Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8
พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย, เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์…
-
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2543 : 32-35) ได้อธิบายแนวคิดของ อัลวิน ทอฟเลอร์ (AlvinToffler) ที่ได้ทำการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ซึ่งมีการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของอารยธรรมโลกเหมือนกับ คลื่นลูกที่สาม (The Third Wave) ดังนี้
คลื่นลูกที่ 1 สังคมเกษตรกรรม เริ่มต้นประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นผลมาจากการปฏิวัติเกษตร โดยมีเครื่องชี้วัดความยิ่งใหญ่หรือความเจริญก้าวหน้าของสังคม คือการมีอาณาเขตใหญ่โตที่กว้างขวาง มีพื้นที่สำหรับเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์และทาการเกษตรจานวนมาก
คลื่นลูกที่ 2 สังคมอุตสาหกรรม เริ่มเมื่อประมาณ ค.ศ.1650-1750 เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการใช้เครื่องจักรกล มีโรงงานขนาดใหญ่ผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อมวลชน ใช้เวลาประมาณ 300 ปีในการก่อตัว โดยมีเครื่องชี้วัดความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งของประเทศ คือความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ จำนวนแหล่งแร่ธาตุ วัตถุดิบที่มีอยู่และในสมัยต่อมาเครื่องชี้วัดคือ “ทุน” จำนวนมาก
คลื่นลูกที่ 3 สังคมแห่งเทคโนโลยี เริ่มต้นราว ค.ศ.1955 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จัดว่าเป็นยุคแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการต่อยอดทางความรู้อย่างสูง มีการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ เครือข่ายการสื่อสารและการคมนาคม ทำให้ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งสินค้าผู้คนและ การบริการ มีการเชื่อมโยงและส่งอิทธิพลต่อกันและกัน โดยมีเครื่องชี้วัดความยิ่งใหญ่และความมั่งคั่งของประเทศ
การเปลี่ยนแปลงของภาษานอกจากจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป (gradual) แล้วยังมีลักษณะสม่ำเสมอ (Consistent) จากประเภท (Type) หนึ่งไปสู่อีกประเภทหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ภาษาอาจไม่รู้ตัว (Unconscious) การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มจากการแปรภาษาในระดับบุคคลก่อน จนกระทั่งสัดส่วนการเปลี่ยนแปลงของภาษามีมากขึ้นเรื่อยๆ