Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน - Coggle Diagram
บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
คุณสมบัติ วิธีการคัดเลือกและบทบาทหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจากหมู่บ้านหรือชุมชนและผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่คณะกรรมการกลางกำหนด
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครซึ่งปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในเขตกรุงเทพมหานคร
อาสาสมัครสาธารณสุขอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
หน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
แก้ข่าวร้ายกระจายข่าวดี ชี้บริการ ประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี
ตราสัญลักษณ์อาสาสมัครสาธารณสุข
ภาพที่คนยืนซ้อนและจับมือซ้อนกัน หมายถึง ประชาชน ครอบครัว และชุมชน
ภาพกลุ่มคนเก้าคนประสานมือล้อมภาพคนยืนซ้อนจับมือกัน หมายถึง การประสานความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรธุรกิจ เอกชนและองค์กรประชาชน เพื่อส่งเสริมสนับสนุน การพึ่งตนเองด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ครอบครัวและชุมชน
สีแดง หมายถึง เลือดเนื้อของชีวิตมนุษย์ เปรียบเสมือนกับการสาธารณสุขสุขมูลฐาน ซึ่งจะหล่อเลี้ยงให้ประชาชนมีสุขภาพดี
หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเข้ารับการฝึกอบรมเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
อายุไม่ต่ำกว่า18ปีบริบูรณ์
มีชื่อในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่เป็นการประจำในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประสงค์จะเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไม่น้อยกว่าหกเดือน
มีความรู้สามารถอ่านออกเขียนได้
สมัครใจและเสียสละเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานสาธารณสุข
ประสงค์จะเข้าร่วมหรือเคยเข้าร่วมการดำเนินงานสาธารณสุขและต้องการพัฒนาชุมชนของตนเอง
มีความประพฤติอยู่ในกรอบศีลธรรมอันดี
มีสุขภาพดีทั้งกายและใจและมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่เป็นแบบอย่าง
มีเวลาให้กับการทำงาน
วิธีการคัดเลือก อสม. (วิธีการประชาธิปไตย)
1.เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจัดประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน อสม. และผู้นำหมูบ้าน มอบหมาบให้ประธานกรรมการหมู่บ้าน อสม. และผู้นำหมู่บ้าน เป็นคณะกรรมการสรรหา อสม.
2.แบ่งละแวกหรือคุ้มบ้านเป็น 10-15 หลังคาเรือน
3.สอบถามหาผู้สมัครใจและมีคุณสมบัติตามที่กำหนดและคัดเลือกเพื่อเข้ารับการอบรม
4.ในกรณีที่มีผู้สมัครเกิน1คน ให้จัดประชุมและลงมติเพื่อใช้เสียงส่วนใหญ่
บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ
ปฏิบัติตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข
เผยแพร่ประชาสัมพันธ์หรือจัดการรณรงค์และให้ความรู้ทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน
ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข หรือบทบัญญัติของกฎหมายอื่นๆ
จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาสาธารณสุขที่สอดคล้องกับสภาวะสุขภาพของท้องถิ่น
เป็นแกนนำในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
ให้ความรู้ด้านการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ
ศึกษา พัฒนาตนเอง และเข้าร่วมประชุม ตลอดจนปฏิบัติงานตามที่หน่วยงานอื่นร้องขอ
ดำเนินการตามมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ประสานการดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชนและปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงองค์กรพัฒนาชุมชนอื่นๆในท้องถิ่น
วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ตรงกับวันที่20 มีนาคมของทุกปี
ผลงานดีเด่นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
สาขาการส่งเสริมสุขภาพ
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม. ในการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่มสมรรถนะและตระหนักถึงการควบคุมและปรับปรุงสุขภาพของตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ
บทบาทของ อสม.
สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อสุขภาพ
สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมหรือปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม หรือหลีกเลี่ยงจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่เป็นสาเหตุทำลายสุขภาพ
สาขาสุขภาพจิตชุมชน
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม. ในการส่งเสริมและสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน เพื่อให้ชุมชนที่อยู่อาศัยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความสุข
บทบาทของ อสม.
สร้างการช่วยเหลือเพื่อนในชุมชนที่ประสบปัญหาทั้งด้านร่างกาย และจิตใจได้ โดยสามารถสื่อถึงจิตใจความเป็นมนุษย์ เคารพศักดิ์ศรีอย่างเสมอภาค และมีวิถีชีวิตการดำรงอยู่ที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมชุมชนที่ดี
สาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
การกระทำหรือการดำเนินการของ อสม. เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นกับคนหรือสัตว์ โดยเกิดจากเชื้อโรคที่เป็นสิ่งมีชีวิตหรือพิษของเชื้อโรค
บทบาทของ อสม.
สำรวจ เฝ้าดูแล ค้นหา เก็บรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล แปลผล
รายงานข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นระบบให้เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว
ประสานงานการเฝ้าระวัง
วางแผนการควบคุมโรคผ่านเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันทั้งระบบภายใน
สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ดูแลและป้องกัน การรับสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ
บทบาทของ อสม.
ให้ข้อมูลข่าวสารความรู้เรื่องยาเสพติด
วิเคราะห์/วางแผน/แก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนอย่างเหมาะสม
สาขาการบริการในศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน(ศสมช.) และการสร้างหลักประกันสุขภาพ
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม. ในการจัดบริการสุขภาพเบื้องต้น โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน โดยสถานที่ตั้งอาจจัดสร้างเป็นอาคารเฉพาะ หรือใช้มุมใดมุมหนึ่งของสถานที่ที่มีอยู่แล้วในชุมชน หรือที่ๆชุมชนให้ความเห็นชอบ
บทบาทของ อสม.
ช่วยเหลือรักษาพยาบาลชั้นต้น
การตรวจ คัดกรองโรค
การส่งต่อผู้ป่วย
การเผยแพร่ข่าวสารสาธารณสุขและให้คำแนะนำด้านสุขภาพ
การสร้างความครอบคลุมในการเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพ
สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม. เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของประชาชนในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ด้านยา อาหาร เครื่องสำอางอย่างถูกต้องและปลอดภัย
บทบาทของ อสม.
สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่อย่างเหมาะสม
การให้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการสร้างความรู้ความเข้าใจ
สาขาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม. เกี่ยวกับการส่งเสริมชุมชนในการฟื้นฟู สืบสานและใช้ประโยชน์ จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพในชุมชน รวมทั้งการประยุกต์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพให้สอดคล้องกับบริบททางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
บทบาทของ อสม.
ส่งเสริม สนับสนุน ให้ชุมชนมีบทบาทในการจัดการระบบสุขภาพของชุมชนด้วยตนเอง
ส่งเสริมบทบาทชุมชนในการสนับสนุน เสริมสร้างสถานภาพและใช้ประโยชน์จากหมอพื้นบ้านในชุมชน
สาขาการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชน
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม.ในการเฝ้าระวัง ป้องกันการติดต่อโรคเอดส์ในชุมชน โดยการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคเอดส์
บทบาทของ อสม.
สร้างความตระหนักของคนในชุมชนในการร่วมมือแก้ไขปัญหา
วิเคราะห์/วางแผน/แก้ไขปัญหาเอดส์ในชุมชนได้อย่างเหมาะสม โดยความร่วมมือจากบุคคลในชุมชน สังคม รวมถึงหน่วยงานพหุภาคี
สาขาการจัดการสุขภาพชุมชน
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม. ในการร่วมดำเนินการ สั่งการ ควบคุมกำกับ ให้คำชี้แนะ ในกระบวนการจัดการสุขภาพ 4 ด้าน ได้แก่ การจัดทำแผนด้านสุขภาพ การจัดทำงบประมาณ การจัดกิจกรรมด้านสุขภาพ และการประเมินผลการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม
บทบาทของ อสม.
เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน นำไปสู่การพัฒนา การดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชนที่พึ่งตนเองได้
สาขานมแม่ และอนามัยแม่และเด็ก
การกระทำหรือการดำเนินงานของ อสม. เกี่ยวกับงานอนามัยแม่และเด็กในงานสาธารณสุขมูลฐาน
บทบาทของ อสม.
สำรวจและวิเคราะห์ปัญหาแม่และเด็กของชุมชน การสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วม การสนับสนุน งานอนามัยแม่และเด็กของชุมชนในการดูแลสุขภาพของหญิงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด และดูแลสุขภาพเด็กแรกเกิดจนถึงสองปี และมีความต่อเนื่องอย่างเป็นรูปธรรม
สวัสดิการ สิทธิประโยชน์
สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ อสม.
ข้อ28 มีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล ค่าห้องพิเศษและค่าอาหารพิเศษ
ข้อ29 มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของกรมบัญชีกลาง
สิทธิประโยชน์
ข้อ 30 มีสิทธิได้รับเงินค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่
ข้อ 31 มีสิทธิได้รับการประกาศเกียรติคุณ