Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 3 ปี Bronchitis, นส นิภาภัทร์ เดชพิทักษ์…
ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 3 ปี
Bronchitis
สาเหตุ
โรคภูมิแพ้ การมีปฏิกิริยาไวเกินของเยื่อบุหลอดลม ทำให้หลอดลมบวมและหดเกร็งเรื้อรัง
การระคายเคืองของสารเคมี เช่นควันบุหรี่ สารเคมีต่างๆ และฝุ่นละออง
การติดเชื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อที่พบบ่อย เช่น RSV parainfluenza virus, adenovirus เป็นต้น เชื้อแบคทีเรีย เช่น staphylococcus pneumoniae, HIB เป็นต้น
การรักษา
1.การรักษาตามอาการ ควรให้สารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการ แนะนำผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่นมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ ในกรณีที่เสมหะเหนียวมาก ไอออกได้ยาก ให้ทำการทำกายภาพบำบัดทรวงอก หากมีเสมหะไปอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น จนทำให้ปอดแฟบ ควรทำ bronchoscopic suction ร่วมกับการการทำกายภาพทรวงอก
2.ยาขยายหลอดลม อาจทดลองให้แบบพ่นละอองฝอยในรายที่มีหลอดลมหดเกร็ง มีเสียง wheeze ถ้าตอบสนองได้ดี ควรให้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นหรือกินต่อ
ยาละลายเสมหะจะทำให้เสมหะละลาย และถูกขับออกทางหลอดลมได้สะดวก
หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ไอและยากลุ่ม antihistamine เพราะจะทำให้เสมหะคั่งค้างมากขึ้น อุดกั้นทางเดินหายใจ อาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ ควรให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาวเพื่อทำให้คอชุ่มชื้นและบรรเทาอาการไอ
ยาปฏิชีวนะ ให้เฉพาะรายที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 มีโอกาสการหายใจขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากหลอดลมมีการอักเสบ
การพยาบาล
บันทึกสัญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และสังเกตลักษณะการหายใจว่าใช้กล้ามเนื้อในการหายใจหรือไม่
หลีกเลี่ยงการให้ยาแก้ไอและยากลุ่ม antihistamine เพราะจะทำให้เสมหะคั่งค้างมากขึ้น อุดกั้นทางเดินหายใจ อาจติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ ควรให้ดื่มน้ำผึ้งผสมมะนาวเพื่อทำให้คอชุ่มชื้นและบรรเทาอาการไอ
ดูแลให้รับยา Ventrolin 2.5 ml + NSS up to 4 ml NB q 4 hr with suction และ ยาละลายเสมหะ bromhexine syrup 3.5 ml oral tid pc โดยการพ่นยา และให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อช่วยให้หลอดลมขยายและทำให้เสมหะอ่อนตัว ขับออกง่าย
ทำการ suction หลังจากการพ่นยาเสร็จตามแผนการรักษาของแพทย์
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น
จัดให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ จัดกิจกรรมพยาบาลให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 ไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการไอ
สังเกตอาการไอ ลักษณะสี และปริมาณเสมหะ
กระตุ้นและแนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะน้ำอุ่น เพื่อให้คอชุ่มชื้นลดการระคายเคืองในลำคอและช่วยให้เสมหะอ่อนตัวขับออกได้ง่ายขึ้น
หลี่กเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอมาขึ้น เช่น อาหารทอด อาหารเผ็ด ควัน ฝุ่นละออง
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
สอนวิธีการไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough) โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆ กลั้นไว้สักครู่ และไอออกมาโดยเร็ว
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 ท้องผูกเนื่องจากได้รับน้ไม่เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย
ประเมินอาการไม่ถ่ายอุจจาระ
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
กระตุ้นให้รับประทานผักและผลไม้มากๆโดยสร้างความตระหนักถึงโทษของการเกิดท้องผูกบ่อยๆ อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
แนะนำให้ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวมากขึ้น
สังเกตความถี่ ปริมาณและ ลักษณะอุจจาระที่ขับถ่ายออกมา
อาการ
ไอเป็นอาการสำคัญที่สุดของโรคนี้ แรกเริ่มจะมีอาการคล้ายหวัดนำมาก่อน
ไข้อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
มีไข้ตอนมารพ 37.9 C
ไอแห้งๆ และจะไอมากขึ้นมีเสมหะสีขาวหรือเหนียวใสจากนั้น2-3วันจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองขุ่น
มีอาการเจ็บหน้าอก เพราะไอมาก
พยาธิ
เมื่อเกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุหลอดลมหรือแขนงหลอดลม ทำให้ความสามารถในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจลดลง cilia ถูกทำลายความสามารถในการพัดโบกลดลง เยื่อบุที่มีการอักเสบจะสร้างสารคัดหลั่ง หรอมูกเพิ่มมากขึ้น เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างมูกมีขนาดใหญ่ขและจำนวนเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการหลุดลอกของเยื่อบุแขนงหลอดลม เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจชั่วคราวได้
ภาวะแทรกซ้อน
หากมีการติดเชื้อลุกลามไปยังหลอดลมฝอยและมีอาการเรื้อรัง อาจเกิดภาวะหลอดลมหรือหลอดลมฝอยโป่งพองได้
นส นิภาภัทร์ เดชพิทักษ์