Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ - Coggle Diagram
หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธ
พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้
บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น
๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข 6
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ 4
๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง คือ สอนให้รู้จักแยกแยะมิตรแท้ มิตรเทียม ให้คบบัณฑิตเพื่อประโยชน์ในการดำรงชีพ
๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ในสิ่งที่สดับเล่าเรียนมาแล้ว เช่น การแสวงหาทรัพย์โดยวิธีสุจริต การรู้จักรักษาทรัพย์ และการดำรงชีวิตตามฐานะ
๖. บอกทางสวรรค์ให้ คือ การแนะนำวิธีครองตน ครองคน ครองงาน หรือวิธีครองชีวิตให้ได้รับผลดีมีความสุข
บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๑. การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อพระภิกษุประพฤติปฏิบัติชอบตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมนำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและบุคคลผู้พบเห็นโดยทั่วไป
๒. การสั่งสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเทศนา ปาฐกถาธรรม หรือเผยแผ่ธรรมทางสื่อมวลชน
๓. การทำกิจกรรมอันเป็นการสงเคราะห์ชาวบ้าน เช่น ช่วยสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ เป็นผู้นำชาวบ้านในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่นรักษาป่า ขุดลอกหนองบึง ส่งเสริมอาชีพสุจริต ตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ เป็นต้น
๔. จัดกิจกรรมอันเป็นประเพณีและศาสนพิธีในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกัน อันจะทำให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่บ้าน ชุมชน สังคม รวมทั้งการถือโอกาสเทศนาธรรมสั่งสอนให้งดเว้นจากอบายมุข ให้ประพฤติดี หลีกหนีความชั่ว
๕. การเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม เช่น ฝึกสมาธิเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงพระพุทธศาสนาจากการปฏิบัติอย่างแท้จริง
การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างของพระภิกษุ
๑. พระภิกษุมีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้
๒. ความเป็นอยู่ของพระภิกษุต้องพึ่งพิงผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย 4 โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา
๓. พระภิกษุมีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ พระภิกษุต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้
๔. พระภิกษุติเตียนตัวเองได้โดยศีล
ข้อควรปฏิบัติในการแต่งกาย
ให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่จะไป เช่น งานมงคลก็ควรใส่สีสดใส งานอวมงคล ถ้าเป็นงานศพก็ควรใส่สีดำ เป็นต้น
ให้เหมาะสมกับความสำคัญของงาน เช่น งานระหว่างเพื่อนฝูง งานรัฐพิธี ถ้าเป็นงานศพ ก็ต้องดูว่าเป็นงานศพทั่วไปหรืองานศพพระราชพิธี
ให้เหมาะสมกับเวลา เช่น เป็นงานราตรีสโมสรหรืองานกลางคืนธรรมดา
ให้เหมาะสมกับฐานะและหน้าที่ เช่น เป็นครู เป็นนักร้อง เป็นหัวหน้า เป็นคนรับใช้
มารยาทในสังคม
มารยาท คือ การแสดงออกที่มีแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติโดยได้รับการอบรมให้งดงามตามความนิยมแห่งสังคมมารยาท ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ได้มาจากสิ่งแวดล้อม มีการศึกษา อบรมเป็นสำคัญ ดูกิริยา ฟังวาจาของคนแล้ว พอคาดได้ว่าผู้นั้นได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างไรพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของมารยาท คือ ความสุภาพและสำรวม คนสุภาพจะเป็นคนที่มีจิตใจสูงเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะคนที่มีอะไรในตัวเองแล้วจึงจะสุภาพอ่อนน้อมได้ ความสุภาพอ่อนน้อมมิได้เกิดจากความเกรงกลัวแต่ถือว่าเป็นความกล้า ส่วนความสำรวม คือ การเป็นคนมีสติ ไม่พูดไม่ทำอะไรที่เกินควร รู้จักการปฏิบัติที่พอเหมาะพองาม คิดดีแล้วจึงทำ คาดแล้วว่าการกระทำจะเป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย มิใช่เฉพาะตัวคนเดียว
มารยาทในการแต่งกาย
1
. ความสะอาด ต้องเอาใส่เป็นพิเศษโดยเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อผ้า ถุงเท้า รองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋าถือ ต้องสะอาดหมด ใช้เครื่องสำอางค์แต่พอควรและร่างกาย ก็ต้องสะอาดทุกส่วนตั้งแต่ ผม ปาก ฟัน หน้าตา มือ แขน ลำตัว ขาและเท้าตลอดจนถึงเล็บ รวมไปถึงกลิ่นตัวที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว ถ้าทำได้ทุกส่วน ก็ถือว่าสะอาด
ความสุภาพเรียบร้อย คือ เครื่องแต่งกายนั้นต้องอยู่ในลักษณะสุภาพเรียบร้อย ไม่รุ่มร่ามหรือรัดตัวจนเกินไป ไม่ใช้สีฉูดฉาด ควรแต่งให้เข้ากับสังคมนั้น ความสุภาพเรียบร้อยนั้นรวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ เครื่องประดับและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
มารยาททางกาย
๑. ถ้าต้องนั่งกับพื้นต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องนั่งพับเพียบโดยกิริยาสำรวมนั่งทรงตัวตรงเก็บเท้าทั้งสองข้างชิดตัวเรียบร้อยไม่เกะกะ วางมือทั้งสองข้างชิดตัวเรียบร้อยไม่เกะกะ วางมือทั้งสองไว้บนตัก หันหน้าไปสู่ผู้ใหญ่ในลักษณะหน้าเงย
๒. ไม่นั่งล้ำหน้าผู้ใหญ่ ไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่ ไม่เหยียดเท้าให้ผู้ใหญ่
๓. ไม่ถือสาวิสาสะใช้หรือรับประทานของที่เขาจัดไว้สำหรับผู้อื่นโดยเฉพาะ
๔. ไม่ล้อเลียนผู้ใหญ่หรือผู้ที่สูงอายุกว่าตน
มารยาทในการยืน
การยืนตามลำพัง การยืนตามลำพังจะยืนแบบใดก็ได้แต่ควรจะอยู่ในลักษณะสุภาพ สบายโดยมีส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกเล็กน้อยหรืออยู่ในท่าพัก ปล่อยแขนแนบลำตัว ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา จะยืนเอียงได้บ้างแต่ควรอยู่ในท่าที่สง่า
การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่ การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนตรงหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนเฉียงไปทางใดทางหนึ่ง ทำได้ 2 วิธี คือ
2.1 ยืนตรง ขาชิด ส้นเท้าชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือสองข้างแนบลำตัวหรือประสานกันไว้เบื้องหน้าใต้เข็มขัดลงไป ท่าทางสำรวม
2.2 ยืนตรงค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย มือประสานไว้ข้างหน้า ท่าทางสำรวมการประสานมือ ทำได้ 2 วิธี คือ คว่ำมือซ้อนกัน จะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้หรือหงายมือทั้งสอง สอดนิ้วเข้าระหว่างร่องนิ้วของแต่ละมือ การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่จะใช้จนถึงการยืนเฉพาะหน้าที่ประทับ การค้อมตัวจะมากน้อยย่อมสุดแล้วแต่ผู้ใหญ่ ถ้ามีอาวุโสหรือเป็นที่เคารพสูง ก็ค้อมตัวมาก
มารยาทในการนั่ง
การนั่งเก้าอี้ ควรนั่งตัวตรงหลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าชิด เข่าชิด มือวางบนหน้าขาหรือพาดบนที่เท้าแขนเก้าอี้ก็ได้ไม่ควรโยกเก้าอี้ไปมา ผู้หญิงควรระมัดระวังเครื่องแต่งกายไม่ให้ประเจิดประเจ้อ
การนั่งกับพื้น ควรนั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ผู้หญิงถ้าเท้าแขนก็อย่าเอาท้องแขนออกข้างหน้า ผู้ชายไม่ควรนั่งเท้าแขน