Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย, นายณัครินทร์ ปิงแก้ว …
บทที่ 8
พลวัตรของภาษาและวัฒนธรรมในสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
ปัญหาการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
เช่น การพยายามสำรวจก๊าซธรรมชาติและสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติผ่านบางพื้นที่ อาจจะนำไปสู่การต่อต้านของคนบางกลุ่มหรือกลายเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน
ปัญหาค่าใช้จ่ายที่ต้องมีในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
การดำเนินการให้เกิดการพัฒนานั้น จำเป็นต้องมีการลงทุนหรือต้องการใช้จ่ายทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรเงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา แรงงาน ทุน เป็นต้น
ปัญหาอันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง
เช่น การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการโยกย้ายถิ่นฐานของคนชนบทเข้ามาหางานทาในเมือง ก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด ความไม่เพียงพอในการให้บริการสังคม การกำเนิดของลัทธิวัตถุนิยมและปัญหามลภาวะ เป็นต้น
ปัญหาความไม่สมดุลของการเปลี่ยนแปลง
เช่น การพัฒนาวัตถุโดยไม่ใช้ความพยายามพัฒนาด้านจิตใจ ย่อมนำมาซึ่งสถานการณ์ความรุนแรง การเอารัดเอาเปรียบ ความเห็นแก่ตัวและการกอบโกยของคนบางกลุ่มในสังคม เป็นต้น
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological)
หมายถึง องค์ประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวกำหนดสมาชิกตัวประกอบ การเลือก
ปัจจัยทางประชากร (Population)
การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรและองค์ประกอบของประชากรนับว่ามีผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลง
ปัจจัยทางกายภาพ (Physical)
เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์และด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ปัจจัยทางวัฒนธรรม (Cultural)
จากการที่บุคคลติดต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อมส่งผลให้การขยายตัวของวัฒนธรรม การเลียนแบบและการหยิบยืมวัฒนธรรม
ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (Technological)
การนำเอาเทคโนโลยีหรือการประดิษฐ์สิ่งใหม่มาใช้จะเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในสถาบันและประเพณีบางอย่าง
ปัจจัยด้านขบวนการสังคม (Social Movement)
จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ เนื่องจากเป็นการกระทำร่วมกันของกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์ตรงกัน
ปัจจัยทางจิตวิทยา (Psychological)
นักจิตวิทยาส่วนมากถือว่าปัจจัยนี้มีความสำคัญอย่างมากที่ทาให้สังคมเปลี่ยนแปลง
แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงเป็นอยู่ตลอดเวลา
การเปลี่ยนแปลงเป็นการต่อเนื่อง เช่น สังคมมีการเปลี่ยนแปลงผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จากอดีตจนถึง ยุคปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ นักการศาสนามักจะอธิบายการเปลี่ยนแปลงของชีวิตของมนุษย์ว่า คนเรามีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องของธรรมชาติ
การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเดียวกัน สังคมที่กาลังมีการเปลี่ยนแปลงทุกสังคมในโลกจะมีการเปลี่ยนแปลงเหมือน ๆ กัน
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำป็น เพื่อให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความเท่าเทียมกันในสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางภาษา
การเปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งของภาษานั้นไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อใครคนใดคนหนึ่งคิดว่าจะเปลี่ยนแล้วมีผลในทันที การเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องใช้เวลา
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของภาษา
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาที่ต่างกัน
การเปลี่ยนแปลงของภาษาเดียวกันในช่วงเวลาเดียวกัน
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่นเดียวกับภาษาที่ยังคงใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน การเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นลักษณะทางธรรมชาติของผู้ใช้ภาษา เพราะภาษาที่มีผู้ใช้เพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันมีลักษณะสำคัญ คือมีความแตกต่าง (Variation) ในภาษา และความแตกต่างในภาษาดังกล่าวอาจเป็นพื้นฐานที่ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
ผลกระทบจากการใช้ภาษาวิบัติ
การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมมีผลสะท้อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลและภาษาที่นำมาใช้สื่อสารแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมภาษาของแต่ละท้องถิ่น
ความอยู่รอดของภาษาไทยในยุคดิจิตอล
ปลุกจิตสำนึกในการหวงแหนภาษาไทยและรู้กาลเทศะการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญ
เปลี่ยนแปลงตัวเอง
ปลูกฝังวัฒนธรรมรักการอ่าน
พลวัตรการเปลี่ยนแปลงของภาษาและวัฒนธรรมไทย
การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยมักถือความถูกต้องเป็นหลัก และมุ่งหวังให้ทุกคนใช้ภาษาไทยที่งดงาม สละสลวยตามแบบแผนที่บรรพบุรุษได้วางไว้เป็นตัวอย่าง แต่ผู้ที่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงมองไปในแง่การสร้างสรรค์ การเจริญเติบโตของภาษาและยังเห็นด้วยว่า ในสังคมไทยควรยอมรับความหลากหลายในการใช้ภาษา วิธภาษาบางประเภทของไทย อาจธำรงอยู่ได้โดยปราศจากการเปลี่ยนแปลง เช่น วิธภาษาที่เป็นวัจนลีลาตายตัว เช่น ราชาศัพท์ ภาษามาตรฐาน ภาษากฎหมาย แต่วิธภาษาบางประเภทปรับตัวอย่างรวดเร็วไปตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงเปลี่ยนไปจากวิธภาษาแบบวัจนลีลาตายตัว
ดังนั้นส่วนสำคัญในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภาษาในบทนี้ คือ การพิจารณาความถูกผิดในภาษานั้น ควรกระทำโดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้ใช้และปริบท จึงจะเป็นการยุติธรรมแก่ผู้ใช้ภาษาไทยทุกคน
นายณัครินทร์ ปิงแก้ว รหัสนิสิต 60204035 วิทยาลัยการศึกษา สาขาชีววิทยา