Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Melioidosis - Coggle Diagram
Melioidosis
พยาธิสภาพบองโรค
โรคเมลิออยด์ หรือ โรคไข้ดิน เกิดจากการติดเชื้อ Burkholderia pseudomalleiซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินและน้ำ
-
-
ยากต่อการวินิจฉัย ต้องใช้ผลเพาะเชื้อยืนยันยากต่อการรักษา อัตราการเสียชีวิตสูงต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่จำเพาะต่อโรคแต่ป้องกันได้ หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำโดยตรง
กลุ่มเสี่ยงที่สุด คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง และผู้ที่สัมผัสเชื้อจากดินหรือน้ำ เช่น เกษตรกร เด็กๆ ที่เล่นน้ำในนา นอกจากนี้ ผู้มีโรคประจำตัวที่เป็นสาเหตุให้มีภูมิคุ้มกันต่ำอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง ผู้ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน หรือผู้ที่ทานยาต้ม ยาหม้อ
ยาชุดยาลูกกลอนที่มีสเตียรอยด์ปนเปื้อน
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เบอโคโดเลียสูโดมาลิอาย (Burkholderia pseudomallei)ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยูjในดินและน้ำ พบได้ทุกภาคของประเทศไทย เชื้อเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดฝีหนอง หากเข้าสู่ปอดทำให้เกิดปอดอักเสบติดเชื้อ หรือเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อมักรุนแรง นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ช็อก ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต
อาการ
เป็นโรคที่ไม่มีอาการแสดงจำเพาะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีไข้สูง โดยพบว่าผู้ป่วยครึ่งหนึ่งมีอาการคล้ายปอดอักเสบติดเชื้อบางรายอาจมีไข้สูง ช็อก จากการติดเชื้อในกระแสเลือดเพียงอย่างเดียว แต่บางรายอาจติดเชื้อในหลายๆ อวัยวะร่วมด้วย เช่น มีแผลติดเชื้อ มีฝีหนองที่ปอด ตับ หรือม้าม ส่วนใหญ่มีอาการรุนแรง รวดเร็ว แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเรื้อรังหรือไอเรื้อรังคล้ายวัณโรคได้
-
อ้างอิง
กุลนารี สิริสาลี และสุดารัตน์ มโนเชี่ยวพินิจ การเจาะ เลือด: ผลกระทบต่อคุณคุณภาพงานบริการทางห้อง ปฏิบัติการชันสูตรโรค พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพ: เอช ที พี เพรส, 2541.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข, กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์. คู่มือการเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติ การ. ใน: การตรวจวินิจฉัยโรคเมลิออยโดสิส. กระทรวง สาธารณสุข; 2552. หน้า 97 - 98.
Heymann DL., Editor, Control of Communicable Diseases Manual 19th Edition, American Association of Public Health, 2008.
Mandell GL, Bennett JE, Dolin R. Mandell, Douglas, and Bennett’s , editor. Principles and Practice of Infectious Diseases. 7th ed. Vol.2. Philadelphia (USA): Elsevier; 2010 : p.2872-2873.
สํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรมควบคุมโรค. แนวทาง การป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ สําหรับบุคลากร สาธารณสุข. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จํากัด ; 2551.
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลโรค
มีผลต่อวิธีให้การรักษาและการรอดชีวิตของผู้ป่วย ควรใช้การตรวจด้วยวิธีเพาะเชื้อเท่านั้น เนื่องจากการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อเมลิออยโดสิสด้วยวิธี Indirect hemagglutination (IHA) นั้นมีความไวต่ำ ความจำเพาะต่ำ ส่วนใหญ่ได้ผลบวกปลอม เพราะคนไทยส่วนใหญ่เคยสัมผัสดินและน้ำ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกร)จึงมีแอนติบอดีต่อเชื้อนี้ประมาณร้อยละ 10 - 30 ทำให้ผลบวก จากการตรวจ IHA ในผู้ป่วยที่มีไข้ หรือผู้ป่วยปอดอักเสบทั่วไปมักเป็นผลบวกลวง
การเพาะเชื้อ พบเชื้อ Burkholderia pseudomallei ไม่ว่าจากสิ่งส่งตรวจใดถือเป็นการตรวจยืนยันว่าเป็น โรคเมลิออยโดสิส เนื่องจากเชื้อนี้ไม่ใช่เชื้อที่พบได้ในร่างกายคนปกติ และการพบเชื้อในปัสสาวะแม้เพียงตัวเดียว ก็ยืนยันการติดเชื้อได้
การวินิจฉัยเพื่อยืนยันได้จากการ แยกเชื้อ หรือการเพิ่มสูงของระดับภูมิคุ้มกัน สําหรับการ ตรวจ Direct Immunofl uorescent Microscopy นั้นมี ความจําเพาะสูงร้อยละ 90 แต่มีความไวค่อนข้างตํ่าเพียง ร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับการเพาะเชื้อ จึงควรนึกถึง โรคนี้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถตรวจหาสาเหตุการป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่มีโพรงในปอด คนที่อาศัยหรือเดิน ทางกลับจากแหล่งที่มีโรคชุก โรคนี้อาจเริ่มแสดงอาการ หลังติดเชื้อนานถึง 25 ปี
การรักษา
ให้การรักษาแบบประคับประคองและ ให้ยาเซฟตาซิดีนิ (Ceftazidime) หรือยาอิมิพีเนม (Imipenem) ทางหลอดเลือดอย่างน้อย 10 วัน แล้ว ให้การรักษาด้วยยาไตรเมโธพริม - ซัลฟาเมธอกซาโซล (Trimetoprim-Sulfamethoxazole) แบบรับประทาน (เป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์) ซึ่งอาจให้รวมกับ ยาด๊อกซีซัยคลิน (Doxycycline) ในเด็กที่อายุมากกว่า 8 ปี
ประชาชนทั่วไป ควรป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ ตามคำแนะนำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวมรองเท้าบูทยาว ทุกครั้งเวลาลงนา สถานพยาบาลควรให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยที่เป็นโรคเมลิออยโดสิสที่มีผลเพาะเชื้อยืนยัน และรายงานผู้ป่วยพร้อมผลการรักษา ตามระบบเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยาอย่างครบถ้วน