Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มาตรฐานการศึกษา - Coggle Diagram
มาตรฐานการศึกษา
ระดับปฐมวัย
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก
๑.๑ มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้
๑.๒ มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้
๑.๓ มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
๑.๔ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
๒.๑ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น
๒.๒ จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน
๒.๓ ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์
๒.๔ จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัย และเพียงพอ
๒.๕ ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์
๒.๖ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม
มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบกำรณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ
๓.๑. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ
๓.๒ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข
๓.๓ จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย
๓.๔ ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและน าผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน
๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
๑) มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
๒) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็น และแก้ปัญหา
๓) มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
๔) มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๕) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
๖) มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
๑) การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
๒) ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
๓) การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
๔) สุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
๒.๑ มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
๒.๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
๒.๓ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา
และทุกกลุ่มเป้าหมาย
๒.๔ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
๒.๖ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและ
การจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
๓.๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๓.๓ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และน าผลมาพัฒนาผู้เรียน
๓.๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้
ระดับการศึกษำขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของผู้เรียน
๑.๑ ผลการพัฒนาผู้เรียน
๑) มีพัฒนาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถ ทักษะตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผนการให้บริการช่วยเหลือเฉพาะครอบครัว
๒) มีความพร้อมสามารถเข้าสู่บริการช่วงเชื่อมต่อหรือการส่งต่อเข้าสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น หรือการอาชีพหรือการดำนินชีวิตในสังคมได้ตามศักยภาพของแต่ละบุคคล
๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
๑) มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด
๒) มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคล
มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
๒.๑ มีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
๒.๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
๒.๓ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
๒.๔ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
๒.๖ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ๓ กระบวนกำรจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
๓.๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๓.๓ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำลมาพัฒนาผู้เรียน
๓.๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้