ภาวะหัวใจล้มเหลว
(Congestive Heart Failure : CHF).

อาการ

Cardiomegaly

Tachycardia เพื่อชดเชยเพิ่มปริมาณเลือดให้ร่างกาย

Tachypnea/dyspnea >> Crepitation ปีกจมูกบานเหงื่อออกมาก เพิ่มการเผาผลาญ/การทำงานประสาทอัตโนมัติ

ปัสสาวะน้อย (<1cc/kg/hr)>> น้ำ+Na คั่ง>> บวม ในบริเวณที่เป็นระยางส่วนล่างของร่างกาย (dependent part) เช่น เท้า ขา เป็นลักษณะบวมกดบุ๋ม

Failure To Thrive

การพยาบาล

ให้ออกซิเจน นอนศีรษะสูง พักผ่อน

ดูแลให้ Lanoxin: Heart contrac>> monitor HR

Captopril: ขยายหลอดเลือด >> monitor BP

ขับปัสสาวะ เช่น Lasix(ขับK) Aldactone(เก็บK) >> I/O(>1cc/kg/hr)

low salt diet

สาเหตุ

ที่ทำให้เกิดพยาธิสภาพกล้ามเนื้อหัวใจ

CC

Cardiomyopathies

Myocarditis

ลิ้นหัวใจ

valvular stenosis

valvular regurgitation

จังหวะการเต้นของหัวใจ

อื่นๆ

Hypertension

Pulmonary Hypertension

Shunt เช่น ASD , VSD

ชนิดของหัวใจล้มเหลว

High outout syndrome มีปริมาณเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในระบบปกติ หรือมากกว่าปกติ แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่มากขึ้น

Low output ปริมาณเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ

หัวใจห้องขวาล้มเหลว(Right-sided heart) ทำหน้าทีรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบฉีดไปยังปอดเพื่อฟอกเลือด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวเกิดอาการบวมของเท้า

หัวใจห้องซ้ายล้มเหลว (Left-sided heart failure) ทำหน้ารับเลือดที่ฟอกจากปอดและสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกายหัวใจห้องนี้แข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่นๆ หากหัวใจห้องนี้ล้มเหลว ร่างกายไม่สามารถสูบฉีดเลือด ทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียากว่า ปอดบวมน้ำ

systolic dyrfuntion :หัวใจห้องล่างไม่สามารถบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆได้เพียงพอ

Diastolic dyrfuntion :หัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถคลายตัวได้เต็มที่ทำให้เลือดที่เข้าสู้หัวใจห้องล่างซ้ายมีจำนวนน้อยส่งผลให้ cardiac output

พยาธิสภาพ

หัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจหัองล่างซ้ายบีบตัวลดลงส่วนใหญ่เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอในระยะแรกหัวใจจะปรับตัวโดยระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำงานเพิ่มขึ้น โดยช่วยกระตุ้นให้ระบบเรนิน-แองลิโอเทนซินทำหน้าที่เพิ่มขึ้นและหัวใจมีขนาดเพิ่มขึ้นหากยังคงมีพยาธิสภาพของโรคดำเนินต่อไปจะทำให้กลไกการปรับตัวชดเชยล้มเหลว ทำให้เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติทั้งในระบบหัวใจและหลอดเลือด สมอง กล้ามเนื้อ และระบบปัสสาวะ เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง จะทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลงจะส่งผลให้เลือดเหลือค้างในหัวใจห้องล้างซ้ายมากขึ้นความดันเลือดในหัวใจห้องล่างซ้ายจึงสู้งขึ้น ดังนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจึงบีบเลือดส่งมายังหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง ปริมาตรเลือดและความดันเลือดในหัวใจห้องบนซ้ายจึงสูงขึ้นเรื่อยๆเลือดจากปอดที่ฟอกแล้วก็จะไหลเข้าสู้หัวใจห้องบนซ้ายน้อยลงเป็นผลให้ความดันเลือดในหลอดเลือดฃอยที่ปอดสูงขึ้นเมื่อแรงดันของๆเหลวในหลอดเลือดฃอยที่ปอดสูงขึ้นทำให้ของเหลวจากหลอดเลือดฃอยที่ปอดเข้าสู้ถุงลม ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด หอบเหนื่อย ไอ และ เขียว

หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว มีอาการหัวใจเต้นเร็วการเต้นของชีพจรเบาบ้างแรงบ้างสลับกัน (Pulsus alternans) ผิวหนังเย็นและชื่นเนื่องจากหลอดเลือดหดตัวความดัน ซิกโตลิกลดลงแต่ความดันไดเเอสโตลิกสูงขึ้น ฟังหัวใจได้เย็นเสียงงคล้ายม้าควบ (Gallop rhythm) จะได้ยินงชัดเจนบริเวณลิ้นไมตรัลเสียงนี้เกิดจากมีแรงต้านขนะเลือดถูกส่งเข้าสู่หัวใจห้องล่าง ผู้ป่วยจะมีอาการทางสมอง เช่น กระสับกระส่าย สับสน ความจำเสื่อม วิตกกังวล นอนไม่หลับ งุนงงเป็นลมหมดสติ เป็นต้น มีอาการเหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่สา่มารถทำกิจกรรมต่างๆได้ปกติมีปัสสาวะออกน้อย มีอาการบวมตับโต ม้ามโต ลำไส้บวม มีอาการแน่นจุกเสียดบริเวณใต้ชายโครงหรือลิ้นปี เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องนานหลอดเลือดดำที่คอโป่งพองปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน

ตับโต(hepatic congestion) เลือดคั่งในตับ >> หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง(jugular vein distention)

อาการเหนื่อย (dyspnea)

หายใจไมาสะดวกขณะนอนหลับและต้องตื่นขึ้นเนื่องจากอกการหายใจไม่สะดวก (paroxysmal nocturnal dyspnea, PND)

อาการเหนื่อยขณะที่ออกแรง (dyspnea on exertion)

อาการเหนื่อย หายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ (orthopnea)

อ่อนเพลีย (fatigue)

การรักษา

การแก้ไขความผิดปกติทาง metabolic เช่น BS ต่ำ , Ca ต่ำ , Mg ต่ำ ,ภาวะเลือดเป็นกรด , ซีด เป็นต้น

การผ่าตัด และการสวนหัวใจ

การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ (heart transplantation)

การผ่าตัดเพื่อรักษาหัวใจล้มเหลวอื่นๆ

จำกัดน้ำและเกลือ

ลด physical activity และเพิ่มออกซิเจนเเก่เนื้อเยื่อร่างกาย

รักษา/ป้องกันการติดเชื้อ

ให้นยานอนหลับ (chloral hydrate) ในรายที่กระวนกระวาย

ท่านอน semi-fowle เพื่อลดปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ

ให้ออกซิเจน

ควบคุมอุณหภูมิให้ปกติ

ยาควบคุมหัวใจวาย

ยากลุ่ม renin-angiotensin-aldosterone system (RAAS) blockers

MRA

Spironolactone

ACE-I

Captopril ,EnalaprilRamipril, Lisinopril ,Trandolapril

ARB

Candesartan, Valsartan, Losartan

ยาขับปัสสาวะ

Furosemide , Hydrochlorothiazide , Aldactone, Diamox

ยากลุ่ม beta-blocker

Bisoprolol,Carvedilol, Metoprolol succinate , Nebivolol

ยากลุ่ม cardiac glycoside

Digitalis

ยาเพิ่มแรงบีบตัวหัวใจอื่น ๆ

aspirin clopidogrel