Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ส่วนที่ใช้และองค์ประกอบที่สำคัญของพืชสมุนไพร แบ่งตามหมวดอาการของโร…
บทที่ 3 ส่วนที่ใช้และองค์ประกอบที่สำคัญของพืชสมุนไพร แบ่งตามหมวดอาการของโรค
แบ่งตามหมวดอาการของโรค
รักษากระดูก และกล้ามเนื้อ
ทดแทนยาแผนปัจจุบัน
ยารับประทาน
สหัศธารา
tolperisone
กลุ่มยา NSIADs เช่น Diclofenac
เถาวัลย์เปรียง
กลุ่มยา NSIADs เช่น Diclofenac
ยาใช้ภายนอก
ยาหม่องไพร น้ำมันไพร ครีมไพล
Analgesic balm
พริก
Diclofenac gel
ลูกประคบ
เกิดจากภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่มาใช้ในการรักษา หรือเพื่อช่วยในการไหลเวียนของโลหิต
ส่วนประกอบสําคัญ
เตยหอม ตะไคร้ มะกรูด ขิง ขมิ้น ไพล กานพลู
น้ํามันขิงหอมระเหย น้ํามันกุหลาบ cassava ball
ขับลม โรคกระเพาะ
ดีปลี
ผลแก่แห้ง หรือเถา ต้มเอาน้ําดื่ม
ไม่ควรใช้กับคนท้อง
ข่า
เหง้าแก่สด ทุบให้แตก ต้มเอาน้ําดื่ม
พริกไทย
ผลแก่แห้ง บดเป็นผงปั้นเป็นลูกกลอน หรือชงน้ําดื่ม
ไม่ควรใช้กับคนท้อง
กระชาย
เหง้าและรากทุบพอแหลก ต้มเอาน้ําดื่ม หรือปรุงอาหาร
ตะไคร้
ลําต้น กาบใบแก่สด ทุบพอแตก ต้มเอาน้ําดื่ม หรือประกอบอาหาร
แห้วหมู
หัว ทุบให้แตก ต้มเอาน้ําดื่ม หรือหัวสด โขลกละเอียดผสมน้ําผึ้ง
กะเพรา
ใบและยอดต้มเอาน้ําดื่ม
กระวาน
เมล็ดแก่ บดเป็นผงชงกับน้ําอุ่น
กระเทียม
ทานหัวสดหลังหรือพร้อมอาหาร
เร่ว
ปอกเปลือกผล ใช้เมล็ดบดเป็นผง
กานพลู
ดอกตูมแห้ง ต้มน้ําดื่มหรือบดเป็นผง ชงน้ําดื่ม
มะนาว
เปลือกผลสด ทุบเล็กน้อย
พอให้น้ํามันออก ชงน้ําร้อนดื่ม
ขิง
เหง้าแก่สด ทุบให้แตกต้มเอาน้ําดื่ม
กระทือ
เหง้าสด ย่างไฟพอสุกตํากับน้ําปูนใส คั้นเอาน้ําดื่ม
ขมิ้นชัน
เหง้าแก่สด ล้างสะอาดหั่นตากแดด บดละเอียด ใส่แคปซูล หรือผสมน้ําผึ้งเป็นลูกกลอน
ทดแทนยาแผนปัจจุบัน
ขิง
Dimenhydrinate
เบญจกูล
Mixt carminative
Diasgest
Simethicone
ขมิ้นชัน
Simethicone
Mixt carminative
ธาตุอบเชย
Mixt carminative
ไอ ขับเสมหะ
มะขามป้อม
เนื้อผลแก่สุดโขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อยอมหรือเคี้ยว
มะขาม
เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือกิน
คั้นเป็นน้ํามะขาม เติมเกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ
เพกา
เมล็ด ใส่น้ําต้มไฟอ่อนๆ
มะนาว
ผลสดคั้นน้ําใส่เกลือเล็กน้อยจิบบ่อยๆ
ดีปลี
ไม่ควรใช้กับคนท้อง
ผลแก่แห้งฝนกับน้ํามะนาว แทรกหรือกวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
มะแว้งเครือ / มะแว้งต้น
ผลแก่สด โขลกพอแหลกคั้นเอาแต่น้ําใส่เกลือเล็กน้อย หรือใช้ผลสด เคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ําทั้งเนื้อ
ชิง
เหง้าสดตําผสมน้ําต้มสุกเล็กน้อย
คั้นเอาน้ําผสมเกลือกวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
เหง้าแก่ฝนกับน้ํามะนาว
แก้ไข้
ทดแทนยาแผนปัจจุบัน
จันทร์ลีลา
paracetamol
ยาขับปัสสวะ
ตะไคร้
ต้นแก่สุด หั่นซอยเป็นแว่นบาง ต้มน้ําดื่ม
สับปะรด
เหง้าสด ต้มน้ําดื่ม
ขลู่
หั่นเป็นชิ้น ต้มกับน้ําดื่มครั้งละถ้วยชา
ใช้มากอาจเป็นตะคริว
หญ้าคา
รากสด สับเป็นชิ้นเล็กๆต้มน้ําดื่ม
กระเจี๊ยบแดง
กลีบเลี้ยงหรือริ้วประดับตากแห้ง บดเป็นผง ชงกับน้ําเดือด
หญ้าหนวดแมว
ใบแห้ง ต้มน้ําดื่ม
อ้อยแดง
ลําต้นสด สับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มน้ําดื่ม
สมุนไพรที่ใช้เป็น ยาแก้ท้องเสีย
สมุนไพรที่ใช้เป็น ยายาระบาย
ทับทิม
เปลือกผลแห้ง ฝนหรือต้มกับน้ําปูนใสดื่ม
มังคุด
เปลือกผลแห้ง ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ําปูนใส หรือ บดเป็นผงละลายน้ําข้าว หรือน้ําต้มสุก
ฟ้าทะลายโจร
ใบสด ต้มเอาน้ําดื่มหรือฝั่งลมให้แห้ง บดเป็นผงทําเป็น ลูกกลอน ใบแห้งดองเหล้า 7 วัน
สีเสียดเหนือ
ก้อนบดผง ต้มเอาน้ําดื่ม
กล้วยน้ําว้า
ผลห่าม-ผลดิบ ฝานตากแดดหรืออบ บดเป็นผงชงน้ําดื่ม หรือผสมน้ําผึ้ง เป็นลูกกลอน
ยาธาตุบรรจบ
ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้
บรรเทาอาการอุจจาระธาตุพิการ ท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ
ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด
ฝรั่ง
ใบแก่ปิ้งไฟชงน้ําดื่ม หรือผลอ่อนฝนกับน้ําปูนใส ทานเมื่อมีอาการ
ยาเหลืองปิดสมุทร
ใช้น้ําเปลือกลูกทับทิมหรือเปลือกแคต้ม แทรกกับน้ําปูนใสเป็นน้ํากระสายยา สําหรับเด็กเล็กให้บดผสมกับน้ํากระสายยา ใช้รับประทานหรือกวาดก็ได้ ถ้าหาน้ำกระสายยาไม่ได้ ให้ใช้น้ำสุกแทน
ใช้ไม่เกิน 1 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ
ยากล้วย
รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ไม่ควรใช้ในคนที่ท้องผูก
บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ
หาจทานติดต่อกันนานๆอาจทำให้เกิดท้องอืดได้
ยาฟ้าทะลายโจร
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากอาจทําให้เกิดทารกวิรูปได้
ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดความดันเลือด
ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร
สมุนไพรที่ใช้รักษาโรคผิวหนัง
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการผื่นคัน ลมพิษ
ยาเจลพลู ใช้รักษาโรคผิวหนังที่มีการติดเชื้อจุลินทรีย์หรือที่มีอาการอักเสบและคันร่วมด้วย ไม่ควรใช้กับผิวหนังถลอก
พลู ใช้ใบสด โขลกพอแหลก ผสมเหล้าโรงพอควร แช่ไว้สักระยะหนึ่ง แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น และควรทำเวลาจะใช้เท่านั้น
ยาคาลาไมน์พญายอ บรรเทาอาการผดผื่นคัน ลมพิษ ตุ่มคัน เขย่าขวดก่อนใช้ยา
หญ้าคา ใช้ใบต้มหรือแช่นํ้าอาบ แก้ลมพิษ ผื่นคัน
สมุนไพรที่ใช้รักษาอาการผิวหนังพุพอง นํ้าเหลืองเสีย
ขมิ้นชัน ใช้เหง้าสดหั่นเป็นแว่น บดให้ละเอียด ใช้ส่วนที่เป็นนํ้าทาบริเวณที่เป็น หรือใช้เหง้าแห้งบดให้ละเอียดนำมาโรยแผล
เหงือกปลาหมอ ใช้ทั้งต้นและใบสดหรือแห้ง ล้างให้สะอาด นำมาสับหรือหั่นเป็นชิ้น ต้มนํ้าอาบหรือชะล้างแผล ใช้ติดต่อกัน 3 - 4 ครั้ง
สมุนไพรที่ใช้รักษาแผลเรื้อรังจากการฉายรังสี
ยาสารละลายพญายอ (สำหรับป้ายปาก) รักษาแผลในปาก (aphthous ulcer) แผลจากการฉายรังสีและเคมีบำบัด
ว่านหางจระเข้ ตัดใบสดๆ ล้างให้สะอาด ปอกเปลือกออก ล้างเมือกที่อยู่ใต้เปลือก นำวุ้นที่อยู่ภายในมาทาหรือพอกบริเวณที่เป็น ทิ้งไว้ให้แห้ง ทำติดต่อกันทุกวัน
สมุนไพรที่ใช้แก้พิษแมลง สัตว์ กัดต่อย
พญายอ ใช้ใบเพสลาด 2 - 10 ใบ ขยี้หรือตำให้แหลก นำมาทาหรือพอก
ขมิ้นชัน นำขมิ้นมาล้างนํ้าให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอาแต่นํ้ามาทาบริเวณที่เป็น
ยาโลชั่น หรือยาหม่องพญายอ บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมจากแมลงกัดต่อย
ผักบุ้งทะเล นำใบและเถาผักบุ้งทะเล ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด (อาจใช้เหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ผสมด้วย) คั้นเอานํ้าทาบริเวณที่อักเสบบวมแดงจากแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งการอักเสบจากพิษของแมงกะพรุน
ยาทิงเจอร์พลู บรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ อาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด
ตำลึง ใช้ใบสด 2 - 10 ใบ ขยี้หรือตำให้แหลก นำมาทาหรือพอก (ใช้แก้อาการคันจากตำแยได้ด้วย)
สมุนไพรที่ใช้รักษาแผลไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก
นํ้ามันมะพร้าว ใช้สำลีชุบนํ้ามันมะพร้าวทาแผลบาง ๆ ทุก 10 - 15 นาที
ว่านหางจระเข้ ตัดใบสด ๆ ล้างให้สะอาด ปอกเปลือกออก ล้างเมือกที่อยู่ใต้เปลือกออกให้หมด นำวุ้นที่อยู่ภายในมาทาหรือพอกบริเวณที่เป็น ทิ้งไว้ให้แห้ง ทำติดต่อกันทุกวัน
บัวบก เอาบัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดและตำให้ละเอียด คั้นนํ้า เอานํ้าทาชโลมบริเวณที่เป็นแผลให้ชุ่มอยู่เสมอในชั่วโมงแรก (ใช้กากพอกด้วยก็ได้) ต่อจากนั้น ทาวันละ 3 - 4 ครั้ง
ยาเจลว่านหางจระเข้ ใช้ทาบริเวณผิวหนังที่ถูกไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก วันละ 3 - 4 ครั้งอาจทำให้เกิดอาการคัน มีผื่นแดง หรือผื่นแพ้สัมผัสได้
ชาจีน นำกากใบชาพอกแผลที่เกิดจากไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก
สมุนไพรที่ใช้รักษากลาก เกลื้อน
ข่า ใช้เหง้าสดฝนกับเหล้าโรงหรือนํ้าส้มสายชู หรือตำแล้วแช่แอลกอฮอล์ ทาบริเวณที่มีรอยโรคเกลื้อน
ชุมเห็ดเทศ
ใช้ใบสดมาตำแช่กับเหล้า แล้วเอาส่วนของเหล้านำมาทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 - 3 ครั้งจนกว่าจะหาย พบว่าได้ผลดี แต่จะใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อราที่ผมและเล็บ
ใบนำมาตำให้ละเอียด เติมนํ้ามะนาวเล็กน้อย แล้วนำมาใช้ทาวันละ 2 - 3 ครั้ง
นำใบมาตำหรือคั้น เอาแต่นํ้าผสมกับนํ้าปูนใสใช้ทา หรือผสมกับวาสลีน ทำเป็นยาขี้ผึ้งทา
ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดหรือขยี้ ใช้ทาถูบริเวณที่เป็นนาน ๆ และบ่อย ๆ
กระเทียม ฝานกลีบกระเทียมแล้วนำมาถูบ่อย ๆ บริเวณที่มีรอยโรคเกลื้อน
ยาทิงเจอร์ทองพันชั่ง
ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน ห้ามทาบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลหรือมีแผลเปิด
ทาแก้กลาก เกลื้อน โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา นํ้ากัดเท้า
ขมิ้นชัน ใช้ผงขมิ้นผสมกับนํ้า คนให้เข้ากันดี แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นกลาก เกลื้อน เช้าและเย็น
สมุนไพรที่ใช้รักษาแผลสด
ยาครีมบัวบก
ทำความสะอาดแผลก่อนทายา ใช้ทาบริเวณที่เป็นแผลวันละ 1 - 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้พืชในวงศ์ Umbelliferae เช่น ยี่หร่า ผักชี/ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง/ห้ามใช้ในแผลเปิด
ช่วยสมานแผล
ขมิ้นชัน
นำขมิ้นชันมาล้างให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอานํ้าใส่แผล
เอาขมิ้นมาผสมกับนํ้าปูนใสเล็กน้อยและผสมสารส้มหรือดินประสิว พอกบริเวณที่เป็นแผล ยังช่วยแก้เคล็ดขัดยอกได้ด้วย
ใช้ผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับนํ้ามันมะพร้าวหรือนํ้ามันหมู 2 - 3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ คนจนนํ้ามันกลายเป็นสีเหลือง ใช้นํ้ามันที่ได้ใส่แผล
ยานํ้าเปลือกมังคุด
ทาบริเวณที่อาการ วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น
ห้ามทาบริเวณขอบตาและเนื้อเยื่ออ่อน
ใช้ทาแผลสดและแผลเรื้อรัง
มะขาม
กะเทาะเมล็ดออก ใช้เปลือกเมล็ด นำไปต้ม นำมาล้างแผล ช่วยสมานแผลได้
สมุนไพรที่ใช้รักษาเริม งูสวัด
ยาครีมพญายอ รักษาอาการของโรคเริม งูสวัด อีสุกอีใส ห้ามใช้บริเวณริมฝีปากและภายในช่องปาก
พญายอ ใช้ใบสด (ขนาดที่ให้สามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ตามอาการ) ตำผสมเหล้า ทาบ่อย ๆ
ยาทิงเจอร์พญายอ รักษาแผลในปาก เริม งูสวัด ผื่นคันตามผิวหนัง ลมพิษ แมลง สัตว์ กัดต่อย ห้ามใช้บริเวณที่มีบาดแผล
ตำลึง ใช้ใบสดประมาณ ตำให้ละเอียด เติมดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน นำมาทาบ่อย ๆ บริเวณที่เป็น
สมุนไพรที่ใช้กำจัดเหา
ยาครีมเมล็ดน้อยหน่า
ควรใส่ยาซํ้าภายในวันที่ 7 - 10 หลังการใส่ครั้งแรกเพื่อฆ่าตัวอ่อนที่ออกจากไข่
อาจทำให้เกิดอาการคัน มีผื่นแดง หรือผื่นแพ้สัมผัสได้ ให้หยุดใช้ยา
รระวังอย่าให้ครีมเข้าตา และอย่าใช้บริเวณที่มีแผล เพราะอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อน ต้องรีบล้างออกด้วยนํ้าสะอาดทันที
ชโลมครีม 20 - 30 กรัม ที่ผม ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง ใช้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 สัปดาห์
น้อยหน่า
ใช้เมล็ดนำมาบด คั้นกับนํ้ามะพร้าว (อัตราส่วน 1:2) กรองเอาแต่นํ้ามาชโลมให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าโพกไว้ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง ห้ามชโลมยาทิ้งไว้ข้ามคืน
ทำเสร็จแล้วใช้หวีสางออก แล้วสระผมทำความสะอาดทุกครั้ง
ใช้ใบน้อยหน้าสดประมาณ 4 ใบ นำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วเอานํ้าที่ได้มาชโลมให้ทั่วศีรษะ แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ประมาณ 10 นาที
พืชที่มีพิษ
แบ่งตามผลต่อระบบร่างกายของคนออกได้ 5 กลุ่ม
พืชที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง
กลุ่มที่มีฤทธิ์ทาให้ชัก ได้แก่ ผลเลี่ยน เมล็ดแสลงใจ (โกศกะกลิ้ง) หัวกลอย
กลุ่มที่มีฤทธิ์ทาให้ประสาทหลอน ได้แก่ กัญชา (ช่อดอกตัวเมียและใบ) จันทน์เทศ (รกและเมล็ด) ลาโพง (เมล็ดและใบ) กลอย (หัว)
กลุ่มที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ได้แก่ andromedotoxin, veratrine, solanine (พบได้ในพืชวงศ์ Solanaceae) และ soluble oxalate
พืชที่มีพิษต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ
พืชที่มีสารไซยาโนจินิคกลัยโคไซด์
เมื่อทานเข้าไปจะถูกเอนไซม์ Hydrolyses ได้สารไซยาไนด์ ซึ่งจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในเลือด ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน เกิดอาการหน้าเขียว คลื่นไส้ อาเจียน ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้ หายใจลาบาก กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย กล้ามเนื้อกระตุก มึนงง ไม่รู้สึกตัว ชัก ก่อนที่จะหมดสติ
สารไซยาโนจินิคกลัยโคไซด์เป็นสารที่สลายตัวได้เมื่อถูกความร้อน ถ้าพืชผ่านกระบวนการใช้ความร้อน ด้วยการต้ม เผา ปิ้ง ก็จะทานได้ ตัวอย่าง เช่น มันสาปะหลัง
พืชที่มีสารกลุ่มคาร์ดิแอคกลัยโคไซด์
มีพิษเมื่อทานเกินขนาด ส่วนใหญ่จะเกิดพิษกับเด็กเนื่องจากการทานผลหรือดอกของพืชพิษเหล่านี้ ซึ่งมักจะมีสีสวย จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุปากและกระเพาะอาหาร เกิดอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ-ท้อง หลังจากสารพิษเข้าเส้นเลือด จะไปกระตุ้นหให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเต้นผิดปกติ ในประเทศไทย เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae ซึ่งจะมียาง เช่น ยี่โถ ราเพย บานบุรีสีเหลือง ชวนชม โดยส่วนที่เป็นพิษพบได้ทุกส่วน
การรักษาพยายามทาให้อาเจียน หลังจากนั้นให้กินยาเม็ดถ่านเพื่อดูดซับพิษ แล้วส่งโรงพยาบาลในทันที
พืชที่ระคายเคืองต่อผิวหนัง
พืชที่มีเอนไซม์
ตัวอย่างเช่น bromelain ที่พบในสับปะรด เป็นสารที่สามารถย่อยโปรตีนได้ จะทาให้เกิดการระคายเคืองผิวเล็กน้อย
พืชที่มียาง
ยางที่เป็นพิษมีได้ 2 ลักษณะคือ ยางขาวและยางใส ถ้าสัมผัสถูกพืชที่มียางอาจทาให้เกิดอาการแพ้ คัน เป็นผื่นแดง ผิวหนังบวม และอาจจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
พืชที่มียางขาว พบได้ในวงศ์ Euphorbiaceae โดยเฉพาะในสกุล Euphorbia
ตัวอย่างเช่น สลัดได (E. antiquorum), ส้มเช้า (E. ligularia), โป้ยเซียน (E. milii) และพญาไร้ใบ (E. tirucalli)
พืชที่มี calcium oxalates
ได้แก่พืชวงศ์ Araceae พืชเหล่านี้มักจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลทอยู่ภายในเซลล์ในสภาพเป็นกลุ่มที่ เรียกว่า raphides ซึ่งถ้ารับประทานก็จะเป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร และถ้าสัมผัสก็จะทาให้เกิดการระคายเคือง
พืชเหล่านี้ ได้แก่ กระดาด Alocasia spp., บุก Arisaema spp., บอนสี Caladium spp., บอน, เผือก Colocasia spp., สาวน้อยประแป้ง หรือ อ้ายใบ้ Dieffenbachia spp., พลูฉีก Monstera spp.
พืชที่มีหนามหรือขน และมีสารพิษ
ภายในขนจะมี protoplasm เวลาที่ผิวหนังสัมผัสกับพืชเหล่านี้ ปลายยอดของขนจะแตกออกและฉีดสารพิษออกมา ทำให้ผิวหนังบวมแดง แสบคัน และปวด
สารพิษเหล่านี้ได้แก่ histamine, acetylcholine, 5-hydroxytryptamine, กรดมด และกรดน้าส้ม เป็นต้น พืชเหล่านี้ได้แก่ หมามุ่ย กะลังตังช้าง ตาแยตัวเมีย ตาแยช้าง เป็นต้น
พืชที่มีผลต่อระบบทางเดินอาหาร
กลุ่มที่มีผลระคายเคืองต่อเยื่อบุลาไส้
กลุ่มที่มีผลระคายเคืองต่อเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร
กลุ่มที่มีผลทาให้กระเพาะและลำไส้อักเสบอย่างช้า ๆ
กลุ่มที่มีสารออกซาเลท หรือกรดออกซาลิก ในปริมาณน้อยจะไม่เป็นพิษ ถ้าในปริมาณมากจะทาให้เกิดอาการคัน สารนี้มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผนังกระเพาะและลาไส้ จะถูกดูดซึมผ่านผนังที่อักเสบ ทาให้เกิดเป็นแคลเซียมออกซาเลท
กลุ่มที่มีสารโคลชิซีน เมื่อได้รับสารชนิดนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก (ประมาณ 3 มก.) อาการเป็นพิษก็จะแสดงออกมาหลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมง
กลุ่มที่มีสารสเตียรอยด์แอคคาลอยด์ สารสเตียรอยด์แอลคาลอยด์ที่เป็นพิษ ได้แก่ สารโซลานีนซึ่งอยู่ในรูปกลัยโคไซด์ โดยทั่วไปจะถูกดูดซึมได้น้อย แต่ถ้าผนังกระเพาะและลาไส้อักเสบจะถูกดูดซึมเข้าไปสู่กระแสเลือดได้
กลุ่มที่มีสารเลคติน สารเลคตินเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งถูกดูดซึมได้อย่างช้า ๆ ในระบบทางเดินอาหารที่อักเสบเข้าสู่กระแสเลือด ทาให้เกิดพิษทั่วร่างกาย
กลุ่มที่มีผลระคายเคืองต่อเยื่อบุปากและลาคอ
พืชที่มีผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ
พืชกลุ่มนี้ได้แก่ ลูกเนียง เมื่อกินเข้าไปจะเกิดอาการพิษภายใน 2 - 14 ชั่วโมง เริ่มจากมีอาการปวดตามขาหนีบ ปัสสาวะยาก แสบขัด มีอาการปวดเวลาปัสสาวะ
วิธีการลดพิษ โดยการเพาะให้งอก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดเล็กน้อย เพื่อเป็นการลดพิษของลูกเนียง
การรักษา ให้ดื่มน้ามาก ๆ แล้วส่งโรงพยาบาลหากมีอาการรุนเเรง
สมุนไพรที่ใช้แต่งสี
สีเหลือง
ลูกตาล ให้สีเหลือง
ลอกเปลือกแข็งออก ใส่ลงในชาม ใส่น้ำพอท่วม ใช้มือนวดเอาเนื้อที่แทรกอยู่ตามเส้นใยออกให้หมด เติมน้ำอีก คนให้เข้ากันแล้วเทใส่กระชอน กรองเอาเยื่อใยออกเสียก่อนจึงใส่ถุงผ้า ผูกปากให้แน่น แขวนให้แห้ง
อาหารที่ใช้: ขนมตาล เค้ก ไอศกรีม
ฟักทอง ให้สีเหลือง
ต้มสุก แล้วบดให้ละเอียด
อาหารที่ใช้: ข้าวเกรียบ เค้ก ไอศกรีม ฯลฯ
คาแสด (คาไทย/คาเงาะ) ให้สีเหลืองอมน้าตาล
ใช้เมล็ดแห้งแช่น้ำร้อน กรองเอาเมล็ดออก ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอน รินน้ำใสทิ้ง นาตะกอนสีเหลือง อมน้ำตาลไปใช้
อาหารที่ใช้: ใช้แต่งสีเนย และเนยแข็ง ขนมที่ต้องการสีเหลือง เช่น ขนมน้าดอกไม้ ขนมเรไร ฯลฯ
มันเทศ ให้สีเหลือง
ต้มให้สุก ปอกเปลือก บดให้ละเอียด
อาหารที่ใช้: ข้าวเกรียบ เค้ก ไอศกรีม ฯลฯ
ดอกคาฝอย ให้สีเหลืองส้ม
แกะเอาแต่กลีบดอก ตากให้แห้ง เมื่อเวลาจะใช้ใส่น้ำพอท่วม แล้วต้มให้เดือดประมาณ 5 นาที กรองเอากากทิ้ง ใช้แต่น้ำ
อาหารที่ใช้: อาหารที่ต้องการสีเหลือง เช่น ขนมน้ำดอกไม้ มะพร้าวแก้ว ขนมถ้วยฟู ฯลฯ
พุด ให้สีเหลือง
ใช้ส่วนที่เป็นผลแก่ แช่ในน้ำร้อน
อาหารที่ใช้: อาหารที่ต้องการสีเหลือง เต้าหู้เหลือง ฯลฯ
ขมิ้น ให้สีเหลือง
ปอกเปลือกออกให้หมด โขลกให้ละเอียด เติมน้ำนิดหน่อย เทใส่ผ้าขาวบาง คั้นเอาแต่น้ำ
อาหารที่ใช้: ข้าวเหนียวมูน ขนมเบื้อง ข้าวหมก แกงกะหรี่ แกงเหลือง ฯลฯ
หญ้าฝรั่น หรือ แซฟฟรอน (Saffron) ให้สีเหลือง
ใช้เกสรตัวเมีย (แห้ง) แช่น้าร้อน
อาหารที่ใช้: ข้าวหมกไก่ ฯลฯ
ดอกกรรณิกา ให้สีเหลืองทอง
เด็ดเอาแต่เฉพาะหลอดดอก ใส่ผ้าขาวบาง หยดน้ำใส่นิดหน่อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ
อาหารที่ใช้: อาหารที่ต้องการสีเหลืองทอง เช่น มะพร้าวแก้ว ขนมเรไร วุ้น ฯลฯ
สีส้ม
แครอท ให้สีส้ม
ล้างแครอทให้สะอาด ใส่ลงในเครื่องปั่น ปั่นจนละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาเฉพาะน้ำ
ส้มเขียวหวาน ให้สีเหลืองส้ม
ล้างส้มให้สะอาด ผ่าครึ่งซีก คั้นเอาแต่น้ำ
อาหารที่ใช้: ขนมเค้ก ขนมปัง ซอสส้ม ฯลฯ
สีน้าตาล
โกโก้
นำเมล็ดโกโก้มาคั่ว เอาเปลือกหุ้มเมล็ดออก บดละเอียด บีบน้ามันออก เนื้อโกโก้จะเกาะกันเป็นแท่ง ๆ นามาบดให้แตกเป็นผงอีกครั้ง ใส่รวมกับแป้ง หรือใช้โกโก้ผงที่ชงเครื่องดื่มนำมาผสมกับแป้งทาขนม
อาหารที่ใช้: ขนมเค้ก คุกกี้ ขนมสัมปันนี ฯลฯ
สีม่วง
ผักปลัง ให้สีม่วง
เก็บลูกสุก ใส่ผ้าขาวบาง คั้นเอาแต่น้ำ
อาหารที่ใช้: ขนมที่ทำให้สุกในเวลาสั้น ๆ อุณหภูมิไม่สูง เช่น ซ่าหริ่ม บัวลอย น้ำดอกไม้ เรไร ช่อม่วง
ดอกอัญชัน ให้สีน้าเงิน หรือสีม่วงถ้าเติมน้ามะนาว
เด็ดส่วนโคนที่เป็นสีเขียวออก ใช้เฉพาะส่วนสีน้ำเงิน ใส่ถ้วย เติมน้านิดหน่อย แล้วบี้ให้ช้า เทใส่ผ้าขาวบาง คั้นเอาแต่น้ำ
อาหารที่ใช้: ช่อม่วง ขนมชั้น ซ่าหริ่ม ขนมน้าดอกไม้ ขนมเค้ก ขนมเรไร ข้าวมันกะทิสีดอกอัญชัน บัวลอย
ข้าวเหนียวดา ให้สีม่วง
เอาข้าวเหนียวดาแช่น้ำรวมกับข้าวเหนียวขาวประมาณ 3 ชั่วโมง
สีม่วงกลาง ข้าวเหนียวขาว 3 ส่วน ข้าวเหนียวดา 1 ส่วน
สีม่วงเข้ม ข้าวเหนียวขาว 2 ส่วน ข้าวเหนียวดา 1 ส่วน
สีม่วงอ่อน ข้าวเหนียวขาว 4 ส่วน ข้าวเหนียวดา 1 ส่วน
อาหารที่ใช้: ขนมประเภทแป้งข้าวเหนียว เช่น ถั่วแปบ ขนมจาก ขนมโค ขนมต้ม ฯลฯ
สีแดง
ถั่วแดง ให้สีแดงคล้า
เอาน้าที่กรองแล้วหลังต้มถั่วแดงไปใช้
ข้าวแดง ให้สีแดงคล้า
นำเมล็ดข้าวมาบดละเอียด
อาหารที่ใช้: หมูแดง เต้าหู้ยี้ ปลาจ่อม ขนมต่าง ๆ ฯลฯ
หัวบีทรูท ให้สีแดงทับทิม
ล้างให้สะอาด ปอกเปลือก ฝานเป็นแว่นบาง ๆ สับหรือโขลกให้ละเอียด ตักใส่ผ้าขาวบาง คั้นเอาแต่น้ำ
อาหารที่ใช้: ขนมบัวลอย ขนมชั้น ซ่าหริ่ม มะพร้าวแก้ว หรืออาหารที่ทาให้สุกด้วยการนึ่ง กวน หรือต้ม ฯลฯ
ฝาง ให้สีชมพูอ่อน
ใช้ส่วนที่เป็นแก่น ต้มกับน้ำ
อาหารที่ใช้: น้ายาอุทัย ขนมชั้น ขนมขี้หนู ข้าวเหนียวแก้ว ฯลฯ
ครั่ง ให้สีแดงทับทิม
อาหารที่ใช้: ขนมชั้น ขนมเรไร มะพร้าวแก้ว ขนมน้าดอกไม้ ฯลฯ
แช่น้าหรือคั้น ควรใช้สารส้มแกว่งในน้าเล็กน้อย จะได้สีแดงสวยงามยิ่งขึ้น
กระเจี๊ยบแดง
ใช้ส่วนกลีบเลี้ยงที่หุ้มฝัก แกะฝักทิ้ง แล้วต้มให้เดือด
อาหารที่ใช้: น้ำกระเจี๊ยบ ฯลฯ
สีดำ
กาบมะพร้าว ให้สีดา
จุดไฟเผากาบมะพร้าวจนไหม้เป็นถ่านแดง เอาน้ำราดให้ไฟดับ นำไปบดละเอียด ผสมกับน้ำ กรองผ่านผ้าขาวบาง
อาหารที่ใช้: ขนมเปียกปูน
ถั่วดา ให้สีดำ
นำถั่วดำมาต้มจนได้น้ำสีดาออกมา กรองเอากากออก
สีเขียว
ใบเตยหอม
หั่นขวางใบให้เป็นฝอย โขลกพอแหลก เติมน้าเล็กน้อยแล้วคั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง
อาหารที่ใช้: ขนมชั้น ซ่าหริ่ม ขนมเปียกปูน ฯลฯ
สมุนไพรไล่แมลงและสัตว์รังควาน
สมุนไพรไล่แมลงหวี่
ใบหางนกยูงใส่ไว้บนแจกันบนโต๊ะทางาน หรือบริเวณที่แมลงหวี่มารบกวน
ดอกดาวเรือง นำไปเแช่น้ำ 1 คืน แล้วมารดบริเวณที่มีแมลงหวี่
กาบมะพร้าว กับ เครือกระทกรกที่ตากแห้งแล้วมามัด จุดไฟให้เกิดควัน
ตะไคร้ ใช้น้ำมันตะไคร้หอมฉีดพ่น
สมุนไพรไล่ตั๊กแตน
สะเดา นำเมล็ดสะเดา บดให้ละเอียด ห่อผ้าแช่น้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนใช้ผสมน้ำสบู่ นาไปฉีดพ่นทุก 7 วัน ในตอนเย็น
เลี่ยน ใช้ใบตากแห้งมาต้ม กรองเอาน้ำฉีดพ่นแปลงผัก
น้อยหน่า ใช้เมล็ด ผลดิบ ใบสด หรือเนื้อในเมล็ด ตาละเอียด ผสมน้ำ กรองเอาน้ำใช้ฉีดพ่น
สมุนไพรไล่แมลงวัน
กระเทียม นำไม้เล็กๆมาแช่ลงไปในน้ำกระเทียมที่ต้มเดือดแล้วไปปักไล่แมลงวัน
ตะไคร้หอม ใช้น้ำมันตะไคร้หอมฉีดพ่น
น้ำส้มสายชู ผสมกับน้ำ นำไปใส่กระบอกฉีดพ่นบริเวณที่มีแมลงวัน
เปลือกส้ม นำเปลือกส้มไปตากแดด นำมาเผาให้เกิดควัน
สมุนไพรไล่เพลี้ยอ่อน
ยาสูบ ใช้ใบและต้นผสมน้ำ ต้ม 1 ชั่วโมง หรือแช่น้ำ 1 คืน ผสมด้วยสบู่ กรองเอาน้ำยา แล้วผสมน้ำอีก นำไปฉีดพ่นแปลงผัก 3 - 4 ครั้งต่อวัน
สะเดา ใช้เนื้อในเมล็ดสะเดา บดแช่น้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน กรองเอาน้ำฉีดพ่นแปลงผัก
หางไหลแดง ตัดราก ทุบแล้วแช่น้ำ ผสมสบู่ กรองเอาน้ำฉีดพ่นแปลงผัก
สาบเสือ นาใบสดหรือแห้ง ตำละเอียด ผสมน้ำ ต้ม 10 นาที ตั้งไว้ให้เย็น กรองเอาน้ำฉีดพ่นแปลงผัก
สมุนไพรไล่แมลงสาบ
กานพลู ใส่ถุงผ้าบาง ๆ แล้วไปวางในจุดที่พบว่ามีแมลงสาบชอบออกมาเดิน
พริกไทย ผสมกับน้ำ นำไปฉีดพ่นตามจุดที่เคยเห็นว่ามีแมลงสาบ
ใบกระวานแห้ง างไว้ตามจุดที่เจ้าแมลงสาบชอบออกมาหากิน
สมุนไพรฆ่าเหา
หนอนตายหยาก ใช้รากตาให้ละเอียด ผสมน้ำมันพืชชโลมผม
น้อยหน่า ใช้เมล็ด ผลดิบ ใบสด หรือเนื้อในเมล็ด ตำละเอียดผสมน้า กรองเอาน้ำชโลมผม
ยูคาลิปตัส ใช้ใบตำำให้ละเอียด แล้วกรองส่วนของน้ำคั้น ผสมน้ำมันพืชในสัดส่วน 1:1 ชโลมเส้นผมทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง แล้วสระล้างออก
ผักเสี้ยน ใช้เมล็ดตาผสมน้ำชโลมผม
สมุนไพรไล่แมงมุม
เปปเปอร์มินต์ ผสมกับน้ำ แล้วนาไปฉีดพ่นให้รอบบ้าน เน้นตรงจุดที่มักจะเจอแมงมุมไต่อยู่
เกลือ ผสมบน้ำ แล้วนำไปฉีดตามใยแมงมุมรวมทั้งตัวแมงมุมเพื่อไล่มันออกไป
ส้ม นำเปลือกส้มหรือพืชตระกูลส้ม มาถูๆบี้ๆให้น้ำในเปลือกออกมา นำไปวางไว้บริเวณที่แมงมุมอยู่
เกาลัด มาเจาะรูบริเวณเปลือก นำไปวางตามจุดต่าง ๆ ในบ้าน ก็เป็นการกาจัดแมงมุมอีกวิธีหนึ่ง เพราะแมงมุมเกลียดเกาลัด
สมุนไพรไล่ปลวก
ใบขี้เหล็ก มาบด ตำ ปั่นให้ละเอียด ใส่น้าลงไปประมาณ 20 มิลลิลิตร กรองเอาน้ำใส่ในขวดสเปรย์ เสร็จแล้วนำไปฉีดตามบริเวณที่ปลวกอยู่ โดยทาซ้าประมาณ 3 - 5 วัน
น้ำส้มสายชู ตวงประมาณครึ่งถ้วย แล้วใช้มะนาวประมาณ 2 ซีก บีบลงไป จากนั้นก็หยดน้ำมันหอมระเหยส้มลงไปเล็กน้อย นำไปฉีดพ่น
ข่า ตะไคร้ กระเทียม มาสับให้ละเอียด ผสมกับเหล้าขาว 1 ขวด น้ำส้มสายชู 1 ขวด และน้ำเปล่า 20 ลิตร ปิดฝาให้สนิท แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ นำไปฉีดพ่น
เกลือ ผสมกับน้ำอุ่นในอัตราส่วน 1:1 คนจนละลายเข้ากับ เทใส่ในขวดสเปรย์ นำไปฉีดพ่นบริเวณที่มีปลวกอยู่
สมุนไพรไล่มด
ขมิ้น นำขมิ้นสดมาบดให้ละเอียดและเติมน้ำมันก๊าดผสม คนให้เข้ากัน และนำไปเทบริเวณรังมด หรือพื้นที่ที่มีมดเดินผ่าน
พริกป่น 1 ขีด ผสมน้ำเปล่า 1 ลิตร คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน นำน้ำที่ผสมมากรองละลายกับสบู่ ผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณที่มีมดอาศัยอยู่
พริกสดและผิวมะกรูด ใช้อย่างละ 1 ส่วน มาปั่นให้ละเอียด ผสมน้ำเปล่า คนให้เข้ากัน นำมากรองใช้แต่น้ำ จากนั้นนำน้ำที่ได้ไปฉีดพ่นบริเวณที่มีมดหรือรังมด
หน่อไม้ดอง นำน้ำหน่อไม้ดองไปราดบริเวณรังมดระวังเรื่องของกลิ่น ไม่ควรราดใกล้บริเวณบ้านหรือในห้องนอน
สมุนไพรไล่เห็บ หมัด
มะขาม ต้มกับน้ำเปล่าให้เดือดแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น ใส่ขวดสเปรย์ นำไปฉีดบริเวณที่มีเห็บ หมัด
น้อยหน่า ใช้เมล็ดน้อยหน่าตำให้ละเอียดผสมกับแอลกอฮอล์ เขย่าให้เข้ากัน ทิ้งไว้1 วันใช้ฉีดพ่นตามตัวสุนัขหรือบริเวณที่อยู่อาศัยของสุนัข
มะคาดีควาย ทุบให้แตก ใส่น้ำผสม คนให้เกิดฟอง ทิ้งไว้ 10 ชั่วโมง จากนั้นนำใบชามาแช่น้ำเพื่อให้ได้สารแทนนิน ปล่อยทิ้งไว้ 1 วัน นำน้ำมะคาดีควายและน้ำใบชามาผสมกัน กรองเอาแต่น้ำมาใช้ นำไปฉีดบริเวณที่มีเห็บหมัด
สะเดา ใช้ใบปั่นหรือตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำ กรองนำมาใช้แต่น้ำ ไปทาตามตัวสุนัข หรือผสมน้ำอาบ
ไพล นำไพลสดมาตำหรือบดให้ละเอียด แล้วนำทั้งเนื้อและน้ำที่ได้ไปใช้ชโลมบนตัวสุนัข
เมล็ดมันแกว มาบดให้ละเอียดเป็นผง เติมน้ำ ต้ม 20 นาที ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วนำมากรอง แช่ไว้ในตู้เย็น 20 วัน ผสมกับน้ำสะอาดในอัตราส่วน 5:1 ฉีดพ่นหรือผสมอาบน้ำให้สุนัข
สมุนไพรไล่มอด
กานพลู นำดอกกานพลูใส่ลงไปในถังข้าวสาร
พริกไทยดำ นำไปใส่ในผ้าขาวบางแล้วผูกปากให้มิด
กระวาน นำใบสัก 2 - 3 ใบ ใส่ลงไปในถังข้าวสาร
พริกแห้ง ใช้ 1 กำมือใส่ในผ้าขาวบาง แล้วใส่ไว้ในถังข้าวสาร
กะเพรา นำใบและกิ่งก้านมาวางคลุมกระสอบข้าวสาร
ใบมะกรูดสด ฉีกใบออกเป็น 2 ส่วน แล้วใส่ลงไปในถังข้าวสาร
สมุนไพรไล่หนู
น้ำมันระกา น้ำมันสะระแหน่ ผสมกัน นำวางไว้ตามพื้นที่ที่หนูมักจะเดินผ่าน
มะกรูด นำผลมะกรูดสดมาผ่าครึ่ง วางไว้ตามจุดที่หนูชอบอยู่
นำน้ามันสะระแหน่มาหยดใส่ก้อนลำสีให้พอมีกลิ่นฉุนๆ ไปวางตามจุดที่หนูซ่อนตัวอยู่
ยี่โถ ตัดกิ่งยี่โถมาตากแห้ง มัดรวมกัน วางไว้บริเวณที่มีหนู แเปลี่ยนไม้ยี่โถทุก 3 เดือน เพราะกลิ่นจะจางลง
ใบพลู ข่า กระเทียม โขลกให้ละเอียดให้เข้ากัน ตักผสมกับ น้ำต้มเกลือ นำไปวางบริเวณชุกชุมของหนู
สมุนไพรไล่ยุง
ตะไคร้หอม
นำใบและต้นประมาณ 4 - 5 ต้นมาทุบ จะมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมาวางไว้ใกล้ ๆ ตัว หรือใช้น้ำมันตะไคร้หอมฉีดพ่น
มะกรูด
นำใบสดหรือผิวมะกรูดมาบีบให้ได้กลิ่นน้ำมันหอมระเหย
ขมิ้น
นำหัวขมิ้นแห้ง 0.5 กรัม ตาแล้วหมักในน้า 2 ลิตร หมักไว้ 1 คืนแล้วฉีดพ่น
ไพรีทรัม
เมื่อนาดอกแห้งเข้าโรงสกัดจะได้สารจากธรรมชาติ เรียกว่า “ไพรีทรินส์” ที่ออกฤทธิ์ดูดซึมทาลายระบบประสาทของแมลง เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ แมลงหวี่ ไร เรือด เพลี้ยอ่อน หมัดกระโดด ตั๊กแตน ทาให้แมลงสลบอย่างรวดเร็วในเวลา 2 - 3 นาที และตายในที่สุด
ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลือดอุ่น ไม่ตกค้างในร่างกาย สามารถย่อยสลายได้เองด้วยแสงแดดและความร้อน
ต่างประเทศนิยมปลูกดอกไพรีทรัมแซมในแปลงผักสวนครัวเพื่อช่วยป้องกันแมลง หรือนาดอกและใบมาขยี้ผสมน้ารดพืชผักสวนครัว โดยไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นอันตราย ส่วนกากที่เหลือหยอดลงที่ยอดต้นข้าวโพดเพื่อกาจัดหนอนเจาะลาต้น
ดอกแห้งผสมกับน้ำมันงาและน้ำมันพืช หยอดใส่รังปลวก ยังนิยมใช้เป็นส่วนประกอบของยากำจัดแมลงในอุตสาหกรรมไร่ อุตสาหกรรมยาสูบ รวมถึงสเปรย์กำจัดยุงในบ้านเรือน
กะเพรา
นำใบมาขยี้ ๆ จะมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยออกมา วางไว้ใกล้ ๆ ตัว
สมุนไพรไล่จิ้งจก
ใบสาบเสือกับใบน้อยหน่า สับละเอียดผสมกัน ห่อด้วยผ้าขาวบางมัดให้แน่น ไปวางบริเวณที่มีจิ้งจก
กัญชาทางการแพทย์
ประวัติศาสตร์การใช้กัญชาทางการแพทย์
ค.ศ. 130-200 กาเลน(Galen) แพทย์ชาวกรีก จ่ายยาที่ทาจากกัญชา
ค.ศ. 1621 หนังสือชื่อ The Anatomy of Melancholy เขียนโดย Robert Burton ผู้เชี่ยวชาญโรคซึมเศร้าจากมหาวิทยาลัย Oxford ระบุว่ากัญชาอาจช่วยรักษาอาการของโรคซึมเศร้าได้
1,800 BCE ในประเทศอินเดีย “Bhang” “บัง” (ใบกัญชาแห้ง เมล็ด และดอก) ถูกกล่าวเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นยา และใช้สำหรับถวายพระศิวะ
ค.ศ. 1850 กัญชาถูกบรรจุเป็นตารับยาในสหรัฐอเมริกา
2,737 BCE กัญชาถูกใช้เป็นยาโดย จักรพรรดิ Shen Neng แห่งอาณาจักรจีน
ค.ศ. 1890 พระราชินี วิคตอเรีย แห่งเกาะอังกฤษ ได้รับยาจากกัญชาโดยแพทย์ประจาตัว Sir Jr. Reynolds เพื่อบรรเทาอาการปวดประจาเดือน ยุคนั้นยาจากกัญชาหาซื้อได้ทั่วไปในเกาะอังกฤษ
8,000 BCE กัญชาถูกบันทึกว่าเป็นพืชไร่ ใช้ประโยชน์จากเส้นใย มีการบันทึกการใช้กัญชาในตารับยาโบราณของอินเดีย
ยุคมืดของกัญชา
ค.ศ. 1915 - 1927 มลรัฐต่าง ๆ ในอเมริกาเริ่มมีการห้ามใช้กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน แต่ยังอนุญาตให้ใช้เป็นยาได้
ค.ศ. 1934 Harry J. Anslinger เริ่มให้กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายเปลี่ยนชื่อ จาก “Cannabis” เป็น “Marijuana” เพื่อทำให้กัญชากลายเป็นสิ่งที่ชาวเม็กซิกันและคนดำใช้ ภายหลังมีการเปิดเผยว่า Harry J. Anslinger ทำเพราะต้องการได้เงินสนับสนุนจากรัฐบาล และได้รับผลประโยชน์จากบริษัทยา บริษัทผลิตฝ้าย ฯลฯ ที่มีพืชกัญชาเป็นศัตรูทางเศรษฐกิจ
ค.ศ. 1910 การปฏิวัติในเม็กซิโก ชาวเม็กซิกันหลบหนีมาทำงานในอเมริกา พร้อมกับการใช้กัญชาเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นจุดเริ่มต้นยุคมืดของกัญชา
ค.ศ. 1937 สภาคองเกรซของอเมริกาออกกฎหมายห้ามการใช้กัญชาทุกรูปแบบ ไม่เว้นแม้แต่การใช้เส้นใยในอุตสาหกรรม ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นอาชญากร
ค.ศ. 1940 ทัศนคติ มุมมอง และการทาให้กัญชาผิดกฎหมายจากสหรัฐอเมริกาแพร่กระจายไปทั่วโลก
ค.ศ. 1941 กัญชาถูกลบออกจากตารับยา และไม่ถูกพิจารณาเป็นยาอีกต่อไปในอเมริกา
ค.ศ. 1971 สหรัฐอเมริกามีการแบ่งบัญชียาเสพติดตามความรุนแรง และกัญชาถูกจัดอยู่ในบัญชีที่ 1 คือ ยาเสพติดที่รุนแรงที่สุด โดยไม่มีคุณสมบัติทางยาใด ๆ
ค.ศ. 1972 อดีตประธานาธิบดี Richard Nixon ต้องการเงินในการปราบปรามยาเสพติดจานวนมาก เค้าจึงมอบหมายให้มหาวิทยาลัยเวอร์จีเนียทางานวิจัยว่ากัญชานั้นก่อให้เกิดมะเร็งในผู้ใช้ แต่ผลการศึกษากลับพบว่า สาร THC ในกัญชาที่ความเข้มข้นสูง จะโจมตีเซลล์มะเร็งในร่างกายและยังคงรักษาเซลล์ที่ดีไว้ เมื่อ Nixon ได้ทราบเขาโยนงานวิจัยทิ้งลงถังขยะ และสั่งปิดการวิจัยทั้งหมดกว่า 30 ปี
สิ้นสุดยุคมืดของกัญชา
วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2014 รัฐโคโลราโดประกาศให้กัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมายอย่างเต็มรูปแบบภายใต้การควบคุม ทั้งการผลิต ซื้อขาย และการเสพ เป็นสัญญาณแห่งการจบสิ้นยุคมืดของกัญชา และก้าวเข้าสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง
ค.ศ. 1999 รัฐบาลสหรัฐจดสิทธิบัตรกัญชา อ้างสิทธิในการใช้กัญชารักษาโรคทางระบบประสาท แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายและองค์การอาหารและยายังคงปฎิเสธว่ากัญชาสามารถใช้เป็นยาได้
ประวัติการใช้กัญชาในสยามประเทศ
มีบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาว่า ตำรับยาที่มีกัญชาผสมอยู่นั้นสามารถช่วยให้นอนหลับได้
ตำรับยาไทยที่มีส่วนผสมกัญชานั้น มักจะผสมพริกไทยเพื่อขับลมออกด้วย
มีปรากฏในคัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น ตารับยา "ศุขไสยาสน์“ เป็นต้น
ตารับยาแผนไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนผสม
ยาแก้นอนไม่หลับ / ยาแก้ไขผอมเหลือง แก้นอนไม่หลับ แก้ไขผอมเหลือง มีอาการตัวสั่น เสียงสั่น อ่อนเพลีย ไม่มีกาลัง
ยาแก้โรคจิต ลดความกังวล ความเครียด ช่วยให้นอนหลับ (โรคจิต ตามตาราแพทย์แผนไทย)
ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง บรรเทาอาการท้องผูก ปวดเมื่อตามร่างกาย ขับลม
ยาอัมฤตโอสถ บรรเทาอาการตึงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น มือ เท้าชา ผอมแห้งแรงน้อย จากความเสื่อมของร่างกาย
ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย แก้อาการตึงบริเวณปลายมือปลายเท้า หันหรือเอี้ยวคอไม่ได้
ยาไพสาลี บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับลม ช่วยให้หลับสบาย
ยาไฟอาวุธ แก้ลมจุกเสียด ปวดมวนท้อง
ยาอไภยสาลี ช่วยขับลม บรรเทาอาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ
ยาศุขไสยาศน์ ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร
ยาทำลายพระสุเมรุ บรรเทาอาการแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง และอาการชาในผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต
ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง บรรเทาอาการปวดศีรษะ ตาแดง หูตาฝ้าฟาง หูอื้อ อ่อนเพลีย สวิงสวาย
ยาแก้ลมแก้เส้น บรรเทาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อ ลดอาการมือเท้า ชา อ่อนกำลัง
ยาอัคคินีวคณะ แก้คลื่นเหียนอาเจียน เจริญอาหาร บำรุงกำลัง
ยาทัพยาธิคุณ แก้จุกเสียดท้องแข็งเป็นเถาดาน อาการอัมพฤกษ์ เสียงแหบแห้ง ปวดเมื่อยร่างกาย นอนไม่หลับ
ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ บรรเทาอาการเจ็บปวดท้องแข็ง
ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง ทารักษาริดสีดวงทวารหนัก และทารักษาโรคผิวหนัง
งควบคุมการใช้กัญชาทางการแพทย์
Safety: วิธีการสกัด การปนเปื้อน (สารหนู ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เชื้อรา ฯลฯ) ข้อห้ามใช้ ยาอื่นที่ใช้ร่วม
Efficacy: ถูกคน ถูกขนาด (ความเข้มข้น) ถูกวิถีทาง ถูกโรค ถูกเวลา
Quality: ถูกต้น, ถูกสายพันธุ์, ถูกส่วน, GAP, วิธีการสกัด, ปริมาณและสัดส่วนของสารสำคัญ
ข้อมูลการใช้กัญชาทางคลินิก
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์น่าจะได้ประโยชน์
โรคพาร์กินสัน
โรคอัลไซเมอร์
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย (end-state cancer)
โรควิตกกังวลไปทั่ว (generalized anxiety disorders)
ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care)
โรคปลอกประสาทอักเสบ (demyelinating diseases) อื่น ๆ
ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่ได้ประโยชน์
ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)
โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา (intractable epilepsy)
ภาวะปวดประสาท (neuropathic pain)
ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบาบัด (chemotherapy induced nausea and vomiting)
อันตรกิริยา
อันตรกิริยา คือ ปฏิกิริยาทางเภสัชวิทยาระหว่างกันของสารทั้งสองชนิดทั้งในแง่ของการเปลี่ยนแปลงระดับของยาในร่างกายการต้านฤทธิ์ การเสริมฤทธิ์ การเพิ่มหรือลดผลข้างเคียงของยา การเกิดพิษ หรืออาจทำให้เกิดฤทธิ์ใหม่
แบ่งเป็น
อันตรกิริยาทางด้านเภสัชจลศาสตร์
คือปฏิกิริยาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับยาในร่างกายไปจากปกติ ทั้งในเลือด เนื้อเยื่อ หรือ ตำแหน่งที่ยาออกฤทธิ์ โดยอันตรกิริยาสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการทางเภสัชจลนศาสตร์ ตั้งแต่เริ่มบริหารยาเข้าสู่ร่างกายจนถึงกระบวนการกำจัดออก
แบ่งเป็น
การดูดซึมยา (Absorption)
เป็นกระบวนการดูดซึมผ่านของยาเข้ากระแสเลือด
เพิ่มการดูดซึม
ลดการดูดซึม
เกิดสารประกอบที่ซับซ้อน (complex)
เพิ่มการเคลื่อนที่ผ่านทางเดินอาหาร (Increase GI mobility)
เปลี่ยนแปลงระดับ pH
การกระจายยา (Distribution)
เป็นกระบวนการกระจายยาไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายหลังจากยาเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการไหลเวียนของเลือดและการกระจายยาไปสู่เป้าหมายการออกฤทธิ์
การจับตัวของยา (drug binding; protein binding)
การกระจายตัวยาจากเลือดผ่านเนื้อเยื่อ (Permeability across barrier; P-glycoprotein)
การเปลี่ยนแปลงยา (Metabolism)
คือกระบวนการทางชีวเคมีของร่างกายในการเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของยา โดยอาศัยเอนไซม์ในการ
เปลี่ยนแปลงยา ก่อนจะผ่านกระบวนการขับออกจากร่างกาย โดยส่วนใหญ่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นที่ตับ
Cytochrome P450 (CYP450) เป็นระบบของเอนไซม์สำคัญของร่างกายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการ
เปลี่ยนแปลงยาที่เป็นซับสเตรต (substrate) เป็นจำนวนมาก
Enzymatic induction คือการกระตุ้นการทำงานหรือการเพิ่มจำนวนของเอนไซม์ มีผลเพิ่มการ
เปลี่ยนแปลงยาที่เป็นซับสเตรต ส่งผลให้ได้สารออกฤทธิ์มากขึ้นจนทำให้เกิดพิษ
Enzymatic inhibition คือการยับยั้งการทำงานหรือการลดจำนวนของเอนไซม์ มีผลลดการ
เปลี่ยนแปลงยาที่เป็นซับสเตรต ส่งผลให้ยาอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น
การขับยาออกจากร่างกาย (Excretion)
คือกระบวนการกำจัดยาออกจากร่างกายผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่งยาส่วนใหญ่จะถูกขับออกทางไตในรูปของสารที่สามารถละลายน้ำได้
อันตรกิริยาทางด้านพลศาสตร์
คือปฏิกิริยาที่มีผลเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ของยาทั้งทางด้านชีวเคมีและสรีรวิทยา แต่ไม่มีผลต่อระดับความเข้มข้นของยาในร่างกาย
แบ่งเป็น
การออกฤทธิ์ต้านกัน (Antagonist)
การออกฤทธิ์เสริมกัน (Synergistic)
แนวทางการป้องกันอันตรกิริยาของสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกับยาแผนปัจจุบัน
อันตรกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดสามารถป้องกันได้โดยเฉพาะอันตรกิริยาทางด้านพลศาสตร์
การสอบถามถึงอาการไม่พึงประสงค์จากอันตรกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมที่อาจจะเกิดขึ้น
การทราบถึงชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญชื่อท้องถิ่น หรือชื่อพ้องของสมุนไพร และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
การจัดทำฐานข้อมูลอันตรกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริม
Medical herbal and dietary supplement reconciliation
การใช้ยาอย่างสมเหตุผล พยายามสั่งใช้ยาเฉพาะที่จำเป็นกับผู้ป่วย และสร้างความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
สมุนไพรที่ใช้เป็น ยาระบาย
มะขามแขก ใบแห้งต้มน้ําดื่มหรือบดเป็นผงชงน้ําดื่ม ไม่ควรใช้กับคนท้อง หรือกําลังมีประจําเดือน
แมงลัก เมล็ดอ้างสะอาด แช่น้ําอุ่นจนพองตัวเต็มที่
มะขามเปียก จิ้มเกลือทานล้วดื่มน้ําตามมากๆ
ขี้เหล็ก ใบต้มเอาน้ําดื่มหรือใช้ใบอ่อนดองเหล้า 7 วัน
ยาชุมเห็ดเทศ
บรรเทาอาการท้องผูก
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดตัน ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ
อาจทําให้เกิดอาการปวดมวนท้อง เนื่องจากการบีบตัวของลําไส้ใหญ่
ใช้แทนยา bisacodyl
คูน เนื้อในฝัก ต้มกับน้ําใส่เกลือเล็กน้อย
ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ และเด็ก ผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติเฉียบพลันทีทางเดินอาหาร
ใช้บรเทาอาการในผู้ที่ท้องผูกมาก หรือเรื่องที่ใช้ยาอื่นแล้วไม่ได้ผล
ยาธรณีสันฑะฆาต
แก้เถาดาน ท้องผูก
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้ และเด็ก
ชุมเห็ดเทศดอกสดต้มจิ้มน้ําพริก ใบสดนั่นตากแห้ง ต้มเอาน้ําดื่ม ใบแห้งบดเป็นผงชงแบบชาถุงหรือปั้นเป็นลูกกลอน
ยามะขามแขก
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินอาหารอุดตัน ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ
อาการไม่พึงประสงค์ ปวดมวนท้อง ผื่นคัน
สมุนไพรที่ใช้เป็น ยาขับพยาธิ
มะหาด ผงปวผสมในน้ําลูกเย็น หลังให้ยา ๒ ชั่วโมง ใช้น้ําผสมดีเกลือดื่มช่วยถ่ายตามกหาด บดละเอียด
มะขาม เมล็ดแก่คั่ว กระเทาะเปลือกเอาเนื้อด้านใน แช่น้ําเกลือจนนุ่ม
มะเกลือ ผลสด โขลกพอแหลกผสมกะทิสดคั้นเอาแต่น้ําดื่มทันที๓ ชั่วโมงไม่ถ่ายใช้น้ําผสมดีเกลือ ดื่มช่วยถ่าย
เล็บมือนาง ทุบเมล็ดพอแตกต้มเอาน้ําดื่ม หรือนั่นทอดกับไข่กิน
ฟักทอง ทุบเมล็ดให้แตก ผสมน้ําตาล และ นมหรือน้ําหลังให้ยา ๒ ชั่วโมงทานน้ํามันละหุ่งระบายตาม
สะแก ตําเมล็ดแก่ให้ละเอียด ทอดกับใช่กิน
สมุนไพรเพื่อความงาม
“เครื่องสำอาง”หมายถึง สิ่งปรุง รวมทั้งเครื่องหอม และสารหอมต่าง ๆ ที่ใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ ที่มุ่งหมายสำหรับทำความสะอาด ป้องกัน แต่งเสริม เพื่อความงาม
ยาเบญจโลกวิเชียร
มีสรรพคุณในการใช้แก้ไข้ กระทุ้งพิษ หรือถอนพิษต่าง ๆ
ประกอบด้วยรากสมุนไพร
มะเดื่ออุทุมพร
ชิงชี่
ย่านาง
เท้ายายม่อม
คนทา
เป็นตำรับยาแผนโบราณขอไทยที่มีการใช้กันมานานแล้ว
บัวบก
ลบเลือนริ้วรอย
ช่วยให้ผิวยืดหยุ่นและกระชับ
ผลมะขามป้อม
ลบเลือนริ้วรอย
ฤทธิ์กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
ว่างหางจระเข้
ลดรอยเหี่ยวย่น
ลดจุดต่างดำ
เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว
ว่านมหาเมฆ
ช่วยเพิ่มการเจริญของผม
สารสกัดว่านมหำเมฆสามารถลดการเกิดขนที่รักแร้ได้เป็นอย่างดี
สารสกัดว่านมหาเมฆไม่เกิดพิษทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง และไม่มีปัญหาด้านการระคายเคืองต่อผิว
น.ส.พิชญานิน นิสภา เลขที่ 57 (62111301059) ปี 2 รุ่น 37