พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด และพูดเพ้อเจ้อ ประพฤติวจีทุจริต 4 ประการ
๑. การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มาถึงสถานที่ประกอบพิธีต่าง ๆ คฤหัสถ์ชายหญิงซึ่งนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้านั่งเก้าอี้
ลุกขึ้นยืนรับ เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาตรงหน้า น้อมตัวลงยกมือไหว้
๒. การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มาในงานพิธีนั้น ถ้าสถานที่นั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ คฤหัสถ์ชายหญิงนิยมลุกขึ้นหลีกไป ให้โอกาสพระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า
๓. การตามส่งพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์กลับจากพิธี คฤหัสถ์ชายหญิงที่อยู่ในพิธีนั้น
๔. การหลีกทางให้พระสงฆ์ หากพระสงฆ์เดินมาข้างหลัง คฤหัสถ์ชายหญิงที่กำลังเดิน ควรหลีกทางชิด ข้างซ้ายมือพระสงฆ์
มารยาทในการเดิน
การเดินตามลำพัง ควรเดินอย่างสุภาพ ไหล่ตั้ง หลังตรง ช่วงเท้าไม่ยาวหรือสั้นเกินไปแกว่งแขนพองาม สตรีควรระมัดระวังสะโพกให้อยู่ในลักษณะที่เป็นไปโดยธรรมชาติ
การเดินผ่านผู้ใหญ่ ในกรณีที่ผู้ใหญ่ยืนอยู่ ให้เดินค้อมหัวผ่านมากน้อยตามอาวุโส ถ้าผู้ใหญ่ทักทาย ให้หยุดยืนน้อมกายลงพูดด้วย เมื่อจบแล้วให้ไหว้ครั้งหนึ่งแล้วน้อมตัวเดินผ่านไป
การเดินสวนกับผู้ใหญ่ ควรน้อมตัวเมื่อผ่านใกล้ จะค้อมตัวมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับอาวุโส ในกรณีที่เป็นทางแคบ ๆ ควรหยุดยืนในอาการสำรวมให้ผู้ใหญ่ผ่านไปก่อน
การเดินผ่านหลังผู้อื่น ควรอยู่ในกริยาสำรวม ค้อมตัวลงขณะเดินผ่าน มือสองข้างแนบลำตัว ถ้าเดินผ่านอย่างใกล้ชิดและเป็นผู้อาวุโสมากให้ค้อมตัวและไหว้พร้อมกับกล่าวคำขอโทษก่อนจะเดินผ่าน
การเดินเข้าสู่ที่ชุมชน ควรเดินเข้าไปอย่างสุภาพ ก้มตัวตามอาวุโส อย่าให้เสื้อผ้าไปกรายผู้อื่นเลือกที่นั่งตามเหมาะสม ถ้าเป็นสถานที่นั่งกับพื้น ต้องผ่านระยะใกล้มากให้ใช้เดินเข่า
การแต่งกายไปวัด
การแต่งกายไปวัด ชาวพุทธที่ดีจะไปวัดเพื่อประกอบพิธีทำบุญหรือไปในกรณียกิจใด ๆ ก็ตาม จักต้องปฏิบัติตนต่อวัดด้วยความสุภาพและความเคารพ การปฏิบัติตนอย่างไม่สมควรและอย่างไม่มีมรรยาทในเขตวัด
การแต่งกายไปงานมงคล
การแต่งกายไปในงานมงคล ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เพื่อเป็นการให้เกียรติเจ้าภาพ บางทีตัวเราเองอยากแต่งตัวง่าย ๆ แต่ก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเจ้าของงานด้วย
มารยาทในการนั่ง
การนั่งเก้าอี้ ควรนั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าชิด เข่าชิด มือวางบนหน้าขาหรือพาดบนที่เท้าแขนเก้าอี้ก็ได้ไม่ควรโยกเก้าอี้ไปมา ผู้หญิงควรระมัดระวังเครื่องแต่งกายไม่ให้ประเจิดประเจ้อ
การนั่งกับพื้น ควรนั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ผู้หญิงถ้าเท้าแขนก็อย่าเอาท้องแขนออกข้างหน้า ผู้ชายไม่ควรนั่งเท้าแขน
มารยาทในการกราบ
. การกราบบุคคล การกราบเริ่มจากการนั่งพับเพียบเก็บปลายเท้า ค้อมตัวลงหมอบให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้าง วางแขนทั้งสองกราบลงกับพื้นตลอดครึ่งแขนจากศอกถึงมือ พนมมือวางลงกับพื้นแล้วก้มศีรษะลงให้หน้าผากแตะสันมือทำครั้งเดียวไม่แบมือ แล้วทรงตัวขึ้นนั่ง
การกราบพระพุทธรูป พระสงฆ์ การกราบพระพุทธรูปและพระสงฆ์ เรียกว่า การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยเข่าทั้งสอง ศอกทั้งสองและหน้าผากหนึ่งรวมเป็นห้าโดยมีลำดับขั้นการปฏิบัติ ดังนี้
จังหวะที่ 1 ผู้ชาย นั่งท่าพรหม เข่ายันพื้นห่างกันพอควร ปลายเท้าตั้งชิดกัน นั่งทับส้น ผู้หญิง นั่งท่าเทพธิดา เข่ายันพื้นในลักษณะชิดปลายเท้าราบไปกับพื้น หงายฝ่าเท้า นั่งทับส้นชายและหญิงประนมมือระหว่างอก เรียกว่า ท่าอัญชลี
จังหวะที่ 2 ยกมือที่ประนมขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะลงรับมือเล็กน้อย หัวแม่มือจรดตรงกลางหน้าผาก ปลายนิ้วชี้จะสูงกว่าศีรษะ เรียกว่า ท่าวันทา
จังหวะที่ 3 ผู้ชายก้มลงกราบโดยทอดศอกให้แขนทั้งสองข้างลงพื้นพร้อมกับให้ข้อศอกทั้งสองข้างต่อกับหัวเข่า คว่ำมือทั้งสองแนบราบกันพื้น ให้นิ้วทั้ง 5 ชิดกัน มือทั้งสองวางห่างกันเล็กน้อย หน้าผากจรดพื้นในระหว่างมือทั้งสองข้างได้ ผู้หญิงก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน แต่เวลาก้มลงกราบหน้าผากจรดพื้นแล้วให้ศอกคร่อมหัวเข่า ไม่ต่อกับหัวเข่าแบบชาย ท่านี้เรียกว่า ท่ากราบ การกราบเบญจางคประดิษฐ์ต้องทำติดต่อกัน 3 ครั้งแล้วทรงตัวขึ้นยกมือประนมจรดหน้าผากอีกครั้งหนี่ง เรียกว่าจบแล้วลดตัวนั่งในท่าปกติ
มารยาทในการไหว้
การไหว้ คือ อริยาบถที่มือทั้งสองข้างประนมนิ้วชิดกัน ปลายนิ้วจดกันไม่เอาปลายนิ้วออกจากกัน การไหว้มีหลายแบบ คือ
การไหว้พระสงฆ์ เมื่อพนมมือแล้ว ให้ยกมือที่พนมขึ้นจรดหน้าผาก ให้ปลายหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้วค้อมศีรษะ
การไหว้บิดามารดา ครูอาจารย์และญาติผู้ใหญ่ ให้พนมมือยกขึ้นจนนิ้วหัวแม่มือจรดปลายจมูก ปลายนิ้วชี้จรดระหว่างคิ้ว ผู้ชายค้อมตัวลงเล็กน้อย ผู้หญิงก้าวขาขวาไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วย่อตัวลงแต่พองาม