Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สิทธิและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ - Coggle Diagram
สิทธิและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
ความหมายของสถานประกอบการ
1) สถานที่มีผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ปฏิบัติงานอยู่
2) สถานที่ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่ามีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
3) สถานที่ ที่เชื่อว่าทําการสอนวิชาการพยาบาล การผดุงครรภ์
สิทธิและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจหน้าที่มีดังนี้
เข้าไปในสถานที่ประกอบการเพื่อตรวจสอบใบอนุญาต
ค้นหรือยึดเอกสารหลักฐานหรือสิ่งของที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐาน
เวลาการเข้าตรวจสอบสถานที่ประกอบการ
ในช่วงที่ยังมีแสงสว่างอยู่คือระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือเวลาที่ทําการของสถานที่ที่ได้เข้าไปตรวจสอบ
วิธีปฏิบัติของพนักงานเจ้าหนาที่
เมื่อพนักงานเจ้าหนาที่จะเข้าทําการตรวจสอบสถานประกอบการใด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่นั้นต้องแสดงบัตรประจําตัวพนักงานให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
วิธีปฏิบัติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบหรือปฏิบัติหน้าที่ในสถานประกอบการนั้นๆ จะต้องอํานวยความสะดวกให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้าทําการตรวจสอบสถานประกอบการ
การกระทําการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยผู้ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ และข้อยกเว้น
ข้อยกเว้น 8 กรณี
การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่เป็นการกระทําต่อตนเอง เช่น ฉีดยาหรือทําคลอดให้ตนเอง
การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ตามกฎหมายหรือธรรมจรรยา ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 3 ประการ
1) ต้องไม่รับประโยชน์ตอบแทนใด ๆ
2) ต้องไม่เป็นการฉีดยาหรือสารใด ๆ เข้าไปในร่างกายผ็ป่วย
3) ต้องไม่ใช่การให้ยาประเภทอันตราย ยาควบคุมพิเศษหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
นักเรียน นักศึกษาหรือผู้รับการฝึกอบรม ที่ศึกษาหรือรับการอบรมในสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลซึ่งเป็นของรัฐหรือที่ได้รับอนุญาตจากราชการให้จัดตั้ง
บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้กระทําการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามระเบียบที่กําหนด ซึ่งบุคคลดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้ คือ
1) เป็นผู้สังกัดอยู่ในส่วนราชการ
2) สําเร็จการศึกษาการพยาบาลและ/หรือการผดุงครรภ์จากสถานศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการสภาการพยาบาลรับรองหรือจากต่างประเทศ
3)เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ผู้ประกอบโรคศิลปะ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือวิชาชีพอื่น ซึ่งประกอบวิชาชีพตามข้อจํากัดและเงื่อนไขของวิชาชีพตนเอง แม้ว่าจะคล้ายคลึงกับการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด
การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของชาวต่างประเทศซึ่งเป็นที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ
บุคคลที่กระทําการพยาบาลหรือผดุงครรภ์ในฐานะผู้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ ในกรณีบรรเทาสาธารณภัย
บุคคลซึ่งช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลภายใต้การควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลการผดุงครรภ์
กระบวนการสืบสวนและสอบสวนพยาบาลที่ประพฤติผิดจริยธรรม แห่งวิชาชีพฯ
สิทธิในการกล่าวหา/กล่าวโทษ
หากรู้เรื่องการประพฤติผิดจริยธรรมและรู้ตัวผู้กระทําผิดด้วยสิทธิในการกล่าวโทษจะสิ้นสุดลงเมื่อ พ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้นั้น
สิทธิในการกล่าวโทษจะต้องไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันที่มีการประพฤติผิดนั้น
จริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรม
จริยธรรม คือการพัฒนาพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ที่สำคัญความเป็นมนุษย์ที่มีจริยธรรมคือการดำเนินชีวิตด้วยการมีส่วนสัมพันธ์กับมนุษย์สิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่างถูกต้อง
โทษทางวิชาชีพและทางอาญาที่เกี่ยวข้อง
โทษทางวิชาชีพ มี 4 ประการ
ได้แก่การว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต
โทษทางทางอาญา
-หากผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ใด ถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว ตามกฎหมายห้ามบุคคลผู้นั้นประกอบวิชาชีพหรือแสดงด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในการประกอบวิชาชีพดังกล่าวนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่งสภาฯ นั้นและหากฝ่าฝืนก็จะต้องระวางโทษโดยถูกจําคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
-ในกรณีถูกพักใช้ใบอนุญาต หากบุคคลผู้นั้นฝ่าฝืน คณะกรรมการอาจเพิ่มโทษเป็นเพิกถอนใบอนุญาตได้นับแต่วันที่ศาลทําการพิพากษา แต่ทั้งนี้ตองผ่านกระบวนการทางศาลหลังมีการฟ้องร้องและดําเนินคดีจนศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก
-การขอรับใบอนุญาตหลังถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพฯ ที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สามารถขอใบอนุญาตใหม่ได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนและหากถูกปฏิเสธ ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นสามารถขอใบอนุญาตได้อีกหนึ่งครั้งเมื่อสิ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการปฏิเสธการออกใบอนุญาต หากถูกปฏิเสธอีกครั้ง ผู้นั้นหมดสิทธิในการขอรับอนุญาตอีกต่อไป
อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติตามพ.ร.บ.วิชาชีพฯ
กฎหมายให้อํานาจแก่อนุกรรมการทั้ง 2 ชุดคือ คณะอนุกรรมการจริยธรรมและคณะอนุกรรมการสอบสวนให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มีอํานาจในการเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคําและมีหนังสือแจ้งให้บุคคลใด ๆ ส่งเอกสารหรือวัตถุพยานเพื่อประโยชน์ในการดําเนินการและให้ได้ข้อเท็จจริงในการพิจารณา ซึ่งหากผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือก็อาจต้องรับผิด โดยต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 1000บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
จริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
หมายถึง หลักการควบคุมการประพฤติปฏิบัติเหมาะสมและถูกต้องของผู้ที่อยู่ร่วมกัน
แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรม
จริยธรรม คือการพัฒนาพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ที่สำคัญ ความเป็นมนุษย์ที่มีจริยธรรมคือการดำเนินชีวิตด้วยการมีส่วนสัมพันธ์กับมนุษย์สิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งที่ไม่มีชีวิตอย่างถูกต้อง
จริยธรรมวิชาชีพ 6 ด้าน ได้แก่
สิทธิของผุ้ป่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ
การกระทำเพื่อประดยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
การกระทำด้วยความซื่อสัตย์ตามพันธะสัญญาของวิชาชีพ
การกระทำต่อผู้ป่วยและครอบครัวด้วยความยุติธรรม
การบอกความจริงกับผู้ป่วย
จรรยาบรรณวิชาชีพ
หมายถึง หลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสมของวิชาชีพพยาบาล
จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล 9 ด้าน
ข้อที่ 1 พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาล และบริการสุขภาพ
ข้อที่ 2 พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตากรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์
ข้อที่ 3 พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษยชนของบุคคล
ข้อที่ 4 พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์
ข้อที่ 5 พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ
ข้อที่ 6 พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ
ข้อที่ 7 พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อ
วิชาชีพการพยาบาล
ข้อที่ 8 พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล
ข้อที่ 9 พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น