Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบบำบัดน้ำเสีย - Coggle Diagram
ระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบบำบัดน้ำเสียทางกายภาพ
ตะแกรง screen
เพื่อดักสารแขวนลอยที่มีขนาดใหญ่ที่ติดมากับน้ำเสีย
เครื่องตัดย่อย Comminutor
เพื่อตัดย่อยสารแขวนลอยให้มีขนาดเล็กลง
ถังดักกรวดทราย Grit Chamber
เพื่อดักกรวดทรายให้ตกตะกอนในถัง
ถังปรับเสมอ equalization tank
เพื่อปรับการไหลของน้ำเสียในอตราไหลที่คงที่ เพื่อทำให้กระบวนการในลำดับต่อไป
การลอยตัวด้วยฟองอากาศ Dissolved Air Floatation
การนำน้ำเสียมาอัดด้วยฟองอากาศ และปล่อยให้ถังเปิดความดันอากาศกันฟองอากาศให้ลอยตัวและสามารถกวาดออกโดยเครื่องกวาดตะกอนลอย
ถังดักไขมันและน้ำมัน Grease and oil Trap
เป็นถังสีเหลี่ยมมีแผงกั้น เพื่อดักไขมันที่ลอยไม่ให้ติดกับถัง
ถังตกตะกอน Sedimentation Tank
เป็นการแยกตะกอนของแข็งที่มีน้ำหนักมากออกจากน้ำเสีย
ระบบบำบัดน้ำเสียทางเคมี
การทำให้เป็นกลางหรือการปรับพีเอช Neutralization
ค่า Ph เป็นตัวบ่งบอกถึงคุณภาพน้ำว่ามีสภาพเป็นยังไง
น้ำเสียที่มีค่า pH ต่ำสามารถทำให้เป็นกลางโดยใช้ปูนขาว โซดาไฟ โซดาแอช
น้ำเสียที่มีค่า pH สูงสามารถทำให้เป็นกลางได้ โดยใช้กรดชนิด ต่าง ๆ เช่น กรดกำมะถัน กรดเกลือ เป็นต้น
การรวมตะกอน Chemical Coagulation
หลักการรวมตะกอน คือการรวมสารโคแอกกูแลนด์ลงไปในน้ำเสีย เพื่อให้คอลลอยด์ต่าง ๆ จับตัวกัน เรียกว่า ฟล็อกFloc จนทีน้ำหนักมากและสามารถตกตะกอนได้ ส่วนประกอบสำคัญของการรวมตะกอนคือ ถังกวนเร็ว ถังกวนช้า ถังตกตะกอน
การตกตะกอนผลึก Chemical Precipitation
เพื่อกำจัดโลหะหนักในน้ำเสีย จึงต้องทำให้เกิดการตกตะกอนผลึก ซึ่งเป็นปฎิกริยาที่ทำให้ไอออนประจุบวกและลบรวมกันเป็นตะกอนของแข็งที่ไม่ลายเสียก่อน เพื่อสามารถแยกออกจากน้ำเสียได้ โดยวิธีต่อไป
การแลกเปลี่ยนไอออน Ion Exchange
การแลกเปลี่ยนไอออนจะสมารถกำจัดไอออนประจุบวกและไอออนประจุลบจากน้ำเสียได้ โดยสารแลกเปลี่ยนไอออน2ประเภทคือ ซีโอไลต์ Zeolite และ เรซินแลกเปลี่ยนไอออน Ion Exchange Resin
การกำจัดไอออนต่างๆออกจากน้ำ
การทำให้ไอออนมีความเข้มข้นสูงมาก ๆ
ออกซิเดชั่น-รีดักชั่น Oxidation-Reduction
ในกรณีที่สามารถกำจัดมลพิษในน้ำได้ แต่ไม่สารมารถใช้วิธีตกตะกอนผลึกได้ อาจใช้การออกซิเดชั่น-รีดักชั่น คือการเติมสารเคมี ที่อาจเป็นสารออกซิไดซ์หรือสารรีดิวซ์ เพื่อไปทำปฏิกริยา ออกซิเดชั่นรีดักชั่นกับสารมลพิษ เพื่อให้ไม่มีสารพิษ หรือพิษลดลง
การฆ่าเชื้อโรค Disinfection
สารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค เช่น คลอรีนที่อยู่ในรูปแบบกรดไฮโปคลอรัส จะแตกตัวเป็นไฮโปคลอไรด์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำได้
ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ
การบำบัดแบบไม่ใช้อากาศ Anaerobic Process
การใช้จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายอินทรีย์กลายเป็นก๊าซคาร์บอนด์ไดรออกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์
การบำบัดแบบใช้อากาศ Aerobic process
การอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในการกลายเป็นก๊าซคาร์บอนด์ไดร์ออกไซด์ และน้ำ
ระบบต่าง ๆ ในการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ
ระบบจุลินทรีย์สารแชวนลอย Suspended Growth System
เป็นระบบจุลินทรีย์แขวนลอยอยู่ในถังปฏิกริยา ทีมีการกวนอย่างเหมาะสม และมีปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ
ระบบเอเอส Activated sludge system
เป็นการบำบักน้ำเสียที่ใช้อากาศแบบจุลินทรีย์แขวนลอย โดยใช้จุลินทรีย์ในการย่อยสลายหรือดูดซับ สารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียจะถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายโดยใช้เป็นอาหารเพื่อการเจริญเติบโต
ประเภทของระบบเอเอส
ระบบเอเอสธรรมดา Coventional Activated Sludge
เป็นระบบที่มีถึงตกตะกอน และถังเติมอากาศ การเติมอากาศจะใช้เครื่องเติมอากาศแบบใบพัดหรือแบบให้อากาศ
ระบบเอเอสแบบกวนสมบูรณ์ Completely Mixed Activated Sludge
เป็นการปรับปรุงจากระบบเอเอสธรรมดาให้กวนทุกจุดของถังเติมอากาศโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องเติมอากาศ
ระบบเอเอสแบบยืดเวลา Extended aeration activated sludge
เป็นระบบที่มีระยะเวลาที่กับเก็บน้ำเสีย นานกว่าระบบอื่น ๆ โดยมุ่งหมายให้แบคทีเรียอยู่ในถังเติมอากาศนาน ๆ และได้รับอาหารน้อย
ระบบเอเอสแบบปรับเสถียรสัมผัส Contact Stabilization activated sludge
ประกอบไปด้วยถังปฏิกริยา 2 ถัง แยกจากกันโดยตะกอนที่สูบมาจากก้น ถังตะกอนชั้นที่สองจะถูกส่งมาเติมอากาศใหม่ในถังปรับเสถียร
ระบบคูวนเวียน Oxidation ditch
ลักษณะของถังเติมอากาศเป็นคูหรือคลอง ที่สร้างให้เป็นรูปวงรี ทำให้น้ำสามารถหมุนวนไปมาได้โดยรอบ
ระบบบ่อเติมอากาศ Aerated Lagoon
เป็นระบบเอเอสแบบไม่มีการหมุนเวียนตะกอน มีการเติมอากาศด้วยเครื่องเติมอากาศ แต่ไม่มีถังตกตะกอนขั้นที่ 2 และมีความจำเป็นต้องออกแบบให้มีบ่อปรับคุณภาพขั้นสุดท้าย เพื่อทำหน้าที่ให้น้ำเสียออกจากบ่อเติมอากาศไป
ระบบเอสบีอาร์ Sequencing batch reactor :SBR
ระบบนี้เหมาะสำหรับระบบบำบัดที่มีน้ำเสียขนาดเล็ก และเป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ถังเติมอากาศ ทำหน้าที่ทั้งการเติมอากาศเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์และทำหน้าที่แยกตะกอนในถังเดียวกัน
ระบบจุลินทรีย์เกาะผิวตัวกลาง Attached Growth System
ระบบบําบัดแบบจุลินทรีย์เกาะผิวตัวกลาง เป็นระบบที่สามารถควบคุมการทํางานได้ง่าย และใช้พลังงานในการเดินระบบตํ่า
ระบบโปรยกรอง Trickling Filter
หลักการทํางาน น้ำเสียที่ผานการบําบัดขั้นต้นแล้วจะถูกปล่อยให้ไหลผ่านชั้นของตัวกลางจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยูบนตัวกลางจะใช้ออกซิเจนทําปฏิกิริยายอยสลายสารอินทรีย์ในน้าเสีย เมื่อชั้นภายในของตะกอนขาดอาหารตะกอนก็จะหลุดจากตัวกลางยึดเกาะดังนั้นตะกอนและนํ้าที่ผานระบบจะถูกส่งไปเข้าถังตกตะกอนขั้นที่สอง เพื่อแยกตะกอนออกจากนํ้าทิ้ง
ระบบแผ่นหมุนชีวภาพ Rotating Biological Contactor
ระบบหมุนแผนชีวภาพ มักมีหลักการในการบัดน้ำเสียแบบจุลินทรีย์เกาะผิวตัวกลาง เหมือนระบบโปรยกรอง โดยมีความแตกต่างอยู่ที่ตัวกลางที่ใช้เป็นที่ยึดเกาะของจุลินทรีย์ ระบบจะขึ้นอยูกับระยะเวลาเก็บน้ำเสียในระบบ ความเร็วในการหมุน ภาระปริมาณนํ้า ภาระอินทรีย์ คุณลักษณะของนํ้าทิ้งและอุณหภูมิของนํ้าทิ้ง
ระบบตัวกลางลอยตัวแบบใช้อากาศ Aerobic fluidized bed
มีตัวกลางเป็นวัสดุให้จุลินทรีย์ประเภทออกซิเจนยึดเกาะ
ระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบไม่ใช้อากาศ
Anaerobic Biological Treatment process
บ่อแอนแอโรบิค Anaerobic Pond
บ่อแอนแอโรบิคเป็นระบบที่ใช้กำจัดสารอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นสูงโดยไม่ต้องการออกซิเจน
ระบบบ่อคลุมดัดแปลง MCL
มีการออกแบบให้มีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มผิวสัมผัสของตะกอนจุลินทรีย์กับน้ำเสีย และมีระบบการดึงตากตะกอนเพื่อลดการสะสมตะกอนภายในบ่อ
กระบวนการสัมผัสไร้อากาศ Anaerobic contact process
กระบวนการบำบัดชนิดนี้เป็นถังย่อยแบบสัมผัสซึ่งดัดแปลงมาจากถังหมักชนิดอัตรากำจัดสูงโดยการมีหมุนเวียนตะกอน
ถังย่อยแบบแยกเชื้อ Anaerobic selector tank
ถังนี้จะให้แบคทีเรียสร้างกรดและสร้างมีเทนเติบโตอยู่ในถังย่อยคนละใบ เพื่อให้แบคทีเรียแต่ละชนิดทำงานได้ดี
ถังกรองไร้อากาศ Anaerobic filter
บ่อกรองไร้อากาศเป็นระบบบำบัดแบบไม่ใช้อากาศเช่นเดียวกับบ่อเกรอะ แต่มีประสิทธิภาพในการบำบัดของเสียมากกว่า โดยภายในถังช่วงกลางจะมีชั้นตัวกลาง (Media) บรรจุอยู่ ตัวกลางที่ใช้กันมีหลายชนิด เช่น หิน หลอดพลาสติก ลูกบอลพลาสติก กรงพลาสติก และวัสดุโปร่งอื่น ๆ ตัวกลางเหล่านี้จะมีพื้นที่ผิวมากเพื่อให้จุลินทรีย์ยึดเกาะได้มากขึ้น
ระบบชั้นลอยตัวไร้อากาศ Anaerobic fluidized bed : AnFB
ระบบนี้คล้ายกับระบบกรองไร้แบบอากาศตรงที่มีน้ำไหลจากด้านล่างขึ้นด้านบน จัดเป็นระบบจุลินทร์เกาะผิวตัวกลาง แบบไม่ใช้อากาศทที่มีสารตัวกลางขนาดเล็กเป็นที่ยึดเกาะของแบคทีเรีย
ระบบยูเอเอสบี (UASB)
เป็นระบบไร้อากาศที่มีชั้นตะกอนแบกทีเรียลอยอยู่ โดยควบคุมทิศทางการไหลของน้ำเสียให้ไหลขึ้น เมื่อน้ำเสียไหลผ่านชั้นตะกอนแบกทีเรีย สารอินทรีย์ในน้ำเสียจะถูกกลุ่มแบกทีเรียต่าง ๆ ช่วยกันย่อยสลาย
ระบบแผ่นหมุนชีวภาพไร้อากาศ : AnRBC
ลักษณะระบบนี้จะคล้ายกับระบบแผ่นหมุนชีวภาพเพียงแค่จะมีฝาปิดเพื่อไม่ให้สัมผัสอากาศจากภายนอก แผ่นหมุนจะจมอยู่ในน้ำเสียเพื่อให้เกิดการย่อยสลาย
ระบบแผ่นกั้นไร้อากาศ :ABR
เป็นบ่อยาวและมีแผ่นกั้นในแนวตั้งหลายแผ่นวางสลับกัน เพื่อบังคับทิศทางการไหลขึ้นลงสลับกันไป โดยมีความเร็วในการไหลขึ้นประมาณ 0.2 – 0.4 เมตร/ชั่วโมง ระบบนี้สามารถใช้กับน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยสูง มีขนาดใหญ่ ต้องใช้พื้นที่มาก
ระบบบ่อปรับเสถียร
เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย
บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond)
บ่อแอนแอโรบิคเป็นระบบที่ใช้กำจัดสารอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นสูงโดยไม่ต้องการออกซิเจน จึงเหมาะกับน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์และปริมาณของแข็งสูง เนื่องจากของแข็งจะตกลงสู่ก้นบ่อและถูกย่อยสลายแบบแอนแอโรบิค
บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond)
ส่วนบนของบ่อเป็นแบบแอโรบิคได้รับออกซิเจนจากการถ่ายเทอากาศที่บริเวณผิวน้ำและจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย และส่วนล่างของบ่ออยู่ในสภาพแอนแอโรบิคปริมาณออกซิเจนต่ำจนเกิดสภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Condition) และมีจุลินทรีย์ประเภทไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Bacteria) ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์และแปรสภาพเป็นก๊าซเช่นเดียวกับบ่อแอนแอโรบิค
บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond)
บ่อแอโรบิคเป็นบ่อที่มีแบคทีเรียและสาหร่ายแขวนลอยอยู่ เป็นบ่อที่มีความลึกไม่มากนัก เพื่อให้ออกซิเจนกระจายทั่วทั้งบ่อและมีสภาพเป็นแอโรบิคตลอดความลึก โดยอาศัยออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย และการเติมอากาศที่ผิวหน้า และยังสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ส่วนหนึ่งโดยอาศัยแสงแดดอีกด้วย
ระบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland)
หลักการทำงานของระบบ เมื่อน้ำเสียไหลเข้ามาในบึงประดิษฐ์ส่วนต้น สารอินทรีย์ส่วนหนึ่งจะตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ส่วนสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำหรือชั้นหินและจุลินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ
ระบบบึงประดิษฐ์แบบ Free Water Surface Wetland :FWS
ระบบนี้ประกอบไปด้วยแอ่งหรือร่องน้ำ มีการเคลือบฉาบวัสดุกันน้ำไว้ เพื่อป้องกันการรั่วซึม และประกอบไปด้วยดินและวัสดุกรองต่าง ๆเพื่อช่วยให้รากพืชยึดเกาะได้ ระบบนี้เหมาะกับน้ำเสียที่มีค่า BOD ในช่วง 5-100 มิลลิกรัม/ลิตร
บึงประดิษฐ์ที่น้ำไหลใต้ผิวชั้นกรองในแนวนอน Subsurface flow system: SF
ประกอบไปด้วยร่องยาว เคลือบฉาบด้วยวัสดุกันน้ำ เพื่อป้องกันการรั่วซึม และตัวกรอง บริเวณใต้ชั้นกรอง จะอิ่มตัวตลอดเวลา ทำให้เกิดสภาวะไม่ใช้อากาศ แต่พืชยังสามารถดึง อ๊อกซิเจนเข้าไปส่วนรากได้ ทำให้จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนในการเติบโตได้ ระบบนี้เหมาะกับภาระอินทรีย์ปานกลาง โดยมีความเข้มข้นของ BOD ในช่วง 30-175 มิลลิกรัม/ลิตร
บึงประดิษฐ์ที่น้ำไหลใต้ชั้นผิวกรองในแนวดิ่ง Vertical flow:VF
มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับบึงประเภทที่1และ2 คือมีตัวกรองเพื่อช่วยให้พืชสามารถยึดเกาะและเจริญเติบโตได้ น้ำเสียจะไหลผ่านชั้นกรองในแนวดิ่ง โดยมีระบบการกระจายน้ำอยู่ใต้ชั้นกรอง และมีรบบระบายอากาศเพื่อไม่ให้เกิดสภาวะไม่ใช้อากาศ ระบบนี้สามารถบำบัดน้ำเสียที่มีภาระอินทรีย์สูงๆเช่น สิ่งปฎิกูล โดยมีความเข้มข้นของ BOD ที่เข้าระบบอยู่ในช่วง 500-7000 มิลลิกรัม/ลิตร