Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดด้านทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behaviorism) - Coggle Diagram
แนวคิดด้านทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาซึ่งก่อตั้งโดยนักจิตวทิยาชื่อ จอร์น บีวัตสัน
(John B Watson) ชาวอเมริกัน
ทฤษฎีนี้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง เป็นที่เชื่อถือของนักวิทยาศาสตร์เนื่องจากเป็นทฤษฎีที่ใช้การทดลองอย่างเป็นรูปธรรม ในการศึกษามนุษย์โดยยึดแนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติ
ของมนุษย์ในเชิงจักรกลและวัตถุ
วัตสันเน้นเรื่องการวางเงื่อนไขโดยการกระทำ
นักพฤติกรรมนิยมมีความเห็นว่า บุคลิกภาพเป็นแขนงหนึ่งของการเรียนรู้และการเรียนรู้มีอิทธิพล
อย่างยิ่งต่อบุคลิกภาพ
(learning) ทำใหเ้กิดความสนใจอย่างมากของนักพฤติกรรมนิยมและจนถึงปัจจุบัน
นักพฤติกรรมนิยม เน้นที่กระบวนการทางสรีรวิทยาในมนุษย์อันเป็นพฤติกรรมที่แยกแยะได้
พฤติกรรมภายในจิตใจซ่ึงเป็นเรื่องที่สังเกตไม่ได้มีความเฉพาะเจาะจง
การเรียนรู้ตามทฤษฏีของนักพฤติกรรมนิยม มี 2แบบ
Instrumental Conditioning
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์ (Skinner) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันมีความคิดว่าพฤติกรรมของอินทรีย์จะเกิดขึ้นเพราะอินทรีย์เป็นผู้กระทำหรือส่งออก (Emit) มากกว่าเกิดขึ้นเพราะถูกสิ่งเร้าดึงให้ออกมา พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่า ตามคำอธิบานของพาฟลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า “พฤติกรรม” ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน พฤติกรรม และผลที่ได้รับ
พฤติกรรมที่อินทรีย์ส่งออกมาเองก็คือ อาการที่อินทรีย์กระทำต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น การอ่าน การเขียน สกินเนอร์มีความเห็นสอดคล้องกับธอร์นไดค์ว่า การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ เขาจึงสนใจเรื่องการเสริมแรงนี้มากและได้ใช้การเสริมแรงเป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรม แต่ความเห็นของสกินเนอร์เกี่ยวกับการเสริมแรงก็ยังแตกต่างจากความเห็นธอร์นไดค์ตรงที่เขากล่าวว่า การเชื่อมโยงจะเกิดขึ้นระหว่างรางวัล (Reward) และการตอบสนอง (Response) ไม่ใช่ระหว่างสิ่งเร้า (S) และการตอบสนอง (R) ดังที่ธอร์นไดค์กล่าว
การทดลองของสกินเนอร์
สกินเนอร์ทำการทดลองกับหนู โดยเขาสร้างเครื่องมือในการทดลองเป็นกล่องสี่เหลี่ยม เรียกว่า “Skinner Box” ข้างในกล่องทำเป้นคาน หรือลิ้นที่เป็นตัวบังคับให้อาหารตกลงในจานที่รองรับเหนือคานจะมีหลอดไฟที่มีวงจรต่อกับคาน เมื่อไปถูกคานไฟจะสว่างและจะมีอาหารตกลงมา เขาดำเนินการทดลองโดยการจับหนูที่กำลังหิวใส่ลงไปในกล่องทดลองปรากฏว่าหนูวิ่งไปวิ่งมา จนกระทั่งไปเหยียบถูกคานเข้าโดยบังเอิญทำให้ไฟสว่างขึ้น และหลังจากนั้นก็มีอาหารหล่นลงมาสู่จาน หนูจึงได้กินอาหารซึ่งเป็นการเสริมแรงต่อการกดคานจากนั้นหนูก็วิ่งไปวิ่งมาอีก จนกระทั่งไปกดคานอย่างรวดเร็วและได้อาหารทุกๆครั้ง พฤติกรรมแบบ Operant ก็จะเกิดเต็มที่ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่า หนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำเอง
Classical Conditioning
การเรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขของสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นมากกว่าผลของพฤติกรรม
พาฟลอฟ (Pavlop) ได้ทำการทดลองกับสุนัขโดยใส่อาหารในปากสุนัข และวัดปริมาณของน้ำลายจากท่อที่
ใส่เข้าไปในท่อน้ำลาย พาฟลอพ พบวา่ ตัวกระตุ้นที่นำไปสัมพันธ์กับการให้อาหารสุนัขจะทำให้น้ำลายไหล
ถ้าหากต่อมาให้ต้วกระตุ้นเพียงลำพังก็ตาม
พาฟลอพ พบวา่ สิ่งสนองที่กลายเป็นเงื่อนไขของตัวเร้าก่อนนั้น จะกลายมาเกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าที่คล้ายกันได้ กระบวนการนี้เรียกว่า Generalization หรือกล่าวได้ว่าน้ำลายไหลจากเสียงออดจะสัมพันธ์กับเสียงที่คล้ายกับเสียงออด
สรุป
ความหมายของสุขภาพจิตตามแนวคิดทฤษฏีพฤติกรรมนิยม
หมายถึง การที่บุคคลสามารถเรียนรู้ที่จะมี
พฤติกรมที่ถูกต้อง เหมาะสม การปรับปรุงตนเองให้มีพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ โดยไม่สูญเสียความเป็น
ตัวของตัวเองและคุณค่าในตนเอง
ทฤษฎีปัญญาพฤติกรรมนิยม
มนุษย์เรามีความคิดอัตโนมัติ (automatic thought) ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อที่เป็นแก่นของระบบคิดที
เรียกว่า ความเชื่อพื้นฐาน( core beliefs)ดงัน้นั เหตุการณ์เดียวกันการตีความก็อาจไม่เหมือนกนั อยู่ที่แก่นของความเชื่อของคนๆ นั้นว่าเป็นคนมองโลกอย่างไร