Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพและการพยาบาลมารดาหลังคลอด, แอออ , แดดด , นศพต.พรชิตา…
การประเมินภาวะสุขภาพและการพยาบาลมารดาหลังคลอด
พยาธิสภาพหญิงหลังคลอด
ระบบต่อมไร้ท่อ
Estrogen,Progesterone,HCG,HPL จะลดลง
Prolactin ในกระแสเลือด ปกติถ้าดูดนมมารดา 1-3 ครั้ง/วัน และสูงนานกว่า 1ปี ถ้าดูดนมสม่ำเสมอ > 6 ครั้ง/วัน แต่หากไม่ดูดเลยจะลดต่ำลงใน 2 wks.
FHS และ LH จาก Pituitary gland จะหลั่งเมื่อ 6-7 wks.หลังคลอด ทำให้มีประจำเดือน
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้องจะลดลง เกิด Diastasis rectus abdoninis (กล้ามเนื้อหน้าท้องแยกจากกัน) หากออกกำลังกายสม่ำเสมอจะกลับมาปกติ 6 wks.
13 B
Backgroud
อาการสำคัญ
มา ANC ตามนัด ผล urine protein 3+ มีความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 1:146/94 mmHg ครั้งที่ 2 :148/99 mmHg
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
pt.มาฝากครรภ์ตามนัด มีความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 1:146/94 mmHg ครั้งที่ 2 :148/99 mmHg มีอาการปวดศีรษะเล็กน้อย ไม่มีตาพร่ามัว/อาเจียน/อาการจุกแน่นลิ้นปี่ ไม่มีอาการปวดท้อง ไม่มีน้ำเดิน ไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด no contraction FHS ข้างขวา regular ลูกดิ้นดี > 10 ครั้ง/วัน z
ผล lab (14/10/63) Protein 24 hr. Urine = 864 mg/24 Hrs
-(18/10/63) Albumin 4+
ผู้ป่วยหญิงพม่า เตียง 18 ตึก มรภ.15/2 อายุ 23 ปี วันที่รับไว้ในโรงพยาบาล : 14 ตุลาคม 2563
Dx. GA 36 wks. 4 day. by date with mild preclampsia
คลอด Cesarean section (C/S) ทารกเพศชาย ท่า OR
คลอดเวลา 08.56 น. Apgar score 9,10,10
ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน
G2P0A1 Pregnancy 37 wks. 2 day by date with mild preeclampsia - LMP (Last menstruation period) 1 กุมภาพันธ์ 2563 - EDC (Expected date confinement) by date 7 พฤศจิกายน 2563 - ฝากครรภ์ครั้งแรก 13 wks. 5 day. มาฝากครรภ์ทั้งหมด 8 ครั้ง ได้ dT 2 เข็ม - ปี 2560 Pregnancy 4 wks. Spontaneous Abortion no D&C (ไม่ได้ขูดมดลูก)
ประวัติการเจ็บป่วย : ปฏิเสธการเจ็บป่วย ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว : ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
ประวัติการแพ้ยา/อาหาร: ปฏิเสธการแพ้ยา/อาหาร
2.Body condition : ภาวะทั่วไป
มารดาปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เอง
มารดาไม่อ่อนเพลีย
มารดาไม่มีภาวะซีดและชัก
Body temperature & Blood pressure
Blood pressure
Day 0 137/93 mmHg
Day 1 146/92 mmHg
Day 2 136/95 mmHg
หลังทารกคลอดปริมาณเลือดจะลดลง ทำให้ชีพจรช้าลงแต่จะกลับเข้าสู่ปกติ ช่วง 2 wks.หลังคลอด
เกิด Orthostatic Hypotension (ค.ดันเลือดต่ำขณะเปลี่ยนท่า)
Body temp
Day 0 36.2 องศาเซลเซียส
Day 1 37.4 องศาเซลเซียส
In 24 hr. : Reactinary fever < 38.0 องศาเซลเซียส
3-4 วันหลังคลอด จะเกิด Milk fever
Breast & lactation
Day 2 หัวนมปกติ น้ำนมเริ่มไหล สีเหลือง
Day 3 หัวนมปกติ น้ำนมสีเหลือง Latch score = 8
ระยะของน้ำนม 3 ระยะ
ระยะที่ 1 Colostrum 1-3 วันแรก สีเหลืองเป็นน้ำนมที่ดีที่สุด มีสารภูมิคุ้มกันสูง
ระยะที่ 2 Transitional Milk 4 -14 วันหลังคลอด น้ำนมช่วงเปลี่ยนผ่าน คือ ระยะการเปลี่ยนจากหัวน้ำนมแม่เป็นน้ำนมแม่
ระยะที่ 3 Mature milk สัปดาห์ที่ 2 หลังคลอดขึ้นไป ประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต
เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์เพื่อเตรียมต่อมน้ำนมให้พร้อมในการผลิตน้ำนมสำหรับทารกหลังคลอด เป็นผลจากestrogen และ progesterone โดยที่ estrogen ทำให้หัวนม ลานนม ขยายใหญ่และมีสีเข้มขึ้นต่อมไขมันบริเวณลานนม ท่อน้ำนม จะเจริญเต็มที่ Progesterone มีผลทำให้ alveoli และเซลล์ผลิตน้ำนม ที่บุภายในถุงผลิตน้ำนม เจริญเต็มที่ เพื่อเตรียมสร้างน้ำนมต่อและจะไปรวมที่ ampulla เก็บน้ำนมไว้ชั่วคราวซึ่งจะอยู่ตรงกับบริเวณลานนม
Day 1 หัวนมปกติ น้ำนมยังไม่ไหล
หลังคลอด estrogen และ progesterone จะลดลงทำให้มีการหลั่ง prolactin จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า โดยร่วมกับ cortisol และ insulin ซึ่งจะไปกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนม ส่วนการที่ทารกดูดนมมารดาจะกระตุ้น ปลายประสาทหัวนมและลานนมโดยส่งสัญญาณไปตามไยประสาทส่วนไขสันหลังไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าทำให้มีการหลั่งProlactin เข้าสู่กระแสเลือดและกระตุ้นเซลล์ผลิตน้ำนมให้มีการสร้างน้ำนมซึ่ง ขณะเดียวกันกับที่ทารกดูด นมมารดายังมีผลไปกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland) ให้มีการหลั่ง Oxytocin ซึ่งมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อรอบ ๆ ถุงผลิตน้ำนมและท่อน้ำนมให้มีการบีบรัดตัวขับน้ำนมออกมา เรียกกลไกนี้ว่า let-down reflex หรือ mill ejection reflex
5.Belly & Fundus
Belly : หน้าท้อง
พบ linea nigra
จะหายไป 6 wks.หลังคลอด
พบ striae gravidarum
เปลี่ยนเป็นสีเงินและคงอยู่ตลอด
2-3 วันหลังคลอดผิวหนังจะกำจัดน้ำออกทางเหงื่อ รอยดำที่ขาหนีบ รักแร้ ฝ้าที่หน้า ลานนม หัวนม หายใน 6 wks.
Fundus : มดลูก
มดลูกหดรัดตัวดี
หลังคลอดทันที มดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือ 1 hr. เหนือสะดือ เอียงไปทางขวา: ทางซ้ายมี colon ลดลง ประมาณ 0.5-1 นิ้ว/วัน มดลูกเข้าอู่ (Involution) 2 wks. หลังคลอด จะคลำทางหน้าท้องไม่ได้ 6 wks. มดลูกนน. 50 g. เท่ากับก่อนตั้งครรภ์
Bladder
มารดาปัสสาวะได้ปกติ ปัสสาวะสีเหลืองใส
Bleeding & lochia
น้ำคาวปลามีสีชมพู ไม่มีกลิ่นเหม็น
1-3 วันแรก Lochia lubra สีแดงสด
4-9 วัน Lochia serosa สีชมพูจาง
10 วันขึ้นไป Lochia alba เป็นมูก ใส
Foul lochia มีกลิ่นเหม็น
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดแล้วจะเกิดรอยแผลที่บริเวณรกลอกตัวมีขนาดประมาณ 8 X 9 เซนติเมตรการหายของแผลเกิดจากเยื่อบุมดลูก เจริญขึ้นมาแทนที่ Decidua
basalis ซึ่งยังคงอยู่ในมดลูกหลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กแยกออกไปแล้วในระยะ 2 – 3 วันหลังคลอด
Decidua ที่เหลืออยู่ในโพรงมดลูกจะแบ่งตัวเป็น 2 ชั้นคือชั้นผิวใน จะหลุดออกมาเป็น
ส่วนของน้ำคาวปลา
เยื่อบุบริเวณรกเกาะใช้เวลาหาย 6 wks. ส่วนที่ไม่มีรกเกาะ 3 wks.
Botton
มารดาไม่มีแผลฝีเย็บและริดสีดวงทวาร
Bowel movement
มารดายังไม่ได้ขับถ่าย
ปกติหลังคลอดมารดามักรู้สึกตัวและกระหายน้ำในระยะ 2 – 3 วันแรก มักมีความอยากอาหารและดื่มน้ำมาก เพราะสูญเสียน้ำระหว่างคลอดและหลังคลอด ระยะแรกหลังคลอดมารดามีแนวโน้มที่จะท้องผูกจากการที่สูญเสียแรงดันภายในช่องท้องทันทีกล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัวประกอบกับมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้า ตั้งแต่ ในระยะตั้งครรภ์และได้รับการสวนอุจจาระ นอกจากนี้มารดาอาจไม่กล้าเบ่งเพราะ กลัวแผลแยกหรือกลัวเจ็บแผลทำให้เกิดอาการท้องผูกภายหลังคลอดได้และลำไส้จะทำงานได้ดี ประมาณปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด
Blues : สภาพจิตใจ
Taking-In 1-2 วันหลังคลอด มารดานอนพักผ่อนบนเตียง ยังไม่สนใจบุตร
Taking-hold 3-10 วันหลังคลอด มารดาเริ่มปรับตัวกับบทบาท สนใจที่จะให้นมลูก อุ้มลูกเวลาร้องไห้
letting-go ระยะ 2 สัปดาห์หลังคลอด มีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่การเป็นมารดา สามารถที่จะดูแลตนเองและบุตรได้มากขึ้น
อารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue) เกิดช่วง 2-3 วันหลังคลอด หายเอง 2-3 wks.
Baby
ทารกเพศชาย น้ำหนักแรกเกิด 2630 กรัม Apgar score 9,10,10 ความยาว 48 ซม.
Bonding & Attachment
มารดามีปฏิสัมพันธ์ดีกับบุตร อุ้มและกล่อมบุตรขณะร้อง
ให้นมบุตรทุก 2-3 ชั่วโมง
Belief model
มารดาเลี้ยงนมบุตรด้วยตนเอง ไม่มีความเชื่อเรื่องการอยู่ไฟ
คำแนะนำก่อนกลับบ้าน
แนะนำเรื่องการดูแลตนเอง
ดูแลรักษาเต้านมและหัวนม ควรล้างให้สะอาดขณะอาบน้ำ และเช็ดทุกครั้งหลังให้นมเพราะอาจมีคราบน้ำนมแห้งติดทำให้หัวนมแตกเป็นแผลได้ ควรสวมเสื้อยกทรงพยุงเต้านมไว้ เนื่องจากเต้านมจะมีขนาดโตขึ้นอาจทำให้เต้านมหย่อนได้ภายหลัง
ห้ามรับประทานยาดองเหล้า ยาขับเลือด และยาสตรีต่างๆเพราะจะทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอดที่ผิดปกติได้
1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรเป็นอาหารประเภทโปรตีนสูง เนื้อ นม ไข่ ผักสดและผลไม้ต่างๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารที่รสจัด ของหมักดอง ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอออล์ทุกชนิด ทานอาหารที่ส่งเสริมการไหลของน้ำนม เช่น หัวปลี ตำลึง ขิง
4.ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชม. จะทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่เครียด
ควรเช็ดตัวแทนการอาบน้ำ ช่วง 7-10 วันหลังคลอด หลีกเลี่ยงอย่าให้แผลผ่าตัดที่หน้าท้องโดนน้ำ จนกว่าจะตัดไหม
งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 wks.หลังคลอดจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดว่าไม่มีภาวะผิดปกติ
ไม่ควรยกของหนัก เดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ในระยะหลัง
คลอด 6 สัปดาห์แรก สามารถทำงานบ้านที่เบาๆได้ เช่น ปรุงอาหาร ล้างจาน รวมถึงการให้นมบุตร
การบริหารร่างกายหลังคลอด จะช่วยให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ และมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น และควรเริ่มทำหลังคลอดไปแล้วประมาณ 4-6 wks.
ให้มารดามาตรวจตามนัดเพื่อตรวจหลังคลอด ดูอวัยวะภายในว่ากลับเข้าสู่ปกติหรือไม่ โดยแพทย์จะนัด 6 wks. หลังคลอด
การคุมกำเนิด
ปกติหลังคลอดควรจะมีการคุมกำเนิดไว้ก่อนประมาณ 2 ปี มารดาหลังคลอดควรเริ่มคุมกำเนิดหลัง 6 wks. โดยมารดารายนี้การคุมกำเนิดที่เหมาะสมคือ การฉีดยาคุมกำเนิด เนื่องจากมารดามีบุตรคนแรกควรคุมกำเนิดแบบชั่วคราว
ยาคุมกำเนิดแบบกิน ต้องเป็นชนิดฮอร์โมนเดี่ยว รับประทานได้ในระยะให้นมบุตร แต่ต้องรับประทานให้ตรงเวลาทุกวัน
-ยาคุมกำเนิดแบบฉีด คุมกำเนิดได้ 3 เดือน ช่วยในเรื่องการลืมกินยาคุมกำเนิด ไม่มีผลกระทบในการสร้างน้ำนม
-ยาคุมกำเนิด แบบฝัง คุมกำเนิดได้ 3-5 ปี ไม่มีผลกระทบต่อการสร้างน้ำนม
-การทำหมันเปียก ทำภายใน 7 ชั่วโมงหลังคลอดเพราะง่ายต่อการผ่าตัด และมดลูกยังไม่เข้าสู่อุ้งเชิงกราน
-การทำหมันแห้ง ทำภายใน 6 wks. หลังคลอด หรือไม่เกี่ยวกับการคลอดบุตร
การดูแลบุตร
1.ควรเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว จนบุตรอายุ 6 เดือน จึงเริ่มให้อาหารเสริม เพราะระบบย่อยอาหารและการดูดซึมของลูกจะเริ่มพัฒนาจนสามารถทานอาหารอื่นได้
ให้บุตรได้รับนมมารดาติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน หากคุณแม่ทำงานนอกบ้าน อาจบีบน้ำนมใส่ถุง เก็บไว้ในตู้เย็น 1 ประตูแช่แข็งได้ 1 wks. กระติกน้ำแข็งที่มีน้ำแข็งตลอดเวลาเก็บได้ 1 วัน
3.นำบุตรมาตรวจสุขภาพ และรับการฉีดวัคซีนตามนัดทุกครั้ง โดยดูวันนัดได้ที่สมุดฝากครรภ์ หรืออาจนำบุตรไปสถานบริการใกล้บ้านได้ เมื่อบุตรอายุ 2 เดือน
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์
1.ปวดท้องมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หรือน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือมีสีแดงตลอด 15 วันหลังคลอด
2.แผลผ่าตัดคลอด มีหนอง เต้านมเป็นฝี บวม ปวด
มีไข้ หนาวสั่น
4.ปวดศีรษะรุนแรง มีอาการตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี่
อาการทารก
1.มีอาการตัวเหลือง
เขียว ขณะกินนมหรือร้อง หายใจหอบ รอบปากเขียวคล้ำ
มีไข้สูง ร้องกวน ไม่ดูดนม เช็ดตัวแล้วไม่หาย
4.ทารกไม่ดูดนม หรือดูดนมแล้วมีอาการอาเจียนพุ่งทุกครั้งที่กินนม
สะดือมีหนอง กลิ่นเหม็น
อุจจาระเหลวปนน้ำ มีมูกเลือดปน ท้องอืดร่วมกับไม่ถ่ายอุจจาระ
ตาแฉะบวมแดง หูมีน้ำไหลออกมา มีบวมแดง ปากเป็นฝ้า มีเลือดออก มีตุ่มหนองบริเวณผิวหนังหรือมีจุดเลือดออก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากมีแผลผ่าตัดที่หน้าท้องและโพรงมดลูก
ข้อมูลสนับสนุน
-มารดามีแผลผ่าตัดทางหน้าท้อง ,แผลที่โพรงมดลูก, แผลในมดลูก - Pain score =3
วัตถุประสงค์
เพื่อเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
เกณฑ์การประเมิน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ BT= 36.5-37.4 องศาเซลเซียส, Pulse= 60-100 ครั้ง/นาที, RR= 16-24 ครั้ง/นาที, BP= Systolic 130/90 Diastolic 80/60 mmHg
ไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผลผ่าตัดมาก แผลมี
หนอง มี Discharge ซึม น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามอาการของภาวะติดเชื้อหลัง
คลอด โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย หากผิดปกติควรรีบรายงานแพทย์
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อหลังคลอด เช่น มีไข้ ปวดบริเวณแผล
ผ่าตัดมาก แผลมีหนองมีdischargeซึม น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันภาวะติดเชื้อหลังคลอด
-ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุให้ถูกวิธี โดยล้างจากข้างหน้าไปข้างหลัง ไม่เช็ดย้อน เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชม.
-รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อ นม
ไข่ หรือผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม เพราะช่วยส่งเสริมการหายของแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น -แนะนำมารดาให้ดูแลแผลผ่าตัดไม่ให้แผลถูกน้ำ ไม่ใช้มือจับ แกะ เกาแผลและ
สังเกตสิ่งคัดหลั่งที่ออกมาจากแผลเพราะทำให้แผล มีโอกาสติดเชื้อ อักเสบหรือหายช้าได้
-หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดแผลผ่าตัดมาก น้ าคาวปลามีกลิ่น
เหม็น ควรแจ้งพยาบาลให้ทราบทันที
การประเมินผล
สัญญาณชีพปกติ ไม่มีไข้ pain score = 2 แผลผ่าตัดไม่มี discharge ซึม น้ำคาวปลาปกติไม่มีกลิ่นเหม็น
2.มารดาหลังคลอดไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยปวดแผลผ่าตัด pain score=3
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาอาการปวดให้มารดาสุขสบายขึ้นและปวดแผลลดลง
เกณฑ์การประเมิน
มารดาปวดแผลลดลง หรือคะแนนความปวด (Pain score) ≤ 2 คะแนน
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความเจ็บปวดของอาการปวดแผลผ่าตัดด้วยการสอบถาม สังเกตจากสีหน้า
ท่าทาง และใช้การประเมินจากตัวเลขบอกระดับความปวด (Pain score) เพื่อเป็นข้อมูลในการช่วยเหลือ
และเลือกวิธีบรรเทาอาการปวด
แนะนำให้นอนในท่าที่สบายเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด และเมื่อมารดารู้สึกตัวดีดีจัดให้
นอนท่าศีรษะสูง ชันเข่า เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว ลดการดึงรั้งของแผล ช่วยให้อาการปวดทุเลา
ลงลง
แนะนำให้ใช้มือ หรือหมอนประคองแผลผ่าตัดขณะไอ หรือมีการเคลื่อนไหว และแนะนำ
ให้เคลื่อนไหวช้า ๆ ใช้มือประคองแผลขณะลุกนั่งหรือเดิน เพื่อลดการกระทบกระเทือนแผลผ่าตัด
สอนเทคนิคการหายใจลดปวด โดยให้หายใจเข้าทางจมูกลึกๆ และผ่อนลมหายใจออกทางปากเพราะการหายใจสามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ โดยเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจมาที่การควบคุมหายใจ เข้า ออก
ให้การพยาบาลแก่มารดา ด้วยความนุ่มนวล ช่วยให้อาการปวดแผลลดลงได้
พูดคุยให้กำลังใจ เพื่อลดความวิตกกังวล มารดาผ่อนคลายช่วยให้บรรเทาความ
เจ็บปวดลดลง
การประเมินผล
มารดาปวดแผลลดลง pain score = 2
เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมีแผลผ่าตัดและแผลในโพรงมดลูก
ข้อมูลสนับสนุน
. ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง วันที่ 19 ตุลาคม 2563 มีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง แผลในโพรงมดลูก และแผลที่มดลูก
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดในระยะหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เกณฑ์การประเมินผล
สัญญาณชีพปกติ อุณหภูมิร่างกาย 36.5-37.4 องศาเซลเซียส ชีพจร 60-90 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 16-24 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต Systolic 130/90 Diastolic 90/60 mmHg
แผลผ่าตัดไม่มีเลือดออก น้ำคาวปลาปกติ น้อยกว่า 30 ซีซี/ชั่วโมง
กิจกรรมการพยาบาล
ตรวจวัดสัญญาณชีพและบันทึก ทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าจะคงที่
สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการแสดงของการตกเลือด เช่น หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ซีด
ตรวจบันทึกและสังเกตลักษณะของเลือดที่ออกจากแผลผ่าตัดและจำนวนเลือดที่ออกจาก ช่องคลอด โดยสังเกตจากการชุ่มของผ้าอนามัย
บันทึกและสังเกตลักษณะ จำนวนของปัสสาวะที่ออกมาทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินการทำงานของไต ถ้าผิดปกติปัสสาวะจะออกน้อยกว่า 30 ซีซี.ต่อชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับ 5%D/N/2 1000 ml + syntocinon 10 unit IV drip rate 12 ml/hr. ตามแผนการรักษา
ประเมินผลการพยาบาล
สัญญาณชีพปกติ แผลผ่าตัดที่หน้าท้องไม่มี Discharge ซึม bleeding per vagina 20 ml.
เหตุผลการผ่าตัดคลอด
ความดันโลหิตสูง คือ systolic 140 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า diastolic 90 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า โดยวัด 2 ครั้ง ห่างกัน 4 ชั่วโมง Proteinuria คือ มีprotein 300 มิลลิกรัมหรือมากกว่าในปัสสาวะที่เก็บ 24ชั่วโมง หรือ protein: creatinine ratio ในปัสสาวะ 0.3 หรือมากกว่า หรือการสุ่มตรวจปัสสาวะโดยใช้แถบตรวจปัสสาวะ (dipstick) พบมีระดับ 1+ หรือมากกว่า
Preeclampsia ความดันโลหิต systolic 140 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่าหรือ diastolic 90มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า เมื่ออายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ขึ้นไป ในสตรีที่เคยมีความดันโลหิตปกติและ Proteinuria กรณีที่เป็น Preeclampsia without severe features หรือ mild gestational hypertension กรณีอายุครรภ์ 37 สัปดาห์หรือมากกว่าควรให้คลอด กรณีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์แนะนำให้ expectant management โดยเฝ้าตรวจติดตามอาการของมารดาและทารกในครรภ์ พิจารณาให้การรักษาหรือรับไว้ในโรงพยาบาล โดยการดูแลให้พักผ่อนบนเตียง แระเมินอาการของมารดาและทารกเป็นระยะ ๆ และนับลูกดิ้นทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิต
เคสนี้แพทย์พิจารณาให้ ผ่าตัดคลอดหน้าท้อง เพราะ ขณะที่ on NST FHS ของทารก drop 2 ครั้ง ช่วง 90-100 ครั้ง/นาที
นศพต.พรชิตา วงศ์เมือง เลขที่ 40