Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ :star: - Coggle Diagram
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ :star:
ภัยด้านสภาพอากาศ :recycle:
อุทกภัย
[สาเหตุ]
โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ
[ผลกระทบ]
เกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์
เส้นทางคมนาคม และพืชผลทางการเกษตรเสียหาย
[แนวทางการป้องกันภัย]
1.ติดตามข่าวสารและการพยากรณ์อากาศอย่างต่อเนื่อง
2.เตรียมกระสอบทรายเพื่อเสริมคันดินกั้นน้ำ
3.วางแผนการอพยพหนีภัย เก็บของมีค่า เอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย
4.เตรียมเครื่องเวชภัณฑ์ไว้ในยามฉุกเฉิน
[ควรปฏิบัติตัวอย่างไร]
ไม่ลงเล่นน้ำขณะเกิดอุทกภัย
เมื่อเกิดอุทกภัยควรขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น หลังคาบ้าน ภูเขา เป็นต้น
ไฟป่า :fire:
[สาเหตุ]
การเผาหาของป่า เผาทำไร่เลื่อนลอย เผากำจัดวัชพืช ส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง ปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นพฤษภาคม ทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น ผงฝุ่น ควันไฟกระจายในอากาศทั่วไป ไม่สามารถลอยขึ้นเบื้องบนได้ มองเห็นไม่จัดเจน สุขภาพเสื่อม พืชผลการเกษตรด้อยคุณภาพ แหล่งทรัพยากรลดลง
[ผลกระทบ]
-ขาดช่วงการสืบพันธุ์ทดแทนตามธรรมชาติ
-เปลี่ยนแปลงโครงสร้างป่า
-ทำอันตรายต่อชีวิตของสัตว์ป่า
-ทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
-การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น
[แนวทางการป้องกันภัย]
-ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
-สอบถามหรือ แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
-ดับไฟ บุหรี่ ธูป เทียน กองไฟให้ความอบอุ่น ทุกครั้ง ในบ้านหรือกลางแจ้ง
-ซักซ้อม วางแผนหนีไฟ และเตรียมพร้อมเสมอ
[ควรปฏิบัติตัวอย่างไร]
เมื่อพบไฟป่าควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
เมื่อเจอไฟป่าควรออกห่างจากพื่นที่ที่เกิดไฟป่า
วาตภัย :
[สาเหตุ]
เกิดจากกระแสอากาศร้อนยกขึ้นเบื้องบนอย่างรุนแรง และรวดเร็ว เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและอาจมีลูกเห็บทำความเสียหายได้ในบริเวณเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ
[ผลกระทบ]
-ทำให้สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ฝนตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์และสัตว์
[แนวทางการป้องกันภัย]
-ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
-ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
-ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
[ควรปฏิบัติตัวอย่างไร]
เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
อพยพทันทีเมื่อทราบข่าว
ภัยแล้ง
[สาเหตุ]
เกิดจากการขาดแคลนน้้าในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิด ความแห้งแล้ง และส่งผลกระทบต่อชุมชน
อันเกิดจากการที่มีฝนน้อยกว่าปกติ หรือฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นระยะเวลานานกว่าปกติ และครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง
[ผลกระทบ]
-เกิดการขาดแคลนน้้า
-พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ขาดน้้า ท้าให้ไม่เจริญเติบโตตามปกติเกิดความเสียหาย
-การประกอบการด้านอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก เพราะขาดแคลนน้้าที่ใช้ในการผลิต พลังงาน
-สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดไฟป่า
[แนวทางการป้องกันภัย]
-จัดการวางแผนการใช้น้้าที่ดี
-การสำรวจน้้าใต้ดินมาใช้
-การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน
[ควรปฏิบัติตนอย่างไร]
-ไม่ใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย
-เก็บน้ำใส่โอ่งหรือที่เก็บน้ำ
เพื่อเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น
ธรณีพิบัติภัย :no_entry:
สึนามิ
[สาเหตุ]
เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่น ๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น
[ผลกระทบ]
-มีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร
-เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และอาคารที่อยู่อาศัย
-มีผู้เสียชีวิตจำนาวนมาก
[แนวทางการป้องกันภัย]
-ติดสัญญาณเตือนภัย รอบๆอ่าวและพื้นที่ที่กับติดทะเล
-ฝึกการอพยพหนีสึนามิ
-อบรมว่าก่อนเกิดสึนามิมีลักษณะอย่างไร
[ควรปฏิบัติตนอย่างไร]
-เมื่อได้ยินสัญญาณเตือนภัยให้รับอพยพออกจากพื้นที่ที่อันตราย
-เมื่อน้ำในทะเลลดลงอย่างกระทันหันให้รีบอพยพออกจากพื้นที่ที่อันตราย
ภูเขาไฟปะทุ
[สาเหตุ]
ภูเขาไฟมีหลายสาเหตุการเกิดการปะทุสาเหตุหลักๆ คือ แผ่นเปลือกโลกเกิดการสั้นสะเทือน จึงทำให้ภูเขาไฟเกิดการปะทุ
[ผลกระทบ]
---ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน มีทั้งการเกิดแผ่นดินไหววเตือน แผ่นดินไหวจริง และแผ่นดินไหวติดตาม ถ้าประชาชนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในเชิงภูเขาไฟอาจหนีไม่ทันและอาจเกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้
---การเกิดฝุ่นภูเข้าไฟ เถ้า มูล ภูเขาไฟ ปะทุขึ้นสู่บรรยากาศครอบคลุมอาณาบริเวณใกล้ภูเขาไฟ และลมอาจพัดพาไปไกลจากแหล่งภูเขาไฟปะทุหลายพันกิโลเมตร ทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศและทางน้ำ ในแหล่งน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน เมื่อฝนตกหนักอาจจะเกิดน้ำท่วมและโคลนภล่มตามมาจากฝุ่นและเถ้าภูเขาไฟเหล่านั้น
[แนวทางการป้องกันภัย]
-ต้องมีการพยากรณ์ว่าภูเขาไฟจะเกิดปะทุขึ้น และอาจเป็นอันตรายกับประชาชนหรือไม่ โดยการประชาสัมพันธ์ การพยากรณ์และเตือนภัยภูเขาไฟปะทุทางวิทยุโทรทัศน์ให้ประชาชนรับรู้อย่างทั่วถึง ให้ชัดเจนจะเกิดขึ้นเมื่อไร จะต้องมีการอพยพหรือไม่ เพราะอาจมีบางคนไม่อยากอพยพจนกว่าจะมีการปะทุ และผู้คนจะกลับมาอยู่บ้านของตนได้เร็วที่สุดเมื่อใด
-การให้ความรู้แก่ประชาชน ทำได้ตลอดเวลาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังประสบภัยพิบัติ เมื่อประชาชนรู้เรื่องภัยพิบัติจากการปะทุของภูเขาไฟ นับว่าการเตือนภัยจากภูเขาไฟปะทุมีความสำเร็จไปครึ่งทางแล้ว ดีกว่าให้ประชาชนตกอยู่ในความมืดเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น
[ควรปฏิบัติตัวอย่างไร]
-ออกห่างจากพื่นที่ที่เกิด ภูเขาไฟปะทุให้เร็วที่สุดและปลอดภัยที่สุด
-ไม่สูดดมควันจากการปะทุของภูเขาไฟ
แผ่นดินไหว :warning:
[สาเหตุ]
เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน เนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความร้อน ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับความสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่เสมอ (ดู การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก) แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป
[ผลกระทบ]
-ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก
-ภูเขาไฟระเบิด
-อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย
-คลื่นสึนามิ
-แผ่นดินถล่ม
[แนวทางการป้องกันภัย]
-อาคารบ้านเรือนทำโครงบ้านให้แข็งแรง
-ใช้วัสดุที่แข็งแรง นำมาก่อสร้างอาคาร
[ควรปฏิบัติตนอย่างไร]
-ฟังข่าวจาก กรมอุตุนิยมวิทยา อยู่ตลอดๆ
-เมื่อเกิดแผ่นดินไหวไม่ควรอยู่ในอาคาร
-เมื่อเกิดแผ่นดินไหวให้ไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัยเช่น ใต้โต๊ะ เป็นต้น
แผ่นดินถล่ม
[สาเหตุ]
--ความแข็งแรงของดิน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของดิน (Soil composition) ว่าเป็น หินหรือ ดิน ประเภทใด มีโครงสร้างหรือมีต้นไม้ประกอบยึดเกาะกันแข็งแรงแค่ไหน มีชั้นดินดานตื้นหรือลึกในลักษณะใด
-ที่ที่มีความลาดเอียงมาก
-มีฝนตกมากนานๆ
-โครงสร้างของแผ่นดิน (Structure of soil) ความแตกต่างกันของชั้นดินที่น้ำซืมผ่านได้ กับชั้นที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ ที่จะทำให้น้ำขังใต้ดินมากจนดินเหลวบนที่ลาดเอียง ทำให้เกิดการไหลได้
[ผลกระทบ]
-บริเวณที่เกิด ดินถล่ม จะทำให้โครงสร้างของชั้นดินบริเวณนั้นเสียสมดุล เป็นเหตุให้เกิด ดินถล่ม ซ้ำได้
-ทำลายระบบนิเวศน์และชุมชน
-สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
[แนวทางการป้องกัน]
-สังเกตและระมัดระวังพื้นที่เสี่ยงภัยโดยเฉพาะเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกัน
-วางแผนการอพยพหนีภัย เก็บของมีค่า และเอกสารสำคัญไว้ในที่ปลอดภัย
-ปลูกต้นไม้ที่มีระบบรากแก้วเพื่อยึดเหนี่ยวชั้นดิน
[ควรปฏิบัติตัวอย่างไร]
-ไม่ไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง
-จุดในที่อยู่ใกล้แม่น้ำหรือแหล่งน้ำแล้วมีลักษณะอาจเกิดการถล่มได้ไม่ควรไปอยู่ในพื้นที่ตรงบริเวณนั้น