Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การวางแผนการพยาบาล, image, image, image, image, image - Coggle…
บทที่ 6
การวางแผนการพยาบาล
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
เป้นการพิจารณาว่าปัญหาของผู้ป่วย หรือข้อวินิฉัยการพยาบาลที่ระบุไว้ทั้งหมด ปัญหาใดควรได้รับการดูเเลช่วยเหลือก่อนหลัง
ปัญหาที่มีความสำคัญอันดับเเรก
เป็นปัญหาที่มีความสำคัญมากหรือเป็นปัญหาเร่งด่วน เนื่องจากอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วยจึงต้องการความช่วยเหลือทันที
ตัวอย่าง
1.เจ็บหน้าอกเนื่องจากมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อกเนื่องจากเสียเลือดมาก
3.เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเนื่องจากมีความเครียดสูง
2.ปัญหาที่มีความสำคัญอันดับสอง
เป็นปัญหาที่มีความสำคัญอันดับปานกลาง ไม่จำเป้นต้องช่วยเหลือเร่งด่วนเหมือนปัญหาที่มีความสำคัญอันดับเเรกเเต่ก็ต้องช่วยเหลือโดยเร็วเนื่องจากถ้าทิ้งไว้นานอาจเกิดปัญหารุนเเรงขึ้น
ตัวอย่าง
1.การเเลกเปลี่ยนก๊าซลดลงเนื่องจากมีการติดเชื้อทางเดินหายใจ
2.นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากปวดเเผลผ่าตัดมาก
3.เสี่ยงต่อการติดเชื้อของเเผลผ่าตัดเนื่องจากเเผลอยู่ใกล้ทวารหนัก
3.ปัญหาที่มีความสำคัญอันดับหลัง
เป็นปัญหาที่ต้องการช่วยเหลือเเต่สามารถรอได้เนื่องจากการดำเนินของปัญหาเป็นไปอย่างช้าๆเเละไม่ได้เกิด
อันตรายต่อผู้ป่วยในระยะเวลาอันใกล้
ตัวอย่าง
1.เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารเนื่องจากรับประทานอาหารได้น้อย
2.เสี่ยงต่อการเกิดเเผลกดทับเนื่องจากถุกจำกัดการเคลื่อนไหว
3.ขาดความรู้ในการปฏิบัติตนเมื่อกลับบ้าน
2.การกําหนดเป้าหมายของการพยาบาล
1.เขียนข้อความกว้างๆ ที่เป็นการคาดหวังว่าต้องการให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนเเปลงอย่างไร โดยไม่ต้องระบุรายละเอียดหรือระดับของการเปลี่ยนเเปลง
2.คำที่ใช้ในการกำหนดเป้าหมายของการพยาบาลสามารถใช้ได้หลายคำ
ตัวอย่าง
1.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการหายใจ
2.เพื่อลดการติดเชื้อของทางเดินอาหาร
3.เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบของบาดเเผล
4.เพื่อรักษาสมดุลของสารน้ำเเละเกลือเเร่ในร่างเกลือ
5.เพื่อพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาหรือความเครียด
3.การกำหนดเป้าหมายการพยาบาลต้องให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพหรือข้อวินิจฉัยการพยาบาล
3.1.ข้อวินิจฉัยที่เป็นสุขภาพดี
เป็นการกำหนดเป้าหมายการพยาบาลจะมุ่งเน้นให้ดำรงพฤติกรรมสุขภาพที่ดีนั้นตลอดไป
ตัวอย่าง
ข้อวินิจฉัยพยาบาล :มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงดูลูกด้วยนมเเม่
เป้ําหมายการพยาบาล : ส่งเสริมมารดาให้เลี้ยงลูกด้วยนมเเม่ให้นานที่สุด
3.2.ข้อวินิจฉัยที่เป็นปัยหาสุขภาพี่เกิดขึ้นเเล้ว
เป็นการกำหนดเป้าหมายการพยาบาล เพื่อบรรเทาปัญหา หรือป้องกันภาวะเเทรกซ้อน
ตัวอย่าง
ข้อวินิจฉัยพยาบาล :เจ็บหน้าอกเนื่องจากกล้ามหัวใจขาดเลือด
เป้าหมายการพยาบาล: บรรเทาอาการเจ็บหน้าอกและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
3.3.ข้อวินิฉัยที่เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหรือเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการกำหนดเป้าหมายการพยาบาลอาจตั้งเป้าหมายเพื่อการป้องกันการเกิดปัญหานั้น
ตัวอย่าง
ข้อวินิจฉัยพยาบาล :เสี่ยงต่อการเกิดเเผลกดทับเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
เป้ําหมายการพยาบาล : ป้องกันการเกิดเเผลกดทับ
3.4.ปัญหาที่เกี่ยวข้องการพยาบาล (ปัญหาที่พยาบาลไม่สามารถให้การช่วยเหลือตามลำพังได้ต้องอาศัยเเผนการรักษาของเเพทย์)
ตัวอย่าง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล :เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเนื่องจากมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เป้ําหมายการพยาบาล :ป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
(4) การกำหนดเป้ําหมายสามารถกำหนดเป็นเป้าหมายระยะสั้นหรือระยะยาวขึ้นอยู่กับปัญหาว่าเป้นปัญหาเฉียบพลันหรือปัญหาเรื้อรัง
-ถ้าเป็นปัญหาเฉียบพลัน อาจกำหนดเป้าหมายให้มีการเปลี่ยนเเปลงในทางที่ดีขึ้นภายในระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือวัน
-ถ้าเป็นปัญหาเรื้อรัง อาจกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลดีโดยใช้ ระยะเป็นสัปดาห์หรือเดือน
5.ปัญหาสุขภาพหรือข้อวินิจฉัยการพยาบาล 1 เรื่อง อาจมีเป้าหมายของการพยาบาล 1 ข้อ หรือมากว่า1ข้อ ขึ้นอยู่กับว่าเป้าหมายนั้นๆสามารถเเก้ไขปัญหาได้ครอบคลุมหรือไม่
ตัวอย่าง
ข้อวินิจฉัยพยาบาล: มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ
เป้าหมายการพยาบาล: ลดการติดเชื้อทางเดินหายใจเเละป้องกันการเเพร่กระจายของเชื้อโรค
6.การกำหนดเป้าหมายที่ดีนั้นต้องเป็นเป้าหมายที่สามารถเป็นไปได้เเละปฏิบัติได้
ตัวอย่าง
1.ผู้ป่วยเป็นอัมพาต เเขนขาไม่มีเเรง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ตั้งเป้าหมาย:เพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้(ย่อมเป็นเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้)
2.ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
ตั้งเป้าหมาย: ให้ผู้ป่วยหายจากการเป็นโรคเบาหวาน (ย่อมเป็นเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้)
3.การกําหนดเกณฑ์การประเมินผลการพยาบาล (ผลลัพธ์ที่คาดหมาย)
3.1 แนวทางการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการพยาบาลที่ดี
(1) เกณฑ์การประเมินผลการพยาบาล ต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย และข้อวินิจฉัย การพยาบาล
(2)เป้าหมายของการพยาบาลหนึ่งข้อสามารถกำหนดเกณฑ์ในการประเมินผลการพยาบาลได้หลายเกณฑ์
(3) เกณฑ์การประเมินผลการพยาบาล ต้องเหมาะสมและปฏิบัติได้จริง โดยพิจารณา ตามความสามารถของผู้ป่วยที่จะปฏิบัติได้
(4) เกณฑ์การประเมินผลการพยาบาล ต้องเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ชี้เฉพาะเจาะจงเป็นรูปธรรม สามารถสังเกตุได้ วัดหรือประเมินได้ชัดเจน
3.2 เกณฑ์การประเมินผลที่กว้างกับเกณฑ์การประเมินผลที่เฉพาะเจาะจง
ตัวอย่าง
1.ความหมายกว้าง : อุณหภูมิร่างกายที่ลดลง
เฉพาะเจาะจง : อุณหภูมิร่างกายลดลงต่ำกว่า 37.5 c
2.ความหมายกว้าง: ปัสสาวะมากขึ้น
เฉพาะเจาะจง: ปัสสาวะไม่ต่ำกว่า 50ซีซีต่อชั่วโมง
3.ความหมายกว้าง :รับประทานอาหารเเละดื่มน้ำได้มากขึ้น
เฉพาะเจาะจง :รับประทานอาหารได้ครึ่งถ้วยในเเต่ละมื้อ
3.3 การกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการพยาบาลที่สอดคล้องกับเป้าหมายเเละข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ตัวอย่าง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล : เสี่ยงต่อการเกิดการอักเสบติดเชื้อของเเผลผ่าตัด
เป้าหมาย :ป้องกันการอักเสบติดเชื้อของเเผลผ่าตัด
เกณฑ์กํารประเมินผล :1) บริเวณแผลผ่าตัดไม่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน
2) ลักษณะแผลผ่าตัดแห้งดี ไม่มี discharge ซึมออกจากแผล
3)อุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 c
4) ผลการตรวจเลือด จำนวนเม็ดเลือดขาวไม่เกิน 9,000 cell / Cu mm.
การกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
4.1 ชนิดของกิจกรรมการพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล หรือ การปฏิบัติการพยาบาล ประกอบด้วย
(1) บทบาทอิสระ (Independent role) เป็นกิจกรรมหรือการปฏิบัติการพยาบาลที่พยาบาลสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเองตามขอบเขตของกฎหมายโดยไม่ต้องมีคำสั่งการรักษาของเเพทย์
ตัวอย่าง
1.สอนวิธีการฉีดอินซูลินให้ผูป่วย
2.เเนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดที่ถูกต้อง
3.จัดท่าให้นอนศรีษะสูงเพื่อให้หายใจได้สะดวก
4.จัดสิ่งเเวดล้อมให้สะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
5.ปลอบใจ ให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือเพื่อลดความวิตกกังวล
(2) บทบาทไม่อิสระ (Dependent and Collaborative role) เป็นกิจกกรรมหรือการปฏิบัติการพยาบาลที่พยาบาลปฏิบัติตามเเผนรักษาของเเพทย์หรือเป็นการช่วยเหลือเเพทย์ในการตรวจรักษาโรค
ตัวอย่าง
1.การให้ยารับประทาน
2.การฉีดยา
3.การให้สารน้ำทางหลอดดำ
4.การให้เลือด
5.การให้อาหารทางสายยาง
6.การสวนอุจจาระ การสวนปัสสาวะ
7.การเจาะเลือด
4.2 แนวทางการกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
(1) การกำหนดกิจกรรมการพยาบาลต้องสอดคล้องกับ
ข้อวินิจฉัยกํารพยาบาลและวัตถุประสงค์ของการพยาบาล
ตัวอย่าง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล :เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายเนื่องจากการสำลัก
วัตถุประสงค์: ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการสำลักอาหาร
(2) การกำหนดกิจกรรมการพยาบาลควรให้ครอบคลุมบทบาท 4 มิติ ของการพยาบาล คือ กํารส่งเสริมหรือสร้างงเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูเเลรักษา การฟื้นฟูสภาพร่างกาย
(3) การกำหนดกิจกรรมการพยาบาลควรกำหนดให้ครอบคลุมองค์รวม คือ ให้เเก้ไขปัญหาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมเเละจิตวิญญาณ
(4) การกำหนดกิจกรรมการพยาบาลควรให้ผู้ป่วยเเละครอบครัวมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือก่รดูเเลตนเอง
(5) การกำหนดกิจกรรมการพยาบาลต้องครอบคลุมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยหรือป้องกันอันตรายผู้ป่วยจากภาวะเสี่ยงๆ
(6)การกำหนดกิจกกรมการพยาบาลควรเป็นกิจกกรมที่ทั้งพยาบาลเเละผู้ป่วยสามารถปฏิบัติได้ในสถานการณ์นั้นๆ
(7) การกำหนดกิจกรรมการรพยาบาลควรประยุกต์จากตำราให้เหมาะกับสถานการณ์ของผู้ป่วยเเต่ละราย
ไม่กำหนดตามมทฤษฎีหรือตำราทั้งหมด
(8) การกำหนดกิจกกรมการพยาบาลควรเป็นกิจกกรรมที่ไม่ขัดเเย้งกับเเผนการรักษาของเเพทย์
ตัวอย่าง
ผู้ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง เบื่ออาหาร ต้องรับประทานรสจืด กิจกกรมพยาบาลไม่ควรจัดอาหาร รสจัด ตามที่ผู้ป่วยชอบให้รับประทานอาหารเพ่อกระตุ้นความอยากอาหาร
(9)การกำหนดกิจกกรมการพยาบาลควรเป็นกิจกกรรมที่ไม่ขัดกับความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรมของผู้ป่วย
(10) การกำหนดกิจกรรมการพยาบาลต้องคำนึงจริยธรรมทางการพยาบาลเเละสิทธิ์ผู้ป่วย