Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ, พิมพ์นฤกานต์ บานเช้า 63031040177 ครุศาสตร์ สาขา…
วัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ
-
-
การรู้เท่าทันสื่อ
- สื่อทั้งหลายล้วนแต่ถูกประกอบสร้างขึ้น ซึ่งไม่ได้สะท้อนความจริงของโลกแบบเรียบง่าย
ตรงไปตรงมาด้วยเทคนิคและกลวิธีบางอย่าง เช่น มุมกล้อง สี เสียงหรือการตัดต่อ
- สื่อสร้างภาพความเป็นจริง ซึ่งสื่อสร้างขึ้น ตีความ สรุป และสร้างให้เราเห็นภาพดังกล่าว
ดังนั้นสื่อจึงเป็นแหล่งสร้างภาพความเป็นจริงที่อาจไม่จริงเสมอไป
- สื่อมีนัยทางการค้าแอบแฝงอยู่ การผลิตสื่อส่วนหนึ่งเพื่อธุรกิจและก าไร เราจึงควรพิจารณา
ถึงอิทธิพลทางการค้าที่มีในสื่อ และพิจารณาว่าการน าเสนอและเผยแพร่ออกไป
- สื่อมีนัยทางอุดมการณ์และค่านิยม สื่อทุกสื่อล้วนน าเสนอวิถีการดำเนินชีวิตและคุณค่า
บางอย่าง เช่น สื่อทางธุรกิจก็มักจะถ่ายทอดค่านิยม
- สื่อมีนัยทางสังคมและการเมือง สื่อมีอิทธิพลสูงมากในทางการเมืองและสารมารถทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
- สื่อแต่ละประเภทมีรูปแบบทางสุนทรียภาพเฉพาะตัว การรู้เท่าทันสื่อมิได้หมายความแต่
เพียงการดูความหมายของสาร และนัยต่างๆ แต่ยังหมายถึงการรู้จัก
ชื่นชมกับสุนทรียภาพต่าง ๆ ในสื่อด้วย
-
-
ภาษาเพื่อสันติ
- มนุษย์ทุกคนมีความกรุณาเป็นพื้นฐาน ทุกศาสนาในโลกต่างพูดตรงกันว่ามนุษย์ทุกคนล้วนมี
ความดีงามภายใน
- เบื้องหลังทุกการกระทำและคำพูดของมนุษย์ล้วนตอบสนองความต้องการลึก ๆ บางอย่าง‘ความต้องการ’
- ใส่ใจและให้คุณค่ากับความต้องการของทุกฝ่าย เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจ ก่อน
คิดแก้ไขปัญหาหรือทางออก
ประเภทของสันติภาพ
- สันติภาพภายนอก คือ สันติภาพที่หมายถึงสภาพที่ปราศจากสงคราม ปราศจากความรุนแรง
และปราศจากความรุนแรงแต่มีความขัดแย้งกัน
- สันติภาพภายใน พระธรรมปิ ฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) พระไพศาล วิสาโล พระติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) และ วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นต้น เห็นว่านอกจากสันติภาพภายนอก หรือ สันติภาพเชิงสังคมแล้วยังมีสันติภาพภายใน หรือ สันติภาพสูงสุดหรือ สันติภาพเชิงโลกุตระ คือ นิพพาน อันเป็นสภาวะที่ปราศจากความรุนแรงและความขัดแย้งภายในจิต
-
แหล่งเผยแพร่ Hate Speech
ประเภทของสื่อ
- สื่อสร้างสรรค์ เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมพฤติกรรม เอื้อเฟื้อและเสียสละ ช่วยพัฒนาความคิด
เชิงสร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศของความสงบสุข
- สื่อทางลบ เป็นสื่อที่ช่วยกระตุ้นให้ มีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบใช้ความรุนแรงเพื่อการท าลาย
ล้างและตัดสินปัญหาความขัดแย้ง
การวิเคราะห์สื่อ
- หลักการ “อะไรคือความจริง อะไรคือการตีความ” ผู้รับสารควรมีความรู้เกี่ยวกับ
กระบวนการทำงานของสื่ออ และมีความสามรถในการแยกแยะเนื้อหาข่าวที่สื่อมวลชนน าเสนอ โดยไม่
สับสนว่าอะไรคือความจริงหรือจินตนาการ
- หลักการ “ช้าในการตัดสิน” ข่าวที่เสนอในภาพลบหรือข่าวร้าย ข่าวส่งเสริมการใช้ความ
รุนแรงในสังคม เป็นสื่อทางลบ ไม่ควรเชื่อข่าวเหล่านี้ๆ ต้องมีการ
ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารจากสื่อแหล่งอื่นด้วย
- หลักการ “เชื่อในส่วนที่ดีไว้ก่อนเสมอ”
- หลักการ “อย่าพิพากษาปรักปร าคน” ข่าวสารที่เป็นข่าวลือเป็นการสร้างความเสียหายให้
บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็น
สิ่งที่ไม่ควรให้ความเห็นชอบ ผู้รับสารต้องใช้การคิดแบบวิเคราะห์เพื่อแยกแยะ
Culture Shock
อ อาการที่เกิดจากความไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ซึ่งมัก
เกิดขึ้นกับผู้ที่ต้องย้ายไปอยู่ต่างประเทศ ไม่ว่าจะไปเรียน หรือไปท างาน
-
ความหมายของคำว่า “สันติ”
แปลว่า ความสงบ ความราบคาบ ความเยือกเย็น การหยุด นิพพาน ฯลฯ ซึ่งการจะนำความหมายเหล่านี้ไปใช้ต้องพิจารณาที่บริบทด้วยว่ากำลังกล่าวถึงอะไร
-
หลักกาลามสูตรกับสันติภาพ
กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10
- อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
- อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
- อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
- อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างต ารา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
- อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
- อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
-
-