Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกาย ช่องท้อง :pencil2: - Coggle Diagram
การตรวจร่างกาย ช่องท้อง
:pencil2:
การเคาะ (Percussion)
:explode:
การเคาะท้อง
ตรวจสารน้ำในช่องท้อง
ตรวจการกระเพื่อมของน้ำในช่องท้อง (Fluid thrill) ผู้ถูกตรวจนอนหงาย ผู้ตรวจวางมือซ้ายขนานกับหน้าท้องด้านขวาของผู้ถูกตรวจ แล้วใช้มือขวาของผู้ตรวจเคาะเบา ๆ ที่ท้องด้านซ้าย ถ้ามีน้ำในช่องท้อง ผู้ตรวจจะรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนที่ฝ่ามือซ้าย
ตรวจการเปลี่ยนที่ของเสียงเคาะทึบ (Shifting Dullness) ผู้ถูกตรวจนอนหงาย เริ่มเคาะจากสะดือไปด้านข้างทั้งซ้ายและขวา จนถึงแนวเส้นกลางรักแร้ ในคนปกติจะเคาะได้เสียงโปร่ง
ถ้ามีน้ำในช่องท้องอย่างน้อย 0.5-1 จะได้เสียงทึบ จากนั้นให้ผู้ถูกตรวจพลิกตัว บริเวณที่มีสารน้ำจะเปลี่ยนที่มาอยู่ข้างล่าง ดังนั้นบริเวณเอวข้างบนที่เคยเคาะทึบจะเปลี่ยนเป็นโปร่ง เพราะน้ำมาอยู่ข้างล่าง
การเคาะม้าม
การเคาะหาตำแหน่งของม้าม ปกติม้ามจะคลำไม่ได้ ให้เคาะตำแหน่งต่ำสุดของ costal interspace ซี่ 8,9 ใน left anterior axillary line ปกติจะได้เสียง Tympany ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า เคาะอีกครั้ง ถ้าม้ามโตได้เสียง Dullness ปกติเคาะได้ที่ช่องซี่โครง 6-11 mid axillary line
การเคาะตับ
กรณีเคาะตับ ปกติบริเวณทั่วท้อง จะได้เสียง Tympany บริเวณก้อนหรืออวัยวะ เช่น ตับ จะได้ยินเสียง Dullnes
วิธีการเคาะ ใช้มือขวาเคาะลงข้อนิ้วมือซ้าย การเคาะช่องท้องเคาะตามส่วนท้องที่แบ่ง ทั้ง 4 ส่วน โดยเคาะส่วนที่ไม่เจ็บก่อนมาส่วนที่เจ็บ
การคลำ
:+1::skin-tone-2:
การคลำลึกๆ หรือการคลำโดยใช้สองมือ (Deep หรือ Bimanual palpation) การคลำสองมือใช้มือด้านหนึ่งวางบนมือด้านหนึ่ง มือด้านบนสำหรับกด มือด้านร่างสำหรับรับความรู้สึก
การคลำขาหนีบ
ตรวจต่อมน้ำเหลือง ชีพจร ก้อนและลักษณะผิวหนัง ปกติคลำชีพจรขาหนีบได้ ไม่พบต่อมน้ำเหลืองหรือก้อนนูน
การคลำตับ
คลำหาขอบตับใช้มือซ้ายรอบรับทางด้านหลัง ของผู้ป่วย(Rib 11-12) มือขวาวางราบบนผนังหน้าท้อง ให้ปลายนิ้วชี้ทั้งหมดขนานไปกับขอบชายโครงขวา ให้นิ้วชี้ นิ้วกลาง วางอยู่ทางด้านนอกของกล้ามเนื้อ rectus abdominis เริ่มคลำจากด้านขวาล่างใกล้ the anterior iliac spine แล้วค่อยๆ เคลื่อนขึ้นข้างบนเข้าหาชายโครงขวา (lower costal margin) จนนิ้วคลำพบตับขณะหายใจ เข้า ลึกๆ เนื่องจากการเคลื่อนไหวของกระบังลมช่วยดันตับลงมา
การคลำไต
ปกติคลำได้ขอบล่างของไตขวาระหว่างมือทั้งสองระหว่างหายใจเข้า ขอบเรียบแข็งและไม่เจ็บ ไตซ้ายคลำไม่ได้
การคลำม้าม
ใช้มือซ้ายดันจากด้านหลังของผู้ป่วยระดับชายโครงซ้าย มือขวาวางบนหน้าท้องให้นิ้วตั้งได้ฉากกับชายโครงด้านซ้าย ตั้งต้นคลำที่หน้าท้องด้านซ้ายล่างตั้งแต่ขาหนีบ เพื่อป้องกันการผิดพลาดในรายที่ม้ามโตมาก แล้วค่อยๆ เลื่อนขึ้นข้างบนและเข้าข้างในจนปลายนิ้วเจอขอบม้ามซึ่งยื่นออกจากใต้ชายโครงซ้ายขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้าหรือจากขาหนีบเข้าหา mid axillary line หรือนิ้วไปติดขอบชายโครงถ้าคลำไม่ได้ หรือไม่แน่ใจให้ผู้ป่วยนอนตะแคงขวา ถ้าให้งอเข่าซ้าย และสะโพกเล็กน้อยอาจจะช่วยให้ตรวจง่ายขึ้น ปกติ ม้ามอาจคลำไม่ได้ (not palpable) ถ้าโต 2-3 เท่าจะคลำได้ ร่อง (noth ) ขอบม้ามปกติ ผิวเรียบ (Smooth) และขอบมน (Blunt )
การคลำเบาๆ หรือตื้นๆ (Light หรือ Superficial palpation) ใช้อุ้งนิ้วซึ่งวางชิดกัน กดค่อยๆบริเวณต่างๆ ของหน้าท้อง เพื่อกดหา
Tenderness : กดเจ็บเฉพาะที่หรือทั่วไป กดเจ็บทั่วไปในช่องท้องเรียกว่า Generalized tenderness
Rigidity : แข็งเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องเมื่อถูกกด แสดงว่ามีการอักเสบที่ Parietal peritoneum (แข็งเกร็งเหมือนไม้กระดาน board-like-rigidity พบใน PU perforate
Rebound tenderness : รู้สึกเจ็บเมื่อผู้ตรวจเอามือกดลึก ๆ และปล่อยโดยเร็ว แสดงว่ามีการอักเสบของ Parietal peritoneumบริเวณนั้นเช่น Appendicitis, Peritonitis
Guarding หรือ Spasm : แข็งเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
Murphy’s sign : ตรวจในรายที่สงสัยว่ามีถุงน้ำดีอักเสบ