Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านจิตพิสัย - Coggle Diagram
การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้านจิตพิสัย
ลักษณะทางจิตพิสัย
เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายใจจิตใจของมนุษย์เกี่ยวข้องกับความรู้สึก อารมณ์และจิตใจของบุคคล เช่น ความสนใจ ความซาบซึ้ง เจตคติ ค่านิยม ความต้องการ การปรับตัว คุณธรรม จริยธรรม บุคลิกภาพ เป็นต้น
เป็นสิ่งที่สร้างสมขึ้นจนเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล
การเกิดจิตพิสัยภายในตัวบุคคลนั้น จะพัฒนาจากระดับต่ำจนถึงระดับสูง ได้แก่ การรับรู้ การตอบสนอง การสร้างคุณค่า การจัดระบบคุณค่า และการสร้างลักษณะนิสัย
การพัฒนาให้เกิดจิตพิสัยในระดับสูงต้องอาศัยพื้นฐานระดับการเรียนรู้ที่ต่ำกว่า
การประเมินด้านจิตพิสัย
เป็นคุณลักษณะด้านจิตใจที่มองไม่เห็นหรือเป็นนามธรรม เป็นการวัดทางอ้อม การวัดจิตพิสัยมีความคลาดเคลื่อนในการวัดเกิดขึ้นได้ง่าย อาจมีการเสแสร้งและบิดเบือนคำตอบของผู้ถูกวัด การตอบของผู้ถูกวัดมีลักษณะเป็นไปตามที่สังคมมุ่งหวัง
องค์ประกอบ
เป็นลักษณะที่แสดงออกถึงอารมณ์หรือความรู้สึกของบุคคล ในการวัดจิตพิสัยจึงต้องใช้เครื่องมือวัดที่แสดงออกในลักษณะของอารมณ์และความรู้สึก
เป็นลักษณะที่มีแบบแผนเฉพาะคน คนที่มีความรู้สึกอย่างเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีการแสดงออกที่เหมือนกัน
มีทิศทาง ความรู้สึกของบุคคลมีทิศทางเป็นไปในทางที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนา ชอบหรือไม่ชอบ พอใจหรือไม่พอใจ
มีความเข้ม ระดับความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อเป้าหมายนั้นๆ มีทั้งปรารถนามาก น้อย ชอบมากชอบน้อย เป็นต้น
เป้าหมายของการวัด เป็นสิ่งที่บุคคลต้องการแสดงความรู้สึกลงไปให้ชัดเจนและแน่นอนว่า ความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด
หลักการ
วัดให้ครอบคลุมพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ต้องการวัด
วัดหลายๆ ครั้ง และใช้เทคนิคการวัดหลายวิธี
วัดผลอย่างต่อเนื่อง
ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่ถูกวัดเป็นอย่างดี
ใช้ผลการวัดให้ถูกต้อง
วิธีการและเครื่องมือ
การสัมภาษณ์ (Interview)
การสอบถาม (Questionnaire)
การสังเกต (Observation)
การใช้แบบวัดเชิงสถานการณ์